แพทย์ชี้ ครอบครัว ยุคใหม่ แต่งงานช้า มีบุตรช้า เสี่ยงปัญหา โครโมโซม ผิดปกติ

แสดงความคิดเห็น

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าด้วยไลฟสไตล์การใช้ชีวิตในยุคการแข่งขันสูงและ สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเป็นผลให้หนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันเริ่มมีการวางแผนครอบครัวเพื่อมีบุตรช้าขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการมีบุตรยาก ภาวะแท้งซ้ำซากหรือแม่แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมโดยปัญหาส่วน ใหญ่เหล่านี้มักจะเกิดมาจากความผิดปกติของโครโมโซม เนื่องมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นหรือในบางรายอาจจะเกิดมาจากการถ่ายทอดทาง พันธุกรรม ซึ่งทุกปัญหาล้วนแล้วแต่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของลูกน้อยที่จะกำเนิดมารวมถึง คุณพ่อคุณแม่ทั้งสิ้น

นายแพทย์สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผู้อำนวยการแพทย์และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ การมีบุตรยาก ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่มีผลสำเร็จด้านอัตราการตั้งครรภ์ในระดับสากลและมีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในอาเชีย กล่าวว่า เนื่องด้วยการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยการแข่งขันเพื่อสร้างฐานะและความมั่นคง ก่อนที่จะแต่งงานและมีบุตรของหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน ทำให้ส่วนใหญ่ตัดสินใจแต่งงานและมีบุตรช้าขึ้น เมื่อมีบุตรในช่วงอายุที่มากเกินไปส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อลูกน้อยที่จะเกิด ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านภาวะการมีบุตรยาก การแท้งซ้ำซาก และภาวะความผิดปกติของโครโมโซมอย่างโรคดาวน์ซินโดรม โดยพื้นฐานจำนวนโครโมโซมของมนุษย์มีอยู่ทั้งหมด 23 คู่ ถ้ามากหรือน้อยกว่านี้อาจก่อให้เกิดภาวะความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย ในปัจจุบันพบว่าความผิดปกติต่างๆ ของร่างกายในปัจจุบันพบว่าความผิดปปกติของจำนวนโครโมโซม ตามธรรมชาติมากถึง 40-80% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้เป็นเจ้าของไข่เป็นหลัก ถ้าอายุมากขึ้นความผิดปกติก็จะมากขึ้นตามไปด้วยเพราะตัวอ่อนที่ผิดปกตินั้น ส่วนใหญ่จะไม่ฝังตัวหรือถ้าฝังตัวจะก่อให้เกิดการแท้งในช่วง 3 เดือน ซึ่งหากรอดมาได้ทารกก็จะความผิดปกติ ตัวอย่างโรคที่รู้จักกันดีคือ ภาวะดาวน์ซินโดรม โดยเฉพาะฝ่ายหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปจะพบ ว่ามีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมประมาณ 0.5% และจะมีความเสี่ยงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติแท้งซ้ำซากหรือมีประวัติทารกพิการมาก่อนอาจพบมาก ขึ้นซึ่งล้วนแล้วแต่จะเกิดจากตัวอ่อนที่ผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ ดังนั้นการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนเลือกมาฝังตัวจะมีประโยชน์กับหญิงสาว ทุกคนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้นเป็นอย่างมาก

ทางด้านนายอธิคม และคุณนฤภร จากครอบครัวฉันทวานิช หนึ่งในครอบครัวตัวอย่างที่ตัดสิตใจใช้เทคนิค CGH แทนวิธีการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติว่า กล่าวว่า ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาในการพักผ่อนมากนัก ต้องเดินทางตลอดเวลาประกอบการวางแผนที่จะมีบุตรคนที่ 2 ในช่วงอายุที่มีความเสี่ยง ทำให้ต้องการความมั่นใจและให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูก อยากให้ลูกเกิดมาสมบูรณ์ทำให้ตัดสินใจศึกษาข้อมูลและใช้เทคนิค CGH ช่วยลดภาวะความเสี่ยงดังกล่าวหลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ

"สิ่งที่เราห่วงที่สุดเมื่อเรามีลูกตอนอายุเยอะคือความปลอดภัยของลูก มีกังวลว่าลูกจะมีปัญหาไหมเพราะจากการที่เราเห็นเด็กหลายคนมีปัญหาด้านโรค ทางพันธุกรรมในปัจจุบัน เราจึงตัดสินใจใช้เทคนิค CGH เข้ามาช่วยตอบโจทย์ของเราได้ดีที่สุด"

ครอบครัวฉันทวานิช ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ด้วยสภาพสังคมที่เป็นอยู่ทำให้ผู้หญิงแต่งงานช้าขึ้น ส่งผลให้มีบุตรช้าด้วยเช่นกัน เกินช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์ทำให้มีจุดที่มีความกังวล ถ้าเรามีลูกตอนอายุเยอะก็จะเกี่ยวพันธ์กับความปลอดภัยของลูกว่าลูกเกิดมา แล้วจะมีปัญหาหรือไม่ ในปัจจุบันเราก็เห็นเด็กหลายคนที่เกิดมามีปัญหาทางพันธุกรรม เพราะฉะนั้นการเลือกเทคโนโลยีอย่าง CGH เป็นสิ่งที่ทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้บุตรจะออกมา สมบูรณ์

คงต้องยอมรับว่าคู่สมรสทั้งหลายต่างใฝ่ฝันที่จะมีลูกน้อยไว้เป็นตัวแทน ของความรักระหว่างพ่อ-แม่ เพื่อเติมเต็มคำว่า "ครอบครัว" ให้สมบูรณ์หากแต่เพียงแค่การมีบุตรอย่างเดียวจะไม่เพียงพอ การมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ปลอดโรคต่างๆ รวมถึงโรคทางพันธุกรรม จึงน่าจะเป็นการตอบโจทย์ปัญหาใหญ่ของ คู่สามีภรรยาในยุคปัจจุบันได้ดีที่สุดเพราะโครโมโซมแม้จะเป็นจุดกำเนิดของ ชีวิตที่กำหนดไม่ได้ แต่เราเลือกได้.

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1816662

(ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ม.ค.57 )

ที่มา: ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 16/01/2557 เวลา 03:19:24

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าด้วยไลฟสไตล์การใช้ชีวิตในยุคการแข่งขันสูงและ สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเป็นผลให้หนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันเริ่มมีการวางแผนครอบครัวเพื่อมีบุตรช้าขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการมีบุตรยาก ภาวะแท้งซ้ำซากหรือแม่แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมโดยปัญหาส่วน ใหญ่เหล่านี้มักจะเกิดมาจากความผิดปกติของโครโมโซม เนื่องมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นหรือในบางรายอาจจะเกิดมาจากการถ่ายทอดทาง พันธุกรรม ซึ่งทุกปัญหาล้วนแล้วแต่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของลูกน้อยที่จะกำเนิดมารวมถึง คุณพ่อคุณแม่ทั้งสิ้น นายแพทย์สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผู้อำนวยการแพทย์และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ การมีบุตรยาก ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่มีผลสำเร็จด้านอัตราการตั้งครรภ์ในระดับสากลและมีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในอาเชีย กล่าวว่า เนื่องด้วยการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยการแข่งขันเพื่อสร้างฐานะและความมั่นคง ก่อนที่จะแต่งงานและมีบุตรของหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน ทำให้ส่วนใหญ่ตัดสินใจแต่งงานและมีบุตรช้าขึ้น เมื่อมีบุตรในช่วงอายุที่มากเกินไปส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อลูกน้อยที่จะเกิด ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านภาวะการมีบุตรยาก การแท้งซ้ำซาก และภาวะความผิดปกติของโครโมโซมอย่างโรคดาวน์ซินโดรม โดยพื้นฐานจำนวนโครโมโซมของมนุษย์มีอยู่ทั้งหมด 23 คู่ ถ้ามากหรือน้อยกว่านี้อาจก่อให้เกิดภาวะความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย ในปัจจุบันพบว่าความผิดปกติต่างๆ ของร่างกายในปัจจุบันพบว่าความผิดปปกติของจำนวนโครโมโซม ตามธรรมชาติมากถึง 40-80% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้เป็นเจ้าของไข่เป็นหลัก ถ้าอายุมากขึ้นความผิดปกติก็จะมากขึ้นตามไปด้วยเพราะตัวอ่อนที่ผิดปกตินั้น ส่วนใหญ่จะไม่ฝังตัวหรือถ้าฝังตัวจะก่อให้เกิดการแท้งในช่วง 3 เดือน ซึ่งหากรอดมาได้ทารกก็จะความผิดปกติ ตัวอย่างโรคที่รู้จักกันดีคือ ภาวะดาวน์ซินโดรม โดยเฉพาะฝ่ายหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปจะพบ ว่ามีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมประมาณ 0.5% และจะมีความเสี่ยงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติแท้งซ้ำซากหรือมีประวัติทารกพิการมาก่อนอาจพบมาก ขึ้นซึ่งล้วนแล้วแต่จะเกิดจากตัวอ่อนที่ผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ ดังนั้นการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนเลือกมาฝังตัวจะมีประโยชน์กับหญิงสาว ทุกคนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้นเป็นอย่างมาก ทางด้านนายอธิคม และคุณนฤภร จากครอบครัวฉันทวานิช หนึ่งในครอบครัวตัวอย่างที่ตัดสิตใจใช้เทคนิค CGH แทนวิธีการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติว่า กล่าวว่า ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาในการพักผ่อนมากนัก ต้องเดินทางตลอดเวลาประกอบการวางแผนที่จะมีบุตรคนที่ 2 ในช่วงอายุที่มีความเสี่ยง ทำให้ต้องการความมั่นใจและให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูก อยากให้ลูกเกิดมาสมบูรณ์ทำให้ตัดสินใจศึกษาข้อมูลและใช้เทคนิค CGH ช่วยลดภาวะความเสี่ยงดังกล่าวหลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ "สิ่งที่เราห่วงที่สุดเมื่อเรามีลูกตอนอายุเยอะคือความปลอดภัยของลูก มีกังวลว่าลูกจะมีปัญหาไหมเพราะจากการที่เราเห็นเด็กหลายคนมีปัญหาด้านโรค ทางพันธุกรรมในปัจจุบัน เราจึงตัดสินใจใช้เทคนิค CGH เข้ามาช่วยตอบโจทย์ของเราได้ดีที่สุด" ครอบครัวฉันทวานิช ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ด้วยสภาพสังคมที่เป็นอยู่ทำให้ผู้หญิงแต่งงานช้าขึ้น ส่งผลให้มีบุตรช้าด้วยเช่นกัน เกินช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์ทำให้มีจุดที่มีความกังวล ถ้าเรามีลูกตอนอายุเยอะก็จะเกี่ยวพันธ์กับความปลอดภัยของลูกว่าลูกเกิดมา แล้วจะมีปัญหาหรือไม่ ในปัจจุบันเราก็เห็นเด็กหลายคนที่เกิดมามีปัญหาทางพันธุกรรม เพราะฉะนั้นการเลือกเทคโนโลยีอย่าง CGH เป็นสิ่งที่ทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้บุตรจะออกมา สมบูรณ์ คงต้องยอมรับว่าคู่สมรสทั้งหลายต่างใฝ่ฝันที่จะมีลูกน้อยไว้เป็นตัวแทน ของความรักระหว่างพ่อ-แม่ เพื่อเติมเต็มคำว่า "ครอบครัว" ให้สมบูรณ์หากแต่เพียงแค่การมีบุตรอย่างเดียวจะไม่เพียงพอ การมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ปลอดโรคต่างๆ รวมถึงโรคทางพันธุกรรม จึงน่าจะเป็นการตอบโจทย์ปัญหาใหญ่ของ คู่สามีภรรยาในยุคปัจจุบันได้ดีที่สุดเพราะโครโมโซมแม้จะเป็นจุดกำเนิดของ ชีวิตที่กำหนดไม่ได้ แต่เราเลือกได้. ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1816662 (ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...