สุรชาติ บำรุงสุข : หลังยึด...หลังปราบ! เรื่องใหม่ในการเมืองไทย

แสดงความคิดเห็น

ยุทธบทความ มติชนสุดสัปดาห์

"ประเทศในทางการเมืองก็เหมือนกับป่า เราจำเป็นต้องตัดต้นไม้เก่าออกไป เพื่อเปิดโอกาสให้ต้นไม้ใหม่เติบโตขึ้นทดแทนกัน"

Walter Bagehot นักเขียนชาวอังกฤษ(ค.ศ.1826-77)

ไม่น่าเชื่อว่าการยึดอำนาจในการเมืองไทยครั้งก่อนผ่านไปเกือบจะ 8 ปีแล้ว เช่นเดียวกับการล้อมปราบครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นใจกลางเมืองหลวงผ่านไปครบรอบ 3 ปี... การเมืองไทยหลังเหตุการณ์ใหญ่ทั้งสองครั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และเปลี่ยนแปลงไปจนต้องยอมรับว่า ไม่มีทางที่จะหวนคืนกลับมาเหมือนเก่าอีกต่อไป

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การเมืองที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐประหาร 2549 และหลังจากการปราบปรามใหญ่ที่ทุ่งราชประสงค์ในปี 2553 แล้ว การเมืองไทยเป็น "การเมืองใหม่" ที่ต้องการการพิจารณาด้วยความรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง

ความเปลี่ยนแปลงประการแรกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ อำนาจอันทรงพลังของกองทัพที่มีการรัฐประหารเป็นเครื่องมือนั้น เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

แน่นอนว่าชนชั้นนำและผู้นำทหารอาจจะยังคงยึดกุมเครื่องมือเหล่านี้ไว้ได้ แต่พลังของเครื่องมือดังกล่าวก็แตกต่างไปจากเดิมอย่างมากจนต้องยอมรับว่า การยึดอำนาจยังเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเมืองไทย แต่ผลหลังจากการยึดอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้อีกต่อไป

สภาพเช่นนี้ทำให้ปัญหาทหารกับการเมืองไทยไม่เหมือนเช่นในอดีต เพราะแม้ผู้นำกองทัพจะยังคงมีอำนาจในทางกายภาพที่คุมอาวุธแบบต่างๆ ไว้ในมือ แต่โอกาสการใช้เครื่องมือเช่นนี้กลับมีความจำกัดอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการเมืองไทย

เพราะแม้พวกเขาจะประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจ แต่ก็อาจจะต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากประชาชนเป็นจำนวนมากได้ไม่ยากนัก

ปรากฏการณ์เช่นนี้กำลังบอกแก่เราว่า ผู้คนโดยทั่วไปที่ไม่ยอมรับการใช้กำลังของทหารในการเมืองไทยนั้น พร้อมที่จะลุกขึ้นเป็นผู้ประท้วงหรือแสดงออกด้วยการต่อต้านการใช้กำลังทหารได้โดยไม่ลังเล

และที่สำคัญก็คือ พวกเขาพร้อมจะต่อต้านอย่างสุดแรงด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้เกิดการคาดคะเนถึงสถานการณ์ของการใช้กำลังทหารในการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจโดยตรง หรือจะเป็นการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมก็ตาม สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ การจับอาวุธเข้าต่อสู้กับฝ่ายทหาร

ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรนักที่นักสังเกตการณ์ระหว่างประเทศหลายคนจะยังคงมีความกังวลว่า หากชนชั้นนำและผู้นำทหารตัดสินใจใช้กำลังในการแทรกแซงทางการเมืองเช่นที่ผ่านมาแล้ว ก็อาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสถานการณ์สงครามกลางเมืองในไทยได้ไม่ยากนัก

หรืออย่างน้อยก็มีผู้เชื่อว่า ถ้าเกิดเช่นนี้จริง ก็จะเป็นโอกาสของสถานการณ์ "Thai Spring" ในแบบที่เกิดปรากฏการณ์ในโลกอาหรับ (Arab Spring) มาแล้ว

[ไม่ใช่ Thai Spring ที่กำลังเกิดขึ้นในสื่อสังคมไทยปัจจุบัน]

แรงต้านทานเช่นนี้ มีส่วนอย่างมากที่จะเป็นเครื่องยับยั้งการตัดสินใจของกลุ่มดังกล่าวที่ ตัดสินใจผลักดันการเมืองไทยให้กลับสู่วิธีการเดิมด้วยการใช้กำลังทหาร

เพราะพวกเขาเองก็ตระหนักจากตัวอย่างรูปธรรมจากการชุมนุมของการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงทั้งในปี 2552 และในปี 2553 ว่า การล้อมปราบโดยเฉพาะการใช้กำลังขนาดใหญ่เข้าปราบปรามในปี 2553 นั้น ไม่ได้ทำให้กระบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต้องยุติลงแต่ประการใด

ในทางตรงกันข้ามกลับเกิดปรากฏการณ์แบบ "ยิ่งตีก็ยิ่งโต" ผลของการปราบปรามในปี 2553 กลับเป็นการพิสูจน์อย่างดีว่า ทฤษฎีของการใช้กำลังปราบปรามทางการเมืองต่อการชุมนุมขนาดใหญ่ของประชาชนนั้น ไม่อาจเอาชนะได้ด้วยการใช้กำลังทางกายภาพอย่างหยาบๆ

แม้นักการทหารบางคนจะพยายามสร้างทฤษฎีด้วยคำอธิบายเช่นที่ปรากฏใน "วารสารเสนาธิปัตย์" ถึงชัยชนะของพวกเขาต่อการสังหารประชาชนที่ทุ่งราชประสงค์

แต่ความเป็นจริงทางการเมืองกลับทำลายสิ่งที่ถูกเรียกว่า "ชัยชนะทางทหารที่ราชประสงค์" ลงโดยสิ้นเชิง

ปรากฏการณ์ของความพยายามสร้างคำอธิบายด้วยการโฆษณาในวารสารดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าภาพสะท้อนถึง "ความอ่อนหัด" ในการคิดทั้งทางการเมืองและการทหารของฝ่ายอำนวยการในกองทัพไทยที่พวกเขาเชื่อว่า กองทัพสามารถเอาชนะการชุมนุมของประชาชนได้ด้วยการปราบ

ความพยายามที่จะนำเสนอคำอธิบายเช่นที่ปรากฏในวารสารเสนาธิปัตย์นั้นว่าที่จริงไม่ได้สะท้อนอะไรมากไปกว่า พวกเขายังเชื่อว่า กำลังเป็นปัจจัยชี้ขาดของการต่อสู้ทางการเมือง

หรือกล่าวง่ายๆ ได้ว่า กลุ่มคนที่สถาปนาตัวเองเป็น "นักคิด" ในกองทัพนั้น เชื่อด้วยทัศนะที่ไม่แตกต่างจากสงครามในอดีตว่า "สงครามการเมืองเอาชนะได้ด้วยการใช้กำลังทหาร"...

ทัศนะเช่นนี้นำความพ่ายแพ้มาสู่กองทัพสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามมาแล้ว จนในที่สุดกองทัพไทยในยุคสงครามคอมมิวนิสต์ได้ตัดสินใจเปลี่ยนทัศนะและสร้างแนวคิดทางยุทธศาสตร์ใหม่

ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ "สงครามการเมืองเอาชนะด้วยการเมืองที่เหนือกว่า" จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กองทัพไทยชนะสงครามภายในได้

แต่ก็น่าคิดว่าถ้าผู้นำทหารไทยไม่เปลี่ยนวิธีคิดทางยุทธศาสตร์แล้ว สงครามในบ้านจะจบอย่างเช่นสงครามในเวียดนามหรือไม่

ดังนั้น กองทัพที่ไม่มีวิธีคิดทางการเมือง นอกจากการใช้กำลังเข้าปราบปราม ความน่ากลัวจึงมีเพียงเพราะพวกเขามีอาวุธที่เหนือกว่าเท่านั้น

แต่ในทางการเมืองแล้ว กองทัพชนิดนี้เป็นปัจจัยของความพ่ายแพ้ในการต่อสู้ทางการเมืองในตัวเอง เพราะพวกเขาไม่สามารถดำเนินการอย่างไรได้มากกว่าการใช้กำลัง และดังที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า กำลังแต่เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดถึงชัยชนะในทางการเมืองแต่อย่างใด

และสิ่งนี้คือความท้าทายต่อผู้นำกองทัพในการเมืองไทยปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

ปรากฏการณ์เช่นนี้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า รัฐประหารกลายเป็นเครื่องมือที่ไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการเมืองไทย

ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้นำกองทัพไม่สามารถควบคุมการเมืองหลังจากรัฐประหาร 2549 ได้อย่างเบ็ดเสร็จ หรือควบคุมได้เช่นที่ชนชั้นนำและผู้นำทหารต้องการแต่อย่างใด

ขณะเดียวกันการปราบปรามการชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม จนถึงขั้นมีการประกาศเขต "ใช้กระสุนจริง" ก็ไม่ใช่เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการทำลายขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

และยอดของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการใช้กำลังที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็น "ล็อก" ที่มีต่อสถานะกองทัพ

ดังจะเห็นได้ว่า ผลของการชันสูตรศพล้วนแต่บ่งบอกถึงการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมจากอาวุธสงครามทั้งสิ้น

จนทำให้เกิดคำถามในทางกฎหมายว่า ถ้าผู้สั่งการให้เปิดการสังหารประชาชนมีความผิดแล้ว ผู้รับคำสั่งในปฏิบัติการดังกล่าวควรจะมีความผิดหรือไม่

ตลอดรวมถึงบรรดา "นักพูด" หน้าจอโทรทัศน์ทั้งหลายควรจะมีความผิดในฐานะ "ผู้ร่วมสั่งฆ่า" ด้วยหรือไม่...

แน่นอนว่าในแง่ของบาปบุญคุณโทษ พวกเขารู้อยู่แก่ใจว่า การฆ่าคนเป็นบาป และการกระทำเช่นนี้จะเป็น "ตราบาป" ติดตามพวกเขาไปนานเท่านาน

เว้นเสียแต่พวกเขาจะใช้วาทกรรมเช่นในปี 2519 ที่มีผู้นำเสนอมาแล้วว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป"

แต่ใครเล่าจะกล้านำเสนอเช่นนั้นอีกในภาวะปัจจุบัน!

ในขณะที่เครื่องมือของชนชั้นนำและผู้นำทหารในการควบคุมการเมืองไทยลดประสิทธิภาพลงอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2549 และยิ่งหลังจากการปราบปรามในปี 2553 แล้ว เครื่องมือทหารกลับตกเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง

จนวันนี้เมื่อมีการพูดถึงรัฐประหารครั้งใด หรือพูดถึงการล้อมปราบครั้งใด กองทัพก็หนีไม่พ้นที่จะตกเป็นเป้าทุกครั้งไป

ดังนั้น คงประเมินได้ไม่ยากนักว่า อำนาจของทหารในการเมืองไทยจะมีข้อจำกัดมากขึ้นในวันข้างหน้า และแม้สถาบันกองทัพจะยังคงมีอำนาจทางการเมือง แต่ก็เป็นอำนาจที่ถูก "ตีกรอบ" ให้มีความจำกัดมากขึ้น โอกาสที่ชนชั้นนำและผู้นำทหารจะสามารถใช้อำนาจนี้ได้อย่างเสรีเช่นในอดีตนั้น จึงดูจะเป็นไปได้ยากในอนาคต

แม้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับการเมืองไทยจะยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นเช่นแบบของการเมืองตะวันตก ที่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยดำรงอยู่อย่างมีเสถียรภาพแล้ว แต่แนวโน้มของการใช้พลังอำนาจทหารในการเมืองไทยก็ไม่อาจดำรงอยู่ในแบบเดิม

โอกาสหวนกลับไปสู่ยุคจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอมเช่นก่อน 14 ตุลาคม 2516 จึงเป็นไปไม่ได้

หรือโอกาสจะหวนกลับสู่ยุค รสช. (รัฐประหาร 2534) ก็ดูจะเป็นไปไม่ได้เช่นกัน

แต่สำคัญกว่านั้นก็คือ โอกาสหวนคืนกลับสู่ยุค คมช. (รัฐประหาร 2549) ก็ยากที่จะเป็นจริงได้ไม่แตกต่างกัน

จนวันนี้ดูเหมือนจะไม่มีผู้นำทหารคนไหนอยากเป็นผู้แบกภาระทางการเมืองด้วยการตัดสินใจทำรัฐประหาร

อย่างน้อยก็เห็นได้ชัดเจนว่า หนึ่งในผู้ทำรัฐประหาร 2549 ก็หวนกลับมาเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเวลาต่อมา

และดูจะเป็นการตอบแบบเป็นนัยว่า สุดท้ายแล้วผู้นำทหารก็ต้องกลับมาอยู่กับระบบเลือกตั้ง

ในอีกด้านหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ กลับเห็นการขยายตัวของการจัดตั้งทางการเมือง พร้อมๆ กับการขยายตัวของการสร้างจิตสำนึกของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ถูกมองว่าเป็นชนชั้นล่างหรือคนในชนบท

ดังจะเห็นได้ว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐประหารเป็นการชุมนุมขนาดใหญ่ที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ซึ่งว่าที่จริง ก็ใช่ว่าจะมีแต่คนชนบทเท่านั้น หากแต่ยังมีคนในเมืองอีกเป็นจำนวนพอสมควรเข้าร่วมด้วย และแม้พวกเขาจะถูกล้อมปราบถึง 2 ครั้ง (2552 และ 2553) แต่ขบวนการเมืองชุดนี้กลับไม่ได้ถูกทำลายลง และยังสามารถเปิดการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

การจัดตั้งขบวนการเมืองของคนเสื้อแดงมีส่วนทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

แม้ก่อนหน้านี้จะมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ขบวนการเมืองของคนเสื้อเหลืองเป็นตัวแบบของ "การเมืองภาคประชาชน" แต่ว่าที่จริงแล้ว ขบวนเสื้อเหลืองกลับเป็นตัวแทนของกลุ่มอนุรักษนิยมที่ต้องการคงสภาพการเมืองไว้ในแบบเดิม

และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ขบวนเสื้อเหลืองกลับทำหน้าที่เป็นผู้สร้างโอกาสให้เกิดการยึดอำนาจ อีกทั้งยังแสดงออกถึงการต่อต้านระบบการเลือกตั้ง

ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์แล้ว ขบวนการเมืองของคนเสื้อเหลืองก็คือ "ผู้คลั่งไคล้ในอุดมการณ์ต่อต้านการเมือง" (Antipolitics Ideology) ซึ่งเป็นชุดความคิดที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มการเมืองแบบอนุรักษนิยมในหลายประเทศ

คนเหล่านี้มองเห็นการเลือกตั้งเป็นเพียง "ความฉ้อฉลและฉ้อโกง" ของนักการเมืองเท่านั้น

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ พวกเขามองเห็นแต่ด้านลบที่การเลือกตั้งไม่มีความชอบธรรมในการคัดเลือกคนเข้าสู่การเป็นรัฐบาลได้แต่อย่างใด

แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า พวกเขาต้องการการคัดเลือกแบบใด หรือจะยึดเอาการแต่งตั้งเป็นวิธีการหลักทางการเมือง

ดังนั้น การขยายตัวของคนเป็นจำนวนมากที่เข้าร่วมกับคนเสื้อแดง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ขบวนเสื้อแดงคือการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง

แน่นอนว่าคนเสื้อเหลืองอาจจะไม่พอใจกับทัศนะเช่นนี้ เพราะวาทกรรมดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อเหลืองในยุคนั้น ซึ่งวันนี้ขบวนเสื้อเหลืองกลับมีลักษณะถดถอย ซึ่งทำให้การชุมนุมใหญ่เกิดขึ้นได้ยาก ต่างกับขบวนเสื้อแดงที่สามารถระดมเข้าร่วมได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก

และแม้จะมีการโจมตีขบวนของคนเสื้อแดงมากเท่าใด แต่ก็ดูจะไม่กระทบต่อการมีส่วนร่วมของคนในขบวนนี้แต่อย่างใด

การชุมนุมของคนเสื้อแดงจึงยังมีพลังและเป็นโจทย์ที่จะต้องคิดต่อในอนาคตว่า จะแปลงขบวนนี้ให้เป็นขบวนประชาธิปไตยไทยอย่างไร

ปัญหาสำคัญในอนาคตจึงท้าทายอย่างมากว่า เมื่อเครื่องมือหลักของระบบอำนาจนิยมอ่อนแอลง และขบวนประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยขยายตัวมากขึ้นแล้ว รัฐและสังคมไทยจะปรับตัวอย่างไรกับ

อนาคตของการเมืองไทยที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว!

ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01ETXpNekU0T1E9PQ==&sectionid=

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 5/06/2556 เวลา 04:14:13

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ยุทธบทความ มติชนสุดสัปดาห์ "ประเทศในทางการเมืองก็เหมือนกับป่า เราจำเป็นต้องตัดต้นไม้เก่าออกไป เพื่อเปิดโอกาสให้ต้นไม้ใหม่เติบโตขึ้นทดแทนกัน" Walter Bagehot นักเขียนชาวอังกฤษ(ค.ศ.1826-77) ไม่น่าเชื่อว่าการยึดอำนาจในการเมืองไทยครั้งก่อนผ่านไปเกือบจะ 8 ปีแล้ว เช่นเดียวกับการล้อมปราบครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นใจกลางเมืองหลวงผ่านไปครบรอบ 3 ปี... การเมืองไทยหลังเหตุการณ์ใหญ่ทั้งสองครั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และเปลี่ยนแปลงไปจนต้องยอมรับว่า ไม่มีทางที่จะหวนคืนกลับมาเหมือนเก่าอีกต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การเมืองที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐประหาร 2549 และหลังจากการปราบปรามใหญ่ที่ทุ่งราชประสงค์ในปี 2553 แล้ว การเมืองไทยเป็น "การเมืองใหม่" ที่ต้องการการพิจารณาด้วยความรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง ความเปลี่ยนแปลงประการแรกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ อำนาจอันทรงพลังของกองทัพที่มีการรัฐประหารเป็นเครื่องมือนั้น เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แน่นอนว่าชนชั้นนำและผู้นำทหารอาจจะยังคงยึดกุมเครื่องมือเหล่านี้ไว้ได้ แต่พลังของเครื่องมือดังกล่าวก็แตกต่างไปจากเดิมอย่างมากจนต้องยอมรับว่า การยึดอำนาจยังเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเมืองไทย แต่ผลหลังจากการยึดอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้อีกต่อไป สภาพเช่นนี้ทำให้ปัญหาทหารกับการเมืองไทยไม่เหมือนเช่นในอดีต เพราะแม้ผู้นำกองทัพจะยังคงมีอำนาจในทางกายภาพที่คุมอาวุธแบบต่างๆ ไว้ในมือ แต่โอกาสการใช้เครื่องมือเช่นนี้กลับมีความจำกัดอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการเมืองไทย เพราะแม้พวกเขาจะประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจ แต่ก็อาจจะต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากประชาชนเป็นจำนวนมากได้ไม่ยากนัก ปรากฏการณ์เช่นนี้กำลังบอกแก่เราว่า ผู้คนโดยทั่วไปที่ไม่ยอมรับการใช้กำลังของทหารในการเมืองไทยนั้น พร้อมที่จะลุกขึ้นเป็นผู้ประท้วงหรือแสดงออกด้วยการต่อต้านการใช้กำลังทหารได้โดยไม่ลังเล และที่สำคัญก็คือ พวกเขาพร้อมจะต่อต้านอย่างสุดแรงด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้เกิดการคาดคะเนถึงสถานการณ์ของการใช้กำลังทหารในการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจโดยตรง หรือจะเป็นการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมก็ตาม สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ การจับอาวุธเข้าต่อสู้กับฝ่ายทหาร ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรนักที่นักสังเกตการณ์ระหว่างประเทศหลายคนจะยังคงมีความกังวลว่า หากชนชั้นนำและผู้นำทหารตัดสินใจใช้กำลังในการแทรกแซงทางการเมืองเช่นที่ผ่านมาแล้ว ก็อาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสถานการณ์สงครามกลางเมืองในไทยได้ไม่ยากนัก หรืออย่างน้อยก็มีผู้เชื่อว่า ถ้าเกิดเช่นนี้จริง ก็จะเป็นโอกาสของสถานการณ์ "Thai Spring" ในแบบที่เกิดปรากฏการณ์ในโลกอาหรับ (Arab Spring) มาแล้ว แรงต้านทานเช่นนี้ มีส่วนอย่างมากที่จะเป็นเครื่องยับยั้งการตัดสินใจของกลุ่มดังกล่าวที่ ตัดสินใจผลักดันการเมืองไทยให้กลับสู่วิธีการเดิมด้วยการใช้กำลังทหาร เพราะพวกเขาเองก็ตระหนักจากตัวอย่างรูปธรรมจากการชุมนุมของการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงทั้งในปี 2552 และในปี 2553 ว่า การล้อมปราบโดยเฉพาะการใช้กำลังขนาดใหญ่เข้าปราบปรามในปี 2553 นั้น ไม่ได้ทำให้กระบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต้องยุติลงแต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามกลับเกิดปรากฏการณ์แบบ "ยิ่งตีก็ยิ่งโต" ผลของการปราบปรามในปี 2553 กลับเป็นการพิสูจน์อย่างดีว่า ทฤษฎีของการใช้กำลังปราบปรามทางการเมืองต่อการชุมนุมขนาดใหญ่ของประชาชนนั้น ไม่อาจเอาชนะได้ด้วยการใช้กำลังทางกายภาพอย่างหยาบๆ แม้นักการทหารบางคนจะพยายามสร้างทฤษฎีด้วยคำอธิบายเช่นที่ปรากฏใน "วารสารเสนาธิปัตย์" ถึงชัยชนะของพวกเขาต่อการสังหารประชาชนที่ทุ่งราชประสงค์ แต่ความเป็นจริงทางการเมืองกลับทำลายสิ่งที่ถูกเรียกว่า "ชัยชนะทางทหารที่ราชประสงค์" ลงโดยสิ้นเชิง ปรากฏการณ์ของความพยายามสร้างคำอธิบายด้วยการโฆษณาในวารสารดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าภาพสะท้อนถึง "ความอ่อนหัด" ในการคิดทั้งทางการเมืองและการทหารของฝ่ายอำนวยการในกองทัพไทยที่พวกเขาเชื่อว่า กองทัพสามารถเอาชนะการชุมนุมของประชาชนได้ด้วยการปราบ ความพยายามที่จะนำเสนอคำอธิบายเช่นที่ปรากฏในวารสารเสนาธิปัตย์นั้นว่าที่จริงไม่ได้สะท้อนอะไรมากไปกว่า พวกเขายังเชื่อว่า กำลังเป็นปัจจัยชี้ขาดของการต่อสู้ทางการเมือง หรือกล่าวง่ายๆ ได้ว่า กลุ่มคนที่สถาปนาตัวเองเป็น "นักคิด" ในกองทัพนั้น เชื่อด้วยทัศนะที่ไม่แตกต่างจากสงครามในอดีตว่า "สงครามการเมืองเอาชนะได้ด้วยการใช้กำลังทหาร"... ทัศนะเช่นนี้นำความพ่ายแพ้มาสู่กองทัพสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามมาแล้ว จนในที่สุดกองทัพไทยในยุคสงครามคอมมิวนิสต์ได้ตัดสินใจเปลี่ยนทัศนะและสร้างแนวคิดทางยุทธศาสตร์ใหม่ ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ "สงครามการเมืองเอาชนะด้วยการเมืองที่เหนือกว่า" จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กองทัพไทยชนะสงครามภายในได้ แต่ก็น่าคิดว่าถ้าผู้นำทหารไทยไม่เปลี่ยนวิธีคิดทางยุทธศาสตร์แล้ว สงครามในบ้านจะจบอย่างเช่นสงครามในเวียดนามหรือไม่ ดังนั้น กองทัพที่ไม่มีวิธีคิดทางการเมือง นอกจากการใช้กำลังเข้าปราบปราม ความน่ากลัวจึงมีเพียงเพราะพวกเขามีอาวุธที่เหนือกว่าเท่านั้น แต่ในทางการเมืองแล้ว กองทัพชนิดนี้เป็นปัจจัยของความพ่ายแพ้ในการต่อสู้ทางการเมืองในตัวเอง เพราะพวกเขาไม่สามารถดำเนินการอย่างไรได้มากกว่าการใช้กำลัง และดังที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า กำลังแต่เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดถึงชัยชนะในทางการเมืองแต่อย่างใด และสิ่งนี้คือความท้าทายต่อผู้นำกองทัพในการเมืองไทยปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์เช่นนี้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า รัฐประหารกลายเป็นเครื่องมือที่ไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการเมืองไทย ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้นำกองทัพไม่สามารถควบคุมการเมืองหลังจากรัฐประหาร 2549 ได้อย่างเบ็ดเสร็จ หรือควบคุมได้เช่นที่ชนชั้นนำและผู้นำทหารต้องการแต่อย่างใด ขณะเดียวกันการปราบปรามการชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม จนถึงขั้นมีการประกาศเขต "ใช้กระสุนจริง" ก็ไม่ใช่เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการทำลายขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และยอดของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการใช้กำลังที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็น "ล็อก" ที่มีต่อสถานะกองทัพ ดังจะเห็นได้ว่า ผลของการชันสูตรศพล้วนแต่บ่งบอกถึงการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมจากอาวุธสงครามทั้งสิ้น จนทำให้เกิดคำถามในทางกฎหมายว่า ถ้าผู้สั่งการให้เปิดการสังหารประชาชนมีความผิดแล้ว ผู้รับคำสั่งในปฏิบัติการดังกล่าวควรจะมีความผิดหรือไม่ ตลอดรวมถึงบรรดา "นักพูด" หน้าจอโทรทัศน์ทั้งหลายควรจะมีความผิดในฐานะ "ผู้ร่วมสั่งฆ่า" ด้วยหรือไม่... แน่นอนว่าในแง่ของบาปบุญคุณโทษ พวกเขารู้อยู่แก่ใจว่า การฆ่าคนเป็นบาป และการกระทำเช่นนี้จะเป็น "ตราบาป" ติดตามพวกเขาไปนานเท่านาน เว้นเสียแต่พวกเขาจะใช้วาทกรรมเช่นในปี 2519 ที่มีผู้นำเสนอมาแล้วว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" แต่ใครเล่าจะกล้านำเสนอเช่นนั้นอีกในภาวะปัจจุบัน! ในขณะที่เครื่องมือของชนชั้นนำและผู้นำทหารในการควบคุมการเมืองไทยลดประสิทธิภาพลงอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2549 และยิ่งหลังจากการปราบปรามในปี 2553 แล้ว เครื่องมือทหารกลับตกเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง จนวันนี้เมื่อมีการพูดถึงรัฐประหารครั้งใด หรือพูดถึงการล้อมปราบครั้งใด กองทัพก็หนีไม่พ้นที่จะตกเป็นเป้าทุกครั้งไป ดังนั้น คงประเมินได้ไม่ยากนักว่า อำนาจของทหารในการเมืองไทยจะมีข้อจำกัดมากขึ้นในวันข้างหน้า และแม้สถาบันกองทัพจะยังคงมีอำนาจทางการเมือง แต่ก็เป็นอำนาจที่ถูก "ตีกรอบ" ให้มีความจำกัดมากขึ้น โอกาสที่ชนชั้นนำและผู้นำทหารจะสามารถใช้อำนาจนี้ได้อย่างเสรีเช่นในอดีตนั้น จึงดูจะเป็นไปได้ยากในอนาคต แม้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับการเมืองไทยจะยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นเช่นแบบของการเมืองตะวันตก ที่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยดำรงอยู่อย่างมีเสถียรภาพแล้ว แต่แนวโน้มของการใช้พลังอำนาจทหารในการเมืองไทยก็ไม่อาจดำรงอยู่ในแบบเดิม โอกาสหวนกลับไปสู่ยุคจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอมเช่นก่อน 14 ตุลาคม 2516 จึงเป็นไปไม่ได้ หรือโอกาสจะหวนกลับสู่ยุค รสช. (รัฐประหาร 2534) ก็ดูจะเป็นไปไม่ได้เช่นกัน แต่สำคัญกว่านั้นก็คือ โอกาสหวนคืนกลับสู่ยุค คมช. (รัฐประหาร 2549) ก็ยากที่จะเป็นจริงได้ไม่แตกต่างกัน จนวันนี้ดูเหมือนจะไม่มีผู้นำทหารคนไหนอยากเป็นผู้แบกภาระทางการเมืองด้วยการตัดสินใจทำรัฐประหาร

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง