พัฒนาสเต็มเซลล์รักษา 'โรคจอประสาทตาเสื่อม'….ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ตาบอด
ที่อาคารห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลศิริราช[b]จัดทำโครงการพัฒนาสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้น กำเนิดเพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อมขึ้น[/b] โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับหน้าที่ในการเตรียมเซลล์ต้นกำเนิดชนิด DMSc Stem Pro เพื่อให้ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล รับหน้าที่ในการนำเซลล์ต้นกำเนิดไปใช้ในการพัฒนาวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อม โดยกระบวนการเตรียม[b]เซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่เรียกว่า DMSc Stem Pro ได้จากการเพาะเลี้ยงจากไขกระดูกของผู้ป่วยเอง แล้วนำมาพิสูจน์เอกลักษณ์และตรวจสอบการปนเปื้อน[/b]ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงนำไปบรรจุหลอด แล้วฉีดเข้าไปในวุ้นตาของผู้ป่วยเพื่อทดแทนเซลล์ที่เสื่อมสภาพหรือชะลอการ เสื่อมสภาพของเซลล์จอประสาทตาให้ช้าลง ช่วยไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นและสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างเป็น ปกติ
[b]การดำเนินงานด้านเซลล์ต้นกำเนิด นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการนำองค์ความรู้จากการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในการรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย[/b] ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการและบุคลากรที่มีคุณภาพ เซลล์ต้นกำเนิดที่จะนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกจะต้องผ่านการเตรียมใน ห้องปฏิบัติการที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน มีการติดตามควบคุมคุณภาพของเซลล์ต้นกำเนิดจนมั่นใจก่อนที่จะนำไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อยที่สุด
ด้าน นายแพทย์สมชาย แสงกิจพร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กล่าวเสริมว่า การพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาจอประสาทตาเสื่อม ขณะนี้ได้มีการทดลองในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งเป็นขั้นตอนของการทดสอบในเรื่องของความปลอดภัย โดยพบว่า[b]เซลล์ต้นกำเนิดที่เตรียมได้มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดสากล[/b]
อาคารห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี