ลดปัญหาดาวน์ซินโดรม 'นวัตกรรมCGH'โครโมโซมทุกคู่
[/p]
[b]ด้วยไลฟ์สไตล์และสภาวะแวดล้อม ที่เปลี่ยนไปเป็นผลให้หนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยมีบุตรช้า ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อภาวการณ์มีบุตรยากภาวะแท้งซ้ำซากหรือแม้แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรม[/b]
นพ.สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผู้อำนวยการแพทย์และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ การมีบุตรยาก ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่มีผลสำเร็จ ด้านอัตราการตั้งครรภ์ในระดับสากลและมีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งใน เอเชีย กล่าวว่า [buปัญหาใหญ่ที่คุณพ่อคุณแม่ในอนาคตที่เริ่มมีอายุมากกว่า 35 ปีหวาดระแวง คือภาวะความเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ หรือ [/u] [ub]ดาวน์ซินโดรม [/ub] (Down's syndrome) ซึ่ง[b]เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม 2 แบบใหญ่ๆ แบบที่หนึ่ง[/b] คือ [b]โครโมโซมเกินมา 1 แถบในคู่ที่ 21[/b] ซึ่งส่วนมากเกิดในแม่อายุมากกว่า 35 ปี พบถึงร้อยละ 95 ของกลุ่มผู้เป็นดาวน์ซินโดรม [b]แบบที่สอง[/b] คือ[b] โครโมโซมเกิดการย้ายที่[/b] เช่น คู่ที่ 14 กับคู่ที่ 21 ย้ายมาอยู่ติดกันทำให้เกิดโครโมโซมเกิน แต่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดได้ยากพบเพียงร้อยละ4-5
นพ.สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์