แนวทางรักษาภาวะต้อหิน - หมอรามาฯไขปัญหาสุขภาพ
[b]ต้อหิน เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ขั้วประสาทตา ซึ่งส่งผลทำให้ลานสายตาแคบลงเรื่อย ๆ จนตาบอดได้ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีการสูญเสียลานสายตารอบนอกก่อน หากไม่ได้รับการรักษา[/b] ลานสายตาก็จะถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ลานสายตาแคบลง เหลือเฉพาะศูนย์กลางการมองเห็น ผู้ป่วยจึงจะเริ่มรู้สึกถึงการมองเห็นที่ผิดปกติ ซึ่งมักจะเป็นระยะท้าย ๆ ของโรคแล้ว
เนื่องจากพยาธิสภาพของการก่อโรค เป็นการทำลายเซลล์เส้นใยประสาทตา ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ ดังนั้น[b]การรักษาโรคต้อหินจึงทำได้เพียงยับยั้งโรคไม่ให้ลุกลาม หรือก่อความสูญเสียต่อการมองเห็นมากขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาให้การมองเห็นที่เสียไปแล้วกลับมาเป็นปกติได้อีก[/b]
[b]ชนิดของต้อหินที่พบมีอยู่ 2 ประเภทคือ ต้อหินมุมเปิด และต้อหินมุมปิด[/b] ต้อหินมุมเปิด เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายน้ำหล่อเลี้ยง ทำให้มีการระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาได้น้อยเมื่อเทียบกับการสร้างทำให้ความ ดันลูกตาขึ้นสูง อาการมักค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่มีอาการนำหรือรู้สึกถึงความผิดปกติจนกว่าการมองเห็นจะ เสียไปมากแล้ว ต้อหินมุมเปิดมีทั้งแบบชนิดปฐมภูมิ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีสายตาสั้น หรือมีภาวะลูกตายาวจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินชนิดนี้ ส่วนต้อหินมุมเปิดชนิดทุติยภูมินั้น สามารถบอกสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ เช่น โรคต้อหินจากม่านตาอักเสบหรือต้อหินอันมีสาเหตุจากเนื้อเลนส์ตาเป็นต้น
ลักษณะอาการดวงตาของผู้ป่วยเป็นโรคต้อหิน