เมื่อการเมือง 'เขยื้อน' มวลชน 'ขยับ' เพื่อไทยเดินแรงสถานการณ์ 'ร้อนรุ่ม'

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมาก

สถานการณ์การเมืองไทยกลับมา “ขมึงเกลียว” อีกครั้งหลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทย “รุกคืบ” ทางการเมืองครั้งสำคัญด้วยการนำเรื่องร้อน 3 เรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาและสังคมไทยอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินครั้งที่ “มากที่สุด” ในประวัติศาสตร์และมีระยะเวลาชดใช้หนี้ “ยาวที่สุด” คือไม่ต่ำกว่า 50 ปี หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ซึ่งเป็นความร่วมมือทางการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.เลือกตั้ง และการพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.บ.ปรองดองโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ “คดีความ” ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นสำคัญ

“ความร้อนแรง” ทางการเมืองทวีคูณขึ้นทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณา เกิดการปะทะคารมและแง่มุมกฎหมายกับฝ่ายที่ให้การสนับ

สนุนพรรคเพื่อไทย รวมไปถึงเกิดการเผชิญหน้ากับ ส.ส. และ ส.ว. 312 คน ที่เสนอแก้ไข ซึ่งเหมารวมว่าเป็นฝ่าย “นิติบัญญัติ”

ล่าสุดเกิดการจัดตั้ง “มวลชน” คนเสื้อแดงมาชุมนุมเรียกร้องและกดดันการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ จนเกิดการฟ้องร้องกันขึ้น

ใช่แต่ “มวลชน” ในส่วนของรัฐบาลอย่างคนเสื้อแดงเท่านั้นที่ “ขยับ” พรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ก็ขยับลงพื้นที่เพื่อปราศรัยให้ข้อมูลและสร้างแนวร่วมกับประชาชน

ในส่วนของพรรคเพื่อไทยประเดิมเวทีที่ จ.อุดรธานี เป็นที่แรกและตามมาในอีกหลาย ๆ พื้นที่ในภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคกลาง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังคงเดินหน้าจัดเวที “ผ่าความจริง” ซึ่งจากวันที่เริ่มต้นจนมาถึงวันนี้ก็ครบ 1 ปีแล้ว

ใช่แต่ “มวลชน” ของพรรคการเมืองเท่านั้นที่เริ่มขยับแข้งขยับขา ขณะนี้ได้เกิดการเคลื่อนไหวในส่วนของภาคประชาชนกันขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มกรีนที่นำโดย นายสุริยะใส กตะศิลา ซึ่งเป็นอดีตผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การเกิดขึ้นของสันนิบาตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ที่นำโดย ธงชัย สุวรรณวิหค โดยมีเป้าหมายคือการต่อต้าน “ทุนนิยมสามานย์”

บทบาทของ “สันนิบาตฯ” ในครั้งนี้ดูแล้วช่างละม้ายคล้ายคลึงกับการก่อเกิดของกลุ่มม็อบสนามม้า นางเลิ้งที่นำโดยพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่ประกาศชุมนุมทางการเมืองเมื่อปีที่ผ่านมา

ถ้าจำกันได้การยุติการชุมนุมครั้งนั้น มีการทิ้งข้อความไว้ด้วยว่า อีกไม่นานการชุมนุมจะกลับมาใหม่

เมื่อหลาย ๆ สถานการณ์การเมือง “รุมเร้า” การเคลื่อนไหวมวลชนจึงเกิดขึ้นและเดินไปด้วยความคึกคัก

ที่ต้องจับตาคือพรรคเพื่อไทย วันนี้เลือกแล้วว่า จะเดินหน้าทางการเมืองแบบ “เดินเร็วเดินแรง” เพราะในสถานการณ์ที่ตัวเองได้เปรียบทางการเมืองอย่างมหาศาลภายใต้กติกา ประชาธิปไตยที่ใช้เสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องรอ เพราะการเป็นรัฐบาลให้นานที่สุดโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แค่เป็นการ “พักรบ” เท่านั้น เพราะตราบใดที่เป้าหมายทางการเมืองยังไม่ถูกแก้ไข พรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงไม่หยุดเดิน

ชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล ถืออำนาจบริหาร นั้นแค่บันไดขั้นหนึ่ง ขณะที่บันไดอีกขั้นหนึ่งคือการแก้ไข “กติกา” ซึ่งพรรคเพื่อไทยปูข้อมูลไว้แล้วว่า เป็น “ผลไม้พิษ” ซึ่งเกิดจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49

ทั้งการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” การพยายามผลักดัน พ.ร.บ.ปรองดองหรือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ล้วนเป็นความพยายามสร้าง “กติกา” ขึ้นมาใหม่ของพรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทยประเมินแล้วว่า “ด่านสำคัญ” ทางการเมืองนั้น ไม่ได้อยู่ที่พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถึงวันนี้ก็ยังไม่มีทางเป็น “ตัวเลือก” หรือ “คู่แข่ง” ทางการเมืองได้ หรือ “มวลชน” ซึ่งวันนี้ยังหา “เจ้าภาพ” ไม่ได้ แต่หากอยู่ที่องค์กรอิสระทางการเมืองที่ชื่อว่า ศาลรัฐธรรมนูญ

อย่าลืมว่า กฎหมายทั้ง 3 ฉบับที่ทั้งแก้ไข ทั้งทำขึ้นมาใหม่ ล้วนต้องผ่านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อเป็นเช่นนั้น การเปิดฉาก “รบรอบใหม่” ทางการเมืองกับศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจของพรรคเพื่อไทย ไม่เช่นนั้น “การต่อต้าน” จะออกมาตามลำดับอย่างเป็นระบบเช่นนี้หรือ

ช่วงระยะเวลา 3 เดือน ของการปิดสมัยประชุมสภา จึงเป็นช่วงเวลาที่พรรคการเมืองต้องทำงานมวลชนอย่างหนัก เพราะการปะทะกันอย่างเป็นทางการจะเกิดขึ้นในการเปิดประชุมสภาที่เรียกว่า สมัยสามัญทั่วไปในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งในสมัยประชุมนี้พรรคฝ่ายค้านจะได้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อซัก ฟอกการบริหารงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกครั้ง

เมื่อดูจากเป้าหมาย ดูจากความเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งสัญญาณที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งมาให้กับ ส.ส.ในพรรคไว้ว่าให้เดินหน้าชนเต็มที่ อย่างดีก็แค่ “ยุบสภา” ลงไปหาประชาชนเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้ง ซึ่งพรรคเพื่อไทยเชื่อมั่นว่า อย่างไรก็กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลได้อีกครั้งซึ่งหากมาครั้งนี้ ก็จะสะดวกโยธินที่จะแก้ไขอะไรต่อมิอะไรได้อย่างเต็มที่มากขึ้น

ในความได้เปรียบทางการเมืองที่มีอยู่อย่างมหาศาล พรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเชื่อมั่นและไม่กลัวที่จะเดินหน้าทางการเมือง “ก้าว” ที่สำคัญก้าวนี้ต่อไป

เป็นการทำสงครามการเมืองครั้งใหม่ ที่ดูไปแล้วน่าจะใหญ่และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญยิ่งกว่าครั้งที่ผ่านมา เพราะนับวัน “ขั้วทางการเมือง” เริ่มเด่นชัดและไม่ยอมกันมากขึ้น ที่สำคัญนับวันสังคมไทยจะยิ่งหา “กรรมการ” ได้ยากขึ้น

ต้องยอมรับว่าวันนี้ “กองทัพ” ก็ไม่อยู่ในสถานะที่เป็น “กรรมการ” ได้

ยังดูไม่ออกและบอกไม่ถูกเลยว่า ในสถานการณ์ที่พรรคเพื่อไทย “สุมไฟการเมือง” กองใหม่นี้ขึ้นมา จะหาทางลงแบบสันติวิธีได้อย่างไร เพราะต่างฝ่ายต่างใช้ “กติกา” ถืออยู่โดยเชื่อว่า ทำได้เข้าต่อสู้กัน

ฝ่ายหนึ่งกำลัง “กินรวบ” พร้อมกับรุกคืบเพื่อสถาปนาการเมืองรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ “เนื้อใน” ไม่ต่างอะไรกับบริษัทที่แบ่งงานกันทำ สั่งซ้ายหันขวาหัน ขณะที่อีกฝ่ายก็ไม่ยอมรับและกำลังรวบรวมกำลังสร้างเครือข่ายเพื่อ “ต่อต้าน” และพร้อมจะทำทุกทางเพื่อหยุดขบวนการกินรวบในครั้งนี้เสีย

นี่จึงเป็น “เรื่องใหญ่” ที่ท้าทายสังคมไทยอย่างยิ่ง

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/200288 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 29/04/2556 เวลา 03:41:01 ดูภาพสไลด์โชว์ เมื่อการเมือง 'เขยื้อน' มวลชน 'ขยับ' เพื่อไทยเดินแรงสถานการณ์ 'ร้อนรุ่ม'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมาก สถานการณ์การเมืองไทยกลับมา “ขมึงเกลียว” อีกครั้งหลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทย “รุกคืบ” ทางการเมืองครั้งสำคัญด้วยการนำเรื่องร้อน 3 เรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาและสังคมไทยอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินครั้งที่ “มากที่สุด” ในประวัติศาสตร์และมีระยะเวลาชดใช้หนี้ “ยาวที่สุด” คือไม่ต่ำกว่า 50 ปี หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” ซึ่งเป็นความร่วมมือทางการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.เลือกตั้ง และการพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.บ.ปรองดองโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ “คดีความ” ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นสำคัญ “ความร้อนแรง” ทางการเมืองทวีคูณขึ้นทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณา เกิดการปะทะคารมและแง่มุมกฎหมายกับฝ่ายที่ให้การสนับ สนุนพรรคเพื่อไทย รวมไปถึงเกิดการเผชิญหน้ากับ ส.ส. และ ส.ว. 312 คน ที่เสนอแก้ไข ซึ่งเหมารวมว่าเป็นฝ่าย “นิติบัญญัติ” ล่าสุดเกิดการจัดตั้ง “มวลชน” คนเสื้อแดงมาชุมนุมเรียกร้องและกดดันการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ จนเกิดการฟ้องร้องกันขึ้น ใช่แต่ “มวลชน” ในส่วนของรัฐบาลอย่างคนเสื้อแดงเท่านั้นที่ “ขยับ” พรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ก็ขยับลงพื้นที่เพื่อปราศรัยให้ข้อมูลและสร้างแนวร่วมกับประชาชน ในส่วนของพรรคเพื่อไทยประเดิมเวทีที่ จ.อุดรธานี เป็นที่แรกและตามมาในอีกหลาย ๆ พื้นที่ในภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคกลาง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังคงเดินหน้าจัดเวที “ผ่าความจริง” ซึ่งจากวันที่เริ่มต้นจนมาถึงวันนี้ก็ครบ 1 ปีแล้ว ใช่แต่ “มวลชน” ของพรรคการเมืองเท่านั้นที่เริ่มขยับแข้งขยับขา ขณะนี้ได้เกิดการเคลื่อนไหวในส่วนของภาคประชาชนกันขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มกรีนที่นำโดย นายสุริยะใส กตะศิลา ซึ่งเป็นอดีตผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การเกิดขึ้นของสันนิบาตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ที่นำโดย ธงชัย สุวรรณวิหค โดยมีเป้าหมายคือการต่อต้าน “ทุนนิยมสามานย์” บทบาทของ “สันนิบาตฯ” ในครั้งนี้ดูแล้วช่างละม้ายคล้ายคลึงกับการก่อเกิดของกลุ่มม็อบสนามม้า นางเลิ้งที่นำโดยพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่ประกาศชุมนุมทางการเมืองเมื่อปีที่ผ่านมา ถ้าจำกันได้การยุติการชุมนุมครั้งนั้น มีการทิ้งข้อความไว้ด้วยว่า อีกไม่นานการชุมนุมจะกลับมาใหม่ เมื่อหลาย ๆ สถานการณ์การเมือง “รุมเร้า” การเคลื่อนไหวมวลชนจึงเกิดขึ้นและเดินไปด้วยความคึกคัก ที่ต้องจับตาคือพรรคเพื่อไทย วันนี้เลือกแล้วว่า จะเดินหน้าทางการเมืองแบบ “เดินเร็วเดินแรง” เพราะในสถานการณ์ที่ตัวเองได้เปรียบทางการเมืองอย่างมหาศาลภายใต้กติกา ประชาธิปไตยที่ใช้เสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องรอ เพราะการเป็นรัฐบาลให้นานที่สุดโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แค่เป็นการ “พักรบ” เท่านั้น เพราะตราบใดที่เป้าหมายทางการเมืองยังไม่ถูกแก้ไข พรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงไม่หยุดเดิน ชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล ถืออำนาจบริหาร นั้นแค่บันไดขั้นหนึ่ง ขณะที่บันไดอีกขั้นหนึ่งคือการแก้ไข “กติกา” ซึ่งพรรคเพื่อไทยปูข้อมูลไว้แล้วว่า เป็น “ผลไม้พิษ” ซึ่งเกิดจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49 ทั้งการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท การแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รายมาตรา” การพยายามผลักดัน พ.ร.บ.ปรองดองหรือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ล้วนเป็นความพยายามสร้าง “กติกา” ขึ้นมาใหม่ของพรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยประเมินแล้วว่า “ด่านสำคัญ” ทางการเมืองนั้น ไม่ได้อยู่ที่พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถึงวันนี้ก็ยังไม่มีทางเป็น “ตัวเลือก” หรือ “คู่แข่ง” ทางการเมืองได้ หรือ “มวลชน” ซึ่งวันนี้ยังหา “เจ้าภาพ” ไม่ได้ แต่หากอยู่ที่องค์กรอิสระทางการเมืองที่ชื่อว่า ศาลรัฐธรรมนูญ อย่าลืมว่า กฎหมายทั้ง 3 ฉบับที่ทั้งแก้ไข ทั้งทำขึ้นมาใหม่ ล้วนต้องผ่านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อเป็นเช่นนั้น การเปิดฉาก “รบรอบใหม่” ทางการเมืองกับศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจของพรรคเพื่อไทย ไม่เช่นนั้น “การต่อต้าน” จะออกมาตามลำดับอย่างเป็นระบบเช่นนี้หรือ ช่วงระยะเวลา 3 เดือน ของการปิดสมัยประชุมสภา จึงเป็นช่วงเวลาที่พรรคการเมืองต้องทำงานมวลชนอย่างหนัก เพราะการปะทะกันอย่างเป็นทางการจะเกิดขึ้นในการเปิดประชุมสภาที่เรียกว่า สมัยสามัญทั่วไปในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งในสมัยประชุมนี้พรรคฝ่ายค้านจะได้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อซัก ฟอกการบริหารงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกครั้ง เมื่อดูจากเป้าหมาย ดูจากความเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งสัญญาณที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งมาให้กับ ส.ส.ในพรรคไว้ว่าให้เดินหน้าชนเต็มที่ อย่างดีก็แค่ “ยุบสภา” ลงไปหาประชาชนเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้ง ซึ่งพรรคเพื่อไทยเชื่อมั่นว่า อย่างไรก็กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลได้อีกครั้งซึ่งหากมาครั้งนี้ ก็จะสะดวกโยธินที่จะแก้ไขอะไรต่อมิอะไรได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ในความได้เปรียบทางการเมืองที่มีอยู่อย่างมหาศาล พรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเชื่อมั่นและไม่กลัวที่จะเดินหน้าทางการเมือง “ก้าว” ที่สำคัญก้าวนี้ต่อไป เป็นการทำสงครามการเมืองครั้งใหม่ ที่ดูไปแล้วน่าจะใหญ่และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญยิ่งกว่าครั้งที่ผ่านมา เพราะนับวัน “ขั้วทางการเมือง” เริ่มเด่นชัดและไม่ยอมกันมากขึ้น ที่สำคัญนับวันสังคมไทยจะยิ่งหา “กรรมการ” ได้ยากขึ้น ต้องยอมรับว่าวันนี้ “กองทัพ” ก็ไม่อยู่ในสถานะที่เป็น “กรรมการ” ได้ ยังดูไม่ออกและบอกไม่ถูกเลยว่า ในสถานการณ์ที่พรรคเพื่อไทย “สุมไฟการเมือง” กองใหม่นี้ขึ้นมา จะหาทางลงแบบสันติวิธีได้อย่างไร เพราะต่างฝ่ายต่างใช้ “กติกา” ถืออยู่โดยเชื่อว่า ทำได้เข้าต่อสู้กัน ฝ่ายหนึ่งกำลัง “กินรวบ” พร้อมกับรุกคืบเพื่อสถาปนาการเมืองรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ “เนื้อใน” ไม่ต่างอะไรกับบริษัทที่แบ่งงานกันทำ สั่งซ้ายหันขวาหัน ขณะที่อีกฝ่ายก็ไม่ยอมรับและกำลังรวบรวมกำลังสร้างเครือข่ายเพื่อ “ต่อต้าน” และพร้อมจะทำทุกทางเพื่อหยุดขบวนการกินรวบในครั้งนี้เสีย นี่จึงเป็น “เรื่องใหญ่” ที่ท้าทายสังคมไทยอย่างยิ่ง ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/200288

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง