กระตุ้นพ่อแม่พาลูกตรวจหู ลดเสี่ยงพิการ
ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ กล่าวว่า [b]จากสถิติในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน มีทารกที่การได้ยินบกพร่อง 1-2 คน และมีอัตราเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า[/b] ส่วนในประเทศไทยทารกแรกเกิดมีอัตราเสี่ยงถึง 1.7 เท่าต่อเด็ก 1,000 คน ซึ่งการได้ยินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดและพัฒนาการทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบแรก และ[b]หากการได้ยินบกพร่องก็จะส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร[/b] ความจำ พฤติกรรม การพัฒนาทางอารมณ์และสังคม ความสามารถในการเรียนรู้ [b]ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการตรวจด้านโสต ศอ นาสิก ปีละ 16,000 คน และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี[/b]
“กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้านสมอง ในวันธรรมดาด้วยเครื่องมือเพียง 2 เครื่อง หนึ่งในนั้นมีอายุการใช้งานมานาน ทำให้ไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่รอคิวตรวจจำนวนมาก [b]บางรายต้องรอคิวตรวจการได้ยินนานถึง 6-7 เดือน อาจไม่ทันการในการรักษา[/b] เพราะเด็กที่ได้รับการรักษาช้าเกินกว่าอายุ 6 ขวบ จะทำให้พิการทางการได้ยินไปตลอด และด้วยความตั้งใจของสถาบันฯ ที่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา จึงมีผู้ใหญ่ใจดีเล็งเห็นถึงปัญหาได้ให้การสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัด การได้ยินระดับก้านสมองจำนวน 3 เครื่อง ทำให้สามารถร่นระยะเวลาคิวการตรวจผู้ป่วยได้ร่วม 300 คน หรือการลดคิวตรวจกว่า 1 เดือน และคาดว่า ในอนาคตอาจมีโครงการดี ๆ แบบนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง” พญ.ศิราภรณ์ กล่าว
ผู้ปกครองกำลังดูแลลูกน้อยที่นอรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล