นานาทรรศนะ จุดเสี่ยงรัฐบาล ยุบสภา-อุบัติเหตุการเมือง

แสดงความคิดเห็น

ตราศาลรัฐธรรมนูญ

หมายเหตุ : หลังจากเกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายประเด็น ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า รัฐบาลอาจจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองก่อนสิ้นปี 2556 มติชนจึงสอบถามนักวิชาการที่ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองเพื่อตรวจหาจุด เสี่ยงของรัฐบาล

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี - คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การ ยุบสภาอาจเกิดได้ 50:50 แม้การยุบสภาจะเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี แต่การยุบสภาโดยไม่มีเหตุผลอันควร ประชาชนก็จะตั้งคำถามว่าทำไปเพื่อประโยชน์ของใคร เพราะต้องอย่าลืมว่าการยุบสภาทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ รวมถึงประชาชนเสียต้นทุนในการไปเลือกตั้ง จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้พร่ำเพรื่อ แต่ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การยุบสภาได้ อาจมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นนโยบายของรัฐบาล แต่กลับถูกต่อต้านและยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความในมาตรา 68 หรือการนิรโทษกรรมที่ถูกสังคมตั้งคำถามว่าทำเพื่อไทย นำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เช่น ในนาม หน้ากากขาว ปรากฏการณ์ไทยสปริง ม็อบแช่แข็งประเทศ ฯลฯ หากพิจารณาใน 2 เรื่องข้างต้นรัฐบาลก็อาจยุบสภา เลือกตั้งใหม่ เพื่อเอาเสียงข้างมากมาสร้างความชอบธรรมในการแก้รัฐธรรมนูญและการนิรโทษกรรม แต่ตรงนี้ต้องระวังให้ดี เพราะแม้มีเสียงข้างมากสนับสนุน รัฐบาลก็ไม่อาจทำอะไรได้ตามอำเภอใจ อย่างไรก็ตาม แรงเสียดทานส่วนใหญ่มาจากภายนอก เพื่อกดดันการดำเนินงานของรัฐบาล ดังนั้น อาจมีความเป็นไปได้ว่าเรื่องการยุบสภา อาจเป็นเกมการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะกดดันพรรคร่วมรัฐบาลไม่ให้แตกแถว และเลือกตั้งใหม่เพื่อให้ได้รัฐบาลเสียงข้างมากที่มีอำนาจเด็ดขาดเพียงพรรค เดียว

กระแสข่าวยุบสภา มีหลายซับหลายซ้อน อาจเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว แต่ก็ต้องระวังว่าปืนนั้นอาจย้อนกลับมาทำลายคนยิงได้ หากคนยิงลุแก่อำนาจมากเกินไป

วิโรจน์ อาลี - คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เท่า ที่ดูตอนนี้ยังไม่มีเหตุการณ์หรือเรื่องใดที่มีพลังพอที่จะทำให้รัฐบาล ตัดสินใจยุบสภาได้ ยกเว้นแต่ว่ารัฐบาลเห็นว่ามีความไม่แน่นอนอะไรบางอย่าง แต่ก็ยังได้เปรียบในทางการเมือง การแสดงออกเพื่อต่อต้านรัฐบาล อาทิ หน้ากากขาว ม็อบสนามหลวง ก็เป็นเพียงการเคลื่อนไหวหนึ่งเท่านั้น ไม่มีพลังพอจะโค่นล้มรัฐบาลได้ หรือแม้แต่กลุ่มที่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ประเด็นการเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ถูกลดความสำคัญลงมา ประเด็นการยุบสภาเพื่อ 2 เรื่องนี้ก็ยิ่งอ่อนลงมาอีก ประเด็นกองทัพก็เงียบ ตัวเลขทางเศรษฐกิจก็ดีขึ้น มาพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้นก็เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ ก็ปรับตัวกันไปตามสภาพ ส่วนประเด็นเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ก็อาจมีผลกระทบบ้างที่คนใกล้ชิดรัฐบาลมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือตัวเลขการส่งออกที่ยังไม่มีความชัดเจน ไม่ตรงกัน ว่าตัวเลขที่ขาดทุนคือเท่าไหร่กันแน่ รัฐบาลก็ต้องตอบคำถาม ชี้แจงต่อสังคมให้ได้ ก็น่าจะไม่มีปัญหา

แต่หากจะมองว่าการยุบสภา เป็นเกมการเมืองก็มองได้ ก็เป็นสูตรหนึ่งเพื่อเพิ่มสัดส่วน ส.ส.ของพรรครัฐบาล เพิ่มความมีเสถียรภาพ ลดบทบาทพรรคฝ่ายค้าน

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ - คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไม่ ค่อยเชื่อกระแสข่าวเรื่องการยุบสภาช่วงปลายปีสักเท่าไหร่ เพราะขณะนี้อย่างน้อยทุกฝ่ายต่างอยากให้โครงการของรัฐบาลผ่านไปก่อน ดังนั้นแนวโน้มเรื่องล้มรัฐบาล น่าจะยังไม่สามารถทำได้ หากเปรียบเทียบสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนการรัฐประหาร ขณะนั้นมีเรื่องที่โดนโจมตีหนักที่สุด คือการพาดพิงถึงสถาบันเบื้องสูง แต่ก็ยังไม่สามารถจุดติด จนกระทั่งเกิดกรณีขายหุ้นในกลุ่มบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด ดังนั้นถ้าจะสรุปก็คือการจะล้มรัฐบาลนั้น อาศัยแค่ข้ออ้างเรื่องสถาบัน ไม่ใช่ประเด็นชี้ขาด แต่ต้องมีเรื่องคอร์รัปชั่น หรือปลุกกระแสชาตินิยมร่วมด้วย เมื่อมาพิจารณารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังไม่มีเหตุปัจจัยเหล่านี้ ที่นำมาใช้ในการล่มรัฐบาล

แต่ ขณะนี้ปัจจัยเสี่ยงหรือสิ่งที่น่าเป็นห่วงของรัฐบาลคือ มีรัฐมนตรีบางท่านที่แสดงความไม่เข้าใจว่าการทำงานในระบอบประชาธิปไตยควร เป็นอย่างไร อาทิ ท่าทีของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ต่อกรณีที่มีผู้มาชุมนุมประท้วง รวมถึงนพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต่อกลุ่มแพทย์ชนบทที่คัดค้านเรื่องพีฟอร์พี แต่โดยสรุปแล้วประเด็นเหล่านี้ยังถือเป็นการต่อสู้ สามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรี เป็นขั้นตอนปกติ ตามสไตล์การบริหารงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างไรก็ดีถ้าไม่มีการแก้ปัญหาก็อาจนำมาสร้างกระแสได้ ส่วนเรื่องที่ศาลรัฐรรมนูญยังไม่มีการพิจารณาวินิฉัยคำร้องว่าการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่นั้น เรื่องนี้จริงๆ เป็นเรื่องของสภามากกว่า ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลมากนัก ถึงที่สุดแล้วศาลตัดสินให้การแก้ไขรัฐธรรมของสภา เป็นโมฆะก็ไม่น่าจะถูก ยิบยกมาเป็นความขัดแย้งของรัฐบาลได้ อย่างมากที่สุดก็เป็นพรรคเพื่อไทยที่ถูกกล่าวหา ไม่น่าจะโยงถึงรัฐบาล

ทั้ง นี้โดยภาพรวมแล้ว ทีมยุทธศาสตร์ของรัฐบาลยังคงพยายามกันนายกรัฐมนตรีออกจากความขัดแย้ง ถ้าสังเกตดูหลังจากสปีชของนายกรัฐมนตรีที่ประเทศมองโกเลีย นายกฯก็ไม่มีบทบาทเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง ดังนั้นเชื่อว่ากระแสล้มรัฐบาลเป็นแค่ข่าวปล่อยเพื่อหวังดิสเครดิตทางการ เมืองเท่านั้น

พนัส ทัศนียานนท์ - อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เครือ ข่ายที่เคยโค่นล้มรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยังคงอยู่ เพียงแต่อาจกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง แต่ถึงวันหนึ่งกลุ่มดังกล่าวต้องกลับมาเพื่อล้มรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งศาลรัฐธรรมนูญ การเรียกให้ทหารออกมาทำการปฏิวัติ หรือวิธีการอื่นๆ อีกมากมาย ขณะที่วันนี้รัฐบาลเริ่มดำเนินการในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีทั้งสุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ก่อนการดำเนินการเรื่องต่างๆ คิดว่ารัฐบาลได้ประเมินสถานการณ์มาเป็นอย่างดีแล้วว่ามีความปลอดภัย ถึงกระนั้นเขาอาจประเมินผิดก็เป็นได้

ในปีนี้ช่วงที่สถานการณ์ทางการ เมืองมีความเข้มข้นมากที่สุด คงหนีไม่พ้นช่วงที่จะมีการพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เพราะเมื่อพูดถึงการล้มล้างผลพวงรัฐประหาร รวมไปถึงการให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านโดยไม่มีความผิด ฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐบาลย่อมออกมาต่อต้านอย่างถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสู่วาระการพิจารณา พายุจะเข้ากระหน่ำรัฐบาลแน่นอน ถึงตอนนั้นต้องรอดูว่าเขาจะสามารถรับมือไหวหรือไม่ ตอนนี้กลุ่มที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาล ต่างประกาศตัวชัดเจนและเปิดเผย อย่างเช่น ม็อบที่สนามหลวงตอนแรกก็บอกว่ามาประท้วงเรื่องเขาพระวิหาร แต่พอนานวันเข้ากลับบอกว่าจะล้มรัฐบาล ไหนจะมีไทยสปริง และหน้ากากขาวอีก แต่ก็เชื่อว่ากลุ่มเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันอยู่ ถึงเวลาที่เหมาะสมพวกเขาต้องมารวมตัวกัน

แน่นอนเมื่อโยนหินลงน้ำ น้ำย่อมกระเพื่อมเป็นธรรมดา วันนี้ยังบอกไม่ได้ว่ารัฐบาลจะอยู่ครบ 4 ปีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าพายุที่จะเข้านั้น เป็นลูกเล็กหรือลูกใหญ่ และมีวิธีการรับมือกับมันอย่างไร แต่ต้องอย่าลืมว่าวิธีการโค่นล้มไม่ได้มีวิธีการเดียว ต้องไม่ลืมว่าศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญต่อการคงอยู่ของรัฐบาลด้วย การที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ท้าทายตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบนั้น แน่ใจแล้วหรือ วันหนึ่งศาลบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะทำอย่างไร เพราะสมัยของนายสมัคร นายสมชาย ก็ไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1370256420&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 4/06/2556 เวลา 03:41:24 ดูภาพสไลด์โชว์ นานาทรรศนะ จุดเสี่ยงรัฐบาล ยุบสภา-อุบัติเหตุการเมือง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตราศาลรัฐธรรมนูญ หมายเหตุ : หลังจากเกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายประเด็น ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า รัฐบาลอาจจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองก่อนสิ้นปี 2556 มติชนจึงสอบถามนักวิชาการที่ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองเพื่อตรวจหาจุด เสี่ยงของรัฐบาล สิริพรรณ นกสวน สวัสดี - คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การ ยุบสภาอาจเกิดได้ 50:50 แม้การยุบสภาจะเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี แต่การยุบสภาโดยไม่มีเหตุผลอันควร ประชาชนก็จะตั้งคำถามว่าทำไปเพื่อประโยชน์ของใคร เพราะต้องอย่าลืมว่าการยุบสภาทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ รวมถึงประชาชนเสียต้นทุนในการไปเลือกตั้ง จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้พร่ำเพรื่อ แต่ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การยุบสภาได้ อาจมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นนโยบายของรัฐบาล แต่กลับถูกต่อต้านและยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความในมาตรา 68 หรือการนิรโทษกรรมที่ถูกสังคมตั้งคำถามว่าทำเพื่อไทย นำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เช่น ในนาม หน้ากากขาว ปรากฏการณ์ไทยสปริง ม็อบแช่แข็งประเทศ ฯลฯ หากพิจารณาใน 2 เรื่องข้างต้นรัฐบาลก็อาจยุบสภา เลือกตั้งใหม่ เพื่อเอาเสียงข้างมากมาสร้างความชอบธรรมในการแก้รัฐธรรมนูญและการนิรโทษกรรม แต่ตรงนี้ต้องระวังให้ดี เพราะแม้มีเสียงข้างมากสนับสนุน รัฐบาลก็ไม่อาจทำอะไรได้ตามอำเภอใจ อย่างไรก็ตาม แรงเสียดทานส่วนใหญ่มาจากภายนอก เพื่อกดดันการดำเนินงานของรัฐบาล ดังนั้น อาจมีความเป็นไปได้ว่าเรื่องการยุบสภา อาจเป็นเกมการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะกดดันพรรคร่วมรัฐบาลไม่ให้แตกแถว และเลือกตั้งใหม่เพื่อให้ได้รัฐบาลเสียงข้างมากที่มีอำนาจเด็ดขาดเพียงพรรค เดียว กระแสข่าวยุบสภา มีหลายซับหลายซ้อน อาจเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว แต่ก็ต้องระวังว่าปืนนั้นอาจย้อนกลับมาทำลายคนยิงได้ หากคนยิงลุแก่อำนาจมากเกินไป วิโรจน์ อาลี - คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เท่า ที่ดูตอนนี้ยังไม่มีเหตุการณ์หรือเรื่องใดที่มีพลังพอที่จะทำให้รัฐบาล ตัดสินใจยุบสภาได้ ยกเว้นแต่ว่ารัฐบาลเห็นว่ามีความไม่แน่นอนอะไรบางอย่าง แต่ก็ยังได้เปรียบในทางการเมือง การแสดงออกเพื่อต่อต้านรัฐบาล อาทิ หน้ากากขาว ม็อบสนามหลวง ก็เป็นเพียงการเคลื่อนไหวหนึ่งเท่านั้น ไม่มีพลังพอจะโค่นล้มรัฐบาลได้ หรือแม้แต่กลุ่มที่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ประเด็นการเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ถูกลดความสำคัญลงมา ประเด็นการยุบสภาเพื่อ 2 เรื่องนี้ก็ยิ่งอ่อนลงมาอีก ประเด็นกองทัพก็เงียบ ตัวเลขทางเศรษฐกิจก็ดีขึ้น มาพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้นก็เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ ก็ปรับตัวกันไปตามสภาพ ส่วนประเด็นเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ก็อาจมีผลกระทบบ้างที่คนใกล้ชิดรัฐบาลมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือตัวเลขการส่งออกที่ยังไม่มีความชัดเจน ไม่ตรงกัน ว่าตัวเลขที่ขาดทุนคือเท่าไหร่กันแน่ รัฐบาลก็ต้องตอบคำถาม ชี้แจงต่อสังคมให้ได้ ก็น่าจะไม่มีปัญหา แต่หากจะมองว่าการยุบสภา เป็นเกมการเมืองก็มองได้ ก็เป็นสูตรหนึ่งเพื่อเพิ่มสัดส่วน ส.ส.ของพรรครัฐบาล เพิ่มความมีเสถียรภาพ ลดบทบาทพรรคฝ่ายค้าน ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ - คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ ค่อยเชื่อกระแสข่าวเรื่องการยุบสภาช่วงปลายปีสักเท่าไหร่ เพราะขณะนี้อย่างน้อยทุกฝ่ายต่างอยากให้โครงการของรัฐบาลผ่านไปก่อน ดังนั้นแนวโน้มเรื่องล้มรัฐบาล น่าจะยังไม่สามารถทำได้ หากเปรียบเทียบสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนการรัฐประหาร ขณะนั้นมีเรื่องที่โดนโจมตีหนักที่สุด คือการพาดพิงถึงสถาบันเบื้องสูง แต่ก็ยังไม่สามารถจุดติด จนกระทั่งเกิดกรณีขายหุ้นในกลุ่มบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด ดังนั้นถ้าจะสรุปก็คือการจะล้มรัฐบาลนั้น อาศัยแค่ข้ออ้างเรื่องสถาบัน ไม่ใช่ประเด็นชี้ขาด แต่ต้องมีเรื่องคอร์รัปชั่น หรือปลุกกระแสชาตินิยมร่วมด้วย เมื่อมาพิจารณารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังไม่มีเหตุปัจจัยเหล่านี้ ที่นำมาใช้ในการล่มรัฐบาล แต่ ขณะนี้ปัจจัยเสี่ยงหรือสิ่งที่น่าเป็นห่วงของรัฐบาลคือ มีรัฐมนตรีบางท่านที่แสดงความไม่เข้าใจว่าการทำงานในระบอบประชาธิปไตยควร เป็นอย่างไร อาทิ ท่าทีของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ต่อกรณีที่มีผู้มาชุมนุมประท้วง รวมถึงนพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต่อกลุ่มแพทย์ชนบทที่คัดค้านเรื่องพีฟอร์พี แต่โดยสรุปแล้วประเด็นเหล่านี้ยังถือเป็นการต่อสู้ สามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรี เป็นขั้นตอนปกติ ตามสไตล์การบริหารงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างไรก็ดีถ้าไม่มีการแก้ปัญหาก็อาจนำมาสร้างกระแสได้ ส่วนเรื่องที่ศาลรัฐรรมนูญยังไม่มีการพิจารณาวินิฉัยคำร้องว่าการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่นั้น เรื่องนี้จริงๆ เป็นเรื่องของสภามากกว่า ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลมากนัก ถึงที่สุดแล้วศาลตัดสินให้การแก้ไขรัฐธรรมของสภา เป็นโมฆะก็ไม่น่าจะถูก ยิบยกมาเป็นความขัดแย้งของรัฐบาลได้ อย่างมากที่สุดก็เป็นพรรคเพื่อไทยที่ถูกกล่าวหา ไม่น่าจะโยงถึงรัฐบาล ทั้ง นี้โดยภาพรวมแล้ว ทีมยุทธศาสตร์ของรัฐบาลยังคงพยายามกันนายกรัฐมนตรีออกจากความขัดแย้ง ถ้าสังเกตดูหลังจากสปีชของนายกรัฐมนตรีที่ประเทศมองโกเลีย นายกฯก็ไม่มีบทบาทเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง ดังนั้นเชื่อว่ากระแสล้มรัฐบาลเป็นแค่ข่าวปล่อยเพื่อหวังดิสเครดิตทางการ เมืองเท่านั้น พนัส ทัศนียานนท์ - อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือ ข่ายที่เคยโค่นล้มรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยังคงอยู่ เพียงแต่อาจกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง แต่ถึงวันหนึ่งกลุ่มดังกล่าวต้องกลับมาเพื่อล้มรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งศาลรัฐธรรมนูญ การเรียกให้ทหารออกมาทำการปฏิวัติ หรือวิธีการอื่นๆ อีกมากมาย ขณะที่วันนี้รัฐบาลเริ่มดำเนินการในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีทั้งสุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ก่อนการดำเนินการเรื่องต่างๆ คิดว่ารัฐบาลได้ประเมินสถานการณ์มาเป็นอย่างดีแล้วว่ามีความปลอดภัย ถึงกระนั้นเขาอาจประเมินผิดก็เป็นได้ ในปีนี้ช่วงที่สถานการณ์ทางการ เมืองมีความเข้มข้นมากที่สุด คงหนีไม่พ้นช่วงที่จะมีการพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เพราะเมื่อพูดถึงการล้มล้างผลพวงรัฐประหาร รวมไปถึงการให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านโดยไม่มีความผิด ฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐบาลย่อมออกมาต่อต้านอย่างถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสู่วาระการพิจารณา พายุจะเข้ากระหน่ำรัฐบาลแน่นอน ถึงตอนนั้นต้องรอดูว่าเขาจะสามารถรับมือไหวหรือไม่ ตอนนี้กลุ่มที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาล ต่างประกาศตัวชัดเจนและเปิดเผย อย่างเช่น ม็อบที่สนามหลวงตอนแรกก็บอกว่ามาประท้วงเรื่องเขาพระวิหาร แต่พอนานวันเข้ากลับบอกว่าจะล้มรัฐบาล ไหนจะมีไทยสปริง และหน้ากากขาวอีก แต่ก็เชื่อว่ากลุ่มเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันอยู่ ถึงเวลาที่เหมาะสมพวกเขาต้องมารวมตัวกัน แน่นอนเมื่อโยนหินลงน้ำ น้ำย่อมกระเพื่อมเป็นธรรมดา วันนี้ยังบอกไม่ได้ว่ารัฐบาลจะอยู่ครบ 4 ปีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าพายุที่จะเข้านั้น เป็นลูกเล็กหรือลูกใหญ่ และมีวิธีการรับมือกับมันอย่างไร แต่ต้องอย่าลืมว่าวิธีการโค่นล้มไม่ได้มีวิธีการเดียว ต้องไม่ลืมว่าศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญต่อการคงอยู่ของรัฐบาลด้วย การที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ท้าทายตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบนั้น แน่ใจแล้วหรือ วันหนึ่งศาลบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะทำอย่างไร เพราะสมัยของนายสมัคร นายสมชาย ก็ไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1370256420&grpid=03&catid=&subcatid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง