'รำไทย' ห่างไกลสมองเสื่อม

แสดงความคิดเห็น

ผลสแกนสมองจากการรำไทย

"มีข้อสังเกตว่าครูที่เป็นปรมาจารย์รำไทย ลำตัดมีความจำดีหมด ไม่มีความจำเสื่อมจึงเป็นสมมุติฐานว่าการรำไทยน่าจะทำปฏิกิริยาต่อสมอง"

ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อ.ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล ในฐานะนักวิชาการผู้ทำโครงการวิเคราะห์คลื่นสมองเพื่อกิจกรรมทางกาย ระบุซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยทำร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อออกแบบกิจกรรมที่ว่าการเคลื่อนไหวขยับร่างกายเสริมสร้างสมรรถภาพของ สมองอย่างไร พร้อมกับค้นหาว่าการออกกำลังกายตรงส่วนไหนที่จะพัฒนาสมองแต่ละส่วน จึงเป็นที่มาของการนำเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองมาทำการวิเคราะห์การทำงานของ ร่างกายที่สัมพันธ์กับสมอง

ดร.ยศชนัน กล่าวอีกว่า แท้จริงร่างกายคนเราไม่ใช่มีแค่ยกแขนขาได้เพียงอย่างเดียว เรื่องความรู้สึกการมอง รวมทั้งเซลล์ประสาททั้ง 5 ของเรา การมองการฟัง ผิวสัมผัสต่าง ๆ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องออกกำลังกายทั้งสิ้น เพราะสมองในคนเราทุกส่วนมีหน้าที่ต่างกัน สมองส่วนข้างมีหน้าที่ได้ยิน สมองส่วนหลังเป็นเรื่องการมองเห็น สมองส่วนหน้าเป็นเรื่องความตั้งใจ ด้านซ้ายออกมาเป็นเรื่องการพูด ด้านขวาเป็นเรื่องแสดงออกเชิงอารมณ์ ตรงกลางควบคุมการเคลื่อนไหว สมองกลางค่อนมาข้างหน้าเป็นลักษณะการวางแผน ก่อนที่จะถึงข้างหลังเป็นเรื่องผิวสัมผัสความรู้สึก

ดังนั้นก่อนที่จะรู้ว่าสมองส่วนไหนได้ออกกำลังกายเมื่อเราทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือสแกนคลื่นสมองแล้วนำมาเทียบกับคลื่นสมอง จากนั้นนำมาเทียบคลื่นสมองมาตรฐาน เทียบช่วงอายุเดียวกันของแต่ละคน ทำให้สามารถทราบได้ว่าปริมาณสมองส่วนไหนที่ทำงานเยอะไปหรือว่าน้อยไป เมื่อผลออกมานักกิจกรรมบำบัดจะออกแบบกิจกรรมให้กับแต่ละบุคคลได้ ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการพัฒนาสมองของเด็กออทิสติก เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางสมองแต่ว่าเราสามารถนำการบริหารสมองพื้นฐานแบบ เดียวกันมาสร้างเป็นเครื่องคล้ายเครื่องเล่นกีฬาออกกำลังกายต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์การบริหารสมอง

"ตรงนี้จะตอบโจทย์ความต้องการของ สสส. นอกจากนั้นเราจะเช็กว่าอุปกรณ์ที่เรามีทั้งหมดสามารถที่จะตอบโจทย์สมองหรือยัง ถ้ายังเราสามารถคิดค้นกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ และวันนี้เราเสนอแนะกิจกรรมรำไทยที่สามารถทำให้ประสาททุกส่วนทำงานเหมือนกัน หมด"

ชุดอุปกรณ์ การศึกษาผลกระทบรำไทยเพื่อประยุกต์ใช้ป้องกันภาวะสมองเสื่อม"

ดร.ยศชนันบอกผลลัพธ์ของการสแกนคลื่นสมองในระหว่างที่มีการรำไทยว่า รำไทยไม่รำเดี่ยวจะรำเป็นหมู่คณะ ต้องฟังเสียงเพลง และคอยมองเพื่อน ได้บริหารหู บริหารตา และต้องใช้กล้ามเนื้อ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่บริหารกล้ามเนื้ออย่างที่ยกเวท กล้ามเนื้อในการดัดนิ้วหมุนเวียนต่าง ๆ เรื่องของผิวสัมผัสความรู้สึกต้องดีและกล้ามเนื้อการทำงานที่ละเอียดอ่อนได้ ดี เท้าก็ทำงาน ได้เสริมทุกอย่างการได้ยิน การมอง ความรู้สึก การวางแผนการเคลื่อนไหว ทุกอย่างทำงานหมดด้วยการรำไทย ดังนั้นกิจกรรมรำไทยจึงบริหารสมองได้ทุกส่วนทั้งส่วนหน้า ส่วนข้าง ส่วนหลัง ซึ่งสัมพันธ์เกี่ยวกับการคิด สัมผัสเคลื่อนไหวทั้งสิ้น

ที่มาของข้อมูลรำไทยพัฒนาสมองนักวิจัยได้ทดลองให้นางรำใส่หมวกสแกนคลื่นสมอง ซึ่งเครื่องมีอยู่ในรพ.อยู่แล้ว ภาพการแสดงผลการสแกนสมองปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เห็นการทำงานของสมองทุกส่วน แต่สำหรับโครงการนี้ได้ออกแบบซอฟต์แวร์เฉพาะขึ้นมาเพื่อ แสดงให้เห็นการทำงานของสมองตลอดเวลา ราคาของเครื่องจะถูกกว่าเครื่องสแกนสมองทั่วไปในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการต่อ ยอดผลงานวิทยานิพนธ์ของ วินัย ฉัตรทอง นศ.ปริญญาเอกที่ทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ "การศึกษาผลกระทบรำไทยเพื่อประยุกต์ใช้ป้องกันภาวะสมองเสื่อม"

อุปกรณ์สแกนสมอง

อุปกรณ์สแกนสมองดังกล่าวที่บรรจุซอฟต์แวร์เฉพาะสามารถนำมาใช้ได้ทั้งคนปกติและ กลุ่มคนออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องสมอง สำหรับคนปกติตัวอย่างเช่นปัญหาเรื่องความเครียดหรือต้องการเสริมสมองส่วนหนึ่ง เช่น ขี้หลงขี้ลืม อายุมากความจำไม่ดี สังเกตได้จากอาการเครียดเมื่อออกกำลังกายแล้วหาย แต่บางวันไม่หาย เราสามารถเช็กสมองได้ว่าสมองส่วนนั้นได้รับการบริหารหรือยัง จากนั้นต้องหากิจกรรมออกกำลังกายที่สอดคล้องกับสมองส่วนนั้น ไม่เช่นนั้นร่างกายก็ต้องออกกำลังกายทุกท่าไปหมด อุปกรณ์นี้จะเป็นทางเลือกในการที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพอีกวิธีหนึ่ง แม้วิธีการออกกำลังกายแบบเดิมจะได้ผลอยู่แล้ว แต่จะไปช่วยเสริมให้วิธีเดิมได้ผลมากขึ้น

ส่วนกลุ่มคนที่มีปัญหาทางสติปัญญาตรงนี้จะออกแบบกิจกรรมช่วย เราจะรู้เลยว่ากิจกรรมไหน ที่ต้องเน้นเพิ่มเติมกับเด็กที่ไม่ปกติ ในอนาคตอาจนำเครื่องมือนี้ไปยังชุมชนต่าง ๆ ที่พ่อแม่ไม่มีเวลาพาลูกไป รพ.หรือบุคลากรทางด้านกายภาพบำบัดไม่เพียงพอ ช่วยเติมเต็มให้กับคนด้อยโอกาสที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงเครื่องมือราคาแพงภายใต้การคิดค้นของมหาวิทยาลัยมหิดล ทรัพย์สินทางปัญญานี้เป็นลิขสิทธิ์ ของทางมหาวิทยาลัย ดังนั้นก่อนที่จะส่งเสริมให้เอกชนทำในเชิงพาณิชย์จะต้องขอจดทะเบียนเป็น เครื่องมือแพทย์ก่อน แต่งานวิจัยยังเดินทางไปไม่ถึงตรงจุดนั้น แต่เงื่อนไขสำคัญเมื่อผลิตในเชิงพาณิชย์ ต้องให้ผู้พิการ ผู้ขาดโอกาสสามารถเข้าถึงเครื่องมือนี้ฟรีด้วย ดร.ยศชนัน ระบุไว้อย่างนั้น ผู้สนใจงานวิจัย โครงการวิเคราะห์คลื่นสมองเพื่อกิจกรรมทางกาย สอบถามได้ที่อีเมลล์ yodchanan.won@mahidol.ac.th โทร. 0-2889-2138 ต่อ 6361

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/partner/partner_stor/36398

thaihealth.or.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56

ที่มา: thaihealth.or.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 11/09/2556 เวลา 03:07:52 ดูภาพสไลด์โชว์ 'รำไทย' ห่างไกลสมองเสื่อม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผลสแกนสมองจากการรำไทย "มีข้อสังเกตว่าครูที่เป็นปรมาจารย์รำไทย ลำตัดมีความจำดีหมด ไม่มีความจำเสื่อมจึงเป็นสมมุติฐานว่าการรำไทยน่าจะทำปฏิกิริยาต่อสมอง" ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อ.ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล ในฐานะนักวิชาการผู้ทำโครงการวิเคราะห์คลื่นสมองเพื่อกิจกรรมทางกาย ระบุซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยทำร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อออกแบบกิจกรรมที่ว่าการเคลื่อนไหวขยับร่างกายเสริมสร้างสมรรถภาพของ สมองอย่างไร พร้อมกับค้นหาว่าการออกกำลังกายตรงส่วนไหนที่จะพัฒนาสมองแต่ละส่วน จึงเป็นที่มาของการนำเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองมาทำการวิเคราะห์การทำงานของ ร่างกายที่สัมพันธ์กับสมอง ดร.ยศชนัน กล่าวอีกว่า แท้จริงร่างกายคนเราไม่ใช่มีแค่ยกแขนขาได้เพียงอย่างเดียว เรื่องความรู้สึกการมอง รวมทั้งเซลล์ประสาททั้ง 5 ของเรา การมองการฟัง ผิวสัมผัสต่าง ๆ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องออกกำลังกายทั้งสิ้น เพราะสมองในคนเราทุกส่วนมีหน้าที่ต่างกัน สมองส่วนข้างมีหน้าที่ได้ยิน สมองส่วนหลังเป็นเรื่องการมองเห็น สมองส่วนหน้าเป็นเรื่องความตั้งใจ ด้านซ้ายออกมาเป็นเรื่องการพูด ด้านขวาเป็นเรื่องแสดงออกเชิงอารมณ์ ตรงกลางควบคุมการเคลื่อนไหว สมองกลางค่อนมาข้างหน้าเป็นลักษณะการวางแผน ก่อนที่จะถึงข้างหลังเป็นเรื่องผิวสัมผัสความรู้สึก ดังนั้นก่อนที่จะรู้ว่าสมองส่วนไหนได้ออกกำลังกายเมื่อเราทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือสแกนคลื่นสมองแล้วนำมาเทียบกับคลื่นสมอง จากนั้นนำมาเทียบคลื่นสมองมาตรฐาน เทียบช่วงอายุเดียวกันของแต่ละคน ทำให้สามารถทราบได้ว่าปริมาณสมองส่วนไหนที่ทำงานเยอะไปหรือว่าน้อยไป เมื่อผลออกมานักกิจกรรมบำบัดจะออกแบบกิจกรรมให้กับแต่ละบุคคลได้ ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการพัฒนาสมองของเด็กออทิสติก เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางสมองแต่ว่าเราสามารถนำการบริหารสมองพื้นฐานแบบ เดียวกันมาสร้างเป็นเครื่องคล้ายเครื่องเล่นกีฬาออกกำลังกายต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์การบริหารสมอง "ตรงนี้จะตอบโจทย์ความต้องการของ สสส. นอกจากนั้นเราจะเช็กว่าอุปกรณ์ที่เรามีทั้งหมดสามารถที่จะตอบโจทย์สมองหรือยัง ถ้ายังเราสามารถคิดค้นกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ และวันนี้เราเสนอแนะกิจกรรมรำไทยที่สามารถทำให้ประสาททุกส่วนทำงานเหมือนกัน หมด" ชุดอุปกรณ์ การศึกษาผลกระทบรำไทยเพื่อประยุกต์ใช้ป้องกันภาวะสมองเสื่อม\" ดร.ยศชนันบอกผลลัพธ์ของการสแกนคลื่นสมองในระหว่างที่มีการรำไทยว่า รำไทยไม่รำเดี่ยวจะรำเป็นหมู่คณะ ต้องฟังเสียงเพลง และคอยมองเพื่อน ได้บริหารหู บริหารตา และต้องใช้กล้ามเนื้อ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่บริหารกล้ามเนื้ออย่างที่ยกเวท กล้ามเนื้อในการดัดนิ้วหมุนเวียนต่าง ๆ เรื่องของผิวสัมผัสความรู้สึกต้องดีและกล้ามเนื้อการทำงานที่ละเอียดอ่อนได้ ดี เท้าก็ทำงาน ได้เสริมทุกอย่างการได้ยิน การมอง ความรู้สึก การวางแผนการเคลื่อนไหว ทุกอย่างทำงานหมดด้วยการรำไทย ดังนั้นกิจกรรมรำไทยจึงบริหารสมองได้ทุกส่วนทั้งส่วนหน้า ส่วนข้าง ส่วนหลัง ซึ่งสัมพันธ์เกี่ยวกับการคิด สัมผัสเคลื่อนไหวทั้งสิ้น ที่มาของข้อมูลรำไทยพัฒนาสมองนักวิจัยได้ทดลองให้นางรำใส่หมวกสแกนคลื่นสมอง ซึ่งเครื่องมีอยู่ในรพ.อยู่แล้ว ภาพการแสดงผลการสแกนสมองปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เห็นการทำงานของสมองทุกส่วน แต่สำหรับโครงการนี้ได้ออกแบบซอฟต์แวร์เฉพาะขึ้นมาเพื่อ แสดงให้เห็นการทำงานของสมองตลอดเวลา ราคาของเครื่องจะถูกกว่าเครื่องสแกนสมองทั่วไปในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการต่อ ยอดผลงานวิทยานิพนธ์ของ วินัย ฉัตรทอง นศ.ปริญญาเอกที่ทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ "การศึกษาผลกระทบรำไทยเพื่อประยุกต์ใช้ป้องกันภาวะสมองเสื่อม" อุปกรณ์สแกนสมอง อุปกรณ์สแกนสมองดังกล่าวที่บรรจุซอฟต์แวร์เฉพาะสามารถนำมาใช้ได้ทั้งคนปกติและ กลุ่มคนออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องสมอง สำหรับคนปกติตัวอย่างเช่นปัญหาเรื่องความเครียดหรือต้องการเสริมสมองส่วนหนึ่ง เช่น ขี้หลงขี้ลืม อายุมากความจำไม่ดี สังเกตได้จากอาการเครียดเมื่อออกกำลังกายแล้วหาย แต่บางวันไม่หาย เราสามารถเช็กสมองได้ว่าสมองส่วนนั้นได้รับการบริหารหรือยัง จากนั้นต้องหากิจกรรมออกกำลังกายที่สอดคล้องกับสมองส่วนนั้น ไม่เช่นนั้นร่างกายก็ต้องออกกำลังกายทุกท่าไปหมด อุปกรณ์นี้จะเป็นทางเลือกในการที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพอีกวิธีหนึ่ง แม้วิธีการออกกำลังกายแบบเดิมจะได้ผลอยู่แล้ว แต่จะไปช่วยเสริมให้วิธีเดิมได้ผลมากขึ้น ส่วนกลุ่มคนที่มีปัญหาทางสติปัญญาตรงนี้จะออกแบบกิจกรรมช่วย เราจะรู้เลยว่ากิจกรรมไหน ที่ต้องเน้นเพิ่มเติมกับเด็กที่ไม่ปกติ ในอนาคตอาจนำเครื่องมือนี้ไปยังชุมชนต่าง ๆ ที่พ่อแม่ไม่มีเวลาพาลูกไป รพ.หรือบุคลากรทางด้านกายภาพบำบัดไม่เพียงพอ ช่วยเติมเต็มให้กับคนด้อยโอกาสที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงเครื่องมือราคาแพงภายใต้การคิดค้นของมหาวิทยาลัยมหิดล ทรัพย์สินทางปัญญานี้เป็นลิขสิทธิ์ ของทางมหาวิทยาลัย ดังนั้นก่อนที่จะส่งเสริมให้เอกชนทำในเชิงพาณิชย์จะต้องขอจดทะเบียนเป็น เครื่องมือแพทย์ก่อน แต่งานวิจัยยังเดินทางไปไม่ถึงตรงจุดนั้น แต่เงื่อนไขสำคัญเมื่อผลิตในเชิงพาณิชย์ ต้องให้ผู้พิการ ผู้ขาดโอกาสสามารถเข้าถึงเครื่องมือนี้ฟรีด้วย ดร.ยศชนัน ระบุไว้อย่างนั้น ผู้สนใจงานวิจัย โครงการวิเคราะห์คลื่นสมองเพื่อกิจกรรมทางกาย สอบถามได้ที่อีเมลล์ yodchanan.won@mahidol.ac.th โทร. 0-2889-2138 ต่อ 6361 ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/partner/partner_stor/36398 thaihealth.or.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...