โรคหัวใจ-หลอดเลือด ภัย!เงียบเสี่ยงวูบ

แสดงความคิดเห็น

ลักษณะโรคหัวใจ-หลอดเลือด

“โรคหัวใจและหลอดเลือด” กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศและระดับโลก รายงานองค์การอนามัยโลก พ.ศ.2551 พบว่า การเสียชีวิตของประชากรโลก 36 ล้านคน มีสาเหตุมาจาก 4 กลุ่มโรค NCDs ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพองและโรคเบาหวาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก...จากทั้งสิ้น 57 ล้านคน

และจากรายงานภาระโรค NCDs พบว่า ในปี พ.ศ.2553 การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุด อยู่ที่ 15.62 ล้านคน “ประเทศไทย” ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคชี้ว่า ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมด 58,681 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต เท่ากับ 90.34 ต่อแสนประชากร และผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด 18,079 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 27.83 ต่อแสนประชากร

นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ บอกว่า อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจในคนไทยเพิ่มสูงขึ้น มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้น ภาวะอ้วน ไขมันสะสม สูบบุหรี่เป็นประจำ มีโรคประจำตัวคือ เบาหวานและความดัน ไม่ชอบออกกำลังกาย เกิดความเครียดบ่อยครั้ง ตลอดจน...ปัจจัยทางพันธุกรรมที่เป็นตัวเร่งทำให้กลายเป็นโรคหัวใจในอนาคต

วันที่ 29 กันยายนของทุกปีเป็น...“วันหัวใจโลก” โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้จัดกิจกรรม “งาน World Heart Day 2015 ตอน Zoom in your heart เริ่มต้นสำรวจหัวใจตัวเอง” เพื่อรณรงค์ให้คนไทยหันมาดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

นพ.วิฑูรย์ ปิติเกื้อกูล รองผู้อำนวยการ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ย้ำว่า การใส่ใจดูแลหัวใจตัวเองนั้น การตรวจคัดกรองถือว่ามีประโยชน์มากในการช่วยวางแผนการรักษาและป้องกันเรียกว่า “รู้ก่อน...ป้องกันได้”

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั้งร่างกาย ได้แก่ การตรวจ ABI เพื่อดูสภาพเส้นเลือดที่ขา, การตรวจ Carotid dropler เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอที่ไปเลี้ยงสมอง, การตรวจ Aneurysm Screening เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองบริเวณหน้าอกและช่องท้อง, การตรวจ M.R.A Brain เพื่อดูสภาพเส้นเลือดสมอง รวมไปถึงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหัวใจในนักกีฬาอายุน้อย (อายุน้อยกว่า 35 ปีเท่านั้น) เพื่อช่วยป้องกันและลดสาเหตุการเสียชีวิตเฉียบพลันในกลุ่มนักกีฬาอายุน้อย คุณหมอวิฑูรย์ยกตัวอย่างโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจหรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...หากหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ คือ โรคความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, สูบบุหรี่, โรคเบาหวาน, ความอ้วน, ความเครียด, ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือวัยหลังหมดประจำเดือน และผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

โดยจะแสดงอาการออกมาในรูปของ ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีอาการคลื่นไส้ และอาจมีอาเจียน มีอาการเหงื่อออก เวียนศีรษะ นอกจากนี้ยังมีอาการหลักบ่งชี้ คือ อาการเจ็บหน้าอกที่มีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ตำแหน่งการเจ็บมักเป็นตรงกลางหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย...ลักษณะเจ็บ มักจุกๆแน่นๆ อึดอัด บางทีร้าวไปถึงคอหอย ไหล่ซ้าย ข้อศอก หรือท้องแขนซ้าย หรือกราม หรือคอด้านซ้าย หรือในบางรายมีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเร็วกว่าปกติ หรือช้ากว่าปกติ หรือเหงื่อซึม เป็นลม หน้ามืด หมดสติ 3 สัญญาณอันตราย...เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปถึงหลังแบบเฉียบพลัน, เจ็บแน่นบริเวณช่องท้องร้าวไปถึงหลังแบบเฉียบพลันและวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดร่วมกับเจ็บแน่นหน้าอกหรือบริเวณช่องท้อง

“การป้องกันการเกิดโรคนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด เริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง หากน้ำหนักตัวมากควรลดอาหารบางอย่าง กินอาหารที่มีไขมันดี เน้นปลา...ผัก หากมีความดันโลหิตสูงต้องใช้ยาลดความดัน สร้างความสมดุล หากเกิดภาวะเครียด ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพ...อย่ารอให้สายเกินแก้”

นพ.ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพ เสริมว่า จากประสบการณ์ดูแลคนไข้เรื่องสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ถ้า “ความดันโลหิตสูง”...ก็จำเป็นต้องดูแลรักษาความดันให้เหมาะสม และถ้ามีความอ้วนก็เป็นความเสี่ยงอันหนึ่ง ต้องออกกำลังกาย ลดน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไป

ที่สำคัญ “บุหรี่” ก็มีความเสี่ยงทำให้หลอดเลือดตีบได้ ไม่ว่า...หลอดเลือดหัวใจ...หลอดเลือดสมอง ต้องงดบุหรี่ ประการที่สี่เป็นเรื่องของกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่เป็นจังหวะ เป็นชื่อเรียกทางการแพทย์...สังเกตตัวเองถ้าใจสั่นก็ต้องไปพบแพทย์ ตรวจเช็กว่ามีความเสี่ยงตรงไหนไหม?

“ใจสั่น” ...อาการจะสังเกตว่าหัวใจจะเต้นจังหวะแบบตุ๊บๆๆ...ตุ๊บๆๆ ก็อย่าไว้วางใจ...ถ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มีความเสี่ยงว่ามีตะกอนเลือดหัวใจ

“สุดท้ายกลุ่มที่มีไขมันในเลือดสูง ชอบกินของมัน ของทอด ชีส ขาหมู ก็ทำให้คอเลสเทอรอลเข้าไปจุกอก หลอดเลือดอุดตันที่หัวใจได้หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง...ที่คอก็เจอบ่อยทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงได้... คำแนะนำในกลุ่มนี้ ถ้าผ่านความเสี่ยงสี่ห้าข้อข้างต้นก็ควรที่จะตรวจประจำปี อัลตราซาวนด์ คลื่นความถี่สูงหลอดเลือดคอ ถ้าตีบก็ต้องกินยา ถ้าตีบมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ก็เสี่ยงมากกว่า แนะนำให้ผ่าตัดหลอดเลือดต้นคอป้องกันในอนาคต”

ทุกอย่างที่กล่าวมาเป็นอาการที่ป้องกันได้ ถ้าเรารู้จักว่าเรามีความเสี่ยงไหม ถัดมาระยะเวลาที่มาถึงโรงพยาบาลถ้ามีอาการคล้ายจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต พูดไม่ออก พูดไม่ชัดปากเบี้ยว แขนขาไม่มีแรง ก็ต้องรีบพบแพทย์แล้ว ถ้ามาใน 4.5 ชั่วโมง ถ้าเจอหมอมีกรณีสงสัยว่าเส้นเลือดตีบ การให้ยาละลายลิ่มเลือดจะดีกว่าไม่ได้ยา

ระยะเวลาที่ว่านี้หมายถึงหลังจากมีอาการ สมมติว่าเป็นตอนเก้าโมง มีเวลาถึงประมาณบ่ายโมงครึ่งที่จะให้ยาได้ บ่ายสองก็ให้ไม่ได้แล้ว เรียกว่า... “ยาละลายลิ่มเลือด”

คำถามต่อมา “อายุ” เท่าไหร่ถึงน่ากังวล แต่ก่อนก็ว่าต้องคนแก่ แต่วันนี้ไม่ใช่แล้วอายุ 40-50 ปีก็เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้แล้ว นพ.ชาญพงค์ เรียกว่าโลกโซเชียล โรคฟาสต์ฟู้ด โรคไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน...ทำงานอยู่กับโต๊ะ นั่งอยู่กับที่ หลากหลายอาชีพมีความเสี่ยง ไม่จำกัดอายุว่าจะต้องเยอะถึงจะเจอ อีกประเด็นสำคัญก็คือ “โรคเบาหวาน”...เป็นภัยเงียบ ไม่มีอาการ...มาถึงก็เส้นเลือดตีบแล้ว เช็กน้ำตาลก็สามสี่ร้อยก็เป็นไปได้

“ไม่มีสัญญาณล่วงหน้า...ไม่รู้ ทุกคนก็เลยไม่เตรียมตัว พอเป็นขึ้นมาก็ได้แต่พูดว่ารู้อย่างนี้เชื่อหมอดีกว่า...เช็กร่างกายเป็นประจำ ตรวจดูหลอดเลือดขอดดีกว่า เรากลับไปแก้อดีตไม่ได้ แต่ถ้าอยากรู้อนาคตก็แนะนำว่าอายุ 40 กว่า ควรต้องเช็กสุขภาพ เช็กคลื่นหัวใจ...เต้นผิดจังหวะไหม เช็กหลอดเลือดคอว่ามีตีบหรือเปล่าจะได้สบายใจ แล้วก็เช็กระดับคอเลสเทอรอล เช็ก...น้ำตาล ความดัน”

“You are what you eat” ... คุณกินข้าวขาหมู ก็ต้องรับไขมัน คุณกินลอดช่อง...น้ำอ้อยก็ต้องรู้ว่าน้ำตาลต้องขึ้น ต้องมีสติที่รู้ว่าจะกินอะไรแล้วจะได้อะไร และควรรู้จักป้องกันตัวเองเสียแต่เนิ่นๆ.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/528371

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 30/09/2558 เวลา 13:27:51 ดูภาพสไลด์โชว์ โรคหัวใจ-หลอดเลือด ภัย!เงียบเสี่ยงวูบ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ลักษณะโรคหัวใจ-หลอดเลือด “โรคหัวใจและหลอดเลือด” กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศและระดับโลก รายงานองค์การอนามัยโลก พ.ศ.2551 พบว่า การเสียชีวิตของประชากรโลก 36 ล้านคน มีสาเหตุมาจาก 4 กลุ่มโรค NCDs ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพองและโรคเบาหวาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก...จากทั้งสิ้น 57 ล้านคน และจากรายงานภาระโรค NCDs พบว่า ในปี พ.ศ.2553 การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุด อยู่ที่ 15.62 ล้านคน “ประเทศไทย” ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคชี้ว่า ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมด 58,681 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต เท่ากับ 90.34 ต่อแสนประชากร และผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด 18,079 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 27.83 ต่อแสนประชากร นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ บอกว่า อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจในคนไทยเพิ่มสูงขึ้น มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้น ภาวะอ้วน ไขมันสะสม สูบบุหรี่เป็นประจำ มีโรคประจำตัวคือ เบาหวานและความดัน ไม่ชอบออกกำลังกาย เกิดความเครียดบ่อยครั้ง ตลอดจน...ปัจจัยทางพันธุกรรมที่เป็นตัวเร่งทำให้กลายเป็นโรคหัวใจในอนาคต วันที่ 29 กันยายนของทุกปีเป็น...“วันหัวใจโลก” โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้จัดกิจกรรม “งาน World Heart Day 2015 ตอน Zoom in your heart เริ่มต้นสำรวจหัวใจตัวเอง” เพื่อรณรงค์ให้คนไทยหันมาดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ นพ.วิฑูรย์ ปิติเกื้อกูล รองผู้อำนวยการ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ย้ำว่า การใส่ใจดูแลหัวใจตัวเองนั้น การตรวจคัดกรองถือว่ามีประโยชน์มากในการช่วยวางแผนการรักษาและป้องกันเรียกว่า “รู้ก่อน...ป้องกันได้” ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั้งร่างกาย ได้แก่ การตรวจ ABI เพื่อดูสภาพเส้นเลือดที่ขา, การตรวจ Carotid dropler เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอที่ไปเลี้ยงสมอง, การตรวจ Aneurysm Screening เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองบริเวณหน้าอกและช่องท้อง, การตรวจ M.R.A Brain เพื่อดูสภาพเส้นเลือดสมอง รวมไปถึงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหัวใจในนักกีฬาอายุน้อย (อายุน้อยกว่า 35 ปีเท่านั้น) เพื่อช่วยป้องกันและลดสาเหตุการเสียชีวิตเฉียบพลันในกลุ่มนักกีฬาอายุน้อย คุณหมอวิฑูรย์ยกตัวอย่างโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจหรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...หากหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ คือ โรคความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, สูบบุหรี่, โรคเบาหวาน, ความอ้วน, ความเครียด, ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือวัยหลังหมดประจำเดือน และผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ โดยจะแสดงอาการออกมาในรูปของ ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีอาการคลื่นไส้ และอาจมีอาเจียน มีอาการเหงื่อออก เวียนศีรษะ นอกจากนี้ยังมีอาการหลักบ่งชี้ คือ อาการเจ็บหน้าอกที่มีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ตำแหน่งการเจ็บมักเป็นตรงกลางหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย...ลักษณะเจ็บ มักจุกๆแน่นๆ อึดอัด บางทีร้าวไปถึงคอหอย ไหล่ซ้าย ข้อศอก หรือท้องแขนซ้าย หรือกราม หรือคอด้านซ้าย หรือในบางรายมีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเร็วกว่าปกติ หรือช้ากว่าปกติ หรือเหงื่อซึม เป็นลม หน้ามืด หมดสติ 3 สัญญาณอันตราย...เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปถึงหลังแบบเฉียบพลัน, เจ็บแน่นบริเวณช่องท้องร้าวไปถึงหลังแบบเฉียบพลันและวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดร่วมกับเจ็บแน่นหน้าอกหรือบริเวณช่องท้อง “การป้องกันการเกิดโรคนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด เริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง หากน้ำหนักตัวมากควรลดอาหารบางอย่าง กินอาหารที่มีไขมันดี เน้นปลา...ผัก หากมีความดันโลหิตสูงต้องใช้ยาลดความดัน สร้างความสมดุล หากเกิดภาวะเครียด ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพ...อย่ารอให้สายเกินแก้” นพ.ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพ เสริมว่า จากประสบการณ์ดูแลคนไข้เรื่องสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ถ้า “ความดันโลหิตสูง”...ก็จำเป็นต้องดูแลรักษาความดันให้เหมาะสม และถ้ามีความอ้วนก็เป็นความเสี่ยงอันหนึ่ง ต้องออกกำลังกาย ลดน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไป ที่สำคัญ “บุหรี่” ก็มีความเสี่ยงทำให้หลอดเลือดตีบได้ ไม่ว่า...หลอดเลือดหัวใจ...หลอดเลือดสมอง ต้องงดบุหรี่ ประการที่สี่เป็นเรื่องของกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่เป็นจังหวะ เป็นชื่อเรียกทางการแพทย์...สังเกตตัวเองถ้าใจสั่นก็ต้องไปพบแพทย์ ตรวจเช็กว่ามีความเสี่ยงตรงไหนไหม? “ใจสั่น” ...อาการจะสังเกตว่าหัวใจจะเต้นจังหวะแบบตุ๊บๆๆ...ตุ๊บๆๆ ก็อย่าไว้วางใจ...ถ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มีความเสี่ยงว่ามีตะกอนเลือดหัวใจ “สุดท้ายกลุ่มที่มีไขมันในเลือดสูง ชอบกินของมัน ของทอด ชีส ขาหมู ก็ทำให้คอเลสเทอรอลเข้าไปจุกอก หลอดเลือดอุดตันที่หัวใจได้หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง...ที่คอก็เจอบ่อยทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงได้... คำแนะนำในกลุ่มนี้ ถ้าผ่านความเสี่ยงสี่ห้าข้อข้างต้นก็ควรที่จะตรวจประจำปี อัลตราซาวนด์ คลื่นความถี่สูงหลอดเลือดคอ ถ้าตีบก็ต้องกินยา ถ้าตีบมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ก็เสี่ยงมากกว่า แนะนำให้ผ่าตัดหลอดเลือดต้นคอป้องกันในอนาคต” ทุกอย่างที่กล่าวมาเป็นอาการที่ป้องกันได้ ถ้าเรารู้จักว่าเรามีความเสี่ยงไหม ถัดมาระยะเวลาที่มาถึงโรงพยาบาลถ้ามีอาการคล้ายจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต พูดไม่ออก พูดไม่ชัดปากเบี้ยว แขนขาไม่มีแรง ก็ต้องรีบพบแพทย์แล้ว ถ้ามาใน 4.5 ชั่วโมง ถ้าเจอหมอมีกรณีสงสัยว่าเส้นเลือดตีบ การให้ยาละลายลิ่มเลือดจะดีกว่าไม่ได้ยา ระยะเวลาที่ว่านี้หมายถึงหลังจากมีอาการ สมมติว่าเป็นตอนเก้าโมง มีเวลาถึงประมาณบ่ายโมงครึ่งที่จะให้ยาได้ บ่ายสองก็ให้ไม่ได้แล้ว เรียกว่า... “ยาละลายลิ่มเลือด” คำถามต่อมา “อายุ” เท่าไหร่ถึงน่ากังวล แต่ก่อนก็ว่าต้องคนแก่ แต่วันนี้ไม่ใช่แล้วอายุ 40-50 ปีก็เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้แล้ว นพ.ชาญพงค์ เรียกว่าโลกโซเชียล โรคฟาสต์ฟู้ด โรคไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน...ทำงานอยู่กับโต๊ะ นั่งอยู่กับที่ หลากหลายอาชีพมีความเสี่ยง ไม่จำกัดอายุว่าจะต้องเยอะถึงจะเจอ อีกประเด็นสำคัญก็คือ “โรคเบาหวาน”...เป็นภัยเงียบ ไม่มีอาการ...มาถึงก็เส้นเลือดตีบแล้ว เช็กน้ำตาลก็สามสี่ร้อยก็เป็นไปได้ “ไม่มีสัญญาณล่วงหน้า...ไม่รู้ ทุกคนก็เลยไม่เตรียมตัว พอเป็นขึ้นมาก็ได้แต่พูดว่ารู้อย่างนี้เชื่อหมอดีกว่า...เช็กร่างกายเป็นประจำ ตรวจดูหลอดเลือดขอดดีกว่า เรากลับไปแก้อดีตไม่ได้ แต่ถ้าอยากรู้อนาคตก็แนะนำว่าอายุ 40 กว่า ควรต้องเช็กสุขภาพ เช็กคลื่นหัวใจ...เต้นผิดจังหวะไหม เช็กหลอดเลือดคอว่ามีตีบหรือเปล่าจะได้สบายใจ แล้วก็เช็กระดับคอเลสเทอรอล เช็ก...น้ำตาล ความดัน” “You are what you eat” ... คุณกินข้าวขาหมู ก็ต้องรับไขมัน คุณกินลอดช่อง...น้ำอ้อยก็ต้องรู้ว่าน้ำตาลต้องขึ้น ต้องมีสติที่รู้ว่าจะกินอะไรแล้วจะได้อะไร และควรรู้จักป้องกันตัวเองเสียแต่เนิ่นๆ. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/528371

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...