แพนด้า..การทูต การเมืองและต้นทุน

แสดงความคิดเห็น

หมีแพนด้า

หลังจากรัฐบาลประกาศว่าได้ทำความตกลงกับรัฐบาลจีน ให้แพนด้า "หลินปิง" อยู่ที่ไทยต่อไปอีก 15 ปีด้วยงบประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือราว 29 ล้านบาท คนไทยหลายคนจึงเพิ่งรู้ว่า ทูตสันถวไมตรีจากจีนมี "ค่าตัว" แพงขนาดนี้ หลายคนวิจารณ์ว่าเงินจำนวนนี้น่าจะใช้ดูแลสัตว์คู่บ้านคู่เมืองอย่างเช่น ช้าง หรือใช้เพื่อการศึกษา แต่ฝ่ายแพนด้าแฟนคลับก็มองว่าเงินจำนวนนี้คุ้มแสนคุ้ม และยังแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างไทย-จีน เพราะมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้รับแพนด้าจากรัฐบาลจีน

"การทูตแพนด้า" ของจีนมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เมื่อจักรพรรดินีบูเช็กเทียนมอบแพนด้า 1 คู่ให้แก่จักรพรรดิของญี่ปุ่นเพื่อตอบแทนที่ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี แต่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีน การมอบแพนด้าในฐานะ "ของขวัญ" เปิดฉากขึ้นในปีค.ศ. 1941 เมื่อนางซ่งเหม่ยหลิง ภรรยาของนายพลเจียงไคเช็ก ผู้นำสาธารณรัฐจีนเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา และได้มอบแพนด้า 1 คู่ให้เพื่อขอบคุณที่ชาวอเมริกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวจีนในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ.1946 รัฐบาลเจียงไคเช็กยังมอบแพนด้า 1 ตัวให้แก่อังกฤษ หมียักษ์สีขาวดำจึงกลายเป็น "ของกำนัลแทนไมตรี" นับแต่บัดนั้น

หลังพรรคคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน แพนด้าถูกขึ้นบัญชีเป็น "สมบัติชาติ" เพราะแพนด้าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีเฉพาะในประเทศจีนที่เดียวในโลก รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนได้มอบแพนด้าเป็นของขวัญให้เฉพาะมิตรประเทศเท่านั้น โดยสหภาพโซเวียตเป็นชาติแรกที่ได้รับแพนด้า "ผิงผิง" และ "อันอัน" เป็นของกำนัลจากจีนในปี ค.ศ. 1957 ส่วนเพื่อนรักอย่างเกาหลีเหนือได้รับแพนด้าจากจีนถึง 5 ตัวในช่วงปี 1965 ถึง 1980

ในช่วงที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนยังไม่เปิดสัมพันธ์กับชาติ ตะวันตก แต่สวนสัตว์ในหลายประเทศก็ปรารถนาจะได้แพนด้าไปอวดโฉม สวนสัตว์ไมอามี่และชิคาโกของสหรัฐเคยส่งจดหมายถึงสวนสัตว์ปักกิ่งขอแลก เปลี่ยนสัตว์หายาก โดยเฉพาะแพนด้า แต่สวนสัตว์ปักกิ่งในขณะนั้น มีแพนด้าเพียงแค่ 3 ตัวซึ่งเตรียมจะมอบให้แก่โซเวียต ซ้ำในช่วงนั้น สหรัฐยังเป็นแกนนำคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน คำขอดังกล่าวจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ กระทรวงการต่างประเทศจีนได้ตั้งเงื่อนไขตอบกลับไปว่า "โดยหลักการแล้วสามารถแลกเปลี่ยนได้ แต่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องส่งผู้แทนมารับแลกเปลี่ยนโดยตรง ห้ามผ่านประเทศที่สาม" แน่นอนว่าสภาคองเกรสของสหรัฐ ในขณะนั้นซึ่งยึดนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ไม่ตอบรับเงื่อนไขของฝ่ายจีน

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-จีนถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เปิดสัมพันธ์กับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ และเป็นผู้นำสหรัฐคนแรกที่เดินทางเยือนจีนในปี 1972 บันทึกของกระทรวงการต่างประเทศจีน เล่าถึงช่วงที่ประธานาธิบดีนิกสันและภริยาพบกับนายกฯ โจวเอินไหล ว่า "นายกฯ โจวยื่นบุหรี่ยี่ห้อแพนด้าให้แก่ภริยาของนิกสัน แต่เธอตอบว่า "ไม่สูบบุหรี่" โจวเอินไหลจึงชี้ไปที่รูปแพนด้าบนซองบุหรี่พร้อมกล่าวว่า "ชอบไหม? รัฐบาลปักกิ่งยินดีมอบแพนด้าหนึ่งคู่เป็นของขวัญแด่ชาวสหรัฐ" ข้อเสนอของนายกฯ จีน ทำให้สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐถึงกับตกตะลึงฃก

แพนด้า "หลิงหลิง" "ซิ่งซิ่ง" เดินทางถึงสหรัฐในปีเดียวกันและเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เครื่องบินซึ่งขนส่งแพนด้าจากจีนติดป้ายขนาดใหญ่ว่า "ของขวัญจากจีนแดง" กระแสแพนด้าแพร่สะพัดทั่วประเทศ รัฐบาลสหรัฐประกาศให้ปี 1972 เป็น "ปีแพนด้า" ชาวอเมริกันมากกว่า 3 ล้านคนแห่ไปชมหมียักษ์จากจีนในปีเดียว

ในช่วงปี 1957 ถึง 1982 รัฐบาลจีนมอบแพนด้า 23 ตัวให้แก่มิตรประเทศ 9 ชาติ คือ โซเวียต เกาหลีเหนือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เม็กซิโก สเปน และเยอรมนี ทั้งหมดเป็นการมอบให้โดยไม่คิดค่าตอบแทน แพนด้าทั้งหมดโอนสัญชาติและถือเป็นสิทธิ์ขาดของประเทศผู้รับมอบ ทุกวันนี้เหลือเพียงแพนด้าที่เยอรมนี 1 ตัวและลูก 3 ตัวของแพนด้าที่เม็กซิโกที่ยังมีชีวิตอยู่

หลังปี 1982 จำนวนแพนด้าในจีนลดลงอย่างน่าใจหาย รัฐบาลจีนจึงประกาศยุติการมอบแพนด้าเป็นของขวัญ แต่เจ้าหมียักษ์ก็ไม่ได้สิ้นสุดการเดินทางไปต่างแดน เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น "การเช่ายืม"

ปี 1984 จีนให้สหรัฐยืมแพนด้า 2 ตัวเพื่อใช้ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกลอสแองเจลิส หลังจากนั้นสวนสัตว์ทั่วสหรัฐหลายสิบแห่ง รวมทั้งสวนสัตว์ในญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ และเยอรมนี ต่างขอเช่ายืมแพนด้าจากจีนด้วยค่าตัวหลายแสนดอลลาร์ แม้แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตและนิทรรศการต่างๆ ก็ต้องการแพนด้าไปโชว์ตัว หมียักษ์ "สมบัติชาติ" ของจีนถูกใช้ไม่แตกต่างจากละครสัตว์ แม้แต่สวนสัตว์เม็กซิโกที่ได้แพนด้าไปจากจีนก็ยังเลียนแบบ นำลูกแพนด้า 4 ตัวให้สวนสัตว์ของสหรัฐเช่ายืมต่อ

การเช่ายืมแพนด้าสร้างรายได้มหาศาลให้แก่องค์กรสวนสัตว์แห่ง ชาติจีน การล่าแพนด้าจากป่าเกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่เงินที่ได้จากน้ำพักน้ำแรงของแพนด้ากลับถูกนำไปใช้สร้างตึก สร้างถนน ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการอนุรักษ์เสียทั้งหมด หรือตอบแทนให้แก่เจ้าหมียักษ์แต่อย่างใด

การเช่ายืมแพนด้าถูกองค์กรพิทักษ์สัตว์ต่อต้านอย่างหนัก จนกระทั่งปี 1996 ภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้ สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส ออกกฎห้ามประเทศสมาชิกใช้สัตว์อนุรักษ์เพื่อการค้า ทำให้องค์กรสวนสัตว์แห่งชาติจีนได้คิดค้นวิธีส่งออกแพนด้าแบบใหม่ คือ "วิจัยร่วมกัน"

วิจัยแพนด้า ค่าตัวปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ - กรมป่าไม้ของจีนตั้งเงื่อนไขในการยืมตัวแพนด้าเพื่อวิจัย ร่วมกัน คือ ประเทศคู่สัญญาต้องบริจาคเงินให้ฝ่ายจีนปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินนี้ร้อยละ 60 จะถูกใช้เพื่อการอนุรักษ์แพนด้า และร้อยละ 40 จะเป็นค่าตอบแทนบุคลากรในการวิจัยแพนด้า โดยระยะเวลายืมตัวแพนด้า 10 ปี สิทธิทุกอย่างในตัวแพนด้าเป็นของฝ่ายจีน หากมีลูกจะต้องจ่ายเพิ่มอีกปีละ 6 แสนดอลลาร์ และลูกแพนด้าถือเป็นกรรมสิทธิ์ของจีน นอกจากนี้หากแพนด้าตาย ศพก็ยังเป็นของจีน และถึงแม้เงื่อนไขจะมากมายเพียงนี้ก็ไม่ใช่ทุกประเทศจะได้สิทธิ์ร่วมวิจัย แพนด้ากับจีน ขณะนี้มีเพียง 12 ประเทศที่ได้รับแพนด้าจากจีน โดยบางประเทศยังได้รับ "ส่วนลดพิเศษ" เช่น ออสเตรเลีย และแพนด้า "ช่วงช่วง" "หลินฮุ่ย" ของไทยที่จีนคิดค่าตัวเพียงปีละ 3 แสนดอลลาร์

ใครใครก็อยากได้แพนด้า - นอกจากค่าตัวปีละ 1 ล้านดอลลาร์แล้ว ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูแพนด้ายังสูงถึงปีละ 10 ล้านบาท สูงกว่าการเลี้ยงช้างถึง 5 เท่าตัว นอกจากต้องสร้างที่พักติดแอร์แล้ว ยังต้องมีต้นไผ่ 40 กิโลกรัมต่อวันเพื่อเป็นอาหาร ไผ่ที่ใช้เลี้ยงต้องไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือปนเปื้อนมลพิษ และในจำนวนไผ่กว่า 200 พันธุ์นั้น มีเพียง 20 พันธุ์ที่ "ถูกปาก" เจ้าหมียักษ์ สวนสัตว์แอตแลนตาของสหรัฐต้องให้อาสาสมัคร 400 คนปลูกไผ่ที่สวนหลังบ้านของตัวเองเพื่อเลี้ยงแพนด้า ขณะที่สวนสัตว์หลายประเทศต้องนำเข้าไผ่ ค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วทำให้สวนสัตว์เมืองเมมฟิสและแอตแลนตาขาดทุนถึง 3 แสนดอลลาร์ต่อปี และต้องต่อรองให้ทางจีนลด "ค่าตัว" เจ้าหมียักษ์ลง

อย่างไรก็ตาม สวนสัตว์ส่วนใหญ่ได้กำไรมหาศาลจากแพนด้า เช่น สวนสัตว์เชียง ใหม่ ที่พลิกจากการขาดทุนมาทำกำไร กระแสแพนด้าฟีเวอร์ของคนไทยเป็นข่าวที่ชาวจีนรู้ดี ล่าสุด สถานีโทรทัศน์อินเทอร์เน็ตในเครือข่ายของซีซีทีวี ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยแพนด้าเมืองเฉิงตู เปิดตัว "สถานีโทรทัศน์ช่องแพนด้า" แบบเดียวกับของไทยเรา

นานาชาติยังต้องการ "ขอยืมตัว" แพนด้าจากจีนอย่างไม่ขาดสาย ประเทศล่าสุดที่ได้รับแพนด้า คือ สิงคโปร์ และปลายปีนี้ มาเลเซีย ก็จะได้รับแพนด้า 1 คู่เพื่อฉลองวาระ 40 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต รัฐบาลมาเลเซียทุ่มเงินถึง 200 ล้านบาทเพื่อสร้างที่พักแพนด้า ขณะที่อีกหลายประเทศยังรอคอยการอนุมัติจากทางการจีน แม้แต่เพื่อนบ้านอย่าง เกาหลีใต้ ก็ยังไม่มีแพนด้า

ไต้หวันกับแพนด้าการเมือง- ในบรรดาประเทศที่ได้รับมอบแพนด้าจากจีน ไม่มีที่ไหนถูกเชื่อมโยงกับการเมืองเท่ากับไต้หวัน หลังจากสงครามกลางเมืองในปีค.ศ. 1949 จีนและไต้หวันตัดขาดความสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีการติดต่อโดยตรง ไม่มีการไปมาหาสู่กัน จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี 2005 นายเหลียนจั้น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ฝ่ายค้านของไต้หวันในขณะนั้นเดินทางเยือนจีนโดยถือเป็นผู้นำระดับสูงสุดของ ไต้หวันที่เยือนแผ่นดินใหญ่ หลังการเยือนครั้งประวัติศาสตร์ รัฐบาลจีนประกาศมอบแพนด้าหนึ่งคู่เป็นของขวัญแก่ไต้หวัน แต่ใช่ว่าชาวไต้หวันทุกคนจะยินดีรับของขวัญจากจีน เพราะชาวไต้หวันมีความคิดแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ต้องการผูกไมตรีกับจีน และฝ่ายที่ต้องการแยกไต้หวันเป็นเอกราช โดยเฉพาะรัฐบาลของประธานาธิบดีเฉิน สุยเปี่ยน ในขณะนั้นยืนตรงข้ามกับจีนแผ่นดินใหญ่อย่างชัดแจ้ง นักการเมืองพรรคของเฉิน สุยเปี่ยน มองว่า แพนด้าเป็นเครื่องมือซื้อใจและโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายจีน กระแส "ไม่เอาแพนด้า" ถูกโหมแรงยิ่งขึ้นเมื่อฝ่ายจีนประกาศตั้งชื่อแพนด้าที่จะมอบให้ไต้หวันว่า "ถวนถวน" และ "หยวนหยวน" ซึ่งคำว่า "ถวนหยวน" แปลว่า "รวมญาติ" ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันจึงตีความว่ามีนัยถึงการ "รวมชาติ" กับแผ่นดินใหญ่นั่นเอง

รัฐบาลไต้หวันในยุคของเฉิน สุยเปี่ยน ใช้ข้ออ้างว่า สถานที่และบุคลากรไม่พร้อม ปฏิเสธที่จะอนุญาตนำเข้าแพนด้าจากจีน "ถวนถวน" "หยวนหยวน" จึงต้องรอเก้ออยู่ที่แผ่นดินใหญ่นานถึง 3 ปี จนกระทั่งประธานาธิบดีเฉินสิ้นอำนาจเมื่อปลายปี 2008 และรัฐบาลไต้หวันเปลี่ยนไปสู่การนำของนายหม่า อิงจิ่ว ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งที่ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่

ประธานาธิบดีหม่าผลักดันนโยบายสานสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเปิดทางยอมรับของขวัญจากฝ่ายจีน "ถวนถวน" "หยวนหยวน" จึงถูกส่งถึงสวนสัตว์เมืองไทเปในวันที่ 23 ธันวาคม 2008

2 แพนด้าจากจีนได้รับความนิยมจากชาวไต้หวันอย่างมาก จนทางสวนสัตว์ต้องจำกัดเวลาให้ชมได้คนละ 3 นาที แต่กระแสแพนด้าฮิตในไต้หวันได้ไม่ทันจะข้ามปีก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก กิจการที่เกาะกระแสแพนด้าต้องปิดตัวลงเป็นทิวแถว ส่วนจำนวนผู้เข้าชมแพนด้าลดลงจากที่ประมาณการไว้ถึงครึ่งหนึ่ง และลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

เมืองเซนไดไม่เอาแพนด้า - หลังเกิดเหตุคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหวถล่มญี่ปุ่นเมื่อวัน ที่ 11 มีนาคม 2011 นายกฯ เวิน เจียเป่า ของจีนได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยที่เมืองเซนได เด็กหญิงคนหนึ่งที่ได้รับตุ๊กตาแพนด้าจากผู้นำจีน เขียนจดหมายส่งถึงกรุงปักกิ่งบอกว่าเธอชอบแพนด้ามาก ซึ่งนายกฯ เวิน เจียเป่า ได้เขียนจดหมายตอบกลับ พร้อมบอกว่าจะมอบแพนด้าหนึ่งคู่ให้แก่เมืองเซนไดเพื่อใช้หารายได้ฟื้นฟูหลัง ภัยพิบัติ และเป็นสัญลักษณ์ในวาระครบรอบ 40 ปีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ญี่ปุ่น แผน "ขอยืม" แพนด้าได้รับการตอบรับอย่างดีจากรัฐบาลเมืองเซนได และรัฐบาลกลางของนายกฯโยชิฮิโกะ โนดะ

อย่างไรก็ตาม ชาวเมืองเซนไดบางส่วนกลับคัดค้านการยืมแพนด้าจากจีน ด้วยเหตุผลว่าควรนำเงินภาษี 1 ล้านดอลลาร์ไปฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยมากกว่า รวมทั้งคัดค้านการนำสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างแพนด้ามาเป็นเครื่องมือทาง การค้าและการเมือง

ไม่นานหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-จีนเลวร้ายลงจากกรณีพิพาทเกาะเซนกากุ กระแสต่อต้านลุกลามในหมู่ประชาชนทั้งสองชาติ ถึงขนาดที่นายชินทาโร อิชิฮาระ ผู้ว่าการกรุงโตเกียว ประกาศว่า จะตั้งชื่อลูกแพนด้าที่เพิ่งเกิดใหม่ที่สวนสัตว์กรุงโตเกียวว่า "เซนกากุ" พร้อมส่งคืนให้แก่จีน ทำให้ในที่สุดรัฐบาลเมืองเซนไดจำต้องบอกเลิกการขอยืมแพนด้าจากจีน... โดย...ศุภชัย วุฒิชูวงศ์

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130519/158813/แพนด้า..การทูตการเมืองและต้นทุน.html#.UZgr3Dcs2yg (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 19/05/2556 เวลา 03:31:05 ดูภาพสไลด์โชว์ แพนด้า..การทูต การเมืองและต้นทุน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หมีแพนด้า หลังจากรัฐบาลประกาศว่าได้ทำความตกลงกับรัฐบาลจีน ให้แพนด้า "หลินปิง" อยู่ที่ไทยต่อไปอีก 15 ปีด้วยงบประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือราว 29 ล้านบาท คนไทยหลายคนจึงเพิ่งรู้ว่า ทูตสันถวไมตรีจากจีนมี "ค่าตัว" แพงขนาดนี้ หลายคนวิจารณ์ว่าเงินจำนวนนี้น่าจะใช้ดูแลสัตว์คู่บ้านคู่เมืองอย่างเช่น ช้าง หรือใช้เพื่อการศึกษา แต่ฝ่ายแพนด้าแฟนคลับก็มองว่าเงินจำนวนนี้คุ้มแสนคุ้ม และยังแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างไทย-จีน เพราะมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้รับแพนด้าจากรัฐบาลจีน "การทูตแพนด้า" ของจีนมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เมื่อจักรพรรดินีบูเช็กเทียนมอบแพนด้า 1 คู่ให้แก่จักรพรรดิของญี่ปุ่นเพื่อตอบแทนที่ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี แต่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีน การมอบแพนด้าในฐานะ "ของขวัญ" เปิดฉากขึ้นในปีค.ศ. 1941 เมื่อนางซ่งเหม่ยหลิง ภรรยาของนายพลเจียงไคเช็ก ผู้นำสาธารณรัฐจีนเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา และได้มอบแพนด้า 1 คู่ให้เพื่อขอบคุณที่ชาวอเมริกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวจีนในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ.1946 รัฐบาลเจียงไคเช็กยังมอบแพนด้า 1 ตัวให้แก่อังกฤษ หมียักษ์สีขาวดำจึงกลายเป็น "ของกำนัลแทนไมตรี" นับแต่บัดนั้น หลังพรรคคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน แพนด้าถูกขึ้นบัญชีเป็น "สมบัติชาติ" เพราะแพนด้าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีเฉพาะในประเทศจีนที่เดียวในโลก รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนได้มอบแพนด้าเป็นของขวัญให้เฉพาะมิตรประเทศเท่านั้น โดยสหภาพโซเวียตเป็นชาติแรกที่ได้รับแพนด้า "ผิงผิง" และ "อันอัน" เป็นของกำนัลจากจีนในปี ค.ศ. 1957 ส่วนเพื่อนรักอย่างเกาหลีเหนือได้รับแพนด้าจากจีนถึง 5 ตัวในช่วงปี 1965 ถึง 1980 ในช่วงที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนยังไม่เปิดสัมพันธ์กับชาติ ตะวันตก แต่สวนสัตว์ในหลายประเทศก็ปรารถนาจะได้แพนด้าไปอวดโฉม สวนสัตว์ไมอามี่และชิคาโกของสหรัฐเคยส่งจดหมายถึงสวนสัตว์ปักกิ่งขอแลก เปลี่ยนสัตว์หายาก โดยเฉพาะแพนด้า แต่สวนสัตว์ปักกิ่งในขณะนั้น มีแพนด้าเพียงแค่ 3 ตัวซึ่งเตรียมจะมอบให้แก่โซเวียต ซ้ำในช่วงนั้น สหรัฐยังเป็นแกนนำคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน คำขอดังกล่าวจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ กระทรวงการต่างประเทศจีนได้ตั้งเงื่อนไขตอบกลับไปว่า "โดยหลักการแล้วสามารถแลกเปลี่ยนได้ แต่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องส่งผู้แทนมารับแลกเปลี่ยนโดยตรง ห้ามผ่านประเทศที่สาม" แน่นอนว่าสภาคองเกรสของสหรัฐ ในขณะนั้นซึ่งยึดนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ไม่ตอบรับเงื่อนไขของฝ่ายจีน ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-จีนถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เปิดสัมพันธ์กับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ และเป็นผู้นำสหรัฐคนแรกที่เดินทางเยือนจีนในปี 1972 บันทึกของกระทรวงการต่างประเทศจีน เล่าถึงช่วงที่ประธานาธิบดีนิกสันและภริยาพบกับนายกฯ โจวเอินไหล ว่า "นายกฯ โจวยื่นบุหรี่ยี่ห้อแพนด้าให้แก่ภริยาของนิกสัน แต่เธอตอบว่า "ไม่สูบบุหรี่" โจวเอินไหลจึงชี้ไปที่รูปแพนด้าบนซองบุหรี่พร้อมกล่าวว่า "ชอบไหม? รัฐบาลปักกิ่งยินดีมอบแพนด้าหนึ่งคู่เป็นของขวัญแด่ชาวสหรัฐ" ข้อเสนอของนายกฯ จีน ทำให้สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐถึงกับตกตะลึงฃก แพนด้า "หลิงหลิง" "ซิ่งซิ่ง" เดินทางถึงสหรัฐในปีเดียวกันและเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เครื่องบินซึ่งขนส่งแพนด้าจากจีนติดป้ายขนาดใหญ่ว่า "ของขวัญจากจีนแดง" กระแสแพนด้าแพร่สะพัดทั่วประเทศ รัฐบาลสหรัฐประกาศให้ปี 1972 เป็น "ปีแพนด้า" ชาวอเมริกันมากกว่า 3 ล้านคนแห่ไปชมหมียักษ์จากจีนในปีเดียว ในช่วงปี 1957 ถึง 1982 รัฐบาลจีนมอบแพนด้า 23 ตัวให้แก่มิตรประเทศ 9 ชาติ คือ โซเวียต เกาหลีเหนือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เม็กซิโก สเปน และเยอรมนี ทั้งหมดเป็นการมอบให้โดยไม่คิดค่าตอบแทน แพนด้าทั้งหมดโอนสัญชาติและถือเป็นสิทธิ์ขาดของประเทศผู้รับมอบ ทุกวันนี้เหลือเพียงแพนด้าที่เยอรมนี 1 ตัวและลูก 3 ตัวของแพนด้าที่เม็กซิโกที่ยังมีชีวิตอยู่ หลังปี 1982 จำนวนแพนด้าในจีนลดลงอย่างน่าใจหาย รัฐบาลจีนจึงประกาศยุติการมอบแพนด้าเป็นของขวัญ แต่เจ้าหมียักษ์ก็ไม่ได้สิ้นสุดการเดินทางไปต่างแดน เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น "การเช่ายืม" ปี 1984 จีนให้สหรัฐยืมแพนด้า 2 ตัวเพื่อใช้ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกลอสแองเจลิส หลังจากนั้นสวนสัตว์ทั่วสหรัฐหลายสิบแห่ง รวมทั้งสวนสัตว์ในญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ และเยอรมนี ต่างขอเช่ายืมแพนด้าจากจีนด้วยค่าตัวหลายแสนดอลลาร์ แม้แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตและนิทรรศการต่างๆ ก็ต้องการแพนด้าไปโชว์ตัว หมียักษ์ "สมบัติชาติ" ของจีนถูกใช้ไม่แตกต่างจากละครสัตว์ แม้แต่สวนสัตว์เม็กซิโกที่ได้แพนด้าไปจากจีนก็ยังเลียนแบบ นำลูกแพนด้า 4 ตัวให้สวนสัตว์ของสหรัฐเช่ายืมต่อ การเช่ายืมแพนด้าสร้างรายได้มหาศาลให้แก่องค์กรสวนสัตว์แห่ง ชาติจีน การล่าแพนด้าจากป่าเกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่เงินที่ได้จากน้ำพักน้ำแรงของแพนด้ากลับถูกนำไปใช้สร้างตึก สร้างถนน ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการอนุรักษ์เสียทั้งหมด หรือตอบแทนให้แก่เจ้าหมียักษ์แต่อย่างใด การเช่ายืมแพนด้าถูกองค์กรพิทักษ์สัตว์ต่อต้านอย่างหนัก จนกระทั่งปี 1996 ภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้ สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส ออกกฎห้ามประเทศสมาชิกใช้สัตว์อนุรักษ์เพื่อการค้า ทำให้องค์กรสวนสัตว์แห่งชาติจีนได้คิดค้นวิธีส่งออกแพนด้าแบบใหม่ คือ "วิจัยร่วมกัน" วิจัยแพนด้า ค่าตัวปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ - กรมป่าไม้ของจีนตั้งเงื่อนไขในการยืมตัวแพนด้าเพื่อวิจัย ร่วมกัน คือ ประเทศคู่สัญญาต้องบริจาคเงินให้ฝ่ายจีนปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินนี้ร้อยละ 60 จะถูกใช้เพื่อการอนุรักษ์แพนด้า และร้อยละ 40 จะเป็นค่าตอบแทนบุคลากรในการวิจัยแพนด้า โดยระยะเวลายืมตัวแพนด้า 10 ปี สิทธิทุกอย่างในตัวแพนด้าเป็นของฝ่ายจีน หากมีลูกจะต้องจ่ายเพิ่มอีกปีละ 6 แสนดอลลาร์ และลูกแพนด้าถือเป็นกรรมสิทธิ์ของจีน นอกจากนี้หากแพนด้าตาย ศพก็ยังเป็นของจีน และถึงแม้เงื่อนไขจะมากมายเพียงนี้ก็ไม่ใช่ทุกประเทศจะได้สิทธิ์ร่วมวิจัย แพนด้ากับจีน ขณะนี้มีเพียง 12 ประเทศที่ได้รับแพนด้าจากจีน โดยบางประเทศยังได้รับ "ส่วนลดพิเศษ" เช่น ออสเตรเลีย และแพนด้า "ช่วงช่วง" "หลินฮุ่ย" ของไทยที่จีนคิดค่าตัวเพียงปีละ 3 แสนดอลลาร์ ใครใครก็อยากได้แพนด้า - นอกจากค่าตัวปีละ 1 ล้านดอลลาร์แล้ว ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูแพนด้ายังสูงถึงปีละ 10 ล้านบาท สูงกว่าการเลี้ยงช้างถึง 5 เท่าตัว นอกจากต้องสร้างที่พักติดแอร์แล้ว ยังต้องมีต้นไผ่ 40 กิโลกรัมต่อวันเพื่อเป็นอาหาร ไผ่ที่ใช้เลี้ยงต้องไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือปนเปื้อนมลพิษ และในจำนวนไผ่กว่า 200 พันธุ์นั้น มีเพียง 20 พันธุ์ที่ "ถูกปาก" เจ้าหมียักษ์ สวนสัตว์แอตแลนตาของสหรัฐต้องให้อาสาสมัคร 400 คนปลูกไผ่ที่สวนหลังบ้านของตัวเองเพื่อเลี้ยงแพนด้า ขณะที่สวนสัตว์หลายประเทศต้องนำเข้าไผ่ ค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วทำให้สวนสัตว์เมืองเมมฟิสและแอตแลนตาขาดทุนถึง 3 แสนดอลลาร์ต่อปี และต้องต่อรองให้ทางจีนลด "ค่าตัว" เจ้าหมียักษ์ลง อย่างไรก็ตาม สวนสัตว์ส่วนใหญ่ได้กำไรมหาศาลจากแพนด้า เช่น สวนสัตว์เชียง ใหม่ ที่พลิกจากการขาดทุนมาทำกำไร กระแสแพนด้าฟีเวอร์ของคนไทยเป็นข่าวที่ชาวจีนรู้ดี ล่าสุด สถานีโทรทัศน์อินเทอร์เน็ตในเครือข่ายของซีซีทีวี ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยแพนด้าเมืองเฉิงตู เปิดตัว "สถานีโทรทัศน์ช่องแพนด้า" แบบเดียวกับของไทยเรา นานาชาติยังต้องการ "ขอยืมตัว" แพนด้าจากจีนอย่างไม่ขาดสาย ประเทศล่าสุดที่ได้รับแพนด้า คือ สิงคโปร์ และปลายปีนี้ มาเลเซีย ก็จะได้รับแพนด้า 1 คู่เพื่อฉลองวาระ 40 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต รัฐบาลมาเลเซียทุ่มเงินถึง 200 ล้านบาทเพื่อสร้างที่พักแพนด้า ขณะที่อีกหลายประเทศยังรอคอยการอนุมัติจากทางการจีน แม้แต่เพื่อนบ้านอย่าง เกาหลีใต้ ก็ยังไม่มีแพนด้า ไต้หวันกับแพนด้าการเมือง- ในบรรดาประเทศที่ได้รับมอบแพนด้าจากจีน ไม่มีที่ไหนถูกเชื่อมโยงกับการเมืองเท่ากับไต้หวัน หลังจากสงครามกลางเมืองในปีค.ศ. 1949 จีนและไต้หวันตัดขาดความสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีการติดต่อโดยตรง ไม่มีการไปมาหาสู่กัน จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี 2005 นายเหลียนจั้น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ฝ่ายค้านของไต้หวันในขณะนั้นเดินทางเยือนจีนโดยถือเป็นผู้นำระดับสูงสุดของ ไต้หวันที่เยือนแผ่นดินใหญ่ หลังการเยือนครั้งประวัติศาสตร์ รัฐบาลจีนประกาศมอบแพนด้าหนึ่งคู่เป็นของขวัญแก่ไต้หวัน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง