กลเกม การเมือง จาก เงินกู้ 2 ล้านล้าน ถึงรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

ไม่ว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา

ล้วนถูก "คัดค้าน" ล้วนถูก "ต่อต้าน"

น่าสนใจก็ตรงที่กระบวนการคัดค้านต่อต้านมาจากขบวนการที่แทบไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก

1 เป็นกลุ่ม 40 ส.ว.

1 เป็นกลุ่มอันเรียกตนเองว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือไม่ก็เรียกตนเองว่ากลุ่มชาวไทยหัวใจรักสงบ

และตามแห่โดยพลพรรคแห่ง "ประชาธิปัตย์"

แม้การคัดค้านและต่อต้านโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประสานเข้ากับกลุ่ม 40 ส.ว.เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้

เข้าใจได้เหมือนกับการแสดงออกของพรรคประชาธิปัตย์

กระนั้น การทำความเข้าใจถึงรากเหง้าและฐานที่มาของความสัมพันธ์ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่ม 40 ส.ว.และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็มีความจำเป็น

ยิ้มเห็นแก้ม แย้มเห็นไรฟัน

ถามว่าฐานที่มาอันเป็นรากเหง้าของกลุ่ม 40 ส.ว. ไม่ว่า นายประสาร มฤคพิทักษ์ ไม่ว่า นายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นอย่างไร

คนเหล่านี้สัมพันธ์กับขบวนการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

หลายคนดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างแนบแน่นกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

มีส่วนอย่างสำคัญในการปูทางสร้างเงื่อนไขให้กับกติกานอกระบบ

จึงไม่แปลกที่ส่วนใหญ่พวกเขาเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อันเป็นองคาพยพ 1 ของ คมช.

มีส่วนในการผลักดันรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

เมื่อ คมช.ล่มสลายผ่านเข้าสู่อำนาจรัฐตามกระบวนการการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550 พวกเขาก็ได้รับผลประโยชน์จากรัฐธรรมนูญแปรสภาพมาเป็น ส.ว.สรรหา

ผ่านกลไก "องค์กรอิสระ"

จึงไม่แปลกที่กลุ่ม 40 ส.ว.และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะจัดวางตำแหน่งตนเองอยู่ในฐานะผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ผู้ปกป้องผลพวงและความสำเร็จของรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549

บทบาทนี้ "เปลือย" ล่อนจ้อนกลางเมือง

บทบาทเปลือยล่อนจ้อนของกลุ่ม 40 ส.ว.และหรือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มิได้เป็นเรื่องแปลกในความรับรู้ของสังคม

แต่บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์กลับเป็นเรื่องแปลก

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยทำมาแล้วในเรื่องอันเกี่ยวกับกรรมวิธีการเลือกตั้งและรวมถึงมาตรา 190

กลุ่ม 40 ส.ว.ไม่เคยคัดค้านว่าขัดต่อมาตรา 122

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็มิได้ปลุกระดมและเรียกร้องการชุมนุมของมวลชนแต่อย่างใด

การออกกฎหมายกู้เงินรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยทำในกรณีไทยเข้มแข็ง

ทั้งยังเป็นการออกกฎหมายโดยผ่านกระบวนการพระราชกำหนดขณะที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตราผ่านพระราชบัญญัติด้วยซ้ำไป

แต่การคัดค้านและต่อต้านก็ยังดำรงอยู่

เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ลืมเสียแล้วว่าเคยทำอย่างไรเมื่อครั้งเป็นรัฐบาล เหมือนกับกลุ่ม 40 ส.ว.แสร้งเพิกเฉยเมื่อครั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เหมือนกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่รู้ร้อนรู้หนาวในยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ล้วนสะท้อนลักษณะ 2 มาตรฐาน

ความขัดแย้งอันปะทุจากรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ยังดำรงคงอยู่และทวีความแหลมคม

เป็นความแหลมคนอันแยกฝ่าย แบ่งขั้ว ออกมาให้สังคมได้พิจารณาอย่างเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของพรรคประชาธิปัตย์

คำว่า "ปรองดอง" จึงเสมอเป็นเพียง "น้ำยาบ้วนปาก"

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364011071&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 24/03/2556 เวลา 02:52:05

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ไม่ว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ล้วนถูก "คัดค้าน" ล้วนถูก "ต่อต้าน" น่าสนใจก็ตรงที่กระบวนการคัดค้านต่อต้านมาจากขบวนการที่แทบไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก 1 เป็นกลุ่ม 40 ส.ว. 1 เป็นกลุ่มอันเรียกตนเองว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือไม่ก็เรียกตนเองว่ากลุ่มชาวไทยหัวใจรักสงบ และตามแห่โดยพลพรรคแห่ง "ประชาธิปัตย์" แม้การคัดค้านและต่อต้านโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประสานเข้ากับกลุ่ม 40 ส.ว.เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ เข้าใจได้เหมือนกับการแสดงออกของพรรคประชาธิปัตย์ กระนั้น การทำความเข้าใจถึงรากเหง้าและฐานที่มาของความสัมพันธ์ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่ม 40 ส.ว.และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็มีความจำเป็น ยิ้มเห็นแก้ม แย้มเห็นไรฟัน ถามว่าฐานที่มาอันเป็นรากเหง้าของกลุ่ม 40 ส.ว. ไม่ว่า นายประสาร มฤคพิทักษ์ ไม่ว่า นายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นอย่างไร คนเหล่านี้สัมพันธ์กับขบวนการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 หลายคนดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างแนบแน่นกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีส่วนอย่างสำคัญในการปูทางสร้างเงื่อนไขให้กับกติกานอกระบบ จึงไม่แปลกที่ส่วนใหญ่พวกเขาเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อันเป็นองคาพยพ 1 ของ คมช. มีส่วนในการผลักดันรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เมื่อ คมช.ล่มสลายผ่านเข้าสู่อำนาจรัฐตามกระบวนการการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550 พวกเขาก็ได้รับผลประโยชน์จากรัฐธรรมนูญแปรสภาพมาเป็น ส.ว.สรรหา ผ่านกลไก "องค์กรอิสระ" จึงไม่แปลกที่กลุ่ม 40 ส.ว.และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะจัดวางตำแหน่งตนเองอยู่ในฐานะผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ผู้ปกป้องผลพวงและความสำเร็จของรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 บทบาทนี้ "เปลือย" ล่อนจ้อนกลางเมือง บทบาทเปลือยล่อนจ้อนของกลุ่ม 40 ส.ว.และหรือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มิได้เป็นเรื่องแปลกในความรับรู้ของสังคม แต่บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์กลับเป็นเรื่องแปลก การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยทำมาแล้วในเรื่องอันเกี่ยวกับกรรมวิธีการเลือกตั้งและรวมถึงมาตรา 190 กลุ่ม 40 ส.ว.ไม่เคยคัดค้านว่าขัดต่อมาตรา 122 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็มิได้ปลุกระดมและเรียกร้องการชุมนุมของมวลชนแต่อย่างใด การออกกฎหมายกู้เงินรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยทำในกรณีไทยเข้มแข็ง ทั้งยังเป็นการออกกฎหมายโดยผ่านกระบวนการพระราชกำหนดขณะที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตราผ่านพระราชบัญญัติด้วยซ้ำไป แต่การคัดค้านและต่อต้านก็ยังดำรงอยู่ เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ลืมเสียแล้วว่าเคยทำอย่างไรเมื่อครั้งเป็นรัฐบาล เหมือนกับกลุ่ม 40 ส.ว.แสร้งเพิกเฉยเมื่อครั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เหมือนกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่รู้ร้อนรู้หนาวในยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ล้วนสะท้อนลักษณะ 2 มาตรฐาน ความขัดแย้งอันปะทุจากรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ยังดำรงคงอยู่และทวีความแหลมคม เป็นความแหลมคนอันแยกฝ่าย แบ่งขั้ว ออกมาให้สังคมได้พิจารณาอย่างเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของพรรคประชาธิปัตย์ คำว่า "ปรองดอง" จึงเสมอเป็นเพียง "น้ำยาบ้วนปาก" ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364011071&grpid=01&catid=&subcatid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง