ใช้ "หูฟัง" ระวัง "หูหนวก"

แสดงความคิดเห็น

การสูญเสียการได้ยินไม่ใช่โรคร้ายที่คุกคามต่อชีวิต แต่สร้างปัญหาให้กับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกผู้คนไม่น้อย และแม้จะไม่มีสถิติระบุแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่ารูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ อย่างเช่นการใช้หูฟังแบบเอียร์บัดเพื่อฟังเพลงหรือชมภาพยนตร์ผ่านอุปกรณ์โมบายเป็นเวลานานๆ เรื่อยไปจนถึงเสียงต่างๆ รอบตัวเราที่ดังมากขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินอันเกิดจากเสียง (เอ็นไอเอชแอล) ได้ในช่วงอายุน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

หญิงสาวกำลังนอนฟังเพลงจากหูฟังแบบครอบหู

ศาสตราจารย์ จิลล์ กรุนวาลด์ นักโสตสัมผัสวิทยา (ออดิโอโลจิสต์) จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา บอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักว่าสภาพแวดล้อมในชีวิตยุคใหม่ดังมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อหูของตัวเองจนกระทั่งสายเกินไป สภาพแวดล้อมเดิมๆ ที่เราได้ยินเสียงเพียงเพื่อสันทนาการนั้นไม่มีอีกต่อไปแล้ว ทั้งการสวมหูฟังเพื่อรับฟังเสียงเป็นการส่วนตัว, การชมคอนเสิร์ต, สภาพแวดล้อมในบาร์,โรงภาพยนตร์ล้วนดังมากและเป็นสิ่งที่เราเจอะเจอเป็นประจำในชีวิตประจำวัน

กรุนวาลด์ชี้ว่า การได้ยินเสียงดังมากๆ เป็นระยะเวลานานยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการสูญเสียการได้ยินให้กับทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด และมีเหตุผลพอที่จะบอกได้ว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันมีปัญหาเอ็นไอเอชแอลเกิดขึ้นในช่วงอายุน้อยกว่าจากสาเหตุทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจ

เอ็นไอเอชแอลเป็นภาวะค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการได้ยินลงไปเรื่อยๆ ปกติจะเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่การได้รับฟังเสียงดังมากๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถก่อให้เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งจะยิ่งแย่ลงมากขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้นในอนาคต

สถาบันเพื่อความปลอดภัยในงานอาชีพแห่งชาติ (เอ็นไอโอเอสเอช) และสมาคมเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในงานอาชีพ (โอเอสเอชเอ) ของสหรัฐอเมริกา กำหนดค่ามาตรฐานของเสียงที่เราได้ยินแล้วยังปลอดภัยเอาไว้ที่ระดับ 85 เดซิเบล ซึ่งดังเท่าๆ กับเสียงการจราจรบนท้องถนนที่เราได้ยินเมื่อนั่งอยู่ภายในรถ การได้ยินเสียงที่ดังกว่าระดับดังกล่าวก่อความเสี่ยงให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ

การใช้หูฟังเพื่อฟังเพลงจากอุปกรณ์ต่างๆ สามารถให้เสียงได้สูงถึง 120 เดซิเบล ทั้งนี้จากการศึกษาของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นระดับเสียงที่เป็นอันตรายอย่างมาก เพราะเสียงในระดับเกินกว่า 110 เดซิเบลขึ้นไป สามารถทำให้ "เยื่อไมอีลิน" ฉีกหลุดออกจากเซลล์ประสาท ซึ่งจะตัดขาดการส่งสัญญาณไฟฟ้าจากหูไปยังสมองได้ทันทีในกรณีนี้การสูญเสียการได้ยินจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและไม่สามารถฟื้นฟูได้อีกต่อไป

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเสียงดังอาจดังได้ถึง 90 เดซิเบล อย่างเช่น เลื่อยเชนซอว์ หรือเจ็ตสกี มีระดับความดังที่ 100 เดซิเบล ในคลับหรือคอนเสิร์ตอาจมีเสียงดังได้มากถึง 105 เดซิเบล การเปิดวิทยุในรถยนต์ดังมากๆ อาจทำให้ระดับเสียงสูงขึ้นถึง 120 เดซิเบล หรือการยืนอยู่ห่างจากปืนขณะที่มีการลั่นกระสุนราว 2-3 ฟุต จะได้ยินเสียงระดับ 140 เดซิเบลที่อาจเป็นระดับเสียงเริ่มต้นที่ทำให้ปวดหูได้สำหรับบางคน

การได้ยินเสียงดังมากในเวลานานๆ บางครั้งอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว เช่น หลังการชมคอนเสิร์ต 2-3 วัน เกิดขึ้นจากองค์ประกอบทางเคมีในหูสร้างภาวะดังกล่าวขึ้นเพื่อป้องกันหู การได้ยินจะกลับคืนมาได้และอาจช่วยให้เร็วขึ้นได้ด้วยการไปอยู่ในที่เงียบๆเพื่อฟื้นฟูความละเอียดอ่อนของหูอีกครั้ง

คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันภาวะต่างๆ เหล่านี้ คือ ให้ลดระดับความดังสูงสุดของอุปกรณ์ที่ใช้กับหูฟังของเราลงจากเดิมให้เหลือเพียง 70 เปอร์เซ็นต์, ใช้หูฟังแบบครอบหู แทนหูฟังแบบเอียร์บัด เมื่อไปชมคอนเสิร์ตก็ควรนำอุปกรณ์อุดหูติดมือไปด้วยเป็นการป้องกันไว้ก่อนนั่นเอง

ที่มา : นสพ.มติชน

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1435040797

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 มิ.ย.58
วันที่โพสต์: 24/06/2558 เวลา 13:14:52 ดูภาพสไลด์โชว์ ใช้ "หูฟัง" ระวัง "หูหนวก"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การสูญเสียการได้ยินไม่ใช่โรคร้ายที่คุกคามต่อชีวิต แต่สร้างปัญหาให้กับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกผู้คนไม่น้อย และแม้จะไม่มีสถิติระบุแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่ารูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ อย่างเช่นการใช้หูฟังแบบเอียร์บัดเพื่อฟังเพลงหรือชมภาพยนตร์ผ่านอุปกรณ์โมบายเป็นเวลานานๆ เรื่อยไปจนถึงเสียงต่างๆ รอบตัวเราที่ดังมากขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินอันเกิดจากเสียง (เอ็นไอเอชแอล) ได้ในช่วงอายุน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หญิงสาวกำลังนอนฟังเพลงจากหูฟังแบบครอบหู ศาสตราจารย์ จิลล์ กรุนวาลด์ นักโสตสัมผัสวิทยา (ออดิโอโลจิสต์) จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา บอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักว่าสภาพแวดล้อมในชีวิตยุคใหม่ดังมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อหูของตัวเองจนกระทั่งสายเกินไป สภาพแวดล้อมเดิมๆ ที่เราได้ยินเสียงเพียงเพื่อสันทนาการนั้นไม่มีอีกต่อไปแล้ว ทั้งการสวมหูฟังเพื่อรับฟังเสียงเป็นการส่วนตัว, การชมคอนเสิร์ต, สภาพแวดล้อมในบาร์,โรงภาพยนตร์ล้วนดังมากและเป็นสิ่งที่เราเจอะเจอเป็นประจำในชีวิตประจำวัน กรุนวาลด์ชี้ว่า การได้ยินเสียงดังมากๆ เป็นระยะเวลานานยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการสูญเสียการได้ยินให้กับทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด และมีเหตุผลพอที่จะบอกได้ว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันมีปัญหาเอ็นไอเอชแอลเกิดขึ้นในช่วงอายุน้อยกว่าจากสาเหตุทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจ เอ็นไอเอชแอลเป็นภาวะค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการได้ยินลงไปเรื่อยๆ ปกติจะเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่การได้รับฟังเสียงดังมากๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถก่อให้เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งจะยิ่งแย่ลงมากขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้นในอนาคต สถาบันเพื่อความปลอดภัยในงานอาชีพแห่งชาติ (เอ็นไอโอเอสเอช) และสมาคมเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในงานอาชีพ (โอเอสเอชเอ) ของสหรัฐอเมริกา กำหนดค่ามาตรฐานของเสียงที่เราได้ยินแล้วยังปลอดภัยเอาไว้ที่ระดับ 85 เดซิเบล ซึ่งดังเท่าๆ กับเสียงการจราจรบนท้องถนนที่เราได้ยินเมื่อนั่งอยู่ภายในรถ การได้ยินเสียงที่ดังกว่าระดับดังกล่าวก่อความเสี่ยงให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ การใช้หูฟังเพื่อฟังเพลงจากอุปกรณ์ต่างๆ สามารถให้เสียงได้สูงถึง 120 เดซิเบล ทั้งนี้จากการศึกษาของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นระดับเสียงที่เป็นอันตรายอย่างมาก เพราะเสียงในระดับเกินกว่า 110 เดซิเบลขึ้นไป สามารถทำให้ "เยื่อไมอีลิน" ฉีกหลุดออกจากเซลล์ประสาท ซึ่งจะตัดขาดการส่งสัญญาณไฟฟ้าจากหูไปยังสมองได้ทันทีในกรณีนี้การสูญเสียการได้ยินจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและไม่สามารถฟื้นฟูได้อีกต่อไป เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเสียงดังอาจดังได้ถึง 90 เดซิเบล อย่างเช่น เลื่อยเชนซอว์ หรือเจ็ตสกี มีระดับความดังที่ 100 เดซิเบล ในคลับหรือคอนเสิร์ตอาจมีเสียงดังได้มากถึง 105 เดซิเบล การเปิดวิทยุในรถยนต์ดังมากๆ อาจทำให้ระดับเสียงสูงขึ้นถึง 120 เดซิเบล หรือการยืนอยู่ห่างจากปืนขณะที่มีการลั่นกระสุนราว 2-3 ฟุต จะได้ยินเสียงระดับ 140 เดซิเบลที่อาจเป็นระดับเสียงเริ่มต้นที่ทำให้ปวดหูได้สำหรับบางคน การได้ยินเสียงดังมากในเวลานานๆ บางครั้งอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว เช่น หลังการชมคอนเสิร์ต 2-3 วัน เกิดขึ้นจากองค์ประกอบทางเคมีในหูสร้างภาวะดังกล่าวขึ้นเพื่อป้องกันหู การได้ยินจะกลับคืนมาได้และอาจช่วยให้เร็วขึ้นได้ด้วยการไปอยู่ในที่เงียบๆเพื่อฟื้นฟูความละเอียดอ่อนของหูอีกครั้ง คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันภาวะต่างๆ เหล่านี้ คือ ให้ลดระดับความดังสูงสุดของอุปกรณ์ที่ใช้กับหูฟังของเราลงจากเดิมให้เหลือเพียง 70 เปอร์เซ็นต์, ใช้หูฟังแบบครอบหู แทนหูฟังแบบเอียร์บัด เมื่อไปชมคอนเสิร์ตก็ควรนำอุปกรณ์อุดหูติดมือไปด้วยเป็นการป้องกันไว้ก่อนนั่นเอง ที่มา : นสพ.มติชน ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1435040797

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...