รองเลขาฯ สมช.ชี้การเมืองแบ่งสีกระทบความมั่นคง ยันสถาบันกษัตริย์ต้องดำรงไว้

แสดงความคิดเห็น

การประชุมวิชาการมิติความมั่นคงประชาคมอาเซียน รองเลขาธิการ สมช.ชี้ปัญหาแตกแยก แบ่งสีแบ่งฝ่าย และการใช้ความรุนแรงบั่นทอนความมั่นคงภายในประเทศ ยันสถาบันกษัตริย์ต้องดำรงไว้ ด้านนักการทูต กต.แนะไทยต้องเป็นเพื่อนกับทุกคน เป็นมิตรกับทุกฝ่าย

วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ เมื่อเวลา 09.30 น. โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ร่วมกับสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการด้านความมั่นคงศึกษา ในหัวข้อเรื่อง “มิติความมั่นคงที่เปลี่ยนไปในบริบทของประชาคมอาเซียน 2015” โดยมี นายอดิศักดิ์ ตันยากุล รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) น.ส.ฉัตรวดี จินดาวงษ์ นัการทูตชำนาญการ กระทรวงการต่างประเทศ

โดยนายอดิศักดิ์กล่าวต่อนหนึ่งระหว่างการเสวนาว่า สิ่งแวดล้อมด้านความมั่นคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มองว่าในปี 2015 ความมั่นคงจะมีความซับซ้อน ลึกซึ้ง และแหลมคมมากขึ้น ดังนั้น คนที่ทำงานด้านความมั่นคงคงต้องเหนื่อยขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ตามนโยบายแผนพัฒนาด้านความมั่นคงในปี 2555-2559 เรื่องความมั่นคงภายในประเทศมีการวิเคระห์กันว่า เป็นภัยคุกคามที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพราะปัจจุบันปัญหาเรื่องความแตกแยก การแบ่งสีเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมถึงความนิยมใช้ความรุนแรงที่กลายเป็นสนิมในเนื้อเหล็กจะบั่นทอนความมั่น คงภายในประเทศจนส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยถูกมองข้ามหรือเป็นเพียงทางผ่านของ อาเซียนเท่านั้น ตลอดจนความมั่นคงในสถาบันหลักของชาติ ซึ่งกลายเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบัน ตนมองว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ ไม่ได้เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เหมือนในต่างประเทศ จึงมีความสำคัญที่ต้องดำรงไว้

ด้าน น.ส.ฉัตรวดีกล่าวว่า การรวมตัวกันของกลุ่มอาเซียนเพื่อป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ ในอดีตจะเน้นเรื่องการเมืองและความมั่นคง แต่ปัจจุบันจะเน้นความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ และกำลังจะก้าวเข้าสู่ความมั่นคงด้านสังคม เพราะฉะนั้นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องเปลี่ยนไปด้วย รวมถึงการแข่งขันและผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจจะมีความซับซ้อน เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นเพื่อนกับทุกคน เป็นมิตรต่อทุกฝ่าย และต้องคอยดูว่าใครจะเข้ามาให้ผลประโยชน์กับภูมิภาคของเรา ทั้งนี้กลุ่มประเทศในอาเซียนจะต้องมีความร่วมมือกันมากขึ้น จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ปัญหาจะมีลักษณะการข้ามพรหมแดน รวมถึงผลกระทบที่ตามมาอย่างรวดเร็ว เช่น การเกิดหมอกควันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินโดนีเซีย

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077558 (ขนาดไฟล์: 185)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 27/06/2556 เวลา 03:56:50

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การประชุมวิชาการมิติความมั่นคงประชาคมอาเซียน รองเลขาธิการ สมช.ชี้ปัญหาแตกแยก แบ่งสีแบ่งฝ่าย และการใช้ความรุนแรงบั่นทอนความมั่นคงภายในประเทศ ยันสถาบันกษัตริย์ต้องดำรงไว้ ด้านนักการทูต กต.แนะไทยต้องเป็นเพื่อนกับทุกคน เป็นมิตรกับทุกฝ่าย วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ เมื่อเวลา 09.30 น. โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ร่วมกับสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการด้านความมั่นคงศึกษา ในหัวข้อเรื่อง “มิติความมั่นคงที่เปลี่ยนไปในบริบทของประชาคมอาเซียน 2015” โดยมี นายอดิศักดิ์ ตันยากุล รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) น.ส.ฉัตรวดี จินดาวงษ์ นัการทูตชำนาญการ กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายอดิศักดิ์กล่าวต่อนหนึ่งระหว่างการเสวนาว่า สิ่งแวดล้อมด้านความมั่นคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มองว่าในปี 2015 ความมั่นคงจะมีความซับซ้อน ลึกซึ้ง และแหลมคมมากขึ้น ดังนั้น คนที่ทำงานด้านความมั่นคงคงต้องเหนื่อยขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ตามนโยบายแผนพัฒนาด้านความมั่นคงในปี 2555-2559 เรื่องความมั่นคงภายในประเทศมีการวิเคระห์กันว่า เป็นภัยคุกคามที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพราะปัจจุบันปัญหาเรื่องความแตกแยก การแบ่งสีเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมถึงความนิยมใช้ความรุนแรงที่กลายเป็นสนิมในเนื้อเหล็กจะบั่นทอนความมั่น คงภายในประเทศจนส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยถูกมองข้ามหรือเป็นเพียงทางผ่านของ อาเซียนเท่านั้น ตลอดจนความมั่นคงในสถาบันหลักของชาติ ซึ่งกลายเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบัน ตนมองว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ ไม่ได้เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เหมือนในต่างประเทศ จึงมีความสำคัญที่ต้องดำรงไว้ ด้าน น.ส.ฉัตรวดีกล่าวว่า การรวมตัวกันของกลุ่มอาเซียนเพื่อป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ ในอดีตจะเน้นเรื่องการเมืองและความมั่นคง แต่ปัจจุบันจะเน้นความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ และกำลังจะก้าวเข้าสู่ความมั่นคงด้านสังคม เพราะฉะนั้นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องเปลี่ยนไปด้วย รวมถึงการแข่งขันและผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจจะมีความซับซ้อน เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นเพื่อนกับทุกคน เป็นมิตรต่อทุกฝ่าย และต้องคอยดูว่าใครจะเข้ามาให้ผลประโยชน์กับภูมิภาคของเรา ทั้งนี้กลุ่มประเทศในอาเซียนจะต้องมีความร่วมมือกันมากขึ้น จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ปัญหาจะมีลักษณะการข้ามพรหมแดน รวมถึงผลกระทบที่ตามมาอย่างรวดเร็ว เช่น การเกิดหมอกควันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินโดนีเซีย ขอบคุณ... http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077558

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง