ตอบโจทย์แต่ ‘ซ่อนเร้นนัย’การเมือง ‘ยิ่งลักษณ์5’ เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

แสดงความคิดเห็น

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ถ้านับตั้งแต่วันได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะมีอายุครบ 2 ปี แต่หากนับจากวันที่รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์1” แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมปีเดียวกันก็หย่อนไปแค่ 1 เดือนเท่านั้น

ใครจะเชื่อว่าระยะเวลาประมาณ 2 ปี รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ปรับครม.ไปแล้ว 5 ครั้ง หรือเฉลี่ยแล้ว 4 เดือนครั้ง ไม่นับการปรับครม.ครั้งที่ 4 ที่ปรับเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคชาติไทยพัฒนาหลังการสูญเสีย ชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี การปรับครม.แต่ละครั้งได้สร้างความ “ฮือฮา” อย่างยิ่ง แต่ก็ไม่มีครั้งไหนเรียกเสียงฮือฮาได้เท่าครั้งนี้มาก่อน

ต้องยอมรับว่าครม. “ยิ่งลักษณ์ 5” หน้าตาดีกว่าทุกชุดที่ผ่านมา อาจจะด้วยเพราะ “เงื่อนไข” ในการปรับครม.ครั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องปรับครม.เพื่อ “ตอบโจทย์” ทางการเมืองซึ่งโจทย์แรกคือการเรียก “ความเชื่อมั่น” ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะหน้าตาแต่ต้องทำงานได้จริง ความเชื่อมั่นที่รัฐบาลต้องรีบเรียกคืนกลับมานั้นมาจากปัญหา “โครงการรับจำนำข้าว” เป็นเรื่องหลัก ขณะที่เรื่องรองคือ ประสิทธิภาพการทำงานในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาไฟใต้ ที่ไม่มีความชัดเจนของรัฐมนตรีที่กำกับดูแลขณะที่การผลักดันโครงการเงินกู้ น้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบทำงานด้วยปากมากเกินไป

“ความเชื่อมั่น” ที่รัฐบาลหวังจะเรียกกลับมานั้นต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่สิ่งที่เป็นความจริงทางการเมืองที่ยากจะปฏิเสธคือ การปรับครม.ครั้งนี้แฝงไว้ด้วย “นัย” ทางการเมืองอย่างแยบยลอย่างยิ่ง

การที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ ว่าจะ “ควบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่จนแล้วจนรอดก็หาจังหวะงาม ๆ ทางการเมืองไม่ได้ จากนั้นก็ปรากฏข่าวการปรับเปลี่ยนผู้นำในกองทัพบกอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ที่มีข่าวว่าจะขยับไปนั่งผบ.ทหารสูงสุดแล้วโยกผบ.ทหารสูงสุด มานั่งเก้าอี้ปลัดกระทรวงกลาโหมที่จะเกษียณราชการในวันที่ 30 กันยายนที่จะถึงนี้

ข่าวนี้จริงหรือไม่ไม่รู้ แต่พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ไว้เป็นเชิงคำถามว่า เป็นผบ.ทหารสูงสุดนั้นไม่ดีตรงไหน

อย่างที่รู้กันกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายในกองทัพนั้นมีพ.ร.บ.การจัดระเบียบ ราชการกระทรวงกลาโหมกำกับอยู่ หากจะเข้าไปเป็น “เสียงข้างมาก” ในยามนี้จำเป็นต้องมีรัฐมนตรีช่วยว่าการซึ่งการปรับครม.ก็มีเกิดขึ้นนั่นคือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ซึ่งเคยเป็นอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรมว.กลาโหม

เป็นการ “รุกคืบ” เข้าสู่กองทัพของฝ่ายการเมือง ในท่ามกลางสถานการณ์ที่การเคลื่อนไหวมวลชนคึกคักอย่างยิ่ง เป็นการเปลี่ยนภาวะวิกฤติทางการเมืองให้กลายเป็นโอกาสได้ “ถูกที่ถูกจังหวะถูกเวลา” อย่างยิ่ง

ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลก็เป็นอีกเรื่องที่ห้ามมองข้าม การเปลี่ยนมือจาก บุญทรง เตริยาภิรมย์ มาเป็น นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล น่าจะตอบโจทย์ในแง่ของการประชาสัมพันธ์สื่อสาร แต่ในแง่ของการ “รู้งาน” ถูกชดเชยด้วยการมาของ ยรรยง พวงราช อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ แต่ยังไงหัวใจหลักอย่างกระทรวงพาณิชย์ก็ยังอยู่ในความดูแลของ “ตระกูลชิน” เช่นเดิม ขณะที่กระทรวงการคลังแม้จะไม่มีการปรับเปลี่ยน แต่การปรับฝ่ายการเมืองแล้วนำข้าราชการอย่าง เบญจา หลุยเจริญ อดีตอธิบดีกรมศุลกากร เขามาทำหน้าที่รมช.คลังก็ช่วยให้ภาพการเมืองกับข้าราชการดีขึ้นกว่าที่ผ่าน มาเพราะไม่ใช่เป็นการใช้การเมืองโดยฝ่ายการเมืองแต่ใช้การเมืองโดยข้าราชการ ประจำ

หน้าตาที่ดูจะเข้าท่าเข้าทีก็คือการมาของ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยในตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ ตำแหน่งนี้ จาตุรนต์เคยเข้ามาทำหน้าที่แล้ว ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า “บทบาท” ในช่วงเว้นวรรคการเมือง 5 ปี วนเวียนอยู่กับการต่อต้านการรัฐประหารและผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งความจริงควรจะมีบทบาทที่เข้มข้นกว่านี้ แต่ที่จำเป็นต้องดึงเข้าร่วมรัฐบาลเพราะทนกระแสสังคมไม่ไหวและต้องการใช้ ภาพนักการเมืองน้ำดี เพื่อกู้ภาพการเมือง “ขาลง” ซะมากกว่า

การตอบแทนทางการเมือง ดูจะเป็นอีกประเด็นที่เป็นลักษณะ “น้ำนิ่งไหลลึก” ที่ผ่านมารัฐมนตรีประเภทเก้าอี้ดนตรี คนนี้มาคนนั้นไป ผู้ที่ถูกปรับออกมักจะยอมรับสภาพ ครั้งนี้ก็เป็นเช่นนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกฯที่จะมาทำหน้าที่รมว.แรงงาน มองยังไงก็เป็นการ “ลดชั้น” ทั้ง ๆ ที่ร.ต.อ.เฉลิม มีบทบาทเป็นหัวหมู่ทะลวงฟันในการพา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้านด้วยการผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดองและทำหน้าที่องครักษ์พิทักษ์นายก รัฐมนตรีในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือในกรณีของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรมว.กลาโหมผู้ประกาศ “ลุยไฟ” เดินหน้าถอดยศ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและอดีตนายกรัฐมนตรี แม้จะได้เสียง “ปรบมือ” จากที่ประชุมพรรคเพื่อไทย แต่ผลที่ได้รับกลับมากลับถูกทิ้งแบบไม่มีที่ยืนในพรรค หรือในกรณีของ เผดิมชัย สะสมทรัพย์ แกนนำภาคกลางที่ร่วมหัวจมท้ายมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย ที่ถูกปรับออกท่ามกลางข้อหาที่ว่า ดูแลภาคกลางแต่ไม่ยอมช่วยชี้แจงกับชาวนาในพื้นที่

ยิ่งในรายของ จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช.อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่แม้จะมีภาพลบในทางสังคม แต่ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยก็ “เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง” คืออะไรที่ได้ก็เอา อะไรที่เสียไม่เอา

จตุพร ได้ชื่อว่าเป็น “นักรบ” แต่กลับไม่ได้รับโอกาสเข้ามาร่วมบริหารอำนาจ ขณะที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ กลับได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เรื่อยมา

นอกจากนี้ ส.ส.อีสานส่วนใหญ่เริ่มเห็นแล้วว่า การเข้าไปเป็นรัฐมนตรีเป็นแค่การตอบแทนทางการเมืองในช่วงสั้น ๆ ขณะที่คนส่วนหนึ่งซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งแต่เป็น “คนวงใน” ของผู้มีอำนาจกลับมีโอกาสในทางการบริหารมากกว่า

อีกจุดที่แม้จะรู้กันไม่ควรมองข้ามคือ การเข้ามาทำหน้าที่รมว.ยุติธรรมของ ชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด ซึ่งว่ากันว่าจะเกี่ยวข้องกับคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กำลังหนีคดีอยู่นอกประเทศ

“ภาพหนึ่ง” คือความพยายามกู้วิกฤติของรัฐบาล แต่อีกภาพหนึ่งที่ทับซ้อนอยู่คือการใช้จังหวะให้เป็นประโยชน์รุกคืบกองทัพ และกระชับอำนาจในพรรคเพื่อไทย

ดูยังไงก็ต้อง 2 ปีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้นเป็นประเภท ’อ่อนนอกแต่แข็งใน”.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/215425 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 30/06/2556 เวลา 04:06:33 ดูภาพสไลด์โชว์ ตอบโจทย์แต่ ‘ซ่อนเร้นนัย’การเมือง  ‘ยิ่งลักษณ์5’ เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถ้านับตั้งแต่วันได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะมีอายุครบ 2 ปี แต่หากนับจากวันที่รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์1” แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมปีเดียวกันก็หย่อนไปแค่ 1 เดือนเท่านั้น ใครจะเชื่อว่าระยะเวลาประมาณ 2 ปี รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ปรับครม.ไปแล้ว 5 ครั้ง หรือเฉลี่ยแล้ว 4 เดือนครั้ง ไม่นับการปรับครม.ครั้งที่ 4 ที่ปรับเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคชาติไทยพัฒนาหลังการสูญเสีย ชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี การปรับครม.แต่ละครั้งได้สร้างความ “ฮือฮา” อย่างยิ่ง แต่ก็ไม่มีครั้งไหนเรียกเสียงฮือฮาได้เท่าครั้งนี้มาก่อน ต้องยอมรับว่าครม. “ยิ่งลักษณ์ 5” หน้าตาดีกว่าทุกชุดที่ผ่านมา อาจจะด้วยเพราะ “เงื่อนไข” ในการปรับครม.ครั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องปรับครม.เพื่อ “ตอบโจทย์” ทางการเมืองซึ่งโจทย์แรกคือการเรียก “ความเชื่อมั่น” ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะหน้าตาแต่ต้องทำงานได้จริง ความเชื่อมั่นที่รัฐบาลต้องรีบเรียกคืนกลับมานั้นมาจากปัญหา “โครงการรับจำนำข้าว” เป็นเรื่องหลัก ขณะที่เรื่องรองคือ ประสิทธิภาพการทำงานในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาไฟใต้ ที่ไม่มีความชัดเจนของรัฐมนตรีที่กำกับดูแลขณะที่การผลักดันโครงการเงินกู้ น้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบทำงานด้วยปากมากเกินไป “ความเชื่อมั่น” ที่รัฐบาลหวังจะเรียกกลับมานั้นต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่สิ่งที่เป็นความจริงทางการเมืองที่ยากจะปฏิเสธคือ การปรับครม.ครั้งนี้แฝงไว้ด้วย “นัย” ทางการเมืองอย่างแยบยลอย่างยิ่ง การที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ ว่าจะ “ควบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่จนแล้วจนรอดก็หาจังหวะงาม ๆ ทางการเมืองไม่ได้ จากนั้นก็ปรากฏข่าวการปรับเปลี่ยนผู้นำในกองทัพบกอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ที่มีข่าวว่าจะขยับไปนั่งผบ.ทหารสูงสุดแล้วโยกผบ.ทหารสูงสุด มานั่งเก้าอี้ปลัดกระทรวงกลาโหมที่จะเกษียณราชการในวันที่ 30 กันยายนที่จะถึงนี้ ข่าวนี้จริงหรือไม่ไม่รู้ แต่พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ไว้เป็นเชิงคำถามว่า เป็นผบ.ทหารสูงสุดนั้นไม่ดีตรงไหน อย่างที่รู้กันกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายในกองทัพนั้นมีพ.ร.บ.การจัดระเบียบ ราชการกระทรวงกลาโหมกำกับอยู่ หากจะเข้าไปเป็น “เสียงข้างมาก” ในยามนี้จำเป็นต้องมีรัฐมนตรีช่วยว่าการซึ่งการปรับครม.ก็มีเกิดขึ้นนั่นคือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ซึ่งเคยเป็นอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรมว.กลาโหม เป็นการ “รุกคืบ” เข้าสู่กองทัพของฝ่ายการเมือง ในท่ามกลางสถานการณ์ที่การเคลื่อนไหวมวลชนคึกคักอย่างยิ่ง เป็นการเปลี่ยนภาวะวิกฤติทางการเมืองให้กลายเป็นโอกาสได้ “ถูกที่ถูกจังหวะถูกเวลา” อย่างยิ่ง ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลก็เป็นอีกเรื่องที่ห้ามมองข้าม การเปลี่ยนมือจาก บุญทรง เตริยาภิรมย์ มาเป็น นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล น่าจะตอบโจทย์ในแง่ของการประชาสัมพันธ์สื่อสาร แต่ในแง่ของการ “รู้งาน” ถูกชดเชยด้วยการมาของ ยรรยง พวงราช อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ แต่ยังไงหัวใจหลักอย่างกระทรวงพาณิชย์ก็ยังอยู่ในความดูแลของ “ตระกูลชิน” เช่นเดิม ขณะที่กระทรวงการคลังแม้จะไม่มีการปรับเปลี่ยน แต่การปรับฝ่ายการเมืองแล้วนำข้าราชการอย่าง เบญจา หลุยเจริญ อดีตอธิบดีกรมศุลกากร เขามาทำหน้าที่รมช.คลังก็ช่วยให้ภาพการเมืองกับข้าราชการดีขึ้นกว่าที่ผ่าน มาเพราะไม่ใช่เป็นการใช้การเมืองโดยฝ่ายการเมืองแต่ใช้การเมืองโดยข้าราชการ ประจำ หน้าตาที่ดูจะเข้าท่าเข้าทีก็คือการมาของ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยในตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ ตำแหน่งนี้ จาตุรนต์เคยเข้ามาทำหน้าที่แล้ว ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า “บทบาท” ในช่วงเว้นวรรคการเมือง 5 ปี วนเวียนอยู่กับการต่อต้านการรัฐประหารและผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งความจริงควรจะมีบทบาทที่เข้มข้นกว่านี้ แต่ที่จำเป็นต้องดึงเข้าร่วมรัฐบาลเพราะทนกระแสสังคมไม่ไหวและต้องการใช้ ภาพนักการเมืองน้ำดี เพื่อกู้ภาพการเมือง “ขาลง” ซะมากกว่า การตอบแทนทางการเมือง ดูจะเป็นอีกประเด็นที่เป็นลักษณะ “น้ำนิ่งไหลลึก” ที่ผ่านมารัฐมนตรีประเภทเก้าอี้ดนตรี คนนี้มาคนนั้นไป ผู้ที่ถูกปรับออกมักจะยอมรับสภาพ ครั้งนี้ก็เป็นเช่นนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกฯที่จะมาทำหน้าที่รมว.แรงงาน มองยังไงก็เป็นการ “ลดชั้น” ทั้ง ๆ ที่ร.ต.อ.เฉลิม มีบทบาทเป็นหัวหมู่ทะลวงฟันในการพา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้านด้วยการผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดองและทำหน้าที่องครักษ์พิทักษ์นายก รัฐมนตรีในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือในกรณีของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรมว.กลาโหมผู้ประกาศ “ลุยไฟ” เดินหน้าถอดยศ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและอดีตนายกรัฐมนตรี แม้จะได้เสียง “ปรบมือ” จากที่ประชุมพรรคเพื่อไทย แต่ผลที่ได้รับกลับมากลับถูกทิ้งแบบไม่มีที่ยืนในพรรค หรือในกรณีของ เผดิมชัย สะสมทรัพย์ แกนนำภาคกลางที่ร่วมหัวจมท้ายมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย ที่ถูกปรับออกท่ามกลางข้อหาที่ว่า ดูแลภาคกลางแต่ไม่ยอมช่วยชี้แจงกับชาวนาในพื้นที่ ยิ่งในรายของ จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช.อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่แม้จะมีภาพลบในทางสังคม แต่ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยก็ “เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง” คืออะไรที่ได้ก็เอา อะไรที่เสียไม่เอา จตุพร ได้ชื่อว่าเป็น “นักรบ” แต่กลับไม่ได้รับโอกาสเข้ามาร่วมบริหารอำนาจ ขณะที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ กลับได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เรื่อยมา นอกจากนี้ ส.ส.อีสานส่วนใหญ่เริ่มเห็นแล้วว่า การเข้าไปเป็นรัฐมนตรีเป็นแค่การตอบแทนทางการเมืองในช่วงสั้น ๆ ขณะที่คนส่วนหนึ่งซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งแต่เป็น “คนวงใน” ของผู้มีอำนาจกลับมีโอกาสในทางการบริหารมากกว่า อีกจุดที่แม้จะรู้กันไม่ควรมองข้ามคือ การเข้ามาทำหน้าที่รมว.ยุติธรรมของ ชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด ซึ่งว่ากันว่าจะเกี่ยวข้องกับคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กำลังหนีคดีอยู่นอกประเทศ “ภาพหนึ่ง” คือความพยายามกู้วิกฤติของรัฐบาล แต่อีกภาพหนึ่งที่ทับซ้อนอยู่คือการใช้จังหวะให้เป็นประโยชน์รุกคืบกองทัพ และกระชับอำนาจในพรรคเพื่อไทย ดูยังไงก็ต้อง 2 ปีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้นเป็นประเภท ’อ่อนนอกแต่แข็งใน”. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/215425

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง