“ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” หุ่นยนต์ไทยกระตุ้นเด็กออทิสติก...รับเหรียญทองเกียรติยศ
“แม่ที่เจนีวาที่มีลูกเป็นออทิสติก มาดูเราแล้วก็ตื้นตันใจน้ำตาไหล” ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลตอบรับหลัง[b]นำหุ่นยนต์ 3 ตัว คือ “ช่างพูด”, “ช่างคุย” และ “ช่างทำ” ไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการสิ่งแระดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 41 (41st International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ [/b]
ช่างพูด, ช่างคุย และช่างทำเป็นหุ่นยนต์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่อหวัง[b]กระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
ออทิสติก[/b] โดย ผศ.ดร.ปัณรสีอธิบายถึงหน้าที่ของหุ่นยนต์ช่างทำว่า [b]ข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ถึงความผิดปกติในเด็กออทิสติกคือเด็กมีอาการ ดังกล่าวเนื่องจากมีความเสียหายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า เซลล์กระจก (mirror neurones) [/b] การเลียนแบบท่าทางคนอื่น หรือคนอื่นเลียนแบบท่าทางของเด็กจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ดังกล่าวได้
“หากแต่ปัญหาคือเด็กออทิสติกซึ่งมักอยู่ไม่นิ่ง และมักกลัวการสื่อสารกับคน เพราะท่าทางของคนนั้นคาดเดาได้ยาก [b]การที่เด็กไม่เริ่มต้นเลียนแบบสิ่งรอบตัว ทำให้ความสามารถในการสื่อสารไม่พัฒนา[/b] ซึ่งส่งผลต่อไปถึงการเรียนรู้ของเด็ก เด็กหุ่นยนต์คาดเดาได้ง่ายกว่า” ผศ.ดร.ปัณรสี กล่าวถึงงานวิจัยที่ได้รับทุนพัฒนาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) เป็นเวลา 3 ปีและดำเนินเข้าสู่ปีสุดท้ายแล้ว
หุ่นยนต์ช่างคุย