"รถไฟ" เพื่อคนพิการ มิติใหม่แห่งขนส่งระบบราง เคลื่อนขบวนรับ "สงกรานต์"
เมื่อทราบโครงการดีๆ อย่างนี้ จึงต้องไปชมให้เห็นกับตาถึงสถานีรถไฟที่ผู้คนใช้บริการมากที่สุดอย่าง "หัวลำโพง" มีโอกาสได้พูดคุยกับ บัณฑิต เชาวน์สวน หัวหน้าหมวดระเบียบการโดยสาร ซึ่งให้ข้อมูลว่า[b] ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงโดยจะนำตู้โดยสาร 10 ตู้ หรือ 10 โบกี้ ที่ดัดแปลงสำหรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถวีลแชร์ (wheel chair) ออกมาพ่วงกับขบวนรถไฟ[/b] เพื่ออำนวยความสะดวก ใน 4 เส้นทาง ซึ่งได้[b]เปิดให้บริการประชาชนแล้ว ใน 2 เส้นทาง นั่นคือ สายเหนือและสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 1/2 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ และขบวนรถด่วน 69/70 กรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ[/b] เป็นการนำร่องก่อน "โบกี้สำหรับคนพิการ นี้ รถนั่งปรับอากาศ ชั้น 2 จะมีลิฟต์ยกวีลแชร์ มีเข็มขัดรัด เบาะ 1-6 สำหรับคนพิการ เบาะ 7-12 สำหรับคนติดตาม เก้าอี้นั่งที่ห่างกว่ารถไฟปกติ [b]มีที่สำหรับล็อกวีลแชร์ ทั้งหมด 30 ที่นั่ง มีห้องน้ำสำหรับคนพิการที่มีราวจับ[/b] และมีปุ่มกดฉุกเฉินสำหรับขอความช่วยเหลือด้วย
"เรามีพนักงานดูแล 2 คนต่อ 1 โบกี้ โดย 1 คน เป็นช่างเทคนิคควบคุมการขึ้น-ลงของลิฟต์ และอีก 1 คน คอยบริการดูแลคนพิการที่ไม่มีคนติดตาม" บัณฑิตกล่าว
สำหรับอัตรา ค่าโดยสาร เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 [ub]การรถไฟฯลดราคาค่าโดยสารสำหรับคนพิการร้อยละ 50 ตลอดปี[/ub] และคิดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ 90 บาท/ที่นั่ง/ทุกระยะทาง โดยผู้ติดตามดูแลคนพิการลดค่าโดยสารร้อยละ 25 ด้วย
ด้านผู้ใช้บริการ ทั่วไปอย่าง สมใจ ชูโต อายุ 63 ปี อาชีพทำสวน บอกว่า เห็นด้วยที่จะมีโบกี้สำหรับคนพิการ ซึ่งน่าจะดีสำหรับคนพิการ สามารถอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการได้ แต่ก็[b]อยากให้มีทุกเส้นทางของประเทศไทยด้วย[/b] น่าจะส่งผลดีสำหรับคนพิการ เพราะเท่าที่สังเกตประตูรถไฟนั้นเล็กและชัน เวลาขึ้นก็ลำบาก ถ้ามีทางขึ้นลงสำหรับคนพิการโดยเฉพาะก็น่าจะมีประโยชน์ ซึ่งควรที่จะมีนานแล้ว
ช่องทางเดินที่กว้าง