ส่อง ‘ปรอทการเมือง’ ก่อนถึงวันเปิดสภา มวลชนเผชิญหน้าสถานการณ์ 'ร้อนแรง'

แสดงความคิดเห็น

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เหลือระยะเวลาราว ๆ 1 เดือนครึ่ง หรือประมาณ 6 สัปดาห์ การประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญทั่วไปจะเริ่ม “เปิดฉาก” ขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม สำหรับในทางการเมืองระยะเวลาเพียงแค่นี้ถือว่า “สั้นมาก”

จากที่คาดการณ์ว่า สถานการณ์ช่วง “ปิดสมัย” ประชุมสภา บรรยากาศคงเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีระเบิดเวลามากวนใจให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องตามแก้และใช้เวลาทั้งหมดไป สร้างความเข้าใจมวลชนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดสภา ซึ่งมีเรื่องสำคัญทางการเมืองรออยู่

ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมและร่างพ.ร.บ.ปรองดอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 มาตรา 3 ร่าง การออกพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนเป็น “ความเป็นความตาย” ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยทั้งสิ้น

หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าลำพังแค่ 3 เรื่องร้อนก็ทำให้สถานการณ์การเมืองหวาดเสียวพอจนพากันคิดไปไกลว่าจะเกิด “อุบัติเหตุ” ทางการเมืองอะไรขึ้นมาหรือไม่ เพราะพรรคเพื่อไทยประกาศไว้แล้วว่างานนี้ “ถอย” ไปไม่ได้อีกแล้ว

แต่ใช่ว่าสถานการณ์จะคงอยู่และรอเวลาเผชิญ แต่สถานการณ์อื่น ซึ่งหากมองกันลึก ๆ ก็จะพบว่าล้วนดำเนินไปเพื่อรอวันเปิดสภาทั้งสิ้น ประเดประดังถาโถมเข้าใส่รัฐบาลจนเกิดอาการสั่นสะเทือนชนิดไม่เคยมีมาก่อนนับ ตั้งแต่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 หรือในช่วง 1 ปีกับอีก 11 เดือน โดยเฉพาะ “ผลงาน” ของรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าวซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหา ทั้งในแง่ผลสำเร็จของโครงการ ซึ่งในที่นี้วัดกันที่ตัวเลข “ขาดทุน” ของโครงการ เรื่อยไปจนถึงกระแสข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคประชา ธิปัตย์ที่นำโดย นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ตรวจสอบชนิด “กัดไม่ปล่อย” ขณะที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และ กรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค ก็ตั้งข้อสังเกตถึงผลกระทบในภาพใหญ่ของระบบเศรษฐกิจของประเทศ

โครงการรับจำนำข้าวที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในขณะนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงตัวเลขที่ถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจน ทั้ง ๆ ที่เป็นโครงการที่ริเริ่มมาเองกับมือ ใครจะเชื่อว่าตัวเลขของ 2 หน่วยงานระหว่างกระทรวงการคลังที่มี กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลกับกระทรวงพาณิชย์ที่มี บุญทรง เตริยาภิรมย์ ควบคุมดูแล “ไม่ตรงกัน” ทั้ง ๆ ที่เป็นรัฐมนตรีจากพรรคเดียวกัน แถมยังเป็น “ทีมเศรษฐกิจ” ร่วมกันอีกด้วย

การดึง วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนักการเมืองหลายพรรษาเข้ามารับผิดชอบเพื่อหวังจะสื่อสารทำความเข้า ใจกับสังคมจึงเป็น “สัญญาณ” สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานของรัฐบาลกำลังมีปัญหา หลังจากถูกตั้งคำถามในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ผ่านมาว่า ไม่น่าจะเป็นการใช้คนให้ถูกกับงาน แต่เป็นการจัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรีตามโควตาของกลุ่มการเมือง

การที่ กิตติรัตน์ ออกมาแบะท่าว่า มีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะปรับเปลี่ยน “เงื่อนไข” ในการรับจำนำข้าวใหม่ เนื่องจากราคาที่กำหนดไว้ตันละ 1.5 หมื่นบาท มีความเหมาะสมกับช่วงที่ผ่านมา แต่ไม่เหมาะกับภาวะในปัจจุบัน ถึงขนาดเปรียบเทียบว่า “อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังปรับเปลี่ยนได้ ราคารับจำนำทำไมจะเปลี่ยนไม่ได้ โดยการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช.”

ถือเป็นการถอยหลังรัฐบาลกำลังจะ “จำนน” ทางตัวเลขการ “ขาดทุน” อย่างชนิดมโหฬาร

อีกเรื่องที่สร้างคำถามเรื่องคุณธรรมจริยธรรมขึ้นกับรัฐบาลที่ประกาศว่ามา เพื่อแก้ไข ไม่ใช่มาเพื่อแก้แค้น นั่นคือ การคืนเก้าอี้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือสมช.ให้กับ ถวิล เปลี่ยนศรี หลังศาลปกครองมีคำสั่งว่า การย้ายที่รัฐบาลทำไปก่อนหน้านี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ยังไม่ชัดเจนว่า จะมีการอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ แต่หากดูตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายก็จะพบว่าโอกาสที่จะไม่เป็นไปตามที่ศาล ได้มีคำสั่งไว้ก่อนหน้านี้เป็นเรื่องยากซะเหลือเกิน ประเด็นคืนเก้าอี้เลขาธิการสมช.นี้ พุ่งเป้าไปที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีโดยตรง

นอกจากนี้ยังปรากฏความเคลื่อนไหวของ “มวลชน” ซึ่งกำลังแพร่กระจายกลายเป็นกระแส “ต่อต้าน” รัฐบาลมากขึ้นเรื่อย ๆ ปรากฏการณ์ “หน้ากากขาว” และความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกว่า “ไทยสปริง” คือการรวมตัวเพื่อกดดันรัฐบาลให้เดินหน้าทำงานมากกว่าจะมัวแต่หาช่องทางและ จังหวะทางการเมืองเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมือง

ปรากฏการณ์ “หน้ากากขาว” และ “ไทยสปริง” ไม่ได้มีเป้าหมายที่การไล่รัฐบาลแต่มีเป้าหมายที่การ “ต่อต้านระบอบทักษิณ” ซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่กว่า ขณะที่ภาพของรัฐบาลนั้นถูกมองว่าเป็นเพียง “ส่วนหนึ่ง” ของระบอบทักษิณเท่านั้น

เหรียญนั้นมี 2 ด้าน เมื่อด้านหนึ่งเคลื่อนไหว อีกด้านซึ่งหล่อเลี้ยงมวลชนเพื่อปกป้องรัฐบาลพร้อมกับสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมก็เริ่มเคลื่อนไหว ขณะที่ฝ่ายหนึ่งเคลื่อนไหวตามกรอบกติกาของกฎหมาย แต่อีกฝ่ายซึ่งเรียกตัวเองว่าผู้รักประชาธิปไตย กลับแสดงออกทางการเมืองในลักษณะที่เกินกว่าคำว่าประชาธิปไตย การไปเคลื่อนไหวต่อต้านเวทีทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่จ.ลำพูน น่าจะเป็นสัญญาณให้เห็นว่า ฝ่ายมวลชนทางการเมืองนั้นพร้อมจะเผชิญหน้ากันได้ทุกขณะ ยิ่งการทำร้ายกันที่จ.เชียงใหม่ ยิ่งเป็นสัญญาณชัดเจนว่า ความแตกแยกกำลังจะกลับมา

รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ซึ่งวันนี้สถานะหนึ่งคือยืนอยู่อีกฝ่าย แต่อีกสถานะคือเป็นรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ดูแลประชาชนทุกกลุ่มจะต้องจัดการและ แก้ไขเพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามไปกว่านี้

เพราะแค่เริ่มเคลื่อนไหวยังเผชิญหน้ากันขนาดนี้ หากสถานการณ์ไปถึงจุดที่จะต้อง “แตกหัก” จริง ๆ สถานการณ์จะรุนแรงกว่านี้หลายเท่าตัว

ผลของการเคลื่อนไหวและประเด็นที่ร้อนแรงก่อนเปิดสภา กำลังจะถูก “ทดสอบ” ผ่านการเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 12 ดอนเมือง เพราะ “ผลการเลือกตั้ง” จะเป็นเครื่องมือวัดอารมณ์ทางการเมืองได้ระดับหนึ่งว่า อยากจะเห็นสถานการณ์การเมืองเดินหน้าไปทางใด

ถ้าเลือกรัฐบาลก็แน่นอนว่า 3 เรื่องร้อนนั้น เดินหน้าต่อแน่ แต่หากเลือกฝ่ายค้าน โอกาสของการชะงักงันก็น่าจะมีขึ้นไม่มากก็น้อย

สถานการณ์ที่เคลื่อนไหวกันอยู่ทั้ง 2 ฝ่ายในช่วงเวลานี้และเรื่อยไปจนถึงวันเปิดสภา จึงเป็นการโหมโรงก่อนที่จะมีการ “สัปะยุทธ์” กันเกิดขึ้น

พรรคการเมือง มวลชน อำนาจ ฝ่ายหนึ่งมีพร้อมอยู่แล้ว ขณะที่อีกฝ่าย จากที่มีแต่พรรคการเมืองก็เริ่มมี “มวลชน” ปรากฏตัวขึ้นแม้จะเป็นในลักษณะ “มุมกลับ” ก็ตาม

ถ้าสถานการณ์ยังเดินไปอย่างนี้ ที่ใครต่อใครสวมวิญญาณโหร “ฟันธง” ไว้ว่า ปลายปีนี้ได้ “เห็นหน้าเห็นหลัง” กันแน่นั้น มีโอกาสจะเกิดขึ้นอย่างสูงยิ่ง.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/212115 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 16/06/2556 เวลา 03:17:36 ดูภาพสไลด์โชว์ ส่อง ‘ปรอทการเมือง’ ก่อนถึงวันเปิดสภา มวลชนเผชิญหน้าสถานการณ์ 'ร้อนแรง'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เหลือระยะเวลาราว ๆ 1 เดือนครึ่ง หรือประมาณ 6 สัปดาห์ การประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญทั่วไปจะเริ่ม “เปิดฉาก” ขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม สำหรับในทางการเมืองระยะเวลาเพียงแค่นี้ถือว่า “สั้นมาก” จากที่คาดการณ์ว่า สถานการณ์ช่วง “ปิดสมัย” ประชุมสภา บรรยากาศคงเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีระเบิดเวลามากวนใจให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องตามแก้และใช้เวลาทั้งหมดไป สร้างความเข้าใจมวลชนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดสภา ซึ่งมีเรื่องสำคัญทางการเมืองรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมและร่างพ.ร.บ.ปรองดอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 มาตรา 3 ร่าง การออกพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนเป็น “ความเป็นความตาย” ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยทั้งสิ้น หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าลำพังแค่ 3 เรื่องร้อนก็ทำให้สถานการณ์การเมืองหวาดเสียวพอจนพากันคิดไปไกลว่าจะเกิด “อุบัติเหตุ” ทางการเมืองอะไรขึ้นมาหรือไม่ เพราะพรรคเพื่อไทยประกาศไว้แล้วว่างานนี้ “ถอย” ไปไม่ได้อีกแล้ว แต่ใช่ว่าสถานการณ์จะคงอยู่และรอเวลาเผชิญ แต่สถานการณ์อื่น ซึ่งหากมองกันลึก ๆ ก็จะพบว่าล้วนดำเนินไปเพื่อรอวันเปิดสภาทั้งสิ้น ประเดประดังถาโถมเข้าใส่รัฐบาลจนเกิดอาการสั่นสะเทือนชนิดไม่เคยมีมาก่อนนับ ตั้งแต่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 หรือในช่วง 1 ปีกับอีก 11 เดือน โดยเฉพาะ “ผลงาน” ของรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าวซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหา ทั้งในแง่ผลสำเร็จของโครงการ ซึ่งในที่นี้วัดกันที่ตัวเลข “ขาดทุน” ของโครงการ เรื่อยไปจนถึงกระแสข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคประชา ธิปัตย์ที่นำโดย นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ตรวจสอบชนิด “กัดไม่ปล่อย” ขณะที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และ กรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค ก็ตั้งข้อสังเกตถึงผลกระทบในภาพใหญ่ของระบบเศรษฐกิจของประเทศ โครงการรับจำนำข้าวที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในขณะนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงตัวเลขที่ถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจน ทั้ง ๆ ที่เป็นโครงการที่ริเริ่มมาเองกับมือ ใครจะเชื่อว่าตัวเลขของ 2 หน่วยงานระหว่างกระทรวงการคลังที่มี กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลกับกระทรวงพาณิชย์ที่มี บุญทรง เตริยาภิรมย์ ควบคุมดูแล “ไม่ตรงกัน” ทั้ง ๆ ที่เป็นรัฐมนตรีจากพรรคเดียวกัน แถมยังเป็น “ทีมเศรษฐกิจ” ร่วมกันอีกด้วย การดึง วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนักการเมืองหลายพรรษาเข้ามารับผิดชอบเพื่อหวังจะสื่อสารทำความเข้า ใจกับสังคมจึงเป็น “สัญญาณ” สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานของรัฐบาลกำลังมีปัญหา หลังจากถูกตั้งคำถามในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ผ่านมาว่า ไม่น่าจะเป็นการใช้คนให้ถูกกับงาน แต่เป็นการจัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรีตามโควตาของกลุ่มการเมือง การที่ กิตติรัตน์ ออกมาแบะท่าว่า มีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะปรับเปลี่ยน “เงื่อนไข” ในการรับจำนำข้าวใหม่ เนื่องจากราคาที่กำหนดไว้ตันละ 1.5 หมื่นบาท มีความเหมาะสมกับช่วงที่ผ่านมา แต่ไม่เหมาะกับภาวะในปัจจุบัน ถึงขนาดเปรียบเทียบว่า “อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังปรับเปลี่ยนได้ ราคารับจำนำทำไมจะเปลี่ยนไม่ได้ โดยการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช.” ถือเป็นการถอยหลังรัฐบาลกำลังจะ “จำนน” ทางตัวเลขการ “ขาดทุน” อย่างชนิดมโหฬาร อีกเรื่องที่สร้างคำถามเรื่องคุณธรรมจริยธรรมขึ้นกับรัฐบาลที่ประกาศว่ามา เพื่อแก้ไข ไม่ใช่มาเพื่อแก้แค้น นั่นคือ การคืนเก้าอี้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือสมช.ให้กับ ถวิล เปลี่ยนศรี หลังศาลปกครองมีคำสั่งว่า การย้ายที่รัฐบาลทำไปก่อนหน้านี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยังไม่ชัดเจนว่า จะมีการอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ แต่หากดูตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายก็จะพบว่าโอกาสที่จะไม่เป็นไปตามที่ศาล ได้มีคำสั่งไว้ก่อนหน้านี้เป็นเรื่องยากซะเหลือเกิน ประเด็นคืนเก้าอี้เลขาธิการสมช.นี้ พุ่งเป้าไปที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีโดยตรง นอกจากนี้ยังปรากฏความเคลื่อนไหวของ “มวลชน” ซึ่งกำลังแพร่กระจายกลายเป็นกระแส “ต่อต้าน” รัฐบาลมากขึ้นเรื่อย ๆ ปรากฏการณ์ “หน้ากากขาว” และความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกว่า “ไทยสปริง” คือการรวมตัวเพื่อกดดันรัฐบาลให้เดินหน้าทำงานมากกว่าจะมัวแต่หาช่องทางและ จังหวะทางการเมืองเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมือง ปรากฏการณ์ “หน้ากากขาว” และ “ไทยสปริง” ไม่ได้มีเป้าหมายที่การไล่รัฐบาลแต่มีเป้าหมายที่การ “ต่อต้านระบอบทักษิณ” ซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่กว่า ขณะที่ภาพของรัฐบาลนั้นถูกมองว่าเป็นเพียง “ส่วนหนึ่ง” ของระบอบทักษิณเท่านั้น เหรียญนั้นมี 2 ด้าน เมื่อด้านหนึ่งเคลื่อนไหว อีกด้านซึ่งหล่อเลี้ยงมวลชนเพื่อปกป้องรัฐบาลพร้อมกับสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมก็เริ่มเคลื่อนไหว ขณะที่ฝ่ายหนึ่งเคลื่อนไหวตามกรอบกติกาของกฎหมาย แต่อีกฝ่ายซึ่งเรียกตัวเองว่าผู้รักประชาธิปไตย กลับแสดงออกทางการเมืองในลักษณะที่เกินกว่าคำว่าประชาธิปไตย การไปเคลื่อนไหวต่อต้านเวทีทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่จ.ลำพูน น่าจะเป็นสัญญาณให้เห็นว่า ฝ่ายมวลชนทางการเมืองนั้นพร้อมจะเผชิญหน้ากันได้ทุกขณะ ยิ่งการทำร้ายกันที่จ.เชียงใหม่ ยิ่งเป็นสัญญาณชัดเจนว่า ความแตกแยกกำลังจะกลับมา รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ซึ่งวันนี้สถานะหนึ่งคือยืนอยู่อีกฝ่าย แต่อีกสถานะคือเป็นรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ดูแลประชาชนทุกกลุ่มจะต้องจัดการและ แก้ไขเพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามไปกว่านี้ เพราะแค่เริ่มเคลื่อนไหวยังเผชิญหน้ากันขนาดนี้ หากสถานการณ์ไปถึงจุดที่จะต้อง “แตกหัก” จริง ๆ สถานการณ์จะรุนแรงกว่านี้หลายเท่าตัว ผลของการเคลื่อนไหวและประเด็นที่ร้อนแรงก่อนเปิดสภา กำลังจะถูก “ทดสอบ” ผ่านการเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 12 ดอนเมือง เพราะ “ผลการเลือกตั้ง” จะเป็นเครื่องมือวัดอารมณ์ทางการเมืองได้ระดับหนึ่งว่า อยากจะเห็นสถานการณ์การเมืองเดินหน้าไปทางใด ถ้าเลือกรัฐบาลก็แน่นอนว่า 3 เรื่องร้อนนั้น เดินหน้าต่อแน่ แต่หากเลือกฝ่ายค้าน โอกาสของการชะงักงันก็น่าจะมีขึ้นไม่มากก็น้อย สถานการณ์ที่เคลื่อนไหวกันอยู่ทั้ง 2 ฝ่ายในช่วงเวลานี้และเรื่อยไปจนถึงวันเปิดสภา จึงเป็นการโหมโรงก่อนที่จะมีการ “สัปะยุทธ์” กันเกิดขึ้น พรรคการเมือง มวลชน อำนาจ ฝ่ายหนึ่งมีพร้อมอยู่แล้ว ขณะที่อีกฝ่าย จากที่มีแต่พรรคการเมืองก็เริ่มมี “มวลชน” ปรากฏตัวขึ้นแม้จะเป็นในลักษณะ “มุมกลับ” ก็ตาม ถ้าสถานการณ์ยังเดินไปอย่างนี้ ที่ใครต่อใครสวมวิญญาณโหร “ฟันธง” ไว้ว่า ปลายปีนี้ได้ “เห็นหน้าเห็นหลัง” กันแน่นั้น มีโอกาสจะเกิดขึ้นอย่างสูงยิ่ง. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/212115

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง