การเมืองไทย ฉบับรีเมค (สกู๊ป)

แสดงความคิดเห็น

กระแสสังคมไทยที่มาแรงที่สุดใน ตอนคงหนีไม่พ้น ”การรีเมค” นำของเก่ามาเล่าใหม่ ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่อาจจะพบจากหนัง ละคร เพลง ที่มีให้เห็นอย่างชัดเจน ล่าสุดกับ 2 ภาพยนตร์ดังที่สร้างจากตำนานและนวนิยายในใจคนไทย พี่มากพระโขนงที่เดินหน้าทำรายได้สู่ 200ล้าน และ คู่กรรม ที่เพิ่งเริ่มฉายในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ละครไทยก็หยิบของเก่ามาปัดฝุ่นจนจะเรียกได้ว่าบทประพันธ์ช้ำแล้ว ช้ำอีก ทั้งคู่กรรมฉบับบี้-หนูนา,พรพรหมอลเวง,อาญารักและอีกมากมายที่มีแผนว่าจะนำ มารีเมคใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวงการ บันเทิงมาอย่างยาวนาน

หากมองสังเกตให้ดีการรีเมคไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับวงการบันเทิงเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเมืองไทย เราจะมองเห็นวัฏจักรเดิมวนเวียนอยู่มาอย่างซ้ำๆเพียงแต่เห็นในรูปแบบที่ปรับ เปลี่ยนไปเล็กน้อยเท่านั้น เช่น การเปลี่ยนร้านโชว์ห่วยเป็นร้านโชว์สวยเพื่อปรับปรุงมาตรฐานร้านค้า ปลีก,นโยบายรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่มีทีท่าว่าจะผลักดันมาหลายรัฐบาล จนขณะนี้ก็ยังไม่เห็นจะมีวี่แววของการพัฒนาระบบรางในไทย,นโยบายแก้ไขปัญหารถ ติดที่แก้ไขไม่ได้จริงและการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนที่ทุกวันนี้เรายังเห็น ปลากระป๋องวิ่งอยู่บนถนน

นโยบายต่างๆเหล่านี้ถูกนำมาหาเสียงซ้ำแล้วซ้ำอีก เปลี่ยนแค่ชื่อให้สวยหรูแต่สุดท้ายทุกนโยบายก็เหมือนกันหมดคือยังไม่ถูกทำ ให้เป็นจริง แม้จะมีการลงมือทำแล้วแต่ก็เหมือนกลับว่าทำให้เสร็จๆไป ซึ่งทำให้เราต้องหันกลับมาตั้งคำถามว่า นโยบายที่ผ่านมาได้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนไทยได้จริงหรือ ?

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีข่าวแก้ไขปรับนิดเพิ่มรายละเอียดเล็กน้อยก็กลายเป็นของใหม่ที่ไม่ต่าง อะไรจากการรีเมค โดยในปีนี้สภาเตรียมจะรีเมคกันรายมาตราทั้งที่มีผู้คัดค้านว่าริดรอนสิทธิ ประชาชนแต่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญก็ผ่านมติสภาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้คำโปรยได้อย่างน่าสนใจว่า “แก้ไขเพื่อประชาชน” ซึ่งถ้ามองลงลึกรายมาตราก็จะเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอื้อประโยชน์ต่อนักการเมืองมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่

ทั้งนี้ยังไม่รวมประเด็นผลักดันร่างพรบ.นิรโทษกรรม หนังม้วนยาวที่เล่าเท่าไหร่ก็ยังไม่จบเพราะหลายฝ่ายยังตีกันไม่เลิก เมื่อมีกระแสข่าวว่าจะเดินหน้าเมื่อไหร่ก็จะต้องหยุดลงเพราะดันไปเพิ่ม อุณหภูมิไฟการเมืองให้ร้อนระอุยิ่งกว่ากว่าอากาศในเดือนเมษายน แม้จะมีการพยายามพูดคุยโดยการเชิญหลายฝ่ายมาร่วมเจรจาหาทางออกแต่ก็ดูเหมือน ไม่เป็นผลและยังคงมีทีท่าว่าหนังม้วนยาวฉบับนี้คงไม่จบกันง่ายๆ

เรื่องเก่าเล่าใหม่ซ้ำไปซ้ำมา รีเมคกันอีกกี่รอบคนไทยก็ยังไม่เบื่อ เพราะการเมืองไทยน้ำเน่าได้ยิ่งกว่าละครหลังข่าว ตัวละครฝ่ายการเมืองที่เปรียบเป็นดาวเด่นหากมีการมอบรางวัลคงจะต้องมอบนัก แสดงนำหญิง-นำชาย ให้นายกฯยิ่งลักษณ์กับนายอภิสิทธิ์ ส่วนรางวัลนักแสดงสมทบยอดเยี่ยมคงต้องมอบให้กับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ขยันออกสื่อไม่เว้นวัน ซึ่งก็มีหลายฝ่ายจับตาดูว่าเมื่อไหร่ท่านเฉลิมจะลงไปกำกับไฟใต้สักที และควรมอบรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมให้กับคนไกลที่คิดถึงบ้าน ถึงแม้จะไม่อยู่ในประเทศไทยก็สามารถกำกับจนทำให้ละครเรื่องเงินกู้2ล้านล้าน ผ่านสภาได้อย่างฉลุย

สุดท้ายตอนอวสานของการเมืองไทย ฉบับรีเมคจะเป็นอย่างไร คงไม่มีใครจะคาดคิดได้เพราะอะไรก็ตามที่รีเมคใหม่อาจจะกลับมาทำซ้ำแบบเหนือ ความคาดหมายก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าเค้าโครงเดิมของการรีเมคยังสามารถเป็นแนวทางให้ เราศึกษาและเรียนรู้ความผิดพลาดจากการเมืองไทยได้อยู่เสมอ หากเราจดจำและตระหนักได้ว่าที่ผ่านมาเราเคยผ่านบทเรียนอะไรกันมาแล้วบ้าง?

ขอบคุณ http://news.mthai.com/hot-news/227357.html

ที่มา: MThai Newsออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 5/04/2556 เวลา 04:19:02

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กระแสสังคมไทยที่มาแรงที่สุดใน ตอนคงหนีไม่พ้น ”การรีเมค” นำของเก่ามาเล่าใหม่ ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่อาจจะพบจากหนัง ละคร เพลง ที่มีให้เห็นอย่างชัดเจน ล่าสุดกับ 2 ภาพยนตร์ดังที่สร้างจากตำนานและนวนิยายในใจคนไทย พี่มากพระโขนงที่เดินหน้าทำรายได้สู่ 200ล้าน และ คู่กรรม ที่เพิ่งเริ่มฉายในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ละครไทยก็หยิบของเก่ามาปัดฝุ่นจนจะเรียกได้ว่าบทประพันธ์ช้ำแล้ว ช้ำอีก ทั้งคู่กรรมฉบับบี้-หนูนา,พรพรหมอลเวง,อาญารักและอีกมากมายที่มีแผนว่าจะนำ มารีเมคใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวงการ บันเทิงมาอย่างยาวนาน หากมองสังเกตให้ดีการรีเมคไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับวงการบันเทิงเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเมืองไทย เราจะมองเห็นวัฏจักรเดิมวนเวียนอยู่มาอย่างซ้ำๆเพียงแต่เห็นในรูปแบบที่ปรับ เปลี่ยนไปเล็กน้อยเท่านั้น เช่น การเปลี่ยนร้านโชว์ห่วยเป็นร้านโชว์สวยเพื่อปรับปรุงมาตรฐานร้านค้า ปลีก,นโยบายรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่มีทีท่าว่าจะผลักดันมาหลายรัฐบาล จนขณะนี้ก็ยังไม่เห็นจะมีวี่แววของการพัฒนาระบบรางในไทย,นโยบายแก้ไขปัญหารถ ติดที่แก้ไขไม่ได้จริงและการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนที่ทุกวันนี้เรายังเห็น ปลากระป๋องวิ่งอยู่บนถนน นโยบายต่างๆเหล่านี้ถูกนำมาหาเสียงซ้ำแล้วซ้ำอีก เปลี่ยนแค่ชื่อให้สวยหรูแต่สุดท้ายทุกนโยบายก็เหมือนกันหมดคือยังไม่ถูกทำ ให้เป็นจริง แม้จะมีการลงมือทำแล้วแต่ก็เหมือนกลับว่าทำให้เสร็จๆไป ซึ่งทำให้เราต้องหันกลับมาตั้งคำถามว่า นโยบายที่ผ่านมาได้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนไทยได้จริงหรือ ? ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีข่าวแก้ไขปรับนิดเพิ่มรายละเอียดเล็กน้อยก็กลายเป็นของใหม่ที่ไม่ต่าง อะไรจากการรีเมค โดยในปีนี้สภาเตรียมจะรีเมคกันรายมาตราทั้งที่มีผู้คัดค้านว่าริดรอนสิทธิ ประชาชนแต่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญก็ผ่านมติสภาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้คำโปรยได้อย่างน่าสนใจว่า “แก้ไขเพื่อประชาชน” ซึ่งถ้ามองลงลึกรายมาตราก็จะเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอื้อประโยชน์ต่อนักการเมืองมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ยังไม่รวมประเด็นผลักดันร่างพรบ.นิรโทษกรรม หนังม้วนยาวที่เล่าเท่าไหร่ก็ยังไม่จบเพราะหลายฝ่ายยังตีกันไม่เลิก เมื่อมีกระแสข่าวว่าจะเดินหน้าเมื่อไหร่ก็จะต้องหยุดลงเพราะดันไปเพิ่ม อุณหภูมิไฟการเมืองให้ร้อนระอุยิ่งกว่ากว่าอากาศในเดือนเมษายน แม้จะมีการพยายามพูดคุยโดยการเชิญหลายฝ่ายมาร่วมเจรจาหาทางออกแต่ก็ดูเหมือน ไม่เป็นผลและยังคงมีทีท่าว่าหนังม้วนยาวฉบับนี้คงไม่จบกันง่ายๆ เรื่องเก่าเล่าใหม่ซ้ำไปซ้ำมา รีเมคกันอีกกี่รอบคนไทยก็ยังไม่เบื่อ เพราะการเมืองไทยน้ำเน่าได้ยิ่งกว่าละครหลังข่าว ตัวละครฝ่ายการเมืองที่เปรียบเป็นดาวเด่นหากมีการมอบรางวัลคงจะต้องมอบนัก แสดงนำหญิง-นำชาย ให้นายกฯยิ่งลักษณ์กับนายอภิสิทธิ์ ส่วนรางวัลนักแสดงสมทบยอดเยี่ยมคงต้องมอบให้กับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ขยันออกสื่อไม่เว้นวัน ซึ่งก็มีหลายฝ่ายจับตาดูว่าเมื่อไหร่ท่านเฉลิมจะลงไปกำกับไฟใต้สักที และควรมอบรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมให้กับคนไกลที่คิดถึงบ้าน ถึงแม้จะไม่อยู่ในประเทศไทยก็สามารถกำกับจนทำให้ละครเรื่องเงินกู้2ล้านล้าน ผ่านสภาได้อย่างฉลุย สุดท้ายตอนอวสานของการเมืองไทย ฉบับรีเมคจะเป็นอย่างไร คงไม่มีใครจะคาดคิดได้เพราะอะไรก็ตามที่รีเมคใหม่อาจจะกลับมาทำซ้ำแบบเหนือ ความคาดหมายก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าเค้าโครงเดิมของการรีเมคยังสามารถเป็นแนวทางให้ เราศึกษาและเรียนรู้ความผิดพลาดจากการเมืองไทยได้อยู่เสมอ หากเราจดจำและตระหนักได้ว่าที่ผ่านมาเราเคยผ่านบทเรียนอะไรกันมาแล้วบ้าง? ขอบคุณ http://news.mthai.com/hot-news/227357.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง