ไฟ 3 กอง "บ่มเชื้อ" รอเวลาแตกหัก

แสดงความคิดเห็น

นายบัญญัติ บรรทัดฐาน

พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเก่าแก่ กำหนดท่าทีเคลื่อนไหวช่วงชิงความได้เปรียบทาง การเมืองแต่ละครั้ง ผู้อาวุโสและแกนนำของพรรคจะต้องประชุมถกประเด็นที่แหลมคมให้ตกผลึกเสียก่อน แล้วจึงนำเสนอจุดยืนในประเด็นนั้นๆเปิดเผยต่อสาธารณะ

“ทีมข่าวการ เมือง” ถือโอกาสวันเถลิงศกเริ่มต้นเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เปิดใจ “นายบัญญัติ บรรทัดฐาน” ส.ส.บัญชีรายชื่อ และกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ผู้มีบทบาทวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองให้ที่ประชุมพรรคฟัง วันนี้เปลี่ยนบทบาทจากวิเคาระห์ในที่ประชุมพรรค เป็นทำนายทิศทางการเมืองให้สังคมติดตาม

โดยสะท้อนถึงการปฏิรูปพรรค ประชาธิปัตย์ว่า ดำเนินการปรับตัวตลอดเวลา แต่ไม่ได้หมายความว่าทำแล้วจะดีขึ้นชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาลทันที พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหาว่าจะเป็นฝ่ายค้านอีกกี่ปี เพราะในอดีตเราเป็นฝ่ายค้านมาอย่างยาวนาน ไม่เคยบ่นว่าเป็นฝ่ายค้านแล้วอดอยากปากแห้ง

ผมไม่คิดว่าจะแพ้การ เลือกตั้งตลอดไปหากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ปรับโครงสร้างใหม่ เนื่องจากคนในสังคมจะรู้ทันการเมืองมากขึ้น ในอนาคตการเมืองจะต้องต่อสู้กันว่าใครสุจริตกว่ากัน และมีแนวทางแก้ไขปัญหาของประชาชนดีกว่ากัน วันนี้เมื่อทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ขอทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเต็มที่ ตีแผ่ความจริงให้สังคมรับทราบ

“ทีม ข่าวการเมือง” ถามถึงโครงสร้างพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยังมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคอยู่ จะก้าวไม่พ้นจากการเป็นฝ่ายค้าน “นายบัญญัติ” บอกว่า คุณอภิสิทธิ์อาจจะเป็นเป้าถูกโจมตีจนชํ้าไปหมด แต่ยิ่งถูกตีมากๆก็ยิ่งแข็งแกร่ง และคุณอภิสิทธิ์ยังเป็นบุคคลที่สุจริต มีความสามารถเฉพาะตัว เรียนรู้เข้าใจปัญหารวดเร็ว

ปัญหาของพรรคประชา ธิปัตย์ไม่น่ากังวลเท่าปัญหาของชาติ วันนี้ประเทศไทยมีโอกาสจะล่มสลาย เพราะสถาบันนักการเมืองตกต่ำมาก มีภาพทุจริตคอรัปชันติดตัว มีความรับผิดชอบน้อย สถาบันข้าราชการอ่อนแอ ประชาชนสนับสนุนนโยบายประชานิยม และสถานะการคลัง ของประเทศมีความหวั่นไหวมาก

“ทำให้สถานการณ์การเมืองนับจากวันนี้เป็นต้นไปจะร้อนขึ้นเป็นลำดับ มันจะเกิด ความคุกรุ่น ยังไม่รุนแรงถึงขั้นลุกขึ้นฆ่าฟันกัน

แต่ จะเพาะบ่มความรู้สึกจากหลายๆ เรื่องที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ พอเพาะบ่มหลายเรื่องเข้าสังคมจะเปราะบาง เมื่อได้รับผลกระทบจากเรื่องนั้น เรื่องนี้เข้ามาอีกจะไม่ดี”

เรื่องแรก กรณีรัฐบาลออก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เชื่อว่าจะต้องใช้เวลามากพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในวาระที่ 2 พิจารณาเป็นรายมาตรา เพราะเงินกู้จำนวนมหาศาลมีผลผูกพันงบประมาณแผ่นดิน 50 ปี บวกดอกเบี้ยเข้าไปกลายเป็นงบประมาณ 5 ล้านล้านบาท

ฝ่ายค้านกังวล งบประมาณอาจรั่วไหลได้ง่าย เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายตามงบประมาณแผ่นดิน ไม่ได้จัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ให้อำนาจ ครม.ออกระเบียบจัดซื้อจัดจ้างที่จะทำอย่างไรก็ได้ ดังนั้นฝ่ายค้านจะตอกย้ำให้สังคมเห็นว่า หากรัฐบาลไม่ทำตามที่ฝ่ายค้านเสนอแนะ แสดงว่ามีเจตนาส่อทุจริตหรือไม่

และ เมื่อร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านที่ประชุมวุฒิสภา วาระที่ 3 ถ้ามี ส.ส.หรือ ส.ว.เห็นว่าเป็น กฎหมายที่ไม่ชอบธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่กำหนดให้การใช้จ่ายเงินของแผ่นดินกระทำได้เฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลจะไปออกกฎหมาย ใช้จ่ายเงินเองไม่ได้

ดังนั้น มีโอกาสที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ผลวินิจฉัยออกมาอย่างไรขอให้รัฐบาลปฏิบัติตาม อย่าไปคิดมาก อย่าให้มวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลไปชุมนุมล้อมศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการบริหารบ้านเมืองถ้าปล่อยให้ฝ่ายที่มีอำนาจเหลิงอำนาจ จะเป็น เรื่องที่น่ากลัวที่สุด ทุกวันนี้ก็ถือว่าเหลิงอยู่ในระดับที่พอสมควร

“ทีม ข่าวการเมือง” ถามว่า ขณะนี้รัฐบาลเหลิงอำนาจมากที่สุดในเรื่องใด “นายบัญญัติ” บอกว่า ทุกวันนี้รัฐบาล ไม่กลัวอะไร เรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าเหลิงอำนาจที่สุดคงเป็นโครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่ล้มเหลวชัดเจนและท้าทายความรู้สึกของประชาชนมาก แต่รัฐบาลยังกล้าดำเนินโครงการต่อ

แม้เป็นโครงการที่เกษตรกรชาวนา ชอบ แต่ความรู้สึกของประชาชนที่เป็นเจ้าของภาษีเห็นว่าเงินไม่ได้ตกอยู่ที่ เกษตรกรชาวนา แต่ไปตกอยู่ที่ใครบางคน

เรื่องที่สอง การแก้ไขธรรมนูญ ประเด็นปัญหาจุดกระแสความรู้สึกของประชาชน คือ มาตรา 68 ที่กำหนดไว้สำหรับพิทักษ์รักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ป้องกันไม่ให้บุคคลใดได้มา ซึ่งอำนาจปกครองประเทศโดยวิธีการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามรัฐ ธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญระบุว่าใครรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวไปร้องต่อ อัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะแก้ไขมาตรานี้ให้ยื่นร้องต่ออัยการสูงสุดได้เพียงช่องทางเดียว ทั้งที่การล้มล้างการปกครองเป็นเรื่องใหญ่ จะฝากอนาคตไว้ที่อัยการสูงสุดฝ่ายเดียวได้อย่างไร หากอัยการสูงสุดเกิดเบี้ยวไม่ส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ จะไปร้องกับใคร

ดัง นั้น สมาชิกรัฐสภาที่เสนอแก้ไขประเด็นนี้คงต้องร้อนแน่ หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาโหวตลงมติผ่านวาระ 3 เมื่อไหร่ จะต้องมีคนไปยื่นร้องต่อศาล รัฐธรรมนูญว่าประเด็นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่าการแก้ไขมาตรา 68 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องยอมรับ อย่าไปตอแยถึงขั้นยกพลพรรคไปล้อมศาลรัฐธรรมนูญ

“นายบัญญัติ” ยังบอกถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ราย มาตราในวาระที่ 2 พิจารณารายมาตราว่า อยากย้อนให้เห็นถึงภาพการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่ ส.ส.ฝ่ายค้านหรือ ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วย แปรญัตติกันจำนวนมาก ครั้งนี้ก็เหมือนกันจะมี ส.ส.หรือ ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วยจะแปรญัตติกันจำนวนมาก จะต้องอภิปรายกันหลายวันหลายคืน

และ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศล่วงหน้าไว้แล้ว ว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเคลื่อนไหวชุมนุมต่อต้าน รวมถึงกลุ่มเสื้อ หลากสี ชี้ให้เห็นถึงการสะสมความร้อนของสถานการณ์การเมืองที่น่ากลัว

ขณะ เดียวกัน กลุ่มคนที่เป็นเครือข่ายของรัฐบาลจะชุมนุมกดดันองค์กรอิสระ เพราะมีคดีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลค้างพิจารณาอยู่ที่องค์กรอิสระ มีหลายเรื่องที่น่ากลัวและหวาดเสียวสำหรับนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำลังถูก ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ไต่สวนอยู่

เช่น ป.ป.ช.แนะนำ ครม. 2 ครั้งให้รัฐบาลกำหนดราคากลางไว้บนเว็บไซต์ในเรื่องการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องนี้ฝ่ายค้านยื่น ถอดถอน ครม.ฐานจงใจฝ่าฝืนกฎหมายต่อประธานวุฒิสภา เพื่อส่งต่อไปยัง ป.ป.ช. หาก ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิด ครม.จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่

โครงการรับจำนำข้าว แม้ฝ่ายค้านยื่นถอดถอนคุณ บุญทรง เตริยาภิรมย์ ออกจากตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ ในชั้น ไต่ส่วน ป.ป.ช.พาดพิงถึงใครก็มีสิทธิ์จะตั้งข้อกล่าวหากรณีนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัว สำหรับนายกฯยิ่งลักษณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าว

พรรคเพื่อ ไทยก็คงกังวลในประเด็นเหล่านี้ ไม่เช่นนั้นคงไม่ให้คุณเกษม นิมมลรัตน์ ลาออกจาก ส.ส. เชียงใหม่ เขต 3 เพื่อเปิดทางให้คุณเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) ลงสมัครเลือกตั้งซ่อมเตรียมพร้อมสำหรับตำแหน่งนายกฯสำรอง ซึ่งจะต้องเป็นญาติ พี่น้องกันเท่านั้น ชัวร์กว่าที่จะเอาคนอื่นขึ้นเป็นนายกฯ

ทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าความรุ่ม ร้อน ทางการเมืองมีหลายจุดที่อาจจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่เชื่อมั่นยังไม่ถึงขั้นแตกหัก เพราะคุณทักษิณเคยพูดว่า

รัฐบาลเป็นของเรา น่าจะต้องช่วยกัน ทะนุถนอมไว้ให้เป็นรัฐบาลนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประคองรัฐบาลเพื่อรักษาอำนาจรัฐไว้ดีกว่า

บางครั้งแม้ใจไม่อยากแตกหัก

แต่การประเมินสถานการณ์ที่ย่ามใจเกินไป อาจทำบางเรื่องให้เป็นปัญหาขึ้นมา และเกิดอุบัติเหตุการเมืองให้เกิดความวุ่นวายสับสนไปใหญ่

วันนี้ สถานการณ์การเมืองจะถึงขั้นแตกหักหรือไม่ อยู่ที่รัฐบาลจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ร้อนๆได้หรือไม่ เช่น พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เมื่อเข้าไปแปรญัตติในชั้นคณะกรรมาธิการ ก็ต้อง รอมชอมกันว่าจะทยอยกู้และจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกฯ หากรัฐบาลแสดงความชัดเจน อย่างนี้สถานการณ์การเมืองก็จะเย็นลง

“เรื่อง ที่สามการผลักดันออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะเป็นจุดเสี่ยงมากที่สุดทำให้สถานการณ์การเมืองร้อน มากกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะกระแสสังคมต่อต้านสูงจนรัฐบาลไม่กล้าผลักดันกฎหมายเข้าที่ประชุมสภาผู้ แทนราษฎร

แม้มี ส.ส.พรรคเพื่อไทย 42 คน เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้ามาแล้ว แต่ยังดีที่วิปรัฐบาล (คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล) ระบุว่าไม่สามารถเลื่อนขึ้นมาพิจารณาได้ทันในสมัยประชุมนี้

และ เรื่องนี้จะเป็นปัญหาเปราะบางในด้านความรู้สึกระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรค เพื่อไทย ในอนาคตหากคนเสื้อแดงรู้สึกว่าถูกหลอกใช้จะมีความรู้สึกเจ็บปวดมาก

จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่น่ากลัวสำหรับรัฐบาลต่อไป”.

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/338772

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 15/04/2556 เวลา 03:22:07 ดูภาพสไลด์โชว์ ไฟ 3 กอง "บ่มเชื้อ" รอเวลาแตกหัก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายบัญญัติ บรรทัดฐาน พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเก่าแก่ กำหนดท่าทีเคลื่อนไหวช่วงชิงความได้เปรียบทาง การเมืองแต่ละครั้ง ผู้อาวุโสและแกนนำของพรรคจะต้องประชุมถกประเด็นที่แหลมคมให้ตกผลึกเสียก่อน แล้วจึงนำเสนอจุดยืนในประเด็นนั้นๆเปิดเผยต่อสาธารณะ “ทีมข่าวการ เมือง” ถือโอกาสวันเถลิงศกเริ่มต้นเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เปิดใจ “นายบัญญัติ บรรทัดฐาน” ส.ส.บัญชีรายชื่อ และกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ผู้มีบทบาทวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองให้ที่ประชุมพรรคฟัง วันนี้เปลี่ยนบทบาทจากวิเคาระห์ในที่ประชุมพรรค เป็นทำนายทิศทางการเมืองให้สังคมติดตาม โดยสะท้อนถึงการปฏิรูปพรรค ประชาธิปัตย์ว่า ดำเนินการปรับตัวตลอดเวลา แต่ไม่ได้หมายความว่าทำแล้วจะดีขึ้นชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาลทันที พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหาว่าจะเป็นฝ่ายค้านอีกกี่ปี เพราะในอดีตเราเป็นฝ่ายค้านมาอย่างยาวนาน ไม่เคยบ่นว่าเป็นฝ่ายค้านแล้วอดอยากปากแห้ง ผมไม่คิดว่าจะแพ้การ เลือกตั้งตลอดไปหากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ปรับโครงสร้างใหม่ เนื่องจากคนในสังคมจะรู้ทันการเมืองมากขึ้น ในอนาคตการเมืองจะต้องต่อสู้กันว่าใครสุจริตกว่ากัน และมีแนวทางแก้ไขปัญหาของประชาชนดีกว่ากัน วันนี้เมื่อทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ขอทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเต็มที่ ตีแผ่ความจริงให้สังคมรับทราบ “ทีม ข่าวการเมือง” ถามถึงโครงสร้างพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยังมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคอยู่ จะก้าวไม่พ้นจากการเป็นฝ่ายค้าน “นายบัญญัติ” บอกว่า คุณอภิสิทธิ์อาจจะเป็นเป้าถูกโจมตีจนชํ้าไปหมด แต่ยิ่งถูกตีมากๆก็ยิ่งแข็งแกร่ง และคุณอภิสิทธิ์ยังเป็นบุคคลที่สุจริต มีความสามารถเฉพาะตัว เรียนรู้เข้าใจปัญหารวดเร็ว ปัญหาของพรรคประชา ธิปัตย์ไม่น่ากังวลเท่าปัญหาของชาติ วันนี้ประเทศไทยมีโอกาสจะล่มสลาย เพราะสถาบันนักการเมืองตกต่ำมาก มีภาพทุจริตคอรัปชันติดตัว มีความรับผิดชอบน้อย สถาบันข้าราชการอ่อนแอ ประชาชนสนับสนุนนโยบายประชานิยม และสถานะการคลัง ของประเทศมีความหวั่นไหวมาก “ทำให้สถานการณ์การเมืองนับจากวันนี้เป็นต้นไปจะร้อนขึ้นเป็นลำดับ มันจะเกิด ความคุกรุ่น ยังไม่รุนแรงถึงขั้นลุกขึ้นฆ่าฟันกัน แต่ จะเพาะบ่มความรู้สึกจากหลายๆ เรื่องที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ พอเพาะบ่มหลายเรื่องเข้าสังคมจะเปราะบาง เมื่อได้รับผลกระทบจากเรื่องนั้น เรื่องนี้เข้ามาอีกจะไม่ดี” เรื่องแรก กรณีรัฐบาลออก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เชื่อว่าจะต้องใช้เวลามากพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในวาระที่ 2 พิจารณาเป็นรายมาตรา เพราะเงินกู้จำนวนมหาศาลมีผลผูกพันงบประมาณแผ่นดิน 50 ปี บวกดอกเบี้ยเข้าไปกลายเป็นงบประมาณ 5 ล้านล้านบาท ฝ่ายค้านกังวล งบประมาณอาจรั่วไหลได้ง่าย เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายตามงบประมาณแผ่นดิน ไม่ได้จัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ให้อำนาจ ครม.ออกระเบียบจัดซื้อจัดจ้างที่จะทำอย่างไรก็ได้ ดังนั้นฝ่ายค้านจะตอกย้ำให้สังคมเห็นว่า หากรัฐบาลไม่ทำตามที่ฝ่ายค้านเสนอแนะ แสดงว่ามีเจตนาส่อทุจริตหรือไม่ และ เมื่อร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านที่ประชุมวุฒิสภา วาระที่ 3 ถ้ามี ส.ส.หรือ ส.ว.เห็นว่าเป็น กฎหมายที่ไม่ชอบธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่กำหนดให้การใช้จ่ายเงินของแผ่นดินกระทำได้เฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลจะไปออกกฎหมาย ใช้จ่ายเงินเองไม่ได้ ดังนั้น มีโอกาสที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ผลวินิจฉัยออกมาอย่างไรขอให้รัฐบาลปฏิบัติตาม อย่าไปคิดมาก อย่าให้มวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลไปชุมนุมล้อมศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการบริหารบ้านเมืองถ้าปล่อยให้ฝ่ายที่มีอำนาจเหลิงอำนาจ จะเป็น เรื่องที่น่ากลัวที่สุด ทุกวันนี้ก็ถือว่าเหลิงอยู่ในระดับที่พอสมควร “ทีม ข่าวการเมือง” ถามว่า ขณะนี้รัฐบาลเหลิงอำนาจมากที่สุดในเรื่องใด “นายบัญญัติ” บอกว่า ทุกวันนี้รัฐบาล ไม่กลัวอะไร เรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าเหลิงอำนาจที่สุดคงเป็นโครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่ล้มเหลวชัดเจนและท้าทายความรู้สึกของประชาชนมาก แต่รัฐบาลยังกล้าดำเนินโครงการต่อ แม้เป็นโครงการที่เกษตรกรชาวนา ชอบ แต่ความรู้สึกของประชาชนที่เป็นเจ้าของภาษีเห็นว่าเงินไม่ได้ตกอยู่ที่ เกษตรกรชาวนา แต่ไปตกอยู่ที่ใครบางคน เรื่องที่สอง การแก้ไขธรรมนูญ ประเด็นปัญหาจุดกระแสความรู้สึกของประชาชน คือ มาตรา 68 ที่กำหนดไว้สำหรับพิทักษ์รักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ป้องกันไม่ให้บุคคลใดได้มา ซึ่งอำนาจปกครองประเทศโดยวิธีการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามรัฐ ธรรมนูญ รัฐธรรมนูญระบุว่าใครรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวไปร้องต่อ อัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะแก้ไขมาตรานี้ให้ยื่นร้องต่ออัยการสูงสุดได้เพียงช่องทางเดียว ทั้งที่การล้มล้างการปกครองเป็นเรื่องใหญ่ จะฝากอนาคตไว้ที่อัยการสูงสุดฝ่ายเดียวได้อย่างไร หากอัยการสูงสุดเกิดเบี้ยวไม่ส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ จะไปร้องกับใคร ดัง นั้น สมาชิกรัฐสภาที่เสนอแก้ไขประเด็นนี้คงต้องร้อนแน่ หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาโหวตลงมติผ่านวาระ 3 เมื่อไหร่ จะต้องมีคนไปยื่นร้องต่อศาล รัฐธรรมนูญว่าประเด็นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่าการแก้ไขมาตรา 68 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องยอมรับ อย่าไปตอแยถึงขั้นยกพลพรรคไปล้อมศาลรัฐธรรมนูญ “นายบัญญัติ” ยังบอกถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ราย มาตราในวาระที่ 2 พิจารณารายมาตราว่า อยากย้อนให้เห็นถึงภาพการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่ ส.ส.ฝ่ายค้านหรือ ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วย แปรญัตติกันจำนวนมาก ครั้งนี้ก็เหมือนกันจะมี ส.ส.หรือ ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วยจะแปรญัตติกันจำนวนมาก จะต้องอภิปรายกันหลายวันหลายคืน และ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศล่วงหน้าไว้แล้ว ว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเคลื่อนไหวชุมนุมต่อต้าน รวมถึงกลุ่มเสื้อ หลากสี ชี้ให้เห็นถึงการสะสมความร้อนของสถานการณ์การเมืองที่น่ากลัว ขณะ เดียวกัน กลุ่มคนที่เป็นเครือข่ายของรัฐบาลจะชุมนุมกดดันองค์กรอิสระ เพราะมีคดีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลค้างพิจารณาอยู่ที่องค์กรอิสระ มีหลายเรื่องที่น่ากลัวและหวาดเสียวสำหรับนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำลังถูก ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ไต่สวนอยู่ เช่น ป.ป.ช.แนะนำ ครม. 2 ครั้งให้รัฐบาลกำหนดราคากลางไว้บนเว็บไซต์ในเรื่องการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องนี้ฝ่ายค้านยื่น ถอดถอน ครม.ฐานจงใจฝ่าฝืนกฎหมายต่อประธานวุฒิสภา เพื่อส่งต่อไปยัง ป.ป.ช. หาก ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิด ครม.จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ โครงการรับจำนำข้าว แม้ฝ่ายค้านยื่นถอดถอนคุณ บุญทรง เตริยาภิรมย์ ออกจากตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ ในชั้น ไต่ส่วน ป.ป.ช.พาดพิงถึงใครก็มีสิทธิ์จะตั้งข้อกล่าวหากรณีนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัว สำหรับนายกฯยิ่งลักษณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าว พรรคเพื่อ ไทยก็คงกังวลในประเด็นเหล่านี้ ไม่เช่นนั้นคงไม่ให้คุณเกษม นิมมลรัตน์ ลาออกจาก ส.ส. เชียงใหม่ เขต 3 เพื่อเปิดทางให้คุณเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) ลงสมัครเลือกตั้งซ่อมเตรียมพร้อมสำหรับตำแหน่งนายกฯสำรอง ซึ่งจะต้องเป็นญาติ พี่น้องกันเท่านั้น ชัวร์กว่าที่จะเอาคนอื่นขึ้นเป็นนายกฯ ทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าความรุ่ม ร้อน ทางการเมืองมีหลายจุดที่อาจจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่เชื่อมั่นยังไม่ถึงขั้นแตกหัก เพราะคุณทักษิณเคยพูดว่า รัฐบาลเป็นของเรา น่าจะต้องช่วยกัน ทะนุถนอมไว้ให้เป็นรัฐบาลนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประคองรัฐบาลเพื่อรักษาอำนาจรัฐไว้ดีกว่า บางครั้งแม้ใจไม่อยากแตกหัก แต่การประเมินสถานการณ์ที่ย่ามใจเกินไป อาจทำบางเรื่องให้เป็นปัญหาขึ้นมา และเกิดอุบัติเหตุการเมืองให้เกิดความวุ่นวายสับสนไปใหญ่ วันนี้ สถานการณ์การเมืองจะถึงขั้นแตกหักหรือไม่ อยู่ที่รัฐบาลจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ร้อนๆได้หรือไม่ เช่น พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เมื่อเข้าไปแปรญัตติในชั้นคณะกรรมาธิการ ก็ต้อง รอมชอมกันว่าจะทยอยกู้และจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกฯ หากรัฐบาลแสดงความชัดเจน อย่างนี้สถานการณ์การเมืองก็จะเย็นลง “เรื่อง ที่สามการผลักดันออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะเป็นจุดเสี่ยงมากที่สุดทำให้สถานการณ์การเมืองร้อน มากกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง