การแข่งขันทางการเมือง

แสดงความคิดเห็น

คอลัมน์สังคมโลก

ถือเป็นมิติใหม่ทางการเมืองการปกครองของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อฝ่ายบริหารคือรัฐบาล ถูกฝ่ายนิติบัญญัติประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ โดยนายกรัฐมนตรีเหงียน ทัน ดุง รวมทั้ง คณะรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีก 45 คน ถูกสมาชิกรัฐสภาลงมติไว้วางใจ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา

การลงคะแนนลับในรัฐสภากรุงฮานอย สมาชิกรัฐสภา 498 ที่นั่ง ที่ถูกมองว่าเป็น “สภาตรายาง” หย่อนบัตรแสดงความคิดเห็น 3 ทางเลือกคือ 1. ไว้ใจในระดับสูง 2. ไว้วางใจ และ 3. ไว้วางใจในระดับต่ำ

ดุงวัย 63 ปี ได้คะแนน “ไว้วางใจในระดับสูง” 67% และ “ไว้วางใจในระดับต่ำ” 32% ส่วนนี้คิดเป็นจำนวน ส.ส. 160 คน แม้จะผ่านการโหวต แต่คะแนนไว้วางใจระดับต่ำต่อดุงอยู่อันดับ 3 โดยคนที่ได้น้อยสุดคือ นายเหงียน วัน บินห์ ผู้ว่าการธนาคารกลาง ที่ 42%

ส่วน ประธานาธิบดีเจือง เติ่น ซาง แกนนำกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้างกับดุง คะแนนไว้วางใจระดับต่ำอยู่ที่ 28% ดีกว่าดุงไม่เท่าไหร่ แต่คะแนนไว้วางใจระดับสูงของซางสูงถึง 66% อยู่ที่ 3 ขณะที่ดุงอยู่อันดับ 25

คนที่ได้คะแนน “ไว้วางใจระดับต่ำ” มากกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด หรือได้คะแนนเสียงไว้วางใจในระดับต่ำ 2 ครั้งติดต่อกัน จากสมาชิกรัฐสภามากกว่าครึ่ง จะนำไปสู่การลงมติ “ไม่ไว้วางใจ” ตามด้วยการถอดถอนออกจากตำแหน่ง

เสียงเรียกร้องให้มีการลงมติไว้วางใจดุงในรัฐสภา เริ่มดังขึ้นในช่วงปลายปี 2553 หลังเกิดเรื่อง บริษัทเวียดนาม ชิปบิลดิ้ง อินดัสตรี กรุ๊ป หรือ วินาชิน บริษัทต่อเรือของรัฐบาล ที่ดุงควบคุมดูแลและป่าวประกาศเป็นโครงการดาวเด่น แต่สุดท้ายเกือบล้มละลาย และมีหนี้สินถึง 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับดุงในรัฐสภา โดยเฉพาะมุ้งของประธานาธิบดีซาง เริ่มเดินเกมให้มีการลงมติไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายปี นัยว่าเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาล

พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเผชิญแรงกดดัน ถูกโจมตีหนักว่าไม่พยายามปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโตช้าสุดในรอบ 13 ปีเมื่อปี 2555 และช่วงต้นปีนี้ กลุ่มการเมืองนำโดยอดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายคน ได้นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญทางเลือก มีเนื้อหาเรียกร้องให้มีการแข่งขันทางการเมือง (political competition)

ศึกการเมืองภายในยกแรก โดยผ่านการลงมติไว้วางใจ แม้ว่าซางจะชนะดุงโดยวัดจากคะแนนที่ได้ และทั้งคู่ถูก “ตำหนิอย่างรุนแรง” ต่อความล้มเหลวในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของประเทศ แต่สมาชิก รัฐสภาก็ไม่ถึงกับทำให้เกิดวิกฤติทางการเมือง ปล่อยให้ทั้งสองทำหน้าที่ต่อไป

ทางด้านปฏิกิริยาของชาวเวียดนาม ที่มีต่อการลงมติไว้วางใจรัฐบาล จากการสำรวจโดยสำนักโพล อาร์เอฟเอ พบว่า คนจำนวนมากมองว่า เป็นละครแหกตาประชาชน มีเป้าหมายเพื่อกลบเกลื่อนความอ่อนแอ และเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล นอกจากนั้นยังทำให้ประชาชนได้เห็นถึงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันภายในรัฐบาล อย่างชัดเจนด้วย

แต่ นายเหงียน เซิ่น ฮุง ประธานรัฐสภา กล่าวชื่นชมการลงมติไว้วางใจว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศในทุกด้านอย่างชัดเจนที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม นโยบายต่างประเทศ กลาโหม ความมั่นคง หรือด้านยุติธรรม

ส่วน คาร์ล เธเยอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทยาลัยกองทัพบกออสเตรเลีย มองว่า การลงมติของรัฐสภาเวียดนาม ไม่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง แต่เป็นจุดเริ่มต้นการปรับโครงสร้างพรรคคอมมิวนิสต์ ก่อนถึงการประชุมใหญ่พรรคระดับชาติในปี 2559 ซึ่งวาระสำคัญอยู่ที่การถ่ายโอนอำนาจไปสู่ผู้นำประเทศชุดใหม่. เลนซ์ซูม

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/80/212824

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 19/06/2556 เวลา 04:00:18 ดูภาพสไลด์โชว์ การแข่งขันทางการเมือง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คอลัมน์สังคมโลก ถือเป็นมิติใหม่ทางการเมืองการปกครองของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อฝ่ายบริหารคือรัฐบาล ถูกฝ่ายนิติบัญญัติประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ โดยนายกรัฐมนตรีเหงียน ทัน ดุง รวมทั้ง คณะรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีก 45 คน ถูกสมาชิกรัฐสภาลงมติไว้วางใจ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา การลงคะแนนลับในรัฐสภากรุงฮานอย สมาชิกรัฐสภา 498 ที่นั่ง ที่ถูกมองว่าเป็น “สภาตรายาง” หย่อนบัตรแสดงความคิดเห็น 3 ทางเลือกคือ 1. ไว้ใจในระดับสูง 2. ไว้วางใจ และ 3. ไว้วางใจในระดับต่ำ ดุงวัย 63 ปี ได้คะแนน “ไว้วางใจในระดับสูง” 67% และ “ไว้วางใจในระดับต่ำ” 32% ส่วนนี้คิดเป็นจำนวน ส.ส. 160 คน แม้จะผ่านการโหวต แต่คะแนนไว้วางใจระดับต่ำต่อดุงอยู่อันดับ 3 โดยคนที่ได้น้อยสุดคือ นายเหงียน วัน บินห์ ผู้ว่าการธนาคารกลาง ที่ 42% ส่วน ประธานาธิบดีเจือง เติ่น ซาง แกนนำกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้างกับดุง คะแนนไว้วางใจระดับต่ำอยู่ที่ 28% ดีกว่าดุงไม่เท่าไหร่ แต่คะแนนไว้วางใจระดับสูงของซางสูงถึง 66% อยู่ที่ 3 ขณะที่ดุงอยู่อันดับ 25 คนที่ได้คะแนน “ไว้วางใจระดับต่ำ” มากกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด หรือได้คะแนนเสียงไว้วางใจในระดับต่ำ 2 ครั้งติดต่อกัน จากสมาชิกรัฐสภามากกว่าครึ่ง จะนำไปสู่การลงมติ “ไม่ไว้วางใจ” ตามด้วยการถอดถอนออกจากตำแหน่ง เสียงเรียกร้องให้มีการลงมติไว้วางใจดุงในรัฐสภา เริ่มดังขึ้นในช่วงปลายปี 2553 หลังเกิดเรื่อง บริษัทเวียดนาม ชิปบิลดิ้ง อินดัสตรี กรุ๊ป หรือ วินาชิน บริษัทต่อเรือของรัฐบาล ที่ดุงควบคุมดูแลและป่าวประกาศเป็นโครงการดาวเด่น แต่สุดท้ายเกือบล้มละลาย และมีหนี้สินถึง 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับดุงในรัฐสภา โดยเฉพาะมุ้งของประธานาธิบดีซาง เริ่มเดินเกมให้มีการลงมติไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายปี นัยว่าเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาล พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเผชิญแรงกดดัน ถูกโจมตีหนักว่าไม่พยายามปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโตช้าสุดในรอบ 13 ปีเมื่อปี 2555 และช่วงต้นปีนี้ กลุ่มการเมืองนำโดยอดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายคน ได้นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญทางเลือก มีเนื้อหาเรียกร้องให้มีการแข่งขันทางการเมือง (political competition) ศึกการเมืองภายในยกแรก โดยผ่านการลงมติไว้วางใจ แม้ว่าซางจะชนะดุงโดยวัดจากคะแนนที่ได้ และทั้งคู่ถูก “ตำหนิอย่างรุนแรง” ต่อความล้มเหลวในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของประเทศ แต่สมาชิก รัฐสภาก็ไม่ถึงกับทำให้เกิดวิกฤติทางการเมือง ปล่อยให้ทั้งสองทำหน้าที่ต่อไป ทางด้านปฏิกิริยาของชาวเวียดนาม ที่มีต่อการลงมติไว้วางใจรัฐบาล จากการสำรวจโดยสำนักโพล อาร์เอฟเอ พบว่า คนจำนวนมากมองว่า เป็นละครแหกตาประชาชน มีเป้าหมายเพื่อกลบเกลื่อนความอ่อนแอ และเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล นอกจากนั้นยังทำให้ประชาชนได้เห็นถึงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันภายในรัฐบาล อย่างชัดเจนด้วย แต่ นายเหงียน เซิ่น ฮุง ประธานรัฐสภา กล่าวชื่นชมการลงมติไว้วางใจว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศในทุกด้านอย่างชัดเจนที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม นโยบายต่างประเทศ กลาโหม ความมั่นคง หรือด้านยุติธรรม ส่วน คาร์ล เธเยอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทยาลัยกองทัพบกออสเตรเลีย มองว่า การลงมติของรัฐสภาเวียดนาม ไม่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง แต่เป็นจุดเริ่มต้นการปรับโครงสร้างพรรคคอมมิวนิสต์ ก่อนถึงการประชุมใหญ่พรรคระดับชาติในปี 2559 ซึ่งวาระสำคัญอยู่ที่การถ่ายโอนอำนาจไปสู่ผู้นำประเทศชุดใหม่. เลนซ์ซูม ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/80/212824

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง