โลกลูกหนังไม่เงียบอีกต่อไปชีวิตติดลบมีพลังใจด้วย‘ฟุตซอล’

แสดงความคิดเห็น

ปรียานุช ศักดิ์แพทย์ วัย 27 ปี นักกีฬา ฟุตซอล หูหนวกไทย

แม้การแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกชิงแชมป์โลก 2015 จะจบไปแล้ว แต่สำหรับผู้เล่นบางคน การได้ลงสนามอีกครั้ง ก็สร้างความหวัง ปลุกปลอบให้เธอลุกขึ้นยืนได้จากความผิดหวังในชีวิตอีกหน “ไม่ต้องไปกลัว เราต้องกล้า ช่างมัน!” เธอส่งภาษามือให้เพื่อน ๆ ต่อสู้กับทีมที่มีผู้เล่นเหนือกว่า ในการแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกชิงแชมป์โลก 2015 แม้ทีมชาติไทยจบที่อันดับ 8 แต่สำหรับ ปรียานุช ศักดิ์แพทย์ วัย 27 ปี การลงสนามครั้งนี้ทำให้โลกเงียบของเธอไม่เงียบอีกต่อไป...

ถึงชีวิตหลายคนจะลากเป็นเส้นตรงไปถึงจุดหมายไม่ยากนัก แต่สำหรับปรียานุช ซึ่งมีปัญหาทางการได้ยิน พยายามทุกทางเพื่อให้เทียบเท่ากับคนปกติ แต่นั่นก็ทำให้เธอล้มเหลวกับการศึกษา จนต้องออกกลางคันในการเรียนชั้นปีที่ 2 ในระบบมหาวิทยาลัย “ตอนนั้นไปแข่งบอลที่ไต้หวัน ทางมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้ไปแข่ง แต่เมื่อกลับมาอาจารย์ประจำวิชาไม่ให้ผ่านวิชาที่รับผิดชอบ เราผิดเองที่เลือกมาเรียนที่นี่ พอออกจากมหาวิทยาลัยก็ต้องปล่อยวาง เพราะเราทำอะไรไม่ได้ มันเรียนไม่ได้ โกรธไม่ได้ โมโหไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันไป แม้ต้องอยู่กับความเสียใจ เลยเสียเวลาอยู่บ้านเฉย ๆ ไป 1 ปี ทั้งที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าถ้าจบแล้วจะไปเป็นครูสอนน้อง ๆ หูหนวก ซึ่งตอนนั้นเลิกเล่นฟุตบอลอยู่พักใหญ่ จนเพื่อนชวนให้ไปแข่งฟุตบอลหญิง เพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดตราดกับคนปกติ”

ทีมฟุตซอลหญิง

ปรียานุช เล่าทั้งน้ำตา การไปเล่นบอลกับเพื่อนปกติ จะต้องพยายามอ่านริมฝีปากเพื่อนร่วมทีม แล้วคอยจับคำที่โค้ชสอน ซึ่งต้องรู้ว่าตัวเองเล่นตำแหน่งไหน ถึงยังไงก็ต้องพยายาม ตอนเด็ก ๆ ยังไม่เข้าใจการเล่นบอล พอเริ่มเล่นเอาจริงเอาจังต้องฝากให้แม่เป็นคนที่คอยสื่อสาร และนานขึ้นเริ่มเข้าใจเหมือนกับการที่เราเรียนทฤษฎีมา แล้วมาลงปฏิบัติ โค้ชบางคนใช้การอธิบายแผนการเล่นกับเด็กปกติก่อน แล้วค่อยมาอธิบายแบบสั้น ๆ ให้เข้าใจอีกรอบ ถือเป็นการเล่นบอลที่ต้องทำงานมากกว่าเพื่อนคนปกติ โดยต้องเหนื่อยกว่า แต่ถึงยังไงต้องพยายาม

ปรียานุช เล่าว่า เริ่มเล่นบอลตั้งแต่ ป.2 แรก ๆ แม่ให้ไปเล่นบอลกับเพื่อนที่เป็นคนปกติ ตอนนั้นเล่นเป็นกองกลาง และกองหน้าตัวยิงบอล เริ่มแรกเล่นบอล 7 คนก่อน หลังจากนั้นโค้ชเห็นแววเลยให้ไปเล่นบอล 11 คน จนได้มีโอกาสติดทีมชาติครั้งแรก เพื่อไปแข่งบอลหญิงคนหูหนวก 11 คน ปี 2009 ที่ไต้หวัน ตอนนั้นได้อันดับที่สุดท้ายกลับมา รู้เลยว่าเพื่อนที่ไปด้วยกันทั้งหมดยังไม่มีการฝึกฝน และยังไม่มีการเข้าแคมป์การอบรมที่เป็นระบบ เช่นเดียวกับโค้ชที่ก่อนหน้านั้นสอนแต่คนปกติ พอมาสอนคนหูหนวกอาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง

จากนั้นได้มาคัดตัวเพื่อเข้าทีมฟุตซอลหญิงคนหูหนวก ถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ติดทีมชาติ ครั้งนี้เข้าใจทักษะมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเทียบกันแล้วการเล่นบอล 11 คนที่สนามใหญ่ยากกว่าการเล่นฟุตซอล เพราะคนที่หูหนวกจะสื่อสารกันค่อนข้างยาก “ซึ่งการแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกปีนี้มี 16 ทีมที่แข่งขัน จริง ๆ แล้วเราอยากได้แชมป์ แต่ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ซึ่งครั้งนี้เราได้ที่ 8แต่การได้เป็นตัวแทนนักฟุตซอลหญิงทีมชาติไทย เหมือนการปลุกให้ตื่นจากฝันร้ายอีกครั้ง ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าจะพัฒนาตัวเองต่อไปข้างหน้าได้ การได้เล่นฟุตซอลเหมือนมีพลังขึ้นมาอีกครั้ง กระตือรือร้น มีความสนุกในการค้นหาอะไรที่แปลกใหม่มากขึ้น แม้ตัวเองไม่คุ้นเคยกับฟุตซอล แต่พอมาเล่นเหมือนได้ประสบ การณ์ใหม่ ๆ ”

ประสบการณ์การแข่งขันครั้งนี้ได้เจอเพื่อนที่หูหนวกในหลายประเทศ พบว่าในโลกนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่เราไม่รู้จัก และได้ฝึกฝนทักษะที่ไม่คุ้นเคย รวมถึงรู้ว่าการใช้สายตากับการเล่นบอลต้องไปด้วยกัน และอยากให้หลาย ๆ คนกระจายข่าวสารว่า ยังมีคนหูหนวกที่เล่นกีฬาได้ อยากให้มีโอกาสเท่ากับคนปกติ สำหรับคนที่พิการที่ยังท้อแท้อยากให้รู้สึกว่า คนเราเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเราจะตาบอด หูหนวก หรือนั่งรถวีลแชร์ ความพิการคือความพิการที่เท่าเทียมกัน อยากให้คนพิการพยายาม และตั้งใจอดทน ส่วนคนปกติตอนนี้รู้จักคนหูหนวกน้อยมาก ในด้านความสามารถ จึงอยากบอกว่าคนหูหนวกก็ทำได้เหมือนกับคนปกติทำ และอยากให้มีโอกาสที่เราเท่าเทียมกัน อนาคตทีมฟุตซอลหญิงคนหูหนวกน่าจะมีโอกาสพัฒนาขึ้น ถ้าวันหนึ่งที่อายุมาก แล้วอาจถอนตัวเองออกเพื่อให้รุ่นน้องได้มีโอกาส.

ศราวุธ ดีหมื่นไวย์

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/372428

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ม.ค.59
วันที่โพสต์: 12/01/2559 เวลา 10:58:46 ดูภาพสไลด์โชว์ โลกลูกหนังไม่เงียบอีกต่อไปชีวิตติดลบมีพลังใจด้วย‘ฟุตซอล’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ปรียานุช ศักดิ์แพทย์ วัย 27 ปี นักกีฬา ฟุตซอล หูหนวกไทย แม้การแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกชิงแชมป์โลก 2015 จะจบไปแล้ว แต่สำหรับผู้เล่นบางคน การได้ลงสนามอีกครั้ง ก็สร้างความหวัง ปลุกปลอบให้เธอลุกขึ้นยืนได้จากความผิดหวังในชีวิตอีกหน “ไม่ต้องไปกลัว เราต้องกล้า ช่างมัน!” เธอส่งภาษามือให้เพื่อน ๆ ต่อสู้กับทีมที่มีผู้เล่นเหนือกว่า ในการแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกชิงแชมป์โลก 2015 แม้ทีมชาติไทยจบที่อันดับ 8 แต่สำหรับ ปรียานุช ศักดิ์แพทย์ วัย 27 ปี การลงสนามครั้งนี้ทำให้โลกเงียบของเธอไม่เงียบอีกต่อไป... ถึงชีวิตหลายคนจะลากเป็นเส้นตรงไปถึงจุดหมายไม่ยากนัก แต่สำหรับปรียานุช ซึ่งมีปัญหาทางการได้ยิน พยายามทุกทางเพื่อให้เทียบเท่ากับคนปกติ แต่นั่นก็ทำให้เธอล้มเหลวกับการศึกษา จนต้องออกกลางคันในการเรียนชั้นปีที่ 2 ในระบบมหาวิทยาลัย “ตอนนั้นไปแข่งบอลที่ไต้หวัน ทางมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้ไปแข่ง แต่เมื่อกลับมาอาจารย์ประจำวิชาไม่ให้ผ่านวิชาที่รับผิดชอบ เราผิดเองที่เลือกมาเรียนที่นี่ พอออกจากมหาวิทยาลัยก็ต้องปล่อยวาง เพราะเราทำอะไรไม่ได้ มันเรียนไม่ได้ โกรธไม่ได้ โมโหไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันไป แม้ต้องอยู่กับความเสียใจ เลยเสียเวลาอยู่บ้านเฉย ๆ ไป 1 ปี ทั้งที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าถ้าจบแล้วจะไปเป็นครูสอนน้อง ๆ หูหนวก ซึ่งตอนนั้นเลิกเล่นฟุตบอลอยู่พักใหญ่ จนเพื่อนชวนให้ไปแข่งฟุตบอลหญิง เพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดตราดกับคนปกติ” ทีมฟุตซอลหญิง ปรียานุช เล่าทั้งน้ำตา การไปเล่นบอลกับเพื่อนปกติ จะต้องพยายามอ่านริมฝีปากเพื่อนร่วมทีม แล้วคอยจับคำที่โค้ชสอน ซึ่งต้องรู้ว่าตัวเองเล่นตำแหน่งไหน ถึงยังไงก็ต้องพยายาม ตอนเด็ก ๆ ยังไม่เข้าใจการเล่นบอล พอเริ่มเล่นเอาจริงเอาจังต้องฝากให้แม่เป็นคนที่คอยสื่อสาร และนานขึ้นเริ่มเข้าใจเหมือนกับการที่เราเรียนทฤษฎีมา แล้วมาลงปฏิบัติ โค้ชบางคนใช้การอธิบายแผนการเล่นกับเด็กปกติก่อน แล้วค่อยมาอธิบายแบบสั้น ๆ ให้เข้าใจอีกรอบ ถือเป็นการเล่นบอลที่ต้องทำงานมากกว่าเพื่อนคนปกติ โดยต้องเหนื่อยกว่า แต่ถึงยังไงต้องพยายาม ปรียานุช เล่าว่า เริ่มเล่นบอลตั้งแต่ ป.2 แรก ๆ แม่ให้ไปเล่นบอลกับเพื่อนที่เป็นคนปกติ ตอนนั้นเล่นเป็นกองกลาง และกองหน้าตัวยิงบอล เริ่มแรกเล่นบอล 7 คนก่อน หลังจากนั้นโค้ชเห็นแววเลยให้ไปเล่นบอล 11 คน จนได้มีโอกาสติดทีมชาติครั้งแรก เพื่อไปแข่งบอลหญิงคนหูหนวก 11 คน ปี 2009 ที่ไต้หวัน ตอนนั้นได้อันดับที่สุดท้ายกลับมา รู้เลยว่าเพื่อนที่ไปด้วยกันทั้งหมดยังไม่มีการฝึกฝน และยังไม่มีการเข้าแคมป์การอบรมที่เป็นระบบ เช่นเดียวกับโค้ชที่ก่อนหน้านั้นสอนแต่คนปกติ พอมาสอนคนหูหนวกอาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง จากนั้นได้มาคัดตัวเพื่อเข้าทีมฟุตซอลหญิงคนหูหนวก ถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ติดทีมชาติ ครั้งนี้เข้าใจทักษะมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเทียบกันแล้วการเล่นบอล 11 คนที่สนามใหญ่ยากกว่าการเล่นฟุตซอล เพราะคนที่หูหนวกจะสื่อสารกันค่อนข้างยาก “ซึ่งการแข่งขันฟุตซอลหญิงคนหูหนวกปีนี้มี 16 ทีมที่แข่งขัน จริง ๆ แล้วเราอยากได้แชมป์ แต่ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ซึ่งครั้งนี้เราได้ที่ 8แต่การได้เป็นตัวแทนนักฟุตซอลหญิงทีมชาติไทย เหมือนการปลุกให้ตื่นจากฝันร้ายอีกครั้ง ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าจะพัฒนาตัวเองต่อไปข้างหน้าได้ การได้เล่นฟุตซอลเหมือนมีพลังขึ้นมาอีกครั้ง กระตือรือร้น มีความสนุกในการค้นหาอะไรที่แปลกใหม่มากขึ้น แม้ตัวเองไม่คุ้นเคยกับฟุตซอล แต่พอมาเล่นเหมือนได้ประสบ การณ์ใหม่ ๆ ” ประสบการณ์การแข่งขันครั้งนี้ได้เจอเพื่อนที่หูหนวกในหลายประเทศ พบว่าในโลกนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่เราไม่รู้จัก และได้ฝึกฝนทักษะที่ไม่คุ้นเคย รวมถึงรู้ว่าการใช้สายตากับการเล่นบอลต้องไปด้วยกัน และอยากให้หลาย ๆ คนกระจายข่าวสารว่า ยังมีคนหูหนวกที่เล่นกีฬาได้ อยากให้มีโอกาสเท่ากับคนปกติ สำหรับคนที่พิการที่ยังท้อแท้อยากให้รู้สึกว่า คนเราเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเราจะตาบอด หูหนวก หรือนั่งรถวีลแชร์ ความพิการคือความพิการที่เท่าเทียมกัน อยากให้คนพิการพยายาม และตั้งใจอดทน ส่วนคนปกติตอนนี้รู้จักคนหูหนวกน้อยมาก ในด้านความสามารถ จึงอยากบอกว่าคนหูหนวกก็ทำได้เหมือนกับคนปกติทำ และอยากให้มีโอกาสที่เราเท่าเทียมกัน อนาคตทีมฟุตซอลหญิงคนหูหนวกน่าจะมีโอกาสพัฒนาขึ้น ถ้าวันหนึ่งที่อายุมาก แล้วอาจถอนตัวเองออกเพื่อให้รุ่นน้องได้มีโอกาส. ศราวุธ ดีหมื่นไวย์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/372428

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...