"แม่วัยใส" ปม...ไอคิวต่ำ

แสดงความคิดเห็น

แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นฯสะท้อนปัญหาซ้ำซากยุคสังคมเปราะบาง กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557 ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบให้เด็กไทยทุกคน

โดย วันเด็กปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 ม.ค. ซึ่งเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือน ม.ค. และเป็นประจำทุกปีที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะจัดกิจกรรมเพื่อเป็นของ ขวัญให้กับเด็ก ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ อย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ และ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติที่กำลังจะมาถึง “ทีมข่าวสาธารณสุข” ขอเป็นกระจกสะท้อนถึงปัญหาของเด็กที่ยังถูกมองข้ามเพื่อนำไปสู่การแก้ไข

เริ่มตั้งแต่ในกลุ่ม เด็กปฐมวัย ที่พบว่ายังขาดการดูแลให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยโดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งอยู่ในการดูแลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามี อปท.เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น ที่เห็นความสำคัญในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การดูแลเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมาก เพราะต้องคอยติดตามพัฒนาการของเด็ก และหากพบว่ามีพัฒนาการที่ไม่สมวัย จะได้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งกลุ่มอาการที่อาจ พบได้ในเด็กปฐมวัยคือ ภาวะออทิสซึม (Autism) หรือ “เด็กออทิสติก” ที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจากสมองผิดปกติ โดย ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า เด็กในศูนย์เด็กเล็ก จะพบเด็กที่มีอาการดังกล่าวอยู่ประมาณร้อยละ 1 และในเด็กออทิสติก จำนวนดังกล่าวมีเพียงร้อยละ20เท่านั้นที่เข้าถึงระบบการบริการสาธารณสุขซึ่งยังถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก

ขณะที่ในกลุ่ม เด็กระดับประถมศึกษา ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต ที่สำรวจเมื่อปี 2554 พบว่า เฉลี่ยระดับเชาวน์ปัญญา หรือ ไอคิว ของเด็กระดับประ-ถมศึกษาทั่วประเทศอยู่ที่ 98.55 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตร- ฐานที่จะต้องอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า100

อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ถือว่า เป็นปัญหาซ้ำซาก คือ ปัญหาท้องไม่พร้อมในกลุ่มเด็กวัยรุ่นหญิง ซึ่งข้อมูลล่าสุดจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่สำรวจกลุ่ม “แม่วัยใส” คือ เด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ที่ไปทำคลอดตามโรงพยาบาลต่างๆ พบว่ามีอัตราส่วนสูงถึง 54 คน ต่อ 1 แสนประชากรวัยรุ่น ขณะที่เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดไว้ที่ 15 คน ต่อ 1 แสนประชากรวัยรุ่นเท่านั้น ซึ่งจากสถิติดังกล่าวของไทยถือว่าสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนเลยทีเดียว จะมีเพียงลาวประเทศเดียวเท่านั้นที่มีตัวเลขของ “แม่วัยใส” สูงกว่าประเทศไทย

ส่วนเด็กวัยรุ่นชายปัญหาที่พบในอันดับต้นๆ คือ ปัญหาเรื่องความรุนแรง เนื่องจากสามารถเข้าถึงอาวุธได้ง่าย ประกอบกับยังมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ จึงนำมาซึ่งสาเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท และเสียชีวิตในที่สุด “ปัญหาในเด็กแต่ละวัยยังคงต้องได้รับการแก้ไข ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ไปจนถึงวัยรุ่น ซึ่งในกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในการดูแลของศูนย์เด็กเล็กของ อปท. แต่ละพื้นที่ ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจจาก อปท.แต่ละแห่ง เนื่องจาก อปท. มักมองไปที่งบประมาณการก่อสร้างเป็นหลัก ทั้งที่ความจริงแล้วพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และทางกรมสุขภาพจิตก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เพราะหากพบเด็กที่มีอาการออทิสติก และส่งเข้ารับการดูแลตามระบบสาธารณสุขได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เด็กกลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้มากขึ้น” พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์กล่าวถึงปัญหาในกลุ่มเด็กปฐมวัยที่มักถูกมองข้าม

ขณะที่ปัญหาในกลุ่ม เด็กระดับประถมศึกษา ไปจนถึงวัยรุ่น ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ บอกด้วยว่า ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ซึ่งในส่วนของการพัฒนาไอคิวเด็กไทย ทางกรมสุขภาพจิต ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ปรับระบบการเรียนการสอน และให้เด็กเก่งจับคู่กับเด็กไม่เก่งเพื่อให้คอยช่วยเหลือกัน และจะมีการประเมินไอคิวเด็กทั่วประเทศอีกครั้งในปี 2558 ส่วนในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ทางสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้เริ่มดำเนินการโครงการ Love Say Play ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ขณะที่เรื่องปัญหาความรุนแรงก็มีการนำเด็กกลุ่มเสี่ยงมาเข้าค่ายร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าในตัวตน คุณค่าในชีวิต โดยจะมีการจัดค่ายดังกล่าวทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพทั่วประเทศ

“ทีมข่าวสาธารณสุข” มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในเด็กวัยต่างๆ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการแก้ไขที่ต่อเนื่อง เพื่อหล่อหลอมให้เด็กไทยเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ โดยส่วนสำคัญที่สุดที่มองข้ามไปไม่ได้ คือ ครอบครัว จะต้องใส่ใจในตัวเด็ก ดูว่าเด็กต้องการอะไร แต่ต้องไม่ใช่การตามใจจนมากเกินไป ทั้งต้องเข้าใจพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัยด้วย

เพราะ “เด็ก” เปรียบเสมือน “ผ้าขาว” ที่ “ผู้ใหญ่” คือหัวใจสำคัญในการแต่งแต้มสีต่างๆลงไปเพื่อบ่มเพาะเด็ก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสังคมเปราะบางเช่นปัจจุบันนี้ หากเราไม่สนใจว่าเด็กจะเป็นอย่างไร ปล่อยเด็กไปตามมีตามเกิดให้อยู่กับสภาพที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น เห็นแก่ตัวเต็มไปด้วยการทุจริต การไม่พัฒนาการศึกษา ขณะที่ครอบครัวก็ขาดความอบอุ่น ขาดการดูแลเอาใจใส่ในตัวเด็ก หรือใช้เงินเป็นปัจจัยหลักในการเลี้ยงลูกนั่นเท่ากับการแต้ม “สีดำ” ลงบนผ้าที่ขาวสะอาด ให้กลายเป็นผ้าที่สกปรกจนยากที่จะเยียวยาให้คืนสภาพความสวยงามดั่งเดิม...

ทีมข่าวสาธารณสุข

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/394173

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 7/01/2557 เวลา 04:45:26 ดูภาพสไลด์โชว์ "แม่วัยใส" ปม...ไอคิวต่ำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นฯสะท้อนปัญหาซ้ำซากยุคสังคมเปราะบาง กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557 ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบให้เด็กไทยทุกคน โดย วันเด็กปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 ม.ค. ซึ่งเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือน ม.ค. และเป็นประจำทุกปีที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะจัดกิจกรรมเพื่อเป็นของ ขวัญให้กับเด็ก ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ อย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ และ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติที่กำลังจะมาถึง “ทีมข่าวสาธารณสุข” ขอเป็นกระจกสะท้อนถึงปัญหาของเด็กที่ยังถูกมองข้ามเพื่อนำไปสู่การแก้ไข เริ่มตั้งแต่ในกลุ่ม เด็กปฐมวัย ที่พบว่ายังขาดการดูแลให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยโดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งอยู่ในการดูแลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามี อปท.เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น ที่เห็นความสำคัญในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การดูแลเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมาก เพราะต้องคอยติดตามพัฒนาการของเด็ก และหากพบว่ามีพัฒนาการที่ไม่สมวัย จะได้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งกลุ่มอาการที่อาจ พบได้ในเด็กปฐมวัยคือ ภาวะออทิสซึม (Autism) หรือ “เด็กออทิสติก” ที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจากสมองผิดปกติ โดย ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า เด็กในศูนย์เด็กเล็ก จะพบเด็กที่มีอาการดังกล่าวอยู่ประมาณร้อยละ 1 และในเด็กออทิสติก จำนวนดังกล่าวมีเพียงร้อยละ20เท่านั้นที่เข้าถึงระบบการบริการสาธารณสุขซึ่งยังถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก ขณะที่ในกลุ่ม เด็กระดับประถมศึกษา ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต ที่สำรวจเมื่อปี 2554 พบว่า เฉลี่ยระดับเชาวน์ปัญญา หรือ ไอคิว ของเด็กระดับประ-ถมศึกษาทั่วประเทศอยู่ที่ 98.55 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตร- ฐานที่จะต้องอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า100 อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ถือว่า เป็นปัญหาซ้ำซาก คือ ปัญหาท้องไม่พร้อมในกลุ่มเด็กวัยรุ่นหญิง ซึ่งข้อมูลล่าสุดจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่สำรวจกลุ่ม “แม่วัยใส” คือ เด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ที่ไปทำคลอดตามโรงพยาบาลต่างๆ พบว่ามีอัตราส่วนสูงถึง 54 คน ต่อ 1 แสนประชากรวัยรุ่น ขณะที่เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดไว้ที่ 15 คน ต่อ 1 แสนประชากรวัยรุ่นเท่านั้น ซึ่งจากสถิติดังกล่าวของไทยถือว่าสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนเลยทีเดียว จะมีเพียงลาวประเทศเดียวเท่านั้นที่มีตัวเลขของ “แม่วัยใส” สูงกว่าประเทศไทย ส่วนเด็กวัยรุ่นชายปัญหาที่พบในอันดับต้นๆ คือ ปัญหาเรื่องความรุนแรง เนื่องจากสามารถเข้าถึงอาวุธได้ง่าย ประกอบกับยังมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ จึงนำมาซึ่งสาเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท และเสียชีวิตในที่สุด “ปัญหาในเด็กแต่ละวัยยังคงต้องได้รับการแก้ไข ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ไปจนถึงวัยรุ่น ซึ่งในกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในการดูแลของศูนย์เด็กเล็กของ อปท. แต่ละพื้นที่ ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจจาก อปท.แต่ละแห่ง เนื่องจาก อปท. มักมองไปที่งบประมาณการก่อสร้างเป็นหลัก ทั้งที่ความจริงแล้วพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และทางกรมสุขภาพจิตก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เพราะหากพบเด็กที่มีอาการออทิสติก และส่งเข้ารับการดูแลตามระบบสาธารณสุขได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เด็กกลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้มากขึ้น” พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์กล่าวถึงปัญหาในกลุ่มเด็กปฐมวัยที่มักถูกมองข้าม ขณะที่ปัญหาในกลุ่ม เด็กระดับประถมศึกษา ไปจนถึงวัยรุ่น ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ บอกด้วยว่า ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ซึ่งในส่วนของการพัฒนาไอคิวเด็กไทย ทางกรมสุขภาพจิต ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ปรับระบบการเรียนการสอน และให้เด็กเก่งจับคู่กับเด็กไม่เก่งเพื่อให้คอยช่วยเหลือกัน และจะมีการประเมินไอคิวเด็กทั่วประเทศอีกครั้งในปี 2558 ส่วนในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ทางสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้เริ่มดำเนินการโครงการ Love Say Play ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ขณะที่เรื่องปัญหาความรุนแรงก็มีการนำเด็กกลุ่มเสี่ยงมาเข้าค่ายร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าในตัวตน คุณค่าในชีวิต โดยจะมีการจัดค่ายดังกล่าวทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพทั่วประเทศ “ทีมข่าวสาธารณสุข” มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในเด็กวัยต่างๆ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการแก้ไขที่ต่อเนื่อง เพื่อหล่อหลอมให้เด็กไทยเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ โดยส่วนสำคัญที่สุดที่มองข้ามไปไม่ได้ คือ ครอบครัว จะต้องใส่ใจในตัวเด็ก ดูว่าเด็กต้องการอะไร แต่ต้องไม่ใช่การตามใจจนมากเกินไป ทั้งต้องเข้าใจพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัยด้วย เพราะ “เด็ก” เปรียบเสมือน “ผ้าขาว” ที่ “ผู้ใหญ่” คือหัวใจสำคัญในการแต่งแต้มสีต่างๆลงไปเพื่อบ่มเพาะเด็ก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสังคมเปราะบางเช่นปัจจุบันนี้ หากเราไม่สนใจว่าเด็กจะเป็นอย่างไร ปล่อยเด็กไปตามมีตามเกิดให้อยู่กับสภาพที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น เห็นแก่ตัวเต็มไปด้วยการทุจริต การไม่พัฒนาการศึกษา ขณะที่ครอบครัวก็ขาดความอบอุ่น ขาดการดูแลเอาใจใส่ในตัวเด็ก หรือใช้เงินเป็นปัจจัยหลักในการเลี้ยงลูกนั่นเท่ากับการแต้ม “สีดำ” ลงบนผ้าที่ขาวสะอาด ให้กลายเป็นผ้าที่สกปรกจนยากที่จะเยียวยาให้คืนสภาพความสวยงามดั่งเดิม... ทีมข่าวสาธารณสุข ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/394173 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...