รายงานองค์การอนามัยโลก บุหรี่สร้างมะเร็งค่าชีวิต

แสดงความคิดเห็น

บุหรี่

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วันมะเร็งโลก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้เปิดเผยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก โดยระบุว่ามะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลกปีละ 7.6 ล้านคน ร้อยละ 30 ของการเสียชีวิตจากมะเร็งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต 5 ประการคือ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การกินผักและผลไม้น้อย การขาดการออกกำลังกายและน้ำหนักตัวเกิน

การใช้ยาสูบเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็ง คิดเป็นร้อยละ 22 ของการเสียชีวิตจากมะเร็งทั่วโลก หรือ 1,672,000 คนต่อปี การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 12 ชนิด ตั้งแต่ ช่องปาก ลำคอและกล่องเสียง หลอดลมและปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ เม็ดเลือดขาว ตับ ตับอ่อน ไต กระเพาะปัสสาวะ ปากมดลูก และร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากยาสูบ

จำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งในปี ค.ศ. 2008 แบ่งเป็นมะเร็งปอด 1.37 ล้านคน, กระเพาะอาหาร 736,000 คน, ตับ 695,000 คน, ลำไส้ใหญ่ 608,000 คน, เต้านม 458,000 คน และมะเร็งปากมดลูก 275,000 คน ในจำนวนนี้มีเพียงมะเร็งเต้านมเท่านั้น ที่ไม่ได้เป็นผลจากการสูบบุหรี่ และแนวโน้มผู้ที่เสียชีวิตจากมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเป็น 13.1 ล้านคนต่อปีในปี ค.ศ. 2030

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและปรับวิถีการใช้ชีวิต อาทิ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา เพิ่มการกินผักและผลไม้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวเกิน หลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศและในบ้าน จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้ถึง 30%

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ยังได้เปิดเผยรายงานของนายแพทย์ใหญ่สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2557 ที่รับรอง 9 โรคใหม่ที่มีสาเหตุเกิดจากการสูบบุหรี่ หรือการได้รับควันบุหรี่ อาทิ มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และโรคอื่น ๆ อีก 7 โรค ทั้งนี้นายแพทย์ใหญ่กระทรวงสาธารณสุข สหรัฐอเมริกาประกาศว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดและโรคเรื้อรัง อื่น ๆ เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2507 และหลังจากนั้นก็มีรายงานถึงโรคต่าง ๆ ที่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดจากการสูบบุหรี่มาเป็นระยะ ๆ โดยรายงานฉบับล่าสุดระบุโรคใหม่ ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าเกิดจากการสูบบุหรี่ ได้แก่ มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคเพิ่มขึ้น มีโอกาสเสียชีวิตจากวัณโรคเพิ่มขึ้น และทำให้วัณโรคกลับเป็นใหม่มากขึ้น

การสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานในผู้ใหญ่ 30-40% เทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ เช่น จอตาเสื่อมที่สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น เพดานปากแหว่งตั้งแต่เกิดในมารดาที่สูบบุหรี่ การตั้งครรภ์นอกมดลูก โรคข้อรูมาตอยด์ ภาวะภูมิต้านทานร่างกายลดลง และโรคเส้นเลือดสมองตีบหรือแตกจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ทำให้โดยรวมแล้วการสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งถึง 12 อวัยวะและโรคอื่น ๆ อีก 17 โรค ในขณะที่การได้รับควันบุหรี่ในคนที่ไม่สูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคได้ถึง 10 โรค

ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ยังเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกว่าการสูบบุหรี่ หรือการได้รับควันบุหรี่ ทำให้เกิดโรคชนิดต่าง ๆ และยังมีความสำคัญ สอดคล้องกับข้อมูลของประเทศไทยที่ว่า มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ เป็นมะเร็งลำดับที่หนึ่งที่คร่าชีวิตชายไทย ในขณะที่วัณโรค และเบาหวานก็พบในคนไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาสูบที่มีอัตราสูงมากของชายไทยในอดีตที่สูงถึง 60% เมื่อยี่สิบปีก่อน และแม้ปัจจุบันอัตราก็ยังสูงที่ 40%

เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ยังได้เปิดเผยรายงานนายแพทย์ใหญ่สหรัฐอเมริกาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ของการควบคุมยาสูบในอเมริการะหว่าง ค.ศ. 1964-2014 ว่า ยาสูบได้คร่าชีวิตคนอเมริกา 20 ล้านคน และแม้อัตราการสูบบุหรี่จะลดลงจาก 43% ใน ค.ศ. 1965 ลงเหลือ 18% แต่ยาสูบยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในขณะนี้

ทั้งนี้ ยาสูบคร่าชีวิตคนอเมริกาปีละ 480,000 คน ซึ่งเท่ากับทุก 1 ใน 5 ของคนอเมริกาที่เสียชีวิต ยาสูบก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล ค่ารักษาพยาบาลโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เท่ากับ 130 พันล้านดอลลาร์ และอีก 150 พันล้านดอลลาร์ต่อปี จากการขาดรายได้ที่เสียชีวิตก่อนเวลา อันตรายของยาสูบยิ่งเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จากการที่บริษัทบุหรี่จงใจทำให้ยาสูบมีอำนาจเสพติดเพิ่มขึ้น มีความเย้ายวนมากขึ้น แม้ว่าผู้สูบบุหรี่จะสูบน้อยลง แต่ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่กลับเพิ่มขึ้น 2 เท่าในเพศชาย และ 3 เท่าในเพศหญิงที่สูบบุหรี่เทียบกับเมื่อ 50 ปีก่อน

ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นสัญญาณให้ภาครัฐและสังคมที่จะตระหนักถึงความสูญเสียที่ จะเกิดขึ้นจากการใช้ยาสูบ แม้ที่ผ่านมาภาครัฐของไทยมีความพยายามในการควบคุมยาสูบ แต่เราก็มีจุดอ่อนในเรื่องนโยบายภาษีที่แทบจะไม่มีการเก็บภาษียาเส้น ทั้งที่มีผู้สูบบุหรี่ยาเส้นถึงหกล้านคน และแม้จะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในทุกสถานที่สาธารณะ แต่แทบจะไม่มีการบังคับใช้โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐและสังคมจะต้องร่วมมือควบคุมอย่างจริงจัง.

นภาพร พานิชชาติ

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/213945/index.html (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ก.พ.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 7/02/2557 เวลา 04:05:23 ดูภาพสไลด์โชว์  รายงานองค์การอนามัยโลก บุหรี่สร้างมะเร็งค่าชีวิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บุหรี่ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วันมะเร็งโลก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้เปิดเผยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก โดยระบุว่ามะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลกปีละ 7.6 ล้านคน ร้อยละ 30 ของการเสียชีวิตจากมะเร็งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต 5 ประการคือ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การกินผักและผลไม้น้อย การขาดการออกกำลังกายและน้ำหนักตัวเกิน การใช้ยาสูบเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็ง คิดเป็นร้อยละ 22 ของการเสียชีวิตจากมะเร็งทั่วโลก หรือ 1,672,000 คนต่อปี การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 12 ชนิด ตั้งแต่ ช่องปาก ลำคอและกล่องเสียง หลอดลมและปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ เม็ดเลือดขาว ตับ ตับอ่อน ไต กระเพาะปัสสาวะ ปากมดลูก และร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากยาสูบ จำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งในปี ค.ศ. 2008 แบ่งเป็นมะเร็งปอด 1.37 ล้านคน, กระเพาะอาหาร 736,000 คน, ตับ 695,000 คน, ลำไส้ใหญ่ 608,000 คน, เต้านม 458,000 คน และมะเร็งปากมดลูก 275,000 คน ในจำนวนนี้มีเพียงมะเร็งเต้านมเท่านั้น ที่ไม่ได้เป็นผลจากการสูบบุหรี่ และแนวโน้มผู้ที่เสียชีวิตจากมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเป็น 13.1 ล้านคนต่อปีในปี ค.ศ. 2030 การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและปรับวิถีการใช้ชีวิต อาทิ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา เพิ่มการกินผักและผลไม้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวเกิน หลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศและในบ้าน จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้ถึง 30% ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ยังได้เปิดเผยรายงานของนายแพทย์ใหญ่สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2557 ที่รับรอง 9 โรคใหม่ที่มีสาเหตุเกิดจากการสูบบุหรี่ หรือการได้รับควันบุหรี่ อาทิ มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และโรคอื่น ๆ อีก 7 โรค ทั้งนี้นายแพทย์ใหญ่กระทรวงสาธารณสุข สหรัฐอเมริกาประกาศว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดและโรคเรื้อรัง อื่น ๆ เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2507 และหลังจากนั้นก็มีรายงานถึงโรคต่าง ๆ ที่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดจากการสูบบุหรี่มาเป็นระยะ ๆ โดยรายงานฉบับล่าสุดระบุโรคใหม่ ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าเกิดจากการสูบบุหรี่ ได้แก่ มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคเพิ่มขึ้น มีโอกาสเสียชีวิตจากวัณโรคเพิ่มขึ้น และทำให้วัณโรคกลับเป็นใหม่มากขึ้น การสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานในผู้ใหญ่ 30-40% เทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ เช่น จอตาเสื่อมที่สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น เพดานปากแหว่งตั้งแต่เกิดในมารดาที่สูบบุหรี่ การตั้งครรภ์นอกมดลูก โรคข้อรูมาตอยด์ ภาวะภูมิต้านทานร่างกายลดลง และโรคเส้นเลือดสมองตีบหรือแตกจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ทำให้โดยรวมแล้วการสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งถึง 12 อวัยวะและโรคอื่น ๆ อีก 17 โรค ในขณะที่การได้รับควันบุหรี่ในคนที่ไม่สูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคได้ถึง 10 โรค ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ยังเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกว่าการสูบบุหรี่ หรือการได้รับควันบุหรี่ ทำให้เกิดโรคชนิดต่าง ๆ และยังมีความสำคัญ สอดคล้องกับข้อมูลของประเทศไทยที่ว่า มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ เป็นมะเร็งลำดับที่หนึ่งที่คร่าชีวิตชายไทย ในขณะที่วัณโรค และเบาหวานก็พบในคนไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาสูบที่มีอัตราสูงมากของชายไทยในอดีตที่สูงถึง 60% เมื่อยี่สิบปีก่อน และแม้ปัจจุบันอัตราก็ยังสูงที่ 40% เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ยังได้เปิดเผยรายงานนายแพทย์ใหญ่สหรัฐอเมริกาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ของการควบคุมยาสูบในอเมริการะหว่าง ค.ศ. 1964-2014 ว่า ยาสูบได้คร่าชีวิตคนอเมริกา 20 ล้านคน และแม้อัตราการสูบบุหรี่จะลดลงจาก 43% ใน ค.ศ. 1965 ลงเหลือ 18% แต่ยาสูบยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในขณะนี้ ทั้งนี้ ยาสูบคร่าชีวิตคนอเมริกาปีละ 480,000 คน ซึ่งเท่ากับทุก 1 ใน 5 ของคนอเมริกาที่เสียชีวิต ยาสูบก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล ค่ารักษาพยาบาลโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เท่ากับ 130 พันล้านดอลลาร์ และอีก 150 พันล้านดอลลาร์ต่อปี จากการขาดรายได้ที่เสียชีวิตก่อนเวลา อันตรายของยาสูบยิ่งเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จากการที่บริษัทบุหรี่จงใจทำให้ยาสูบมีอำนาจเสพติดเพิ่มขึ้น มีความเย้ายวนมากขึ้น แม้ว่าผู้สูบบุหรี่จะสูบน้อยลง แต่ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่กลับเพิ่มขึ้น 2 เท่าในเพศชาย และ 3 เท่าในเพศหญิงที่สูบบุหรี่เทียบกับเมื่อ 50 ปีก่อน ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นสัญญาณให้ภาครัฐและสังคมที่จะตระหนักถึงความสูญเสียที่ จะเกิดขึ้นจากการใช้ยาสูบ แม้ที่ผ่านมาภาครัฐของไทยมีความพยายามในการควบคุมยาสูบ แต่เราก็มีจุดอ่อนในเรื่องนโยบายภาษีที่แทบจะไม่มีการเก็บภาษียาเส้น ทั้งที่มีผู้สูบบุหรี่ยาเส้นถึงหกล้านคน และแม้จะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในทุกสถานที่สาธารณะ แต่แทบจะไม่มีการบังคับใช้โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐและสังคมจะต้องร่วมมือควบคุมอย่างจริงจัง. นภาพร พานิชชาติ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/213945/index.html เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ก.พ.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...