เด็กไทยไอคิวต่ำ ฉลาดน้อย สิ่งสำคัญที่ถูกมองข้าม "การลงทุนกับคน"

แสดงความคิดเห็น

ในสังคมยุคนี้หากต้องการใช้ชีวิตครอบครัว มีลูกมาเป็นโซ่ทองคล้องใจมาเติมเต็มให้กับบ้าน เป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เพราะการเลี้ยงเด็กสักคนให้เติบโตเป็นคนเก่ง คนดี ต้องผ่านขบวนการขั้นตอนอีกมากมายหลากหลายที่พ่อแม่จำเป็นต้องเรียนรู้ หากถามพ่อแม่ว่าอยากให้ลูกฉลาดหรือไม่ เชื่อว่า 100% ต้องตอบว่าอยาก แต่ปัจจัยอะไรที่สามารถส่งเสริมความฉลาด เพิ่มสติปัญญาให้ลูกได้ ในสภาวะที่สถานการณ์เด็กปฐมวัยไทยจำนวน 1 ใน 3 ของประเทศพัฒนาการล่าช้า ส่งผลต่อ IQ ของเด็กมีโอกาสฉลาดน้อย เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมจัด “สัมมนาการพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัยกับการคุ้มครองทางสังคม” ณ อาคารประชาธิปก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล กล่าวว่า สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย (0-5 ปี) ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา พบว่าเด็กปฐมวัยประมาณ 30% หรือ 1 ใน 3 ของเด็กเล็กในประเทศมีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งถือว่ามีจำนวนที่สูงมาก โดยพบว่ามีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าถึง 20% ตามด้วยพัฒนาการทางปฏิภาณไหวพริบและการเข้ากับสังคมอีก 5% ซึ่งพัฒนาการทั้ง 2 ด้านจะมีผลต่อระดับสติปัญญา ทำให้เด็กกลุ่มนี้ส่งผลต่อการเรียนรู้ทั้งด้านทักษะการอ่าน เขียน คิดคำนวณ และไอคิว

“สาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กมีพัฒนาการล่าช้ามาจาก 3 สาเหตุคือ 1.ขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า โดยเฉพาะการไม่เห็นความสำคัญของอาหารเช้าและเกลือแร่ที่มีผลต่อสมอง ได้แก่ ไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่เด็กที่ขาดสารอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่พบในครอบครัวที่ยากจน หรือแม่วัยรุ่นที่มีภาวะบกพร่องทางโฟเลตสูง ทำให้ลูกเสี่ยงต่อพิการแต่กำเนิด 2.ปัจจัยการเลี้ยงดู หรือคนเลี้ยงมีปัญหา โดยเฉพาะในครอบครัวเดี่ยวที่มีถึง 30% ซึ่งโอกาสการเลี้ยงดูลูกมีน้อย เด็กจึงอยู่ในความดูแลของพี่เลี้ยงเด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก และศูนย์เด็กเล็ก ปัญหาคือจุดรับฝากเด็กมีกระบวนการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพหรือไม่ หากไม่มีการเล่านิทานหรือการเล่น พัฒนาการก็จะไม่เกิดขึ้น และ 3.การใช้สื่อโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟน กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งใน 3 ปีแรกควรหยุดการใช้สื่อเทคโนโลยี แต่ควรใช้วิธีเล่านิทานหรือการเล่นเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งหมด

การดูแลเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพต้องเริ่มจาก 3 ส่วนที่ต้องทำงานร่วมกันคือ 1.เสริมพลังครอบครัว ซึ่งถือเป็นหัวใจของการพัฒนาการเรียนรู้ เด็กวัยนี้ควรเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกและจำกัดการใช้เทคโนโลยี 2.พัฒนาระบบบริหารจัดการคลินิกสุขภาพเด็ก ที่มีการคัดกรองเด็กและจัดการในกรณีที่พบภาวะบกพร่องอย่างรวดเร็ว (early detection & early intervention) และ 3.ระบบส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้มีคุณภาพ” นพ.สุริยเดว กล่าว

ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนระบบหลักประกันโอกาส ทางการศึกษา สสค. เปิดเผยว่า การดูแลเด็กเล็ก 0-5 ปี นับเป็นยุคทองของพัฒนาการเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองมีการพัฒนาการสูงสุด ที่จะผลต่อสติปัญญา บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์ การลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เด็กเล็ก จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด จากผลการศึกษาของ James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล (2542) พบว่าการลงทุนในเด็กปฐมวัยจะได้ผลตอบแทนกลับคืนในอนาคตถึง 7 เท่า นั่นคือหากลงทุน 1 บาท จะได้ผลประโยชน์คืนกลับสู่สังคมถึง 7 บาท โดยพบว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดีทั้งสารอาหารและการดูแลสุขภาพที่ดีใน ช่วงแรกของชีวิต จะมีทักษะทางกายภาพ IQ และ EQ ที่ดีกว่า มีโอกาสที่จะเข้าเรียนจนถึงระดับอุดมศึกษาสูงกว่า สามารถลดโอกาสการซ้ำชั้นหรือออกกลางคัน และมีโอกาสเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ มีรายได้ให้กับครอบครัวในอนาคต

สำหรับการดูแลเด็กปฐมวัยในประเทศไทย พบว่ามีการลงทุนในเด็กปฐมวัยค่อนข้างน้อย เพียง 12% หรือเฉลี่ยต่อหัวคนละ 23,282 บาท/คน/ปี ขณะที่การลงทุนในกลุ่มประถมศึกษาสูงสุดถึง 37,194 บาท/คน/ปี คิดเป็น 54% ของงบประมาณการศึกษาทั้งหมด ตามด้วยมัธยมศึกษา 26,332 บาท/คน/ปี หรือคิดเป็น 29% นอกจากนี้ยังพบปัญหาการลงทุนในเด็กเล็กที่ขาดคุณภาพ ซึ่งพบว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 3-5 ปี จะส่งเข้าสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัยต่างๆ เช่น โรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในปี 2554 มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งสิ้น 19,718 แห่ง เด็กปฐมวัย 911,143 คน และครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก 51,193 คน กล่าวคือ ครู/ผู้ดูแลเด็ก 1 คน ต้องรับผิดชอบเด็กปฐมวัย 17 คน ดังนั้นวันเด็กไม่ได้มีแค่วันเดียว แต่ต้องดูแลเด็กตั้งแต่เด็กคลอดออกมา โดยรัฐและท้องถิ่นควรลงทุนให้ถูกจุดและคุ้มค่าที่สุด โดยเริ่มลงทุนตั้งแต่เด็กเล็กเพื่อสร้างรากฐานให้แก่เด็กและเยาวชนไทย” นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าว

พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย บอกว่า ช่องว่างของการดูแลเด็กเล็กที่เกิดปัญหาทั้งในเขตเมืองและชนบทในขณะนี้คือ กลุ่มผู้หญิงวัยทำงานในเมืองกว่า 50% ขาดสถานรับเลี้ยงเด็ก (Day care) ที่มีคุณภาพ ซึ่งพบว่าใน กทม.มีเพียง 18 แห่งเท่านั้น ขณะที่เด็กในชนบทส่วนใหญ่อยู่ในการเลี้ยงดูของปู่ย่า ส่วนพ่อแม่ทำงานในเมือง ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า ไม่เพียงเฉพาะสถานศึกษาและสถานรับเลี้ยงเด็กเท่านั้นที่ส่งผลต่อพัฒนาการของ ลูกรัก พ่อและแม่ต้องเป็นหลักสำคัญที่ช่วยประคอง ส่งเสริมให้ลูกเติบโตขึ้นได้อย่างดีที่สุด.

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/010214/85379 (ขนาดไฟล์: 167)

(ไทย์โพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.57 )

ที่มา: ไทย์โพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 3/02/2557 เวลา 04:07:33

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในสังคมยุคนี้หากต้องการใช้ชีวิตครอบครัว มีลูกมาเป็นโซ่ทองคล้องใจมาเติมเต็มให้กับบ้าน เป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เพราะการเลี้ยงเด็กสักคนให้เติบโตเป็นคนเก่ง คนดี ต้องผ่านขบวนการขั้นตอนอีกมากมายหลากหลายที่พ่อแม่จำเป็นต้องเรียนรู้ หากถามพ่อแม่ว่าอยากให้ลูกฉลาดหรือไม่ เชื่อว่า 100% ต้องตอบว่าอยาก แต่ปัจจัยอะไรที่สามารถส่งเสริมความฉลาด เพิ่มสติปัญญาให้ลูกได้ ในสภาวะที่สถานการณ์เด็กปฐมวัยไทยจำนวน 1 ใน 3 ของประเทศพัฒนาการล่าช้า ส่งผลต่อ IQ ของเด็กมีโอกาสฉลาดน้อย เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมจัด “สัมมนาการพัฒนาและดูแลเด็กปฐมวัยกับการคุ้มครองทางสังคม” ณ อาคารประชาธิปก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล กล่าวว่า สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย (0-5 ปี) ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา พบว่าเด็กปฐมวัยประมาณ 30% หรือ 1 ใน 3 ของเด็กเล็กในประเทศมีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งถือว่ามีจำนวนที่สูงมาก โดยพบว่ามีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าถึง 20% ตามด้วยพัฒนาการทางปฏิภาณไหวพริบและการเข้ากับสังคมอีก 5% ซึ่งพัฒนาการทั้ง 2 ด้านจะมีผลต่อระดับสติปัญญา ทำให้เด็กกลุ่มนี้ส่งผลต่อการเรียนรู้ทั้งด้านทักษะการอ่าน เขียน คิดคำนวณ และไอคิว “สาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กมีพัฒนาการล่าช้ามาจาก 3 สาเหตุคือ 1.ขาดภาวะโภชนาการที่ดีและมีคุณค่า โดยเฉพาะการไม่เห็นความสำคัญของอาหารเช้าและเกลือแร่ที่มีผลต่อสมอง ได้แก่ ไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่เด็กที่ขาดสารอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่พบในครอบครัวที่ยากจน หรือแม่วัยรุ่นที่มีภาวะบกพร่องทางโฟเลตสูง ทำให้ลูกเสี่ยงต่อพิการแต่กำเนิด 2.ปัจจัยการเลี้ยงดู หรือคนเลี้ยงมีปัญหา โดยเฉพาะในครอบครัวเดี่ยวที่มีถึง 30% ซึ่งโอกาสการเลี้ยงดูลูกมีน้อย เด็กจึงอยู่ในความดูแลของพี่เลี้ยงเด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก และศูนย์เด็กเล็ก ปัญหาคือจุดรับฝากเด็กมีกระบวนการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพหรือไม่ หากไม่มีการเล่านิทานหรือการเล่น พัฒนาการก็จะไม่เกิดขึ้น และ 3.การใช้สื่อโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟน กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งใน 3 ปีแรกควรหยุดการใช้สื่อเทคโนโลยี แต่ควรใช้วิธีเล่านิทานหรือการเล่นเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งหมด การดูแลเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพต้องเริ่มจาก 3 ส่วนที่ต้องทำงานร่วมกันคือ 1.เสริมพลังครอบครัว ซึ่งถือเป็นหัวใจของการพัฒนาการเรียนรู้ เด็กวัยนี้ควรเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกและจำกัดการใช้เทคโนโลยี 2.พัฒนาระบบบริหารจัดการคลินิกสุขภาพเด็ก ที่มีการคัดกรองเด็กและจัดการในกรณีที่พบภาวะบกพร่องอย่างรวดเร็ว (early detection & early intervention) และ 3.ระบบส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้มีคุณภาพ” นพ.สุริยเดว กล่าว ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนระบบหลักประกันโอกาส ทางการศึกษา สสค. เปิดเผยว่า การดูแลเด็กเล็ก 0-5 ปี นับเป็นยุคทองของพัฒนาการเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองมีการพัฒนาการสูงสุด ที่จะผลต่อสติปัญญา บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์ การลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เด็กเล็ก จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด จากผลการศึกษาของ James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล (2542) พบว่าการลงทุนในเด็กปฐมวัยจะได้ผลตอบแทนกลับคืนในอนาคตถึง 7 เท่า นั่นคือหากลงทุน 1 บาท จะได้ผลประโยชน์คืนกลับสู่สังคมถึง 7 บาท โดยพบว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดีทั้งสารอาหารและการดูแลสุขภาพที่ดีใน ช่วงแรกของชีวิต จะมีทักษะทางกายภาพ IQ และ EQ ที่ดีกว่า มีโอกาสที่จะเข้าเรียนจนถึงระดับอุดมศึกษาสูงกว่า สามารถลดโอกาสการซ้ำชั้นหรือออกกลางคัน และมีโอกาสเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ มีรายได้ให้กับครอบครัวในอนาคต สำหรับการดูแลเด็กปฐมวัยในประเทศไทย พบว่ามีการลงทุนในเด็กปฐมวัยค่อนข้างน้อย เพียง 12% หรือเฉลี่ยต่อหัวคนละ 23,282 บาท/คน/ปี ขณะที่การลงทุนในกลุ่มประถมศึกษาสูงสุดถึง 37,194 บาท/คน/ปี คิดเป็น 54% ของงบประมาณการศึกษาทั้งหมด ตามด้วยมัธยมศึกษา 26,332 บาท/คน/ปี หรือคิดเป็น 29% นอกจากนี้ยังพบปัญหาการลงทุนในเด็กเล็กที่ขาดคุณภาพ ซึ่งพบว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 3-5 ปี จะส่งเข้าสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัยต่างๆ เช่น โรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในปี 2554 มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งสิ้น 19,718 แห่ง เด็กปฐมวัย 911,143 คน และครูผู้ดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก 51,193 คน กล่าวคือ ครู/ผู้ดูแลเด็ก 1 คน ต้องรับผิดชอบเด็กปฐมวัย 17 คน ดังนั้นวันเด็กไม่ได้มีแค่วันเดียว แต่ต้องดูแลเด็กตั้งแต่เด็กคลอดออกมา โดยรัฐและท้องถิ่นควรลงทุนให้ถูกจุดและคุ้มค่าที่สุด โดยเริ่มลงทุนตั้งแต่เด็กเล็กเพื่อสร้างรากฐานให้แก่เด็กและเยาวชนไทย” นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าว พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย บอกว่า ช่องว่างของการดูแลเด็กเล็กที่เกิดปัญหาทั้งในเขตเมืองและชนบทในขณะนี้คือ กลุ่มผู้หญิงวัยทำงานในเมืองกว่า 50% ขาดสถานรับเลี้ยงเด็ก (Day care) ที่มีคุณภาพ ซึ่งพบว่าใน กทม.มีเพียง 18 แห่งเท่านั้น ขณะที่เด็กในชนบทส่วนใหญ่อยู่ในการเลี้ยงดูของปู่ย่า ส่วนพ่อแม่ทำงานในเมือง ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า ไม่เพียงเฉพาะสถานศึกษาและสถานรับเลี้ยงเด็กเท่านั้นที่ส่งผลต่อพัฒนาการของ ลูกรัก พ่อและแม่ต้องเป็นหลักสำคัญที่ช่วยประคอง ส่งเสริมให้ลูกเติบโตขึ้นได้อย่างดีที่สุด. ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/010214/85379 (ไทย์โพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...