วิจัย "สมองนักมวยเด็ก" ฉบับแรกของโลก

แสดงความคิดเห็น

ภาพสแกน สมองนักมวยเด็ก

"มวย" ถือเป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองไทย อีกทั้งเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่พ่อแม่นิยมให้ลูกเข้าค่ายมวยเพื่อฝึกความแข็งแรง หรือไม่ก็เล่นเป็นจริงเป็นจังยึดเป็นอาชีพ ตั้งแต่ยังเล็กๆ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีเยาวชนต่อยมวยตั้งแต่อายุน้อยที่สุด 5-6 ขวบ เท่านั้น!! หากที่ผ่านมา ไม่มีใครเคยฉุกคิดว่า การให้เด็กต่อยมวยตั้งแต่อายุยังน้อยนั้นมีผลอะไรต่อระบบร่างกายหรือสมองอย่างไรบ้าง

ล่าสุด "ไอแมค" ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยผลวิจัยแผนที่สมองคนเอเชีย ที่โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน โดยมุ่งการวิจัยลงไปที่ "นักมวยเด็ก" จากการวิจัยพบว่า นักมวยเด็กมีระดับไอคิวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วๆไปและมีโอกาสเสี่ยงสมองฝ่อ!!

"รศ.พญ.จริพร เหล่าธรรมทัศน์" ประธานราชวิทยารังสีแพทย์แห่งประเทศไทย และนายกรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายถึงผลงานการวิจัย "โครงการแผนที่สมองไทย" ว่า เป็นผลงานที่จะช่วยเรื่องการวินิจฉัย วิจัย และรักษาโรคเรื้อรังระยะเริ่มต้น อาทิ โรคความจำเสื่อม โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองอักเสบ ที่เป็นสาเหตุภาวะพิการ และการเข้าถึงความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดในสมอง กลุ่มตัวอย่างที่น่าสนใจคือ "กลุ่มนักมวยเด็ก" เพราะประเทศไทยถือเป็นประเทศเดียวที่เด็กเป็นนักมวยได้ตั้งแต่อายุ5-6ขวบ

"สำหรับผลงานวิจัยแผนที่สมองนักมวยเด็กถือเป็นฉบับแรกของโลก ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Ingenia MR ของฟิลิปส์แล้วพบว่า กลุ่มนักมวยเด็กมีระดับไอคิวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วๆ ไป ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมอง โรคสมองเสื่อม และไตวาย เพราะที่ผ่านมามีเคสผู้ป่วยที่เป็นนักมวยเด็กเกิดอาการบาดเจ็บจากการชกมวย บางรายชกมวยจนไตแตก ทำให้ถึงกับต้องตัดไตออก แต่สุดท้ายก็เกิดภาวะไตวายเสียชีวิต"

รศ.พญ.จริพรอธิบายเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีข้อมูลสถิตินักมวยสมัครเล่นอายุเพียง 6-15 ปี ที่ขึ้นทะเบียนกับสังกัดค่ายมวย ในปี 2550 ประมาณ 929 ราย เป็นเพศชาย 851 ราย เพศหญิง 78 ราย แต่ตัวเลขที่จริงมีถึง 100,000 คน และกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนทั้งหมดมีอาการน็อกจากการชก จนชกต่อไม่ไหว, ร้อยละ 20 น็อกจนหมดสติระหว่างการชก และกว่าร้อยละ 70 มีอาการบาดเจ็บตามร่างกาย เช่น ฟกช้ำดำเขียว เมื่อวินิจฉัยกับแผนที่สมองพบว่า สมองของนักมวยเด็กมีปริมาณธาตุเหล็กสูง เพราะมีเลือดออกมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำลายเนื้อสมอง และอีกกรณีหนึ่งของวินิจฉัยพบ ภาวะน้ำในสมองมาก จนอาจสกัดกั้นการเจริญเติบโตในสมองซึ่งเด็กที่อายุน้อยสมองยังไม่เติบโตเต็มที่

"ทีมงานวิจัยไม่ได้ต้องการคัดค้านอาชีพนักมวยเด็ก แต่ต้องการผลักดันให้เกิดความปลอดภัยขึ้นกับตัวเด็กๆ ที่ทำอาชีพนี้ เพราะอุปกรณ์ป้องกันศีรษะที่เรียกว่าเฮดการ์ดไม่สามารถป้องกันศีรษะและสมองได้ เพราะความปลอดภัยในเด็กถือเป็นสิทธิสำคัญที่พวกเขาควรได้รับ แน่นอนว่าเด็กๆ ที่ประกอบอาชีพนี้มีพัฒนาด้านร่างกายเรื่องความแข็งแรงสูง แต่มันไม่คุ้มหากสมองเสียหาย เพราะอวัยวะดังกล่าวไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้"เพราะเด็กทุกคนคืออนาคตของประเทศ

ที่มา : นสพ.มติชน

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379060372

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 14/09/2556 เวลา 03:27:37 ดูภาพสไลด์โชว์ วิจัย "สมองนักมวยเด็ก" ฉบับแรกของโลก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพสแกน สมองนักมวยเด็ก "มวย" ถือเป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองไทย อีกทั้งเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่พ่อแม่นิยมให้ลูกเข้าค่ายมวยเพื่อฝึกความแข็งแรง หรือไม่ก็เล่นเป็นจริงเป็นจังยึดเป็นอาชีพ ตั้งแต่ยังเล็กๆ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีเยาวชนต่อยมวยตั้งแต่อายุน้อยที่สุด 5-6 ขวบ เท่านั้น!! หากที่ผ่านมา ไม่มีใครเคยฉุกคิดว่า การให้เด็กต่อยมวยตั้งแต่อายุยังน้อยนั้นมีผลอะไรต่อระบบร่างกายหรือสมองอย่างไรบ้าง ล่าสุด "ไอแมค" ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยผลวิจัยแผนที่สมองคนเอเชีย ที่โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน โดยมุ่งการวิจัยลงไปที่ "นักมวยเด็ก" จากการวิจัยพบว่า นักมวยเด็กมีระดับไอคิวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วๆไปและมีโอกาสเสี่ยงสมองฝ่อ!! "รศ.พญ.จริพร เหล่าธรรมทัศน์" ประธานราชวิทยารังสีแพทย์แห่งประเทศไทย และนายกรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายถึงผลงานการวิจัย "โครงการแผนที่สมองไทย" ว่า เป็นผลงานที่จะช่วยเรื่องการวินิจฉัย วิจัย และรักษาโรคเรื้อรังระยะเริ่มต้น อาทิ โรคความจำเสื่อม โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองอักเสบ ที่เป็นสาเหตุภาวะพิการ และการเข้าถึงความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดในสมอง กลุ่มตัวอย่างที่น่าสนใจคือ "กลุ่มนักมวยเด็ก" เพราะประเทศไทยถือเป็นประเทศเดียวที่เด็กเป็นนักมวยได้ตั้งแต่อายุ5-6ขวบ "สำหรับผลงานวิจัยแผนที่สมองนักมวยเด็กถือเป็นฉบับแรกของโลก ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Ingenia MR ของฟิลิปส์แล้วพบว่า กลุ่มนักมวยเด็กมีระดับไอคิวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วๆ ไป ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมอง โรคสมองเสื่อม และไตวาย เพราะที่ผ่านมามีเคสผู้ป่วยที่เป็นนักมวยเด็กเกิดอาการบาดเจ็บจากการชกมวย บางรายชกมวยจนไตแตก ทำให้ถึงกับต้องตัดไตออก แต่สุดท้ายก็เกิดภาวะไตวายเสียชีวิต" รศ.พญ.จริพรอธิบายเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีข้อมูลสถิตินักมวยสมัครเล่นอายุเพียง 6-15 ปี ที่ขึ้นทะเบียนกับสังกัดค่ายมวย ในปี 2550 ประมาณ 929 ราย เป็นเพศชาย 851 ราย เพศหญิง 78 ราย แต่ตัวเลขที่จริงมีถึง 100,000 คน และกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนทั้งหมดมีอาการน็อกจากการชก จนชกต่อไม่ไหว, ร้อยละ 20 น็อกจนหมดสติระหว่างการชก และกว่าร้อยละ 70 มีอาการบาดเจ็บตามร่างกาย เช่น ฟกช้ำดำเขียว เมื่อวินิจฉัยกับแผนที่สมองพบว่า สมองของนักมวยเด็กมีปริมาณธาตุเหล็กสูง เพราะมีเลือดออกมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำลายเนื้อสมอง และอีกกรณีหนึ่งของวินิจฉัยพบ ภาวะน้ำในสมองมาก จนอาจสกัดกั้นการเจริญเติบโตในสมองซึ่งเด็กที่อายุน้อยสมองยังไม่เติบโตเต็มที่ "ทีมงานวิจัยไม่ได้ต้องการคัดค้านอาชีพนักมวยเด็ก แต่ต้องการผลักดันให้เกิดความปลอดภัยขึ้นกับตัวเด็กๆ ที่ทำอาชีพนี้ เพราะอุปกรณ์ป้องกันศีรษะที่เรียกว่าเฮดการ์ดไม่สามารถป้องกันศีรษะและสมองได้ เพราะความปลอดภัยในเด็กถือเป็นสิทธิสำคัญที่พวกเขาควรได้รับ แน่นอนว่าเด็กๆ ที่ประกอบอาชีพนี้มีพัฒนาด้านร่างกายเรื่องความแข็งแรงสูง แต่มันไม่คุ้มหากสมองเสียหาย เพราะอวัยวะดังกล่าวไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้"เพราะเด็กทุกคนคืออนาคตของประเทศ ที่มา : นสพ.มติชน ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379060372 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...