การเมืองยุค'ออกก.ม.-ใช้เงินฟาด' : ขยายปมร้อน โดยสมถวิล เทพสวัสดิ์

แสดงความคิดเห็น

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอด 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มทวีความร้อนแรงใกล้เคียงกับความร้อนของอากาศ แม้ว่าการพิจารณา พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท กับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 3 ร่าง จะผ่านสภาไปแล้ว แต่ก็มีการยื่นเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบความไม่ชอบในการออกกฎหมายทั้งสอง ฉบับตามหลัง

และในเดือนเมษายนนี้ ยังมีเรื่องใหญ่ให้คนไทยต้องติดตามคือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกำหนดพิจารณา คดีกรณีกัมพูชายื่นคำขอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ในวันจันทร์ที่ 15-19 เมษายนนี้ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ถือเป็นการเพิ่มอุณหภูมิการเมืองให้ร้อนแรงมากยิ่งขึ้น

ยิ่งนับวันความหวังทำให้คนในสังคมไทยหันมาปรองดองสมานฉันท์ดูริบหรี่ และในเดือนเมษายนนี้ กระทรวงยุติธรรมจะเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ผู้ถูกคุมขังจาก เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี 2548-2553 ตามมติคณะรัฐมนตรี

ในเรื่องนี้ "นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาโดยการนำเงินไปจ่ายให้ผู้ได้รับผลกระทบหรือญาติ ผู้เสียชีวิต โดยที่ยังไม่ทำให้ความจริงปรากฏ ถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะบางคน เช่น ลูกสาวของ "เสธ.แดง" พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ ภรรยาของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ซึ่งทั้ง 2 คนเสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ทั้งลูกและภรรยาต้องการทราบข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้นกับพ่อและสามีของผู้ ที่เสียหาย

"การที่รัฐนำเงินมาจ่ายผู้เสียหายหรือครอบครัวของผู้เสียชีวิต ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องการเงิน บางคนแค่ต้องการรู้ว่า ความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร เพื่อไม่ให้สังคมมาละเมิดสิทธิ คนผิดต้องถูกควบคุมตัวและถูกลงโทษ ถ้าเขารู้ความจริงคืออะไร จากนั้นจึงจะสามารถตัดสินใจให้อภัยกันได้ ขั้นตอนสิทธิ นำไปสู่ความปรองดอง ไม่ใช่ออกกฎหมาย หรือใช้เงินฟาดหัวเพียงอย่างเดียว" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การจะจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองต้อง ดูเป็นกรณี ใครถูกละเมิดสิทธิ มีการประเมินการเยียวยาที่เหมาะสม ไม่ใช่มุ่งที่ 7.5 ล้านบาท ถือเป็นการทำงานที่รวบรัด หละหลวม หากจะทำจริงต้องเสนอเป็นกฎหมาย การจ่ายเงินเยียวยาจ่ายโดยยึดหลักการใด ต้องทำเป็นระบบ ต้องดูด้วยว่า ควรชดเชยเป็นเงินหรือไม่ จำนวนเท่าไร การจ่ายต้องจ่ายอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งส่วน เพราะอาจถูกมองว่าเลือกปฏิบัติ

"หมอนิรันดร์" ยอมรับว่า การที่รัฐบาลมุ่งเน้นการเยียวยาเป็นเงินในทางกลับกันอาจดูเหมือนเป็นการส่ง เสริมให้ประชาชนบางคนหรือบางกลุ่มอาศัยผลประโยชน์จากการชุมนุม โดยไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดกับผู้อื่น หรือไม่สนใจในประเด็นของการชุมนุมเป็นเรื่องหลัก

"สิทธิการชุมนุมประชาชนมีสิทธิชุมนุมโดยปราศจากอาวุธหลักมุมมองเป็นการส่ง เสริมการชุมนุม แต่รัฐก็ต้องเข้ามาควบคุมดูแล โดยต้องตรวจสอบดูว่า มาชุมนุมเรื่องอะไร ถ้าเดือดร้อนจริงก็ต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ บางครั้งเป็นความผิดพลาดของรัฐ ที่จัดการไม่ถูกต้อง เช่น กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าจัดการถูก ไม่ใช้สิทธิกระทำการรุนแรงเกินเลยทำให้ปัญหาบานปลาย และถ้าเป็นการชุมนุมทางการเมือง ถ้ารู้มีการจ้างมาชุมนุม รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลให้สังคมรู้และใช้วิธีการเมืองจัดการ"

"หมอนิรันดร์" ฟันธงว่า ตราบใดถ้ารัฐยังทำงานโดยไม่ใช้วิธีการ เป้าหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนให้เดินไปพร้อมด้วยกันความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย ไม่เกิด และไม่มีวันประสบความสำเร็จ

"รัฐและสังคมไม่ทำงานเป็นระบบยึดหลักสิทธิเสรีภาพ ที่ผ่านมาเลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่ม หรือแต่ละจุดเท่านั้น โดยไม่คิดไม่ทำความเข้าใจในการเข้าไปแก้ไขปัญหาหรือเข้าไปดูแลในเชิงระบบ เป็นการแยกส่วนทำ" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว

ระยะหลังการเมืองเริ่มทวีความรุนแรง ทำให้ประชาชนที่เข้าร่วมอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองได้รับผลกระทบบาด เจ็บและเสียชีวิต "รัฐบาล" โดยมติคณะรัฐมนตรีแก้ปัญหาโดยการใช้เงินเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

"ผมมองว่า การเรียนรู้ของภาคประชาชนบางครั้งประชาชนถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อไปละเมิด สิทธิผู้อื่น มีการนำความเท็จมาพูด ระยะหลังการชุมนุมเป็นการระดมคน การใช้ความรุนแรงทางวาจา เพราะไม่มีการจัดการอย่างตรงไปตรงมา ทั้งที่รัฐธรรมนูญระบุให้ชุมนุมอย่างสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ การชุมนุมมีอะไรแอบแฝง จึงเกิดปัญหาการชุมนุมทางการเมือง ถ้ามีผู้เสียชีวิตจะเสียงดังมากกว่า เพราะอยู่ในกระแส ขณะที่ประชาชนถูกฆ่าตายจากปัญหาบ่อขยะกลับไม่มีใครพูดถึงหรือไปทวงสิทธิให้ เขาเหล่านั้น" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า

"หมอนิรันดร์" กล่าวว่า ไม่ว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์หรือรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ไม่ได้นำรายงานค้นหาความจริง เหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง และข้อเสนอแนะเพื่อการปรองดองของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีอาจารย์คณิต ณ นคร เป็นประธาน มาใช้ ทำให้การปรองดองไม่เกิด ทั้งที่การค้นหาความจริงเป็นหัวใจนำไปสู่ความปรองดอง การแก้ปัญหาของรัฐแบบที่ผ่านมา นอกจากไม่เกิดความปรองดองแล้ว การเลือกแก้ไขปัญหาคนเฉพาะกลุ่ม จะทำให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นอีก เมื่อนั้นทุกฝ่ายจะเห็นและเข้าใจ

การที่มีพรรคการเมืองพยายามออกกฎหมายปรองดอง หรือนิรโทษกรรม "หมอนิรันดร์" มองว่า ความปรองดองสมานฉันท์ ความจริงไม่ได้อยู่ที่การออกเป็นกฎหมาย อยู่ที่ทำความจริงให้ปรากฏ ปัญหาเกิดจากนักการเมืองสนใจเฉพาะเป้าหมายและวิธีการเท่านั้น ถ้าสังคมต้องการปรองดองสมานฉันท์ วิธีการปฏิบัติต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน ต้องช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ที่เข้ามาร้องเรียนอย่างเท่าเทียม กัน

"การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่เลือกช่วยเหลือเฉพาะฐานการเมืองของ ตัวเอง ต้องช่วยเหลือกลุ่มอื่นด้วย เช่น กรณีคนเสื้อแดงและเสื้อเหลืองมาร้องก็ต้องช่วยทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ช่วยเหลือเฉพาะฐานคะแนนของตัวเอง หรือช่วยเหลือเฉพาะแกนนำ ส่วนประชาชนปล่อยให้ติดคุก หรือกรณีปัญหาในภาคใต้ การทำงานต้องยึดหลักความถูกต้องยุติธรรม" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวปิดท้าย

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130408/155706/การเมืองยุคออกก.ม.ใช้เงินฟาด.html#.UWIzUDeWDFE

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 เม.ย. 56
วันที่โพสต์: 8/04/2556 เวลา 03:03:52

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอด 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มทวีความร้อนแรงใกล้เคียงกับความร้อนของอากาศ แม้ว่าการพิจารณา พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท กับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 3 ร่าง จะผ่านสภาไปแล้ว แต่ก็มีการยื่นเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบความไม่ชอบในการออกกฎหมายทั้งสอง ฉบับตามหลัง และในเดือนเมษายนนี้ ยังมีเรื่องใหญ่ให้คนไทยต้องติดตามคือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกำหนดพิจารณา คดีกรณีกัมพูชายื่นคำขอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ในวันจันทร์ที่ 15-19 เมษายนนี้ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือเป็นการเพิ่มอุณหภูมิการเมืองให้ร้อนแรงมากยิ่งขึ้น ยิ่งนับวันความหวังทำให้คนในสังคมไทยหันมาปรองดองสมานฉันท์ดูริบหรี่ และในเดือนเมษายนนี้ กระทรวงยุติธรรมจะเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ผู้ถูกคุมขังจาก เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี 2548-2553 ตามมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องนี้ "นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาโดยการนำเงินไปจ่ายให้ผู้ได้รับผลกระทบหรือญาติ ผู้เสียชีวิต โดยที่ยังไม่ทำให้ความจริงปรากฏ ถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะบางคน เช่น ลูกสาวของ "เสธ.แดง" พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ ภรรยาของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ซึ่งทั้ง 2 คนเสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ทั้งลูกและภรรยาต้องการทราบข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้นกับพ่อและสามีของผู้ ที่เสียหาย "การที่รัฐนำเงินมาจ่ายผู้เสียหายหรือครอบครัวของผู้เสียชีวิต ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องการเงิน บางคนแค่ต้องการรู้ว่า ความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร เพื่อไม่ให้สังคมมาละเมิดสิทธิ คนผิดต้องถูกควบคุมตัวและถูกลงโทษ ถ้าเขารู้ความจริงคืออะไร จากนั้นจึงจะสามารถตัดสินใจให้อภัยกันได้ ขั้นตอนสิทธิ นำไปสู่ความปรองดอง ไม่ใช่ออกกฎหมาย หรือใช้เงินฟาดหัวเพียงอย่างเดียว" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การจะจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองต้อง ดูเป็นกรณี ใครถูกละเมิดสิทธิ มีการประเมินการเยียวยาที่เหมาะสม ไม่ใช่มุ่งที่ 7.5 ล้านบาท ถือเป็นการทำงานที่รวบรัด หละหลวม หากจะทำจริงต้องเสนอเป็นกฎหมาย การจ่ายเงินเยียวยาจ่ายโดยยึดหลักการใด ต้องทำเป็นระบบ ต้องดูด้วยว่า ควรชดเชยเป็นเงินหรือไม่ จำนวนเท่าไร การจ่ายต้องจ่ายอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งส่วน เพราะอาจถูกมองว่าเลือกปฏิบัติ "หมอนิรันดร์" ยอมรับว่า การที่รัฐบาลมุ่งเน้นการเยียวยาเป็นเงินในทางกลับกันอาจดูเหมือนเป็นการส่ง เสริมให้ประชาชนบางคนหรือบางกลุ่มอาศัยผลประโยชน์จากการชุมนุม โดยไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดกับผู้อื่น หรือไม่สนใจในประเด็นของการชุมนุมเป็นเรื่องหลัก "สิทธิการชุมนุมประชาชนมีสิทธิชุมนุมโดยปราศจากอาวุธหลักมุมมองเป็นการส่ง เสริมการชุมนุม แต่รัฐก็ต้องเข้ามาควบคุมดูแล โดยต้องตรวจสอบดูว่า มาชุมนุมเรื่องอะไร ถ้าเดือดร้อนจริงก็ต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ บางครั้งเป็นความผิดพลาดของรัฐ ที่จัดการไม่ถูกต้อง เช่น กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าจัดการถูก ไม่ใช้สิทธิกระทำการรุนแรงเกินเลยทำให้ปัญหาบานปลาย และถ้าเป็นการชุมนุมทางการเมือง ถ้ารู้มีการจ้างมาชุมนุม รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลให้สังคมรู้และใช้วิธีการเมืองจัดการ" "หมอนิรันดร์" ฟันธงว่า ตราบใดถ้ารัฐยังทำงานโดยไม่ใช้วิธีการ เป้าหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนให้เดินไปพร้อมด้วยกันความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย ไม่เกิด และไม่มีวันประสบความสำเร็จ "รัฐและสังคมไม่ทำงานเป็นระบบยึดหลักสิทธิเสรีภาพ ที่ผ่านมาเลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่ม หรือแต่ละจุดเท่านั้น โดยไม่คิดไม่ทำความเข้าใจในการเข้าไปแก้ไขปัญหาหรือเข้าไปดูแลในเชิงระบบ เป็นการแยกส่วนทำ" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว ระยะหลังการเมืองเริ่มทวีความรุนแรง ทำให้ประชาชนที่เข้าร่วมอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองได้รับผลกระทบบาด เจ็บและเสียชีวิต "รัฐบาล" โดยมติคณะรัฐมนตรีแก้ปัญหาโดยการใช้เงินเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ "ผมมองว่า การเรียนรู้ของภาคประชาชนบางครั้งประชาชนถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อไปละเมิด สิทธิผู้อื่น มีการนำความเท็จมาพูด ระยะหลังการชุมนุมเป็นการระดมคน การใช้ความรุนแรงทางวาจา เพราะไม่มีการจัดการอย่างตรงไปตรงมา ทั้งที่รัฐธรรมนูญระบุให้ชุมนุมอย่างสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ การชุมนุมมีอะไรแอบแฝง จึงเกิดปัญหาการชุมนุมทางการเมือง ถ้ามีผู้เสียชีวิตจะเสียงดังมากกว่า เพราะอยู่ในกระแส ขณะที่ประชาชนถูกฆ่าตายจากปัญหาบ่อขยะกลับไม่มีใครพูดถึงหรือไปทวงสิทธิให้ เขาเหล่านั้น" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า "หมอนิรันดร์" กล่าวว่า ไม่ว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์หรือรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ไม่ได้นำรายงานค้นหาความจริง เหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง และข้อเสนอแนะเพื่อการปรองดองของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีอาจารย์คณิต ณ นคร เป็นประธาน มาใช้ ทำให้การปรองดองไม่เกิด ทั้งที่การค้นหาความจริงเป็นหัวใจนำไปสู่ความปรองดอง การแก้ปัญหาของรัฐแบบที่ผ่านมา นอกจากไม่เกิดความปรองดองแล้ว การเลือกแก้ไขปัญหาคนเฉพาะกลุ่ม จะทำให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นอีก เมื่อนั้นทุกฝ่ายจะเห็นและเข้าใจ การที่มีพรรคการเมืองพยายามออกกฎหมายปรองดอง หรือนิรโทษกรรม "หมอนิรันดร์" มองว่า ความปรองดองสมานฉันท์ ความจริงไม่ได้อยู่ที่การออกเป็นกฎหมาย อยู่ที่ทำความจริงให้ปรากฏ ปัญหาเกิดจากนักการเมืองสนใจเฉพาะเป้าหมายและวิธีการเท่านั้น ถ้าสังคมต้องการปรองดองสมานฉันท์ วิธีการปฏิบัติต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน ต้องช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ที่เข้ามาร้องเรียนอย่างเท่าเทียม กัน "การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่เลือกช่วยเหลือเฉพาะฐานการเมืองของ ตัวเอง ต้องช่วยเหลือกลุ่มอื่นด้วย เช่น กรณีคนเสื้อแดงและเสื้อเหลืองมาร้องก็ต้องช่วยทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ช่วยเหลือเฉพาะฐานคะแนนของตัวเอง หรือช่วยเหลือเฉพาะแกนนำ ส่วนประชาชนปล่อยให้ติดคุก หรือกรณีปัญหาในภาคใต้ การทำงานต้องยึดหลักความถูกต้องยุติธรรม" กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวปิดท้าย ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130408/155706/การเมืองยุคออกก.ม.ใช้เงินฟาด.html#.UWIzUDeWDFE

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง