กระตุ้นสมองขณะหลับเพื่อสร้างความทรงจำ

แสดงความคิดเห็น

ในขณะที่เราหลับ สมองจะทำการตกผลึกความคิดที่เราได้เรียนรู้มาในวันนั้นเพื่อสร้างเป็นความทรงจำเพื่อใช้งานในวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือแม้กระทั่งปีหน้า และคนที่ความจำไม่ค่อยดี อาจจะด้วยมีความบกพร่องในระบบสร้างความทรงจำส่วนนี้มักจะประสบปัญหาในการดำรงชีวิต

หญิงสาวกำลังนอนหลับอยู่บนเตียงนอน

ล่าสุด นักวิจัยใช้วิธีการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ transcranial alternating current stimulation หรือ tACS เพื่อกระตุ้นสมองบริเวณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและการสร้างความทรงจำในสมอง นักวิจัยได้รายงานการค้นพบในวารสารวิชาการ Current Biology ว่า การศึกษาครั้งนี้ทำให้เราได้วิธีกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด ที่อาจจะช่วยคนที่มีปัญหาด้วยความจำหลายล้านคน ทั้งคนที่เป็นออทิสติก อัลไซเมอร์ โรคจิตเภท และอาการอื่นๆ

นักวิทยาศาสตร์ทราบกันดีว่าคลื่นไฟฟ้าในสมองที่จะสั่นในขณะที่เราหลับนั้น สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าในสมอง หรือ EEG คลื่นเหล่านี้เรียกกันว่า "แกนหมุนการนอน" และนักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าคลื่นเหล่านี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างความทรงจำขณะที่เราหลับด้วย

"แต่เราไม่รู้ว่า คลื่นสมองเหล่านี้จะมีผลอะไรกับการเก็บและการตกผลึกความจำในสมองหรือไม่" รองศาสตราจารย์ ดร.ฟลาวิโอ โฟรห์ลิช แห่งศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโลไรนา เผย "คลื่นเหล่านี้อาจจะเป็นผลลัพธ์จากกระบวนการในสมองส่วนอื่นที่ทำให้เราเก็บความทรงจำได้ งานวิจัยของเราได้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับสร้างความทรงจำ และเราจำเป็นต้องมีกระบวนการเหล่านี้ทุกวัน งานวิจัยของเรามีขึ้นโดยตั้งใจจะกระตุ้นสมองส่วนนี้เพื่อขยายขีดความสามารถในการจำ"

นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พยายามกระตุ้นสมองเฉพาะจุด โดยไม่ทำให้กิจกรรมในสมองส่วนอื่นเพิ่ม ก่อนหน้านี้ก็เคยมีวิธีการที่เรียกว่าการกระตุ้นไฟฟ้าสมองด้วยไฟกระแสตรง หรือ tDCS ซึ่งคล้ายกับวิธี tACS แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ส่วนวิธีหลังนี้จะใช้สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับกระตุ้น

ในการศึกษาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 16 คน เป็นชายทั้งหมด โดยให้ทุกคนเข้านอนเป็นเวลา 2 คืน ก่อนเริ่มการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคนจะเข้าทำการทดสอบความจำ โดยมีเกมเกี่ยวกับคำและลำดับของการขยับร่างกาย ส่วนในช่วงที่ทดลองนั้น นักวิจัยจะติดขั้วไฟฟ้าเข้าที่หนังศีรษะของผู้เข้าร่วมการทดลอง โดยในวันแรกจะทำการกระตุ้นไฟฟ้าด้วย tACS ส่วนในคืนที่สองจะทำการเก็บข้อมูลอีกครั้ง

นักวิจัยพบว่า ในแต่ละวัน ผู้เข้าร่วมการทดลองมักจะทำคะแนนในแบบทดสอบความจำได้เท่าเดิม ไม่มีการพัฒนาส่วนของความจำด้านการใช้คำ แต่งานที่ต้องขยับร่างกายและจำให้ได้นั้น นักวิจัยพบว่า การออกกำลังกายทำให้จำดีขึ้นได้

"งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพทเทิร์นกิจกรรมไฟฟ้าในสมองที่เกี่ยวข้องกับการหลับ และกระบวนการตกผลึกความจำ" ส่วนทาง ดร.คาโรลิน ลุสเตนเบอร์เกอร์ นักวิจัยร่วมเผยว่า "เราตื่นเต้นมากเพราะนี่เป็นการบอกให้รู้ว่าการนอนหลับเชื่อมโยงกับการสร้างความทรงจำอย่างไร และคนที่มีปัญหาด้านการจำก็มีเยอะมาก ทั้งโรคจิตเภทและอัลไซเมอร์ เราหวังว่าการพุ่งเป้าหมายไปที่กลไกเฉพาะที่เกี่ยวกับการนอน น่าจะทำให้เราได้วิธีการรักษาการสูญเสียซึ่งความทรงจำได้" ทีมวิจัย tACS ในครั้งนี้มีเป้าหมายไปที่คลื่นอัลฟาในสมอง โดยคลื่นนี้มักจะไม่เกิดในคนที่ปัญหาด้านสุขภาพจิต ระบบประสาท และโรคซึมเศร้า

ขอบคุณ... http://www.vcharkarn.com/vnews/505415

ที่มา: vcharkarn.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ก.ค.59
วันที่โพสต์: 1/08/2559 เวลา 11:22:49 ดูภาพสไลด์โชว์ กระตุ้นสมองขณะหลับเพื่อสร้างความทรงจำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในขณะที่เราหลับ สมองจะทำการตกผลึกความคิดที่เราได้เรียนรู้มาในวันนั้นเพื่อสร้างเป็นความทรงจำเพื่อใช้งานในวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือแม้กระทั่งปีหน้า และคนที่ความจำไม่ค่อยดี อาจจะด้วยมีความบกพร่องในระบบสร้างความทรงจำส่วนนี้มักจะประสบปัญหาในการดำรงชีวิต หญิงสาวกำลังนอนหลับอยู่บนเตียงนอน ล่าสุด นักวิจัยใช้วิธีการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ transcranial alternating current stimulation หรือ tACS เพื่อกระตุ้นสมองบริเวณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและการสร้างความทรงจำในสมอง นักวิจัยได้รายงานการค้นพบในวารสารวิชาการ Current Biology ว่า การศึกษาครั้งนี้ทำให้เราได้วิธีกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด ที่อาจจะช่วยคนที่มีปัญหาด้วยความจำหลายล้านคน ทั้งคนที่เป็นออทิสติก อัลไซเมอร์ โรคจิตเภท และอาการอื่นๆ นักวิทยาศาสตร์ทราบกันดีว่าคลื่นไฟฟ้าในสมองที่จะสั่นในขณะที่เราหลับนั้น สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าในสมอง หรือ EEG คลื่นเหล่านี้เรียกกันว่า "แกนหมุนการนอน" และนักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าคลื่นเหล่านี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างความทรงจำขณะที่เราหลับด้วย "แต่เราไม่รู้ว่า คลื่นสมองเหล่านี้จะมีผลอะไรกับการเก็บและการตกผลึกความจำในสมองหรือไม่" รองศาสตราจารย์ ดร.ฟลาวิโอ โฟรห์ลิช แห่งศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโลไรนา เผย "คลื่นเหล่านี้อาจจะเป็นผลลัพธ์จากกระบวนการในสมองส่วนอื่นที่ทำให้เราเก็บความทรงจำได้ งานวิจัยของเราได้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับสร้างความทรงจำ และเราจำเป็นต้องมีกระบวนการเหล่านี้ทุกวัน งานวิจัยของเรามีขึ้นโดยตั้งใจจะกระตุ้นสมองส่วนนี้เพื่อขยายขีดความสามารถในการจำ" นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พยายามกระตุ้นสมองเฉพาะจุด โดยไม่ทำให้กิจกรรมในสมองส่วนอื่นเพิ่ม ก่อนหน้านี้ก็เคยมีวิธีการที่เรียกว่าการกระตุ้นไฟฟ้าสมองด้วยไฟกระแสตรง หรือ tDCS ซึ่งคล้ายกับวิธี tACS แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ส่วนวิธีหลังนี้จะใช้สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับกระตุ้น ในการศึกษาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 16 คน เป็นชายทั้งหมด โดยให้ทุกคนเข้านอนเป็นเวลา 2 คืน ก่อนเริ่มการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคนจะเข้าทำการทดสอบความจำ โดยมีเกมเกี่ยวกับคำและลำดับของการขยับร่างกาย ส่วนในช่วงที่ทดลองนั้น นักวิจัยจะติดขั้วไฟฟ้าเข้าที่หนังศีรษะของผู้เข้าร่วมการทดลอง โดยในวันแรกจะทำการกระตุ้นไฟฟ้าด้วย tACS ส่วนในคืนที่สองจะทำการเก็บข้อมูลอีกครั้ง นักวิจัยพบว่า ในแต่ละวัน ผู้เข้าร่วมการทดลองมักจะทำคะแนนในแบบทดสอบความจำได้เท่าเดิม ไม่มีการพัฒนาส่วนของความจำด้านการใช้คำ แต่งานที่ต้องขยับร่างกายและจำให้ได้นั้น นักวิจัยพบว่า การออกกำลังกายทำให้จำดีขึ้นได้ "งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพทเทิร์นกิจกรรมไฟฟ้าในสมองที่เกี่ยวข้องกับการหลับ และกระบวนการตกผลึกความจำ" ส่วนทาง ดร.คาโรลิน ลุสเตนเบอร์เกอร์ นักวิจัยร่วมเผยว่า "เราตื่นเต้นมากเพราะนี่เป็นการบอกให้รู้ว่าการนอนหลับเชื่อมโยงกับการสร้างความทรงจำอย่างไร และคนที่มีปัญหาด้านการจำก็มีเยอะมาก ทั้งโรคจิตเภทและอัลไซเมอร์ เราหวังว่าการพุ่งเป้าหมายไปที่กลไกเฉพาะที่เกี่ยวกับการนอน น่าจะทำให้เราได้วิธีการรักษาการสูญเสียซึ่งความทรงจำได้" ทีมวิจัย tACS ในครั้งนี้มีเป้าหมายไปที่คลื่นอัลฟาในสมอง โดยคลื่นนี้มักจะไม่เกิดในคนที่ปัญหาด้านสุขภาพจิต ระบบประสาท และโรคซึมเศร้า ขอบคุณ... http://www.vcharkarn.com/vnews/505415

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...