6ปมร้อนการเมืองที่ใครๆไม่ยุ่ง!

แสดงความคิดเห็น

'เอแบคโพลล์' เผย 6 ปมร้อนการเมืองที่ใครๆ ไม่ยุ่ง ปชช. 90% ชื่นชม 'ดีเอสไอ' ทำงาน ขณะที่ 'กรุงเทพโพลล์' ระบุ 60% ชี้ถก 'บีอาร์เอ็น' ไม่ช่วยสถานการณ์ดีขึ้น

9 มิ.ย. 56 นายเทวินทร์ อินทรจำนงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “เผือกร้อนทางการเมือง” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดของประเทศ จากประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ นครพนม สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา ชุมพร ตรัง และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,156 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 8 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น โดยสุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน

ปรากฏการณ์เผือกร้อนทางการเมืองเป็นปรากฏการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ไม่ค่อยมี ใครอยากจะเข้าไปเป็นเจ้าภาพในการแก้ไข คลี่คลายปัญหาสักเท่าไหร่นัก ส่งผลทำให้เกิดการ “โยนปัญหา”หรือ “ผลักปัญหา” ไปให้คนอื่นๆ เข้าคลี่คลาย ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกรณี

กรณีที่แรก กลุ่มมวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลในขณะนี้ (เช่น กลุ่มหน้ากากแดง หน้ากากขาว) พบว่า กลุ่มตัวอย่างประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.6 ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหว เพราะกลัวจะเกิดความวุ่นวายรุนแรงบานปลาย สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้สัญจรไปมา กระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 29.9 เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวเพราะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น และร้อยละ 22.5 ไม่มีความเห็น

กรณีที่สอง กลุ่มมวลชน (คนเสื้อแดง) ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมานั้น เมื่อสอบถามความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญในสายตาของประชาชนปรากฏว่าส่วน มากร้อยละ 57.8 ระบุว่ายังคงเชื่อถือต่อศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ไม่เชื่อถือ และร้อยละ 22.6 ไม่มีความเห็น

กรณีที่สาม ความขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุข (ระหว่างรัฐมนตรีกับแพทย์ชนบทและกลุ่มต่างๆ) พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่ง คือ ร้อยละ 45.7 กังวลว่าความขัดแย้งดังกล่าวอาจจะมีผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้าน สาธารณสุขที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ไม่กังวล และร้อยละ 27.7 ไม่มีความเห็นในกรณีดังกล่าว

กรณีที่สี่ ปัญหาระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับรัฐบาล เมื่อสอบถามความน่าเชื่อถือระหว่างแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) กับแนวทางของรัฐบาล พบว่ากลุ่มตัวอย่างประชาชนมากกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 37.7 เชื่อถือแนวทางของ ธปท.มากกว่า ร้อยละ 15.8 เชื่อถือแนวทางของรัฐบาลมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 26.9 เชื่อถือทั้งสองฝ่ายพอๆ กัน และร้อยละ 19.6 ไม่มีความเห็น

กรณีที่ห้า ปัญหาการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติให้ไปปฏิบัติราชการที่ สำนักนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 152/2554 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งศาลปกครองกลางได้พิพากษาสั่งให้เพิกถอนคำสั่งนายกรัฐมนตรีครั้งนั้น และต่อมานายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตั้งคณะทำงานศึกษาคำสั่งศาลปกครองดัง กล่าว รวมทั้งมีข่าวความสงสัยว่าหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้ฟังคำแนะนำของที่ปรึกษา ด้านกฎหมายแล้วจะตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกรณีการที่ถูกเพิกถอนคำ สั่งหรือไม่ คณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชาชนพบว่าเกือบ 1 ใน 3 คือร้อยละ 31.9 เห็นว่ารัฐบาล “ไม่ควร” ยื่นอุทธรณ์ ในขณะที่ร้อยละ 16.5 เห็นว่าควรยื่นอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 51.6 ไม่มีความเห็นในกรณีนี้

กรณีที่หก การที่มีนักวิชาการออกมาเตือนให้ทบทวนนโยบายประชานิยมของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างประชาชนส่วนมากหรือร้อยละ 56.8 เห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายประชานิยม (เช่น จำนำข้าว 30 บาทรักษาทุกโรค น้ำไฟฟรี รถคันแรก บ้านหลังแรก) ในขณะที่ร้อยละ 23.8 เห็นว่าไม่จำเป็นต้องทบทวน และร้อยละ 19.4 ไม่มีความเห็น

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.0 เป็นชาย ร้อยละ 51.0 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี และ ร้อยละ 33.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 77.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 4.0 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

'กรุงเทพโพลล์' เผย 60% ชี้รบ.ถก 'บีอาร์เอ็น' ไม่ช่วยสถานการณ์ดีขึ้น

ด้วยวันที่ 13 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ รัฐบาลจะมีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นครั้งที่ 3 เพื่อสานต่อการเดินหน้าเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “รัฐบาลกับการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา เมื่อวันที่ 6-7 มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า

หลังจากที่รัฐบาลได้มีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น มาแล้ว 2 ครั้ง พี่น้องชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 61.0 เห็นว่าเหตุการณ์ความไม่สงบมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 36.3 เห็นว่ามีความรุนแรงเหมือนกับก่อนการเจรจา และมีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้นที่เห็นว่ามีความรุนแรงลดลง

ทั้งนี้ในการเจรจาพูดคุยสันติภาพทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา พี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ 78.9 เห็นว่ากลุ่มบีอาร์เอ็น มีความได้เปรียบในการเจรจามากว่า ขณะที่ ร้อยละ 21.1 เห็นว่า รัฐบาลได้เปรียบมากกว่า

เมื่อถามถึงความจริงจังในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล พี่น้องชายแดนใต้ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 ระบุว่า รัฐบาลไม่จริงจังในการแก้ปัญหา ขณะที่ร้อยละ 38.4 ระบุว่า รัฐบาลมีความจริงจัง

สำหรับความรู้สึกต่อการที่รัฐบาลส่งตัวแทนมาพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอา ร์เอ็น พบว่า พี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ ร้อยละ 72.6 รู้สึกกลัวและกังวลว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น มีเพียงร้อยละ 27.4 ที่รู้สึกอุ่นใจและเห็นสัญญาณความสงบที่ใกล้จะเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามพี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ 54.4 ยังคงสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ต่อไป ขณะที่ร้อยละ 45.6 เห็นว่าควรยุติการพูดคุย-เจรจา ได้แล้ว

โพลล์ชี้ปชช.เกือบ 90% ชื่นชม 'ดีเอสไอ'

นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอในสายตาของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดของประเทศ จากประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ นครพนม สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา ชุมพร ตรัง และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,156 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-8 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น โดยสุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7

เมื่อถามถึง การรับรู้ของสาธารณชนต่อผลงานของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.1 ระบุเห็นผลงาน ในขณะที่ร้อยละ 10.9 ระบุ ยังไม่เห็นผลงาน นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อการทำงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.3 ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อผลงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 56.1 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 31.4 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 12.5 ระบุแย่ลง และเมื่อถามถึง คดีพิเศษของดีเอสไอที่ได้รับความสนใจมากที่สุด พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 43.7 ระบุ คดีรถหรู รถซุปเปอร์คาร์ รองลงมาคือ ร้อยละ 21.4 ระบุคดีทุจริตโรงพัก ร้อยละ 15.3 ระบุคดีกากสารพิษ มลพิษโรงงาน ร้อยละ 10.7 ระบุคดีการเมือง และร้อยละ 8.9 ระบุคดีอื่นๆ เช่น คดีค้ามนุษย์ คดีล้มสถาบัน คดีที่ดินเขาแพง เป็นต้น

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความรู้สึกชื่นชม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ในฐานะสุดยอดซีอีโอของหน่วยงานรัฐ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.8 รู้สึกชื่นชม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ในฐานะสุดยอดซีอีโอของหน่วยงานรัฐ ในขณะที่ ร้อยละ 16.2 ไม่รู้สึกชื่นชมอะไร

ผู้ช่วย.ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ในท่ามกลางความวุ่นวายทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ย่อมส่งผลกระทบต่อ การวางตัวเป็นกลางและการทำตาม “หน้าที่” ของเจ้าหน้าที่รัฐและมักจะส่งผลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดที่พึ่งและความหวัง ต่อหน่วยงานของรัฐในการเยียวยาปัญหาสำคัญของประเทศและประชาชน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้กลับชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนยังมีหน่วยงานของรัฐที่เข้าถึงในการคลี่คลายปัญหาสำคัญที่สาธารณชน กำลังให้ความสนใจและมีความพึงพอใจต่อหัวหน้าหน่วยในฐานะที่เป็นสุดยอดซีอีโอ ของดีเอสไอ จึงน่าจะเป็นข้อมูลสำคัญให้กับหน่วยงานของรัฐหน่วยอื่นๆ ได้เร่งสร้างผลงานเป็นที่พึ่งและความหวังให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มากกว่าคอยเอาใจฝ่ายการเมืองและกลุ่มนายทุนโดยละเลยความเดือดร้อนของสาธารณ ชน

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.0 เป็นชาย ร้อยละ 51.0 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี และ ร้อยละ 33.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 77.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 4.0 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130609/160560/6ปมร้อนการเมืองที่ใครๆไม่ยุ่ง!.html#.UbU_FNikPZ4

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 10/06/2556 เวลา 03:29:07

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'เอแบคโพลล์' เผย 6 ปมร้อนการเมืองที่ใครๆ ไม่ยุ่ง ปชช. 90% ชื่นชม 'ดีเอสไอ' ทำงาน ขณะที่ 'กรุงเทพโพลล์' ระบุ 60% ชี้ถก 'บีอาร์เอ็น' ไม่ช่วยสถานการณ์ดีขึ้น 9 มิ.ย. 56 นายเทวินทร์ อินทรจำนงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “เผือกร้อนทางการเมือง” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดของประเทศ จากประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ นครพนม สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา ชุมพร ตรัง และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,156 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 8 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น โดยสุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ปรากฏการณ์เผือกร้อนทางการเมืองเป็นปรากฏการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ไม่ค่อยมี ใครอยากจะเข้าไปเป็นเจ้าภาพในการแก้ไข คลี่คลายปัญหาสักเท่าไหร่นัก ส่งผลทำให้เกิดการ “โยนปัญหา”หรือ “ผลักปัญหา” ไปให้คนอื่นๆ เข้าคลี่คลาย ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกรณี กรณีที่แรก กลุ่มมวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลในขณะนี้ (เช่น กลุ่มหน้ากากแดง หน้ากากขาว) พบว่า กลุ่มตัวอย่างประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.6 ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหว เพราะกลัวจะเกิดความวุ่นวายรุนแรงบานปลาย สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้สัญจรไปมา กระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 29.9 เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวเพราะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น และร้อยละ 22.5 ไม่มีความเห็น กรณีที่สอง กลุ่มมวลชน (คนเสื้อแดง) ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมานั้น เมื่อสอบถามความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญในสายตาของประชาชนปรากฏว่าส่วน มากร้อยละ 57.8 ระบุว่ายังคงเชื่อถือต่อศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ไม่เชื่อถือ และร้อยละ 22.6 ไม่มีความเห็น กรณีที่สาม ความขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุข (ระหว่างรัฐมนตรีกับแพทย์ชนบทและกลุ่มต่างๆ) พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่ง คือ ร้อยละ 45.7 กังวลว่าความขัดแย้งดังกล่าวอาจจะมีผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้าน สาธารณสุขที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ไม่กังวล และร้อยละ 27.7 ไม่มีความเห็นในกรณีดังกล่าว กรณีที่สี่ ปัญหาระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับรัฐบาล เมื่อสอบถามความน่าเชื่อถือระหว่างแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) กับแนวทางของรัฐบาล พบว่ากลุ่มตัวอย่างประชาชนมากกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 37.7 เชื่อถือแนวทางของ ธปท.มากกว่า ร้อยละ 15.8 เชื่อถือแนวทางของรัฐบาลมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 26.9 เชื่อถือทั้งสองฝ่ายพอๆ กัน และร้อยละ 19.6 ไม่มีความเห็น กรณีที่ห้า ปัญหาการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติให้ไปปฏิบัติราชการที่ สำนักนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 152/2554 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งศาลปกครองกลางได้พิพากษาสั่งให้เพิกถอนคำสั่งนายกรัฐมนตรีครั้งนั้น และต่อมานายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตั้งคณะทำงานศึกษาคำสั่งศาลปกครองดัง กล่าว รวมทั้งมีข่าวความสงสัยว่าหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้ฟังคำแนะนำของที่ปรึกษา ด้านกฎหมายแล้วจะตัดสินใจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกรณีการที่ถูกเพิกถอนคำ สั่งหรือไม่ คณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชาชนพบว่าเกือบ 1 ใน 3 คือร้อยละ 31.9 เห็นว่ารัฐบาล “ไม่ควร” ยื่นอุทธรณ์ ในขณะที่ร้อยละ 16.5 เห็นว่าควรยื่นอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 51.6 ไม่มีความเห็นในกรณีนี้ กรณีที่หก การที่มีนักวิชาการออกมาเตือนให้ทบทวนนโยบายประชานิยมของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างประชาชนส่วนมากหรือร้อยละ 56.8 เห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายประชานิยม (เช่น จำนำข้าว 30 บาทรักษาทุกโรค น้ำไฟฟรี รถคันแรก บ้านหลังแรก) ในขณะที่ร้อยละ 23.8 เห็นว่าไม่จำเป็นต้องทบทวน และร้อยละ 19.4 ไม่มีความเห็น จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.0 เป็นชาย ร้อยละ 51.0 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี และ ร้อยละ 33.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 77.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 4.0 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 'กรุงเทพโพลล์' เผย 60% ชี้รบ.ถก 'บีอาร์เอ็น' ไม่ช่วยสถานการณ์ดีขึ้น ด้วยวันที่ 13 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ รัฐบาลจะมีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นครั้งที่ 3 เพื่อสานต่อการเดินหน้าเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “รัฐบาลกับการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา เมื่อวันที่ 6-7 มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า หลังจากที่รัฐบาลได้มีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็น มาแล้ว 2 ครั้ง พี่น้องชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 61.0 เห็นว่าเหตุการณ์ความไม่สงบมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 36.3 เห็นว่ามีความรุนแรงเหมือนกับก่อนการเจรจา และมีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้นที่เห็นว่ามีความรุนแรงลดลง ทั้งนี้ในการเจรจาพูดคุยสันติภาพทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา พี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ 78.9 เห็นว่ากลุ่มบีอาร์เอ็น มีความได้เปรียบในการเจรจามากว่า ขณะที่ ร้อยละ 21.1 เห็นว่า รัฐบาลได้เปรียบมากกว่า เมื่อถามถึงความจริงจังในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล พี่น้องชายแดนใต้ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 ระบุว่า รัฐบาลไม่จริงจังในการแก้ปัญหา ขณะที่ร้อยละ 38.4 ระบุว่า รัฐบาลมีความจริงจัง สำหรับความรู้สึกต่อการที่รัฐบาลส่งตัวแทนมาพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบีอา ร์เอ็น พบว่า พี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ ร้อยละ 72.6 รู้สึกกลัวและกังวลว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น มีเพียงร้อยละ 27.4 ที่รู้สึกอุ่นใจและเห็นสัญญาณความสงบที่ใกล้จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามพี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ 54.4 ยังคงสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ต่อไป ขณะที่ร้อยละ 45.6 เห็นว่าควรยุติการพูดคุย-เจรจา ได้แล้ว โพลล์ชี้ปชช.เกือบ 90% ชื่นชม 'ดีเอสไอ' นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอในสายตาของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดของประเทศ จากประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ นครพนม สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา ชุมพร ตรัง และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,156 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-8 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น โดยสุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 เมื่อถามถึง การรับรู้ของสาธารณชนต่อผลงานของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.1 ระบุเห็นผลงาน ในขณะที่ร้อยละ 10.9 ระบุ ยังไม่เห็นผลงาน นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อการทำงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.3 ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อผลงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 56.1 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 31.4 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 12.5 ระบุแย่ลง และเมื่อถามถึง คดีพิเศษของดีเอสไอที่ได้รับความสนใจมากที่สุด พบว่า อันดับแรก

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง