อำนาจทางการเมืองอหังการ หลักประกันสุขภาพสะเทือน

แสดงความคิดเห็น

อาจจะเป็นข่าวเล็กในความรู้สึกหรือความเห็นของสาธารณชนในสังคมไทย ต่อกรณีที่คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม หรือ บอร์ด อภ. มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นควรเลิกจ้าง นพ.วิทิต อรรถเวชกุล จากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เนื่องจากมีความบกพร่องต่อหน้าที่ และไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างของผู้ว่าจ้างคือ อภ. โดยให้ นพ.วิทิตยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันทีจนกว่าจะมีมติ ครม.หรือมีคำสั่งเป็นอื่น โดยไม่มีการจ่ายเงินชดเชยใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเชื่อว่ามีประชาชนคนไทยมากมาย ไม่เคยรู้และไม่ได้เข้าใจว่า ตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งโดยตรงและทางอ้อมกับระบบประกันสุขภาพของตัว เอง อันเกี่ยวกับการเข้าถึงยา และการบริโภคยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ในราคาที่เป็นธรรม นอกจากนั้นที่สำคัญ ประชาชนคนเดินดิน หาเช้ากินค่ำก็มิได้รับรู้ว่า กระบวนการปลด นพ.วิทิตออกจากตำแหน่งในครั้งนี้ มีเบื้องลึกเบื้องหลังเกี่ยวข้องกับอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง

ข้อกล่าวหาจำนวน 3 ประเด็น อันได้แก่ การจัดซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอล ความล่าช้าในการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก และการสร้างโรงงานยาต้านไวรัสเอดส์ล่าช้า ที่บอร์ด อภ.ใช้เป็นเหตุในการปลด นพ.วิทิตในครั้งนี้ ถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของ นพ.วิทิตที่จะต้องพิสูจน์ทราบตามกระบวนการยุติธรรม แต่ท่ามกลางการพิสูจน์ทราบเพื่อหาข้อยุติและข้อเท็จจริงต่อสู้กับอำนาจ ตามระบบระเบียบราชการแผ่นดินนั้น ขบวนการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนในระบบประกันสุขภาพก็ดูเหมือนกำลัง ก่อตัวเพื่อที่จะต่อต้านอำนาจทางการเมืองที่กำลังแทรกแซงระบบบริหารจัด การในทางสาธารณสุขอย่างน่าจับตาและติดตาม ทั้งนี้ พิจารณาได้จากความเคลื่อนไหวของกลุ่มแพทย์ชนบทที่ประกาศว่าได้จัดตั้ง ชมรมเครือข่ายพิทักษ์ระบบสุขภาพชุมชนเพื่อประชาชนแห่งประเทศไทยขึ้น และนำเอาประเด็นการปลด นพ.วิทิตร่วมเป็นประเด็นการต่อสู้กับอำนาจทางการเมืองที่แผ่ขยายอำนาจ มากขึ้นทุกที ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นี่เอง

นอกจากนั้น แม้แต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมยัง ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการปลด นพ.วิทิตเกิดจากปัญหาที่ไม่ยอมสนองตอบต่อผลประโยชน์ทางการเมือง โดยมีการดำเนินการตามแผนเป็นขั้นเป็นตอนทำลายความน่าเชื่อถือของ นพ.วิทิต ตลอดจนทั้ง อภ. ในขณะเดียวกันอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทก็แสดงความเห็นว่า การปลด นพ.วิทิตเปรียบเสมือนนิทานอีสปเรื่องหมาป่ากับลูกแกะ ที่ทางฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง อภ. รวมทั้งผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา ก็ชี้ว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏต่อสาธารณะ ว่าการปลด นพ.วิทิตเป็นการท้าทายระบบการสรรหายา รวมถึงผลประโยชน์ของการเจรจาเขตการค้าเสรี การทำเมดิคัลฮับ และการจ่ายค่าตอบแทนของบุคลากรทางสาธารณสุขที่ยังคงเป็นประเด็นสร้าง ความขัดแย้งระหว่างข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง

เรื่องการปลดหมอวิทิตจากตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.จึงไม่ใช่เรื่องเล็กเรื่องน้อยที่ประชาชนจะนิ่งดูดาย แต่ขอแนะนำให้ทุกคนได้ติดตามข้อมูลข่าวสารกรณีความเคลื่อนไหวในแวด วงสาธารณสุขทั้งในระดับนโยบายจนถึงระดับการปฏิบัติอย่างตั้งใจ เพื่อให้รู้เท่าทันระบอบการปกครองที่ชอบอ้างประ ชาธิปไตยของคนเสียงข้างมาก แต่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ และทางมิดีมิชอบ อีกทั้งอยากให้ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวตรวจสอบ การใช้อำนาจทางการเมืองในทางมิชอบในแวดวงสาธารณสุขนี้อย่างใกล้ชิด ก่อนที่ระบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอันเกี่ยวกับระบบหลักประ กันสุขภาพของประชาชนจะถูกทำลาย หรือตกไปอยู่ในมือของกลุ่มผลประโยชน์ที่เอกชนและนักการเมืองร่วมมือ กันอย่างแยบยลอาศัยนโยบายสาธารณสุขแห่งชาติกอบโกยหาผลประโยชน์เข้ากระ เป๋าตนเองและพรรคพวกพ้อง

อย่างน้อยที่สุด การที่ นพ.วิทิตได้รับการยอมรับและชื่นชมว่า ทำให้ระบบการเข้าถึงยาของประชาชนมีความถูกต้อง เหมาะสมและยุติธรรมมากกว่าในอดีต ก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันถึงความโปร่งใสในการบริหารจัดการ อภ. ส่วนการที่ นพ.วิทิตถูกตั้งข้อกล่าวหาจากเอกชนหรือบริษัทผู้ค้ายา ในการปรับเปลี่ยน การจัดซื้อจัดจ้างหรือแอลซียานั้น น่าจะเป็นสิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า เป็นผู้มีภาวะผู้นำที่ยอมสุ่มเสี่ยงต่อกรกับอำนาจและอิทธิพลของบริษัท ข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนคนไทย ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการที่พยายามผลักดันให้มีการสร้างโรงงานผลิตยาและวัคซีน ของตัวเอง ก็เป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่รับรู้กันมาโดยตลอด

ดังนั้น ความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นตั้งแต่การออกระ เบียบใหม่ในการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรในแวดวงสาธารณสุข การปรับเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารในหน่วยงานตระกูลที่ขึ้นด้วย ส. อาทิอย่าง สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และเป้าหมายต่อไปยังอาจจะเป็นที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) นั้น ล้วนแล้วแต่มีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองที่ต้องช่วยกันติดตามตรวจสอบ มิเช่นนั้นหลักประกันสุขภาพของปวงชนชาวไทยก็คงตกไปอยู่ในมือของกลุ่ม ผู้แสวงหาผลประโยชน์กลุ่มเดียว โดยมีนักกินเมืองอยู่เบื้องหลัง แล้วอ้างว่าดูแลคนจนอย่างเท่าเทียม ทั้งๆ ที่เนื้อแท้คือ การโยนเศษเนื้อให้คนจน ขณะที่เนื้อสันก้อนโตไปอยู่ในกระเป๋าของฝ่ายการเมืองเหมือนในอดีต ที่ผ่านมา

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1653376

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 20/05/2556 เวลา 12:07:59

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อาจจะเป็นข่าวเล็กในความรู้สึกหรือความเห็นของสาธารณชนในสังคมไทย ต่อกรณีที่คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม หรือ บอร์ด อภ. มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นควรเลิกจ้าง นพ.วิทิต อรรถเวชกุล จากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เนื่องจากมีความบกพร่องต่อหน้าที่ และไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างของผู้ว่าจ้างคือ อภ. โดยให้ นพ.วิทิตยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันทีจนกว่าจะมีมติ ครม.หรือมีคำสั่งเป็นอื่น โดยไม่มีการจ่ายเงินชดเชยใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเชื่อว่ามีประชาชนคนไทยมากมาย ไม่เคยรู้และไม่ได้เข้าใจว่า ตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งโดยตรงและทางอ้อมกับระบบประกันสุขภาพของตัว เอง อันเกี่ยวกับการเข้าถึงยา และการบริโภคยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ในราคาที่เป็นธรรม นอกจากนั้นที่สำคัญ ประชาชนคนเดินดิน หาเช้ากินค่ำก็มิได้รับรู้ว่า กระบวนการปลด นพ.วิทิตออกจากตำแหน่งในครั้งนี้ มีเบื้องลึกเบื้องหลังเกี่ยวข้องกับอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง ข้อกล่าวหาจำนวน 3 ประเด็น อันได้แก่ การจัดซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอล ความล่าช้าในการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก และการสร้างโรงงานยาต้านไวรัสเอดส์ล่าช้า ที่บอร์ด อภ.ใช้เป็นเหตุในการปลด นพ.วิทิตในครั้งนี้ ถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของ นพ.วิทิตที่จะต้องพิสูจน์ทราบตามกระบวนการยุติธรรม แต่ท่ามกลางการพิสูจน์ทราบเพื่อหาข้อยุติและข้อเท็จจริงต่อสู้กับอำนาจ ตามระบบระเบียบราชการแผ่นดินนั้น ขบวนการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนในระบบประกันสุขภาพก็ดูเหมือนกำลัง ก่อตัวเพื่อที่จะต่อต้านอำนาจทางการเมืองที่กำลังแทรกแซงระบบบริหารจัด การในทางสาธารณสุขอย่างน่าจับตาและติดตาม ทั้งนี้ พิจารณาได้จากความเคลื่อนไหวของกลุ่มแพทย์ชนบทที่ประกาศว่าได้จัดตั้ง ชมรมเครือข่ายพิทักษ์ระบบสุขภาพชุมชนเพื่อประชาชนแห่งประเทศไทยขึ้น และนำเอาประเด็นการปลด นพ.วิทิตร่วมเป็นประเด็นการต่อสู้กับอำนาจทางการเมืองที่แผ่ขยายอำนาจ มากขึ้นทุกที ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นี่เอง นอกจากนั้น แม้แต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมยัง ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการปลด นพ.วิทิตเกิดจากปัญหาที่ไม่ยอมสนองตอบต่อผลประโยชน์ทางการเมือง โดยมีการดำเนินการตามแผนเป็นขั้นเป็นตอนทำลายความน่าเชื่อถือของ นพ.วิทิต ตลอดจนทั้ง อภ. ในขณะเดียวกันอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทก็แสดงความเห็นว่า การปลด นพ.วิทิตเปรียบเสมือนนิทานอีสปเรื่องหมาป่ากับลูกแกะ ที่ทางฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง อภ. รวมทั้งผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา ก็ชี้ว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏต่อสาธารณะ ว่าการปลด นพ.วิทิตเป็นการท้าทายระบบการสรรหายา รวมถึงผลประโยชน์ของการเจรจาเขตการค้าเสรี การทำเมดิคัลฮับ และการจ่ายค่าตอบแทนของบุคลากรทางสาธารณสุขที่ยังคงเป็นประเด็นสร้าง ความขัดแย้งระหว่างข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง เรื่องการปลดหมอวิทิตจากตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.จึงไม่ใช่เรื่องเล็กเรื่องน้อยที่ประชาชนจะนิ่งดูดาย แต่ขอแนะนำให้ทุกคนได้ติดตามข้อมูลข่าวสารกรณีความเคลื่อนไหวในแวด วงสาธารณสุขทั้งในระดับนโยบายจนถึงระดับการปฏิบัติอย่างตั้งใจ เพื่อให้รู้เท่าทันระบอบการปกครองที่ชอบอ้างประ ชาธิปไตยของคนเสียงข้างมาก แต่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ และทางมิดีมิชอบ อีกทั้งอยากให้ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวตรวจสอบ การใช้อำนาจทางการเมืองในทางมิชอบในแวดวงสาธารณสุขนี้อย่างใกล้ชิด ก่อนที่ระบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอันเกี่ยวกับระบบหลักประ กันสุขภาพของประชาชนจะถูกทำลาย หรือตกไปอยู่ในมือของกลุ่มผลประโยชน์ที่เอกชนและนักการเมืองร่วมมือ กันอย่างแยบยลอาศัยนโยบายสาธารณสุขแห่งชาติกอบโกยหาผลประโยชน์เข้ากระ เป๋าตนเองและพรรคพวกพ้อง อย่างน้อยที่สุด การที่ นพ.วิทิตได้รับการยอมรับและชื่นชมว่า ทำให้ระบบการเข้าถึงยาของประชาชนมีความถูกต้อง เหมาะสมและยุติธรรมมากกว่าในอดีต ก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันถึงความโปร่งใสในการบริหารจัดการ อภ. ส่วนการที่ นพ.วิทิตถูกตั้งข้อกล่าวหาจากเอกชนหรือบริษัทผู้ค้ายา ในการปรับเปลี่ยน การจัดซื้อจัดจ้างหรือแอลซียานั้น น่าจะเป็นสิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า เป็นผู้มีภาวะผู้นำที่ยอมสุ่มเสี่ยงต่อกรกับอำนาจและอิทธิพลของบริษัท ข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนคนไทย ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการที่พยายามผลักดันให้มีการสร้างโรงงานผลิตยาและวัคซีน ของตัวเอง ก็เป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่รับรู้กันมาโดยตลอด ดังนั้น ความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นตั้งแต่การออกระ เบียบใหม่ในการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรในแวดวงสาธารณสุข การปรับเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารในหน่วยงานตระกูลที่ขึ้นด้วย ส. อาทิอย่าง สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และเป้าหมายต่อไปยังอาจจะเป็นที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) นั้น ล้วนแล้วแต่มีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองที่ต้องช่วยกันติดตามตรวจสอบ มิเช่นนั้นหลักประกันสุขภาพของปวงชนชาวไทยก็คงตกไปอยู่ในมือของกลุ่ม ผู้แสวงหาผลประโยชน์กลุ่มเดียว โดยมีนักกินเมืองอยู่เบื้องหลัง แล้วอ้างว่าดูแลคนจนอย่างเท่าเทียม ทั้งๆ ที่เนื้อแท้คือ การโยนเศษเนื้อให้คนจน ขณะที่เนื้อสันก้อนโตไปอยู่ในกระเป๋าของฝ่ายการเมืองเหมือนในอดีต ที่ผ่านมา ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1653376

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง