FAST วิธีสังเกตโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดพิการ-ตาย

แสดงความคิดเห็น

ระวัง! โรคหลอดเลือดสมองทำอัมพฤกษ์ อัมพาต หากรุนแรงอาจถึงตาย แนะ 4 วิธีสังเกตอาการตามหลัก FAST หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ ลดอัตราพิการ หรือเสียชีวิตได้

สื่อทางการแพทย์สมองของมนุษย์ โรคหลอดเลือดสมอง นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า วันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก หรือวันหลอดเลือดสมอง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ ตามลำดับ และยังพบว่าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือความพิการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณร้อยละ 80 และหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาดพบได้ประมาณร้อยละ20

“หากประชาชนรู้จักดูแลตนเองและหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอจะสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าวได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อายุที่มากขึ้นหลอดเลือดจะเสื่อมตามไปด้วย การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน และพบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวสูงกว่าเพศหญิง ทั้งนี้ อาการเตือนสำคัญที่สังเกตได้ด้วยตนเองตามหลักที่จำได้ง่ายคือ F A S T โดย F=FACE ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า ตามัวมองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก A =ARM อาการแขนขาอ่อนแรงข้างใด ข้างหนึ่ง S=SPEECH ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดพูดลำบากพูดไม่ได้และT=TIMEเวลาที่จะต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด”อธิบดีกรมการแพทย์กล่าว

นพ.สุพรรณ กล่าวว่า อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในรายที่มีภาวะสมอง ขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ป่วยต้องสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบอาการข้างต้น ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดจะสามารถช่วยรักษาชีวิตและลดความพิการที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเซลล์สมองขาดเลือดเพียง 1 นาที จะมีเซลล์สมองตายประมาณ 1 ล้านเซลล์ ถ้าได้รับการรักษาช้า อาจทำให้เกิดความพิการมากขึ้น สำหรับแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด ไขมันสูง ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ รวมถึงตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตัวภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และรีบไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการผิดปกติ

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000058278 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย22พ.ค.58
วันที่โพสต์: 27/05/2558 เวลา 11:20:19 ดูภาพสไลด์โชว์ FAST วิธีสังเกตโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดพิการ-ตาย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ระวัง! โรคหลอดเลือดสมองทำอัมพฤกษ์ อัมพาต หากรุนแรงอาจถึงตาย แนะ 4 วิธีสังเกตอาการตามหลัก FAST หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ ลดอัตราพิการ หรือเสียชีวิตได้ สื่อทางการแพทย์สมองของมนุษย์ โรคหลอดเลือดสมอง นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า วันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก หรือวันหลอดเลือดสมอง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ ตามลำดับ และยังพบว่าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือความพิการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณร้อยละ 80 และหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาดพบได้ประมาณร้อยละ20 “หากประชาชนรู้จักดูแลตนเองและหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอจะสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าวได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อายุที่มากขึ้นหลอดเลือดจะเสื่อมตามไปด้วย การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน และพบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวสูงกว่าเพศหญิง ทั้งนี้ อาการเตือนสำคัญที่สังเกตได้ด้วยตนเองตามหลักที่จำได้ง่ายคือ F A S T โดย F=FACE ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า ตามัวมองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก A =ARM อาการแขนขาอ่อนแรงข้างใด ข้างหนึ่ง S=SPEECH ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดพูดลำบากพูดไม่ได้และT=TIMEเวลาที่จะต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด”อธิบดีกรมการแพทย์กล่าว นพ.สุพรรณ กล่าวว่า อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในรายที่มีภาวะสมอง ขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ป่วยต้องสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบอาการข้างต้น ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดจะสามารถช่วยรักษาชีวิตและลดความพิการที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเซลล์สมองขาดเลือดเพียง 1 นาที จะมีเซลล์สมองตายประมาณ 1 ล้านเซลล์ ถ้าได้รับการรักษาช้า อาจทำให้เกิดความพิการมากขึ้น สำหรับแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด ไขมันสูง ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ รวมถึงตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตัวภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และรีบไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการผิดปกติ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000058278

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...