‘ปรองดอง-นิรโทษกรรม’ชักฟืนหรือสุมไฟ เกมใหม่การเมืองที่‘ทักษิณคิดเพื่อไทยทำ’

แสดงความคิดเห็น

ในที่สุดความพยายาม “รอบใหม่” เพื่อผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดอง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็สำเร็จจนได้ ท่ามกลางความสงสัยจากสังคมว่า ที่สุดแล้วพรรคเพื่อไทยจะเลือกอะไรให้ “เกิดก่อนกัน” ระหว่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับของ วรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ และ 42 ส.ส.พรรคเพื่อไทย กับร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ริเริ่มโดย ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งมี ส.ส. ในพรรคจำนวน 163 คน ร่วมลงชื่อ

คำตอบที่พอจะมองออกในเวลานี้ก็คือ ไม่ว่าจะร่างฉบับไหนก็ล้วนได้ประโยชน์ทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ทั้งนั้น กล่าวคือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่มุ่งเน้นเฉพาะ “มวลชน” ในทุกกลุ่มทุกสี แต่ไม่ครอบคลุมถึง “แกนนำ” และ “ผู้สั่งการ” นั้น แม้จะฟังดูดีและชวนให้ฝันไปว่า หาก พ.ร.บ. ฉบับผ่านออกมาเป็นกฎหมายปัญหาความแตกแยกวุ่นวายในบ้านเมืองจะได้รับการคลี่ คลาย แต่คำถามที่ต้องช่วยกันหาคำตอบน่าจะอยู่ตรงที่ว่าแล้วความผิดประเภทใดควรได้ รับการนิรโทษกรรมบ้าง เพราะการถูกดำเนินคดีหลาย ๆ กรณีนั้นไม่ใช่คดีการชุมนุมที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น แต่มีการใช้อาวุธสงครามยิงสถานที่ราชการ จนถึงบางคดีมีความผิดฐานหมิ่นสถาบัน

หรือความพยายามทำคลอด พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ครั้งนี้โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ “ไฟเขียว” สนับสุนนเพราะหวังจะปลดปล่อยและซื้อใจมวลชนเพื่อมาผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อให้แกนนำและผู้สั่งการพ้นผิดในโอกาสต่อไป ขณะที่ พ.ร.บ. ปรองดอง 5 มาตรา ของ ร.ต.อ.เฉลิม ซึ่งตัดมาตราที่ว่าด้วย

เรื่องเงินชดเชยออกไปนั้น ยังไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่สนับสนุนเพราะการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เอาด้วยกับกฎหมายฉบับหนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เอาด้วยกับกฎหมายอีกฉบับ หนึ่ง

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพรรคเพื่อไทยระหว่างฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น ส.ส. สาย นปช. กับอีกฝ่ายซึ่งเป็น ส.ส.สายอีสาน น่าจะเป็น “ความขัดแย้งเทียม” มากกว่า และเป็นความพยายาม “สับขาหลอก” เพื่อให้สังคมเลือกสนับสนุนกฎหมายฉบับหนึ่งฉบับใดแทนที่จะปฏิเสธแนวทางทั้ง หมดซึ่งเป็นวิธีการเพื่อลดแรงเสียดทาน และก็เห็นผลเพราะได้เสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภาซึ่งวันนี้ก็ต้องบอกว่า สำเร็จไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว รอเพียงหยิบขึ้นมาพิจารณาหากสถานการณ์ “เหมาะสม” เท่านั้น

ถ้าย้อนกลับไปดูการพยายมครั้งก่อนในการยื่นร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง 4 ฉบับ ที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างหนักจากพลัง “นอกสภา” นั้นเพราะมีบางส่วนไปพูดถึงการคืนเงิน 4.6 หมื่นล้านบาท ในคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ฉะนั้นรอบนี้จึงใช้วิธีแบ่งส่วนและแบ่งงานกันผลักดัน

ความพยายามครั้งนี้ไม่ใช่อยู่ดีแล้วเกิดขึ้น แต่เกิดจากการ “ปูพื้นฐาน” ความคิดที่ว่า จะแปลกอะไรหากรัฐบาลที่มาจากประชาชน มาตามกระบวนการประชาธิปไตยมาจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก มีหน้าที่ออกกฎหมายตามกติกา จะทำไม่ได้

นอกจากอธิบายตัวเองเช่นนั้น ยังยัดเยียดฝ่ายที่ออกมาคัดค้านทั้งในสภาทั้งนอกสภาว่าเป็นฝ่ายที่ได้ ประโยชน์จากการรัฐประหาร ก้าวไม่พ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งบัดนี้เป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตยของอีกฝ่ายเพื่อใช้ต่อสู้กับอีกฝ่ายซึ่ง ถูกผลักให้อยู่ฝ่ายเผด็จการ

การเร่งรัดในคดีสลายการชุมนุมเดือน พ.ค. ปี 53 บางประเด็นโดยมุ่งเน้นไปที่แกนนำฝ่ายค้านซึ่งคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และ พ.ร.บ.ปรองดอง แต่ “ปล่อยปละ” ที่จะหาคำตอบในบางคดีซึ่งสังคมสงสัยและอยากจะรู้คำตอบ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อหวังจะสร้างแรงกดดันเดินเข้ากระบวนการปรองดองหรือ “เดินเข้าซอย” ที่เสียงส่วนของพรรคเพื่อไทยคุมอยู่

การให้รางวัล 10 ล้านบาท คดีเผาเซ็นทรัลเวิล์ดของ พ.ต.ท. ทักษิณ จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือปากพาไปแต่เป็นการพยายามลดความสงสัยของคำว่า “เผาบ้านเผาเมือง” และเพื่อจะลดแรงต่อต้านการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ

ข้ออ้างที่ว่า มีเพียงเฉพาะแต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่คัดค้านเรื่องการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ขณะที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น “เอาด้วย” น่าจะเป็นเหตุผลแค่กล่าวอ้างเท่านั้น เพราะแม้จะไม่ออกมาแสดงท่าทีก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีกลุ่มคนออกมาคัดค้าน ปรากฏการณ์ของกลุ่ม “ไทยสปริง” ที่เน้นไปที่การการกระจายความคิดในกลุ่มคนชั้นกลาง การก่อเกิดของกลุ่มสันนิบาตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศ ที่เน้นการเป็น “กองหน้าอาสาประชาชน” ตลอดจนความเคลื่อนไหวของกลุ่ม ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ที่ก่อเกิดจากกรณีปมปัญหาเขาพระวิหารที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป้าหมายมาที่การไล่ รัฐบาล เหล่านี้แม้จะกระจัดกระจายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาส “รวมกันเฉพาะกิจ” เพราะตราบใดที่เงื่อนไขและสถานการณ์เหมาะสม “ความเป็นไปได้” ก็ย่อมจะมีสูงยิ่ง

การประชุมสภาในสมัยประชุมหน้าจะเริ่มเปิดฉากขึ้นในราว ๆ วันที่ 1 ส.ค. ที่จะถึงนี้ ใช่แต่จะมีเฉพาะร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับเท่านั้น ยังมีเรื่องร้อนอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การผลักดันร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งแต่ละเรื่องล้วน “หน้าสิ่วหน้าขวาน” ทางการเมืองอย่างยิ่ง ยังจะมีญัตติ “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” ที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ หมายมั่นปั้นมือจะทำหน้าที่ “ตรวจสอบ” ไปพร้อมกับการ “ปฏิรูปพรรค” เพื่อกลับมาเป็น “ทางเลือก” ของสังคมไทยอีกครั้งรออยู่

เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในกระบวนการของรัฐสภา ก็จำเป็นที่พรรคเพื่อไทยจะต้องผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเข้าไปอยู่สภาเฉกเช่นเดียวกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรรม ที่ถูกผลักดันและถูกเลื่อนระเบียบวาระด้วย “เสียงข้างมาก” มาอยู่ในวาระที่ 1 เพื่อรอการพิจารณา

ที่คาดการณ์กันว่า “ปลายปีนี้” จะมีโอกาส “ยุบสภา” เพื่อให้จัดการเลือกตั้งใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยไปแม้แต่น้อย เพราะแต่ละ “ปมร้อน” ที่ถูกบรรจุไว้ในการประชุมสมัยหน้าล้วน “เรียกแขก” และสร้างภาวะของ “การเผชิญหน้า” กันทางการเมืองทั้งสิ้น

แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ ผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกับร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ไม่ผ่าน พรรคเพื่อไทยจะอยู่เป็นรัฐบาลเพื่อให้อีกฝ่ายใช้เวลาตั้งตัวเพื่อกลับมา “ช่วงชิง” โอกาสทางการเมืองไปเพื่ออะไร ถามหน่อย!!!.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/206913 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ค.2556
วันที่โพสต์: 26/05/2556 เวลา 03:01:36

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในที่สุดความพยายาม “รอบใหม่” เพื่อผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดอง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็สำเร็จจนได้ ท่ามกลางความสงสัยจากสังคมว่า ที่สุดแล้วพรรคเพื่อไทยจะเลือกอะไรให้ “เกิดก่อนกัน” ระหว่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับของ วรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ และ 42 ส.ส.พรรคเพื่อไทย กับร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ริเริ่มโดย ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งมี ส.ส. ในพรรคจำนวน 163 คน ร่วมลงชื่อ คำตอบที่พอจะมองออกในเวลานี้ก็คือ ไม่ว่าจะร่างฉบับไหนก็ล้วนได้ประโยชน์ทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ทั้งนั้น กล่าวคือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่มุ่งเน้นเฉพาะ “มวลชน” ในทุกกลุ่มทุกสี แต่ไม่ครอบคลุมถึง “แกนนำ” และ “ผู้สั่งการ” นั้น แม้จะฟังดูดีและชวนให้ฝันไปว่า หาก พ.ร.บ. ฉบับผ่านออกมาเป็นกฎหมายปัญหาความแตกแยกวุ่นวายในบ้านเมืองจะได้รับการคลี่ คลาย แต่คำถามที่ต้องช่วยกันหาคำตอบน่าจะอยู่ตรงที่ว่าแล้วความผิดประเภทใดควรได้ รับการนิรโทษกรรมบ้าง เพราะการถูกดำเนินคดีหลาย ๆ กรณีนั้นไม่ใช่คดีการชุมนุมที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น แต่มีการใช้อาวุธสงครามยิงสถานที่ราชการ จนถึงบางคดีมีความผิดฐานหมิ่นสถาบัน หรือความพยายามทำคลอด พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ครั้งนี้โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ “ไฟเขียว” สนับสุนนเพราะหวังจะปลดปล่อยและซื้อใจมวลชนเพื่อมาผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อให้แกนนำและผู้สั่งการพ้นผิดในโอกาสต่อไป ขณะที่ พ.ร.บ. ปรองดอง 5 มาตรา ของ ร.ต.อ.เฉลิม ซึ่งตัดมาตราที่ว่าด้วย เรื่องเงินชดเชยออกไปนั้น ยังไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่สนับสนุนเพราะการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เอาด้วยกับกฎหมายฉบับหนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เอาด้วยกับกฎหมายอีกฉบับ หนึ่ง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพรรคเพื่อไทยระหว่างฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น ส.ส. สาย นปช. กับอีกฝ่ายซึ่งเป็น ส.ส.สายอีสาน น่าจะเป็น “ความขัดแย้งเทียม” มากกว่า และเป็นความพยายาม “สับขาหลอก” เพื่อให้สังคมเลือกสนับสนุนกฎหมายฉบับหนึ่งฉบับใดแทนที่จะปฏิเสธแนวทางทั้ง หมดซึ่งเป็นวิธีการเพื่อลดแรงเสียดทาน และก็เห็นผลเพราะได้เสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภาซึ่งวันนี้ก็ต้องบอกว่า สำเร็จไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว รอเพียงหยิบขึ้นมาพิจารณาหากสถานการณ์ “เหมาะสม” เท่านั้น ถ้าย้อนกลับไปดูการพยายมครั้งก่อนในการยื่นร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง 4 ฉบับ ที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างหนักจากพลัง “นอกสภา” นั้นเพราะมีบางส่วนไปพูดถึงการคืนเงิน 4.6 หมื่นล้านบาท ในคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ฉะนั้นรอบนี้จึงใช้วิธีแบ่งส่วนและแบ่งงานกันผลักดัน ความพยายามครั้งนี้ไม่ใช่อยู่ดีแล้วเกิดขึ้น แต่เกิดจากการ “ปูพื้นฐาน” ความคิดที่ว่า จะแปลกอะไรหากรัฐบาลที่มาจากประชาชน มาตามกระบวนการประชาธิปไตยมาจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก มีหน้าที่ออกกฎหมายตามกติกา จะทำไม่ได้ นอกจากอธิบายตัวเองเช่นนั้น ยังยัดเยียดฝ่ายที่ออกมาคัดค้านทั้งในสภาทั้งนอกสภาว่าเป็นฝ่ายที่ได้ ประโยชน์จากการรัฐประหาร ก้าวไม่พ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งบัดนี้เป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตยของอีกฝ่ายเพื่อใช้ต่อสู้กับอีกฝ่ายซึ่ง ถูกผลักให้อยู่ฝ่ายเผด็จการ การเร่งรัดในคดีสลายการชุมนุมเดือน พ.ค. ปี 53 บางประเด็นโดยมุ่งเน้นไปที่แกนนำฝ่ายค้านซึ่งคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และ พ.ร.บ.ปรองดอง แต่ “ปล่อยปละ” ที่จะหาคำตอบในบางคดีซึ่งสังคมสงสัยและอยากจะรู้คำตอบ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อหวังจะสร้างแรงกดดันเดินเข้ากระบวนการปรองดองหรือ “เดินเข้าซอย” ที่เสียงส่วนของพรรคเพื่อไทยคุมอยู่ การให้รางวัล 10 ล้านบาท คดีเผาเซ็นทรัลเวิล์ดของ พ.ต.ท. ทักษิณ จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือปากพาไปแต่เป็นการพยายามลดความสงสัยของคำว่า “เผาบ้านเผาเมือง” และเพื่อจะลดแรงต่อต้านการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ ข้ออ้างที่ว่า มีเพียงเฉพาะแต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่คัดค้านเรื่องการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ขณะที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น “เอาด้วย” น่าจะเป็นเหตุผลแค่กล่าวอ้างเท่านั้น เพราะแม้จะไม่ออกมาแสดงท่าทีก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีกลุ่มคนออกมาคัดค้าน ปรากฏการณ์ของกลุ่ม “ไทยสปริง” ที่เน้นไปที่การการกระจายความคิดในกลุ่มคนชั้นกลาง การก่อเกิดของกลุ่มสันนิบาตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศ ที่เน้นการเป็น “กองหน้าอาสาประชาชน” ตลอดจนความเคลื่อนไหวของกลุ่ม ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ที่ก่อเกิดจากกรณีปมปัญหาเขาพระวิหารที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป้าหมายมาที่การไล่ รัฐบาล เหล่านี้แม้จะกระจัดกระจายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาส “รวมกันเฉพาะกิจ” เพราะตราบใดที่เงื่อนไขและสถานการณ์เหมาะสม “ความเป็นไปได้” ก็ย่อมจะมีสูงยิ่ง การประชุมสภาในสมัยประชุมหน้าจะเริ่มเปิดฉากขึ้นในราว ๆ วันที่ 1 ส.ค. ที่จะถึงนี้ ใช่แต่จะมีเฉพาะร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับเท่านั้น ยังมีเรื่องร้อนอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การผลักดันร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งแต่ละเรื่องล้วน “หน้าสิ่วหน้าขวาน” ทางการเมืองอย่างยิ่ง ยังจะมีญัตติ “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” ที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ หมายมั่นปั้นมือจะทำหน้าที่ “ตรวจสอบ” ไปพร้อมกับการ “ปฏิรูปพรรค” เพื่อกลับมาเป็น “ทางเลือก” ของสังคมไทยอีกครั้งรออยู่ เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในกระบวนการของรัฐสภา ก็จำเป็นที่พรรคเพื่อไทยจะต้องผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเข้าไปอยู่สภาเฉกเช่นเดียวกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรรม ที่ถูกผลักดันและถูกเลื่อนระเบียบวาระด้วย “เสียงข้างมาก” มาอยู่ในวาระที่ 1 เพื่อรอการพิจารณา ที่คาดการณ์กันว่า “ปลายปีนี้” จะมีโอกาส “ยุบสภา” เพื่อให้จัดการเลือกตั้งใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยไปแม้แต่น้อย เพราะแต่ละ “ปมร้อน” ที่ถูกบรรจุไว้ในการประชุมสมัยหน้าล้วน “เรียกแขก” และสร้างภาวะของ “การเผชิญหน้า” กันทางการเมืองทั้งสิ้น แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ ผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกับร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ไม่ผ่าน พรรคเพื่อไทยจะอยู่เป็นรัฐบาลเพื่อให้อีกฝ่ายใช้เวลาตั้งตัวเพื่อกลับมา “ช่วงชิง” โอกาสทางการเมืองไปเพื่ออะไร ถามหน่อย!!!. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/politics/206913

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง