กทปส. สนับสนุนทุนวิจัย มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

กทปส.

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการพูดคุยสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน แต่สิ่งนี้เองกลับเป็นอุปสรรคหนึ่งในการเรียนการสอนของผู้บกพร่องทางการได้ยิน ลองนึกถึงผู้ด้อยโอกาสที่พิการทางการได้ยินว่าจะเข้าใจการสื่อสารและเข้าถึงการเรียนรู้ต่างๆ จากการถ่ายทอดจากคนปกติได้อย่างไร โดยในประเทศไทยพบว่ามีจำนวนผู้พิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมายสูงถึง 306,351 ราย จากจำนวนผู้พิการทั้งหมด 1,690,411 ราย* ซึ่งนับว่ามีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว (*แหล่งข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เดือนพฤศจิกายน 2559) ด้วยเหตุนี้ กทปส. หรือสำนักงานทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน กสทช. จึงพร้อมเดินหน้าสนับสนุนเงินทุนให้แก่มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการเพื่อนำไปพัฒนา "โครงการวิจัยระบบถอดความเสียงพูดแบบทันต่อเวลาผ่านระบบสื่อสารทางไกล" เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของ กทปส. ที่มุ่งสนับสนุนโครงการวิจัยในด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส เพื่อความเท่าเทียมกันในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ

ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสื่อสารในกลุ่มผู้พิการทางการได้ยิน จึงได้มีแนวคิดริเริ่มโครงการวิจัยระบบถอดความเสียงพูดแบบทันต่อเวลาผ่านระบบสื่อสารทางไกลได้เปิดเผยว่า "เงินกองทุนจัดสรรของ กทปส.ที่สนับสนุนโครงการนี้ทางมูลนิธิฯ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้วิจัยและพัฒนาโปรแกรมเทคโนโลยีทางการสื่อสาร รวมถึงศึกษาการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทางไกลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยโปรแกรมถอดเสียงนี้จะช่วยเปลี่ยนระบบเสียงพูดให้เป็นข้อความ ช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินกว่า 300,000 คนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอน การประชุมสัมมนาต่างๆ โดยมุ่งเน้นด้านการศึกษาเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้าใจการเรียนการสอนรวมถึงข้อมูลข่าวสารได้เท่าเทียมกับคนปกติทั่วไปได้"

ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล นักวิจัย NECTEC และในฐานะนักวิจัยผู้ร่วมโครงการวิจัยระบบถอดความเสียงพูดแบบทันต่อเวลาผ่านระบบสื่อสารทางไกล กล่าวว่า "โครงการวิจัยนี้ เป็นการนำเทคโนโลยีทางโทรคมนาคมในการส่งสัญญาณเสียงไปถอดความ มีการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบสื่อสารทางไกลโดยได้ลงโปรแกรมถอดเสียงทั้งบนระบบวินโดส์บนคอมพิวเตอร์ในปีแรก โดยในปีนี้ ทีมนักวิจัยกำลังพัฒนาต่อยอดเพื่อนำโปรแกรมถอดความเสียงมาใช้ในระบบปฏิบัติการแอนด์ดรอยเพื่อใช้งานบนมือถือ จากนั้นต้องมีการทดลองใช้งานและนำมาพัฒนาปรับปรุงแอพพลิเคชั่นเป็นลำดับต่อไป ปัจจุบันนี้ มูลนิธิฯ ได้มีแนวทางจัดตั้งเครือข่ายหรือศูนย์ Call Center ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่มีทักษะในการถอดความเสียงประจำอยู่ โดยเครือข่ายนี้นับเป็นศูนย์กลางในการจัดส่งข้อความไปยังระบบสื่อสารทางไกลตามสถานที่ต่างๆ ทำให้ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณในการเดินทางของเข้าหน้าที่ถอดเสียงและยังสามารถใช้งานได้พร้อมกันหลายๆแห่งอีกด้วย"

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/2570829

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ธ.ค.59
วันที่โพสต์: 19/12/2559 เวลา 10:35:14 ดูภาพสไลด์โชว์ กทปส. สนับสนุนทุนวิจัย มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กทปส. คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการพูดคุยสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน แต่สิ่งนี้เองกลับเป็นอุปสรรคหนึ่งในการเรียนการสอนของผู้บกพร่องทางการได้ยิน ลองนึกถึงผู้ด้อยโอกาสที่พิการทางการได้ยินว่าจะเข้าใจการสื่อสารและเข้าถึงการเรียนรู้ต่างๆ จากการถ่ายทอดจากคนปกติได้อย่างไร โดยในประเทศไทยพบว่ามีจำนวนผู้พิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมายสูงถึง 306,351 ราย จากจำนวนผู้พิการทั้งหมด 1,690,411 ราย* ซึ่งนับว่ามีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว (*แหล่งข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เดือนพฤศจิกายน 2559) ด้วยเหตุนี้ กทปส. หรือสำนักงานทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน กสทช. จึงพร้อมเดินหน้าสนับสนุนเงินทุนให้แก่มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการเพื่อนำไปพัฒนา "โครงการวิจัยระบบถอดความเสียงพูดแบบทันต่อเวลาผ่านระบบสื่อสารทางไกล" เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของ กทปส. ที่มุ่งสนับสนุนโครงการวิจัยในด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส เพื่อความเท่าเทียมกันในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสื่อสารในกลุ่มผู้พิการทางการได้ยิน จึงได้มีแนวคิดริเริ่มโครงการวิจัยระบบถอดความเสียงพูดแบบทันต่อเวลาผ่านระบบสื่อสารทางไกลได้เปิดเผยว่า "เงินกองทุนจัดสรรของ กทปส.ที่สนับสนุนโครงการนี้ทางมูลนิธิฯ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้วิจัยและพัฒนาโปรแกรมเทคโนโลยีทางการสื่อสาร รวมถึงศึกษาการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทางไกลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยโปรแกรมถอดเสียงนี้จะช่วยเปลี่ยนระบบเสียงพูดให้เป็นข้อความ ช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินกว่า 300,000 คนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอน การประชุมสัมมนาต่างๆ โดยมุ่งเน้นด้านการศึกษาเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้าใจการเรียนการสอนรวมถึงข้อมูลข่าวสารได้เท่าเทียมกับคนปกติทั่วไปได้" ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล นักวิจัย NECTEC และในฐานะนักวิจัยผู้ร่วมโครงการวิจัยระบบถอดความเสียงพูดแบบทันต่อเวลาผ่านระบบสื่อสารทางไกล กล่าวว่า "โครงการวิจัยนี้ เป็นการนำเทคโนโลยีทางโทรคมนาคมในการส่งสัญญาณเสียงไปถอดความ มีการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบสื่อสารทางไกลโดยได้ลงโปรแกรมถอดเสียงทั้งบนระบบวินโดส์บนคอมพิวเตอร์ในปีแรก โดยในปีนี้ ทีมนักวิจัยกำลังพัฒนาต่อยอดเพื่อนำโปรแกรมถอดความเสียงมาใช้ในระบบปฏิบัติการแอนด์ดรอยเพื่อใช้งานบนมือถือ จากนั้นต้องมีการทดลองใช้งานและนำมาพัฒนาปรับปรุงแอพพลิเคชั่นเป็นลำดับต่อไป ปัจจุบันนี้ มูลนิธิฯ ได้มีแนวทางจัดตั้งเครือข่ายหรือศูนย์ Call Center ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่มีทักษะในการถอดความเสียงประจำอยู่ โดยเครือข่ายนี้นับเป็นศูนย์กลางในการจัดส่งข้อความไปยังระบบสื่อสารทางไกลตามสถานที่ต่างๆ ทำให้ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณในการเดินทางของเข้าหน้าที่ถอดเสียงและยังสามารถใช้งานได้พร้อมกันหลายๆแห่งอีกด้วย" ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/2570829

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...