วัดปรอทปมร้อนการเมืองเมษายน

แสดงความคิดเห็น

คําเตือนของ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ที่ให้รัฐบาลชะลอเรื่อง "นิรโทษกรรม"

ประเมินว่าประเด็นดังกล่าว เชื่อมโยงการเคลื่อนไหวเรื่องเขาพระวิหาร จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองช่วงเม.ย.ปะทุ

ทำให้เกิดคำถามว่า เม.ย.ปีนี้ การเมืองไทยจะร้อนแรงซ้ำอีกหรือ

สมบัติ บุญงามอนงค์ บ.ก.ลายจุด

การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองเดือนเม.ย. จะร้อนแรงขึ้นนั้น เท่าที่มองคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่อีกฝ่ายซึ่งมีมวลชนในสังกัดจะเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อพยายามรุกไล่

แต่ยังไม่เห็นว่าฝ่ายดังกล่าวมีกำลังมากมายอะไร และยังมองไม่เห็นว่าจะมีเงื่อนไขอะไรที่จะนำไปสู่สถาน การณ์ความรุนแรง

แต่ถ้ารัฐบาลพยายามถอยไปเรื่อยๆ ในกรณีของกฎหมายนิรโทษกรรม ที่สุดจะไม่ไหวหากต้องถอยทุกครั้ง เพราะอย่าลืมว่ายังมีมวลชนที่สนับสนุนการนิรโทษกรรม

ถามว่ากฎหมายนิรโทษกรรมและกฎหมายปรองดองจะเป็นชนวนความขัดแย้งที่จะปะทุในเดือนเม.ย. หรือไม่ ผมคิดว่าถ้าดูเฉพาะกฎหมายนิรโทษกรรมไม่อยู่ในเงื่อน ไขที่จะเกิดความรุนแรงได้

แต่ถ้าเป็นกฎหมายปรองดองก็อาจลำบากหน่อย เนื่องจากครอบคลุมคนที่จะได้รับผลประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก

ฉะนั้น ถ้าทำในส่วนที่จะนิรโทษกรรมให้เฉพาะประชาชน จะทำให้การพูดคุยง่ายขึ้น และเงื่อนไขก็ไม่พอให้แรงกดดันจากภายนอกหนักหน่วงขนาดนั้น

ส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลต้องแลกว่าถ้ารัฐบาลไม่เคลื่อนในเรื่องนี้ก็จะได้รับแรงกดดันจากคนเสื้อแดง และรัฐบาลต้องเจอกับม็อบคนเสื้อแดง

ที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนเสื้อแดง ส่งสัญญาณถึงความชัดเจนเรื่องกระบวนการนิรโทษกรรมหลังการปิดสมัยประชุมสภานั้น เรื่องนิรโทษกรรมเป็นสิ่งนี้ที่รัฐบาลรับปากว่าจะทำ จึงได้รับโอกาสเข้ามาเป็นรัฐบาล เพื่อให้เข้ามาทำหน้าที่ที่คิดว่าเป็นเงื่อนไขที่น้อยที่สุด ต่ำที่สุดแล้ว

แน่นอนว่าหากรัฐบาลมีท่วง ทำนองที่ไม่ตอบสนองต่อสิ่งนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่เปราะบางและ อาจทำให้รัฐบาลเสียมวลชนที่สนับสนุนอยู่ รัฐบาลต้องระวังว่าถ้าเสียมวลชนแล้วจะถอนกลับคืนได้ยาก เพราะความรู้สึกมันกลับมายาก

ช่วงเวลาที่ควรดำเนินการเรื่องนี้คือระหว่างการประชุมสภาสมัยนี้ เพราะถ้าปิดสมัยประชุมนี้ไปโดยที่รัฐบาลไม่มีความเคลื่อนไหว หรือมีความชัดเจน รัฐบาลก็ต้องออกมาชี้แจงว่าเพราะอะไรถึงยังไม่ดำเนินการ

และจะถูกมวลชนถล่มจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นม็อบหรือไม่เป็นม็อบก็แล้วแต่ ประชาชนจะเริ่มต้นวิจารณ์รัฐบาลมากขึ้น แต่ถ้าทำแล้วไม่สำเร็จก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะยังคงได้ใจประชาชนอยู่ แต่ถ้าไม่ทำแล้วถอยรูดไปเรื่อยๆ จะทำให้รัฐบาลลำบาก

กฎหมายนิรโทษกรรมและกฎหมายปรองดองต้องค่อยๆ เดินหน้า แต่ต้องรีบทำ โดยทำเฉพาะในส่วนของคนที่ขัดแย้งน้อยที่สุดก่อน เช่น นิรโทษกรรมเฉพาะส่วนของมวล ชนก่อน โดยนำร่างกฎหมายเข้ามาปรึกษาหารือ หาวิธี กระบวนการ หาแนวทางนิรโทษ

สำหรับคดีเขาพระวิหารที่กระทรวงการต่างประเทศจะแถลงด้วยวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย. อย่างไรกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็ต้องออกมาอยู่เเล้ว เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน

แต่ม็อบพันธมิตรจะทำให้สถาน การณ์ร้อนระอุหรือไม่นั้น ไม่รู้ว่าพันธมิตรจะทำได้เท่ากับม็อบของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ของพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้าย หรือไม่

ต้องดูว่าทำได้เหมือนหรือทำได้มากกว่าม็อบเสธ.อ้าย ต้องประเมิน ถ้าคิดว่าทำได้เท่าหรือทำได้ต่ำกว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่อย่างไรม็อบก็มีอยู่เเล้ว ม็อบที่ไม่พอใจสถานีไทยพีบีเอสที่มีประมาณ 20-30 คน ก็เรียกว่าม็อบ

ทางออกของความขัดแย้งคือคุยกันในจุดที่ขัดแย้งน้อยที่สุด ด้วยการเปิดใจคุยกัน ให้คนที่เกี่ยวข้องมาพูดออกทีวีรายการสด 2-3 ชั่วโมง

รัฐบาลต้องดำเนินการในเรื่องนี้เลย จำเป็นต้องคุย เพราะมีประเด็นขัดแย้งที่ต้องคุย

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

ผมคิดว่าไม่ควรจะมีอะไรเกิดขึ้นและไม่น่าจะมีปัญหา การพิจารณากฎหมายของสภาเป็นไปตามกลไกของประชาธิปไตย ความเห็นไม่ตรงกันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่เห็นว่าจะวิกฤตตรงไหน

แต่ผมกลับคิดว่าหากไม่เดินหน้าเรื่องนิรโทษแล้วจะปล่อยให้พี่น้องอยู่ในคุกต่อไปหรือ คนที่ติดคุกคือผู้บริสุทธิ์ การเมืองจะมาต่อรองกันแล้วปล่อยเขาอยู่ในคุกมันไม่ถูก

เรื่องนิรโทษกรรมควรทำเสร็จตั้งนานแล้ว วันนี้ต้องทำเลย รัฐบาลบริหารประเทศมาจะ 20 เดือนแล้ว แต่พี่น้องส่วนหนึ่งที่บริสุทธิ์ยังอยู่ในคุก ที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผลักดันให้เกิดความชัดเจนในสมัยประชุมนี้นั้น ถูกต้องแล้ว

ถ้ารัฐบาลไม่ทำก็จะเสื่อมในระยะยาว และจะบอกกับเสื้อแดงและประชาชนที่สนับสนุนอย่างไร

กรณีเขาวิหารรัฐบาลก็ไม่ได้เกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ พันธมิตรปั่นกระแสนี้มากี่ปีไม่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์กับใคร มีแต่สร้างความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน

รัฐบาลอย่าไปสนใจ แต่ต้องเดินหน้าทำตามระบอบประชาธิปไตย ทำตามกฎหมายที่ถูกต้อง เดินหน้าสู่การเป็นภาคีอาเซียน พัฒนาเศรษฐกิจ

สถานการณ์เดือนเม.ย. จะแรงไม่ได้ ตามประวัติศาสตร์ความรุนแรงในอดีตเกิดจากรัฐทั้งสิ้น รวมถึงการกวาดล้างประชาชนครั้งใหญ่ปี 53 ก็เกิดจากรัฐ กรณี 6 ตุลา ที่มีกลุ่มกระทิงแดงต่างๆ รัฐก็สนับสนุน ถ้ารัฐไม่สนับสนุนย่อมทำไม่ได้ อย่างมากก็แค่ช่างกลตีกัน

และไม่ต้องกลัวว่าหากมีความรุนแรงจะส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล ตรงกันข้าม เขายิ่งทำรุนแรงรัฐบาลก็ยิ่งชอบธรรม จึงไม่เห็นว่าจะมีอะไรเป็นชนวนที่ทำให้เม.ย.ปะทุ เพราะทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกิดอยู่แล้ว รู้อยู่แล้ว ทำอยู่แล้ว

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหลายอย่างได้ดี แต่กล้าในการดำเนินนโยบายน้อยกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ จึงต้องเอาความกล้าอย่างรัฐบาลก่อนมาใช้

เรื่องที่ถูกต้องชอบธรรมถ้ามัวเงื้อง่าราคาแพง จะทำลายความชอบธรรมของตัวเอง เพราะจะถูกมองว่าอ่อนแอ

ชาติวัฒน์ ชาติกรกุล อดีตหน.หลักสูตรผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต

ทั้งพ.ร.บ.ปรองดอง พ.ร.บ.นิรโทษ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการเปลี่ยนตัวนายกฯ เป็นเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความรุนแรงทั้งสิ้น

ฝั่งตรงข้ามทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตร ก็พร้อมก่อหวอด ยืนกรานว่าฉันไม่เอาและพร้อมนำคนออกมาทะเลาะเบาะแว้งด้วย

ขณะที่พรรคเพื่อไทยก็ประเมินสถานการณ์ตลอดเวลาถึงโอกาส แพ้-ชนะ จึงเห็นได้ว่ามีการเลื่อนการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการนิรโทษกรรมมาเรื่อยๆ

แต่การเลื่อนก็มีลิมิตว่าไม่อยากให้นานกว่านี้ ดังนั้น การออกมาประเมินสถานการณ์ในความเป็นจริงตอนนี้อาจถูกสั่งให้พูดก็ได้ เพื่อเช็กกระแสว่าสังคมเห็นอย่างไรกับเรื่องที่จะเดินหน้า

ส่วนตัวมองว่ากฎหมายปรองดองหรือกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นปัญหาที่ควรจะเดินหน้ามานานแล้วตั้งแต่เกิดเหตุ แต่ก็ต้องอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง เอื้อประโยชน์ของคนกลุ่มใหญ่

แต่ที่ยังไม่สามารถทำอะไรได้ตอนนี้เพราะต่างไม่ไว้ใจกัน เนื่องจากไม่พูดความจริง เล่นเกม ไม่เอาหลักการที่ถูกต้องมาคุยกัน มีเงื่อนไขพิเศษซ่อนอยู่ จึงยังไม่จบ

อย่างไรก็ตาม ผมประเมินว่าอย่างไรเดือนเม.ย. รัฐบาลยังเอาอยู่ เพราะถ้า ต้านไม่อยู่เขาก็เลื่อนไปก่อน เนื่องจากรัฐบาลก็ต้องการอยู่ยาว แม้รู้ว่าเลือกตั้งใหม่จะกลับเข้ามาได้แต่ก็ไม่มีใครอยากเลือกตั้งใหม่ เพราะเลือกตั้งแต่ละครั้ง มันเหนื่อย

เม.ย.ปีนี้จึงไม่น่าจะรุนแรงเหมือนปีที่ผ่านๆ มา อีกทั้งที่ผ่านมาก็ได้บทเรียนความรุนแรงมาแล้ว

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk16ZzRPVFU0TUE9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 22/03/2556 เวลา 03:34:39

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คําเตือนของ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ที่ให้รัฐบาลชะลอเรื่อง "นิรโทษกรรม" ประเมินว่าประเด็นดังกล่าว เชื่อมโยงการเคลื่อนไหวเรื่องเขาพระวิหาร จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองช่วงเม.ย.ปะทุ ทำให้เกิดคำถามว่า เม.ย.ปีนี้ การเมืองไทยจะร้อนแรงซ้ำอีกหรือ สมบัติ บุญงามอนงค์ บ.ก.ลายจุด การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองเดือนเม.ย. จะร้อนแรงขึ้นนั้น เท่าที่มองคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่อีกฝ่ายซึ่งมีมวลชนในสังกัดจะเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อพยายามรุกไล่ แต่ยังไม่เห็นว่าฝ่ายดังกล่าวมีกำลังมากมายอะไร และยังมองไม่เห็นว่าจะมีเงื่อนไขอะไรที่จะนำไปสู่สถาน การณ์ความรุนแรง แต่ถ้ารัฐบาลพยายามถอยไปเรื่อยๆ ในกรณีของกฎหมายนิรโทษกรรม ที่สุดจะไม่ไหวหากต้องถอยทุกครั้ง เพราะอย่าลืมว่ายังมีมวลชนที่สนับสนุนการนิรโทษกรรม ถามว่ากฎหมายนิรโทษกรรมและกฎหมายปรองดองจะเป็นชนวนความขัดแย้งที่จะปะทุในเดือนเม.ย. หรือไม่ ผมคิดว่าถ้าดูเฉพาะกฎหมายนิรโทษกรรมไม่อยู่ในเงื่อน ไขที่จะเกิดความรุนแรงได้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายปรองดองก็อาจลำบากหน่อย เนื่องจากครอบคลุมคนที่จะได้รับผลประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก ฉะนั้น ถ้าทำในส่วนที่จะนิรโทษกรรมให้เฉพาะประชาชน จะทำให้การพูดคุยง่ายขึ้น และเงื่อนไขก็ไม่พอให้แรงกดดันจากภายนอกหนักหน่วงขนาดนั้น ส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลต้องแลกว่าถ้ารัฐบาลไม่เคลื่อนในเรื่องนี้ก็จะได้รับแรงกดดันจากคนเสื้อแดง และรัฐบาลต้องเจอกับม็อบคนเสื้อแดง ที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนเสื้อแดง ส่งสัญญาณถึงความชัดเจนเรื่องกระบวนการนิรโทษกรรมหลังการปิดสมัยประชุมสภานั้น เรื่องนิรโทษกรรมเป็นสิ่งนี้ที่รัฐบาลรับปากว่าจะทำ จึงได้รับโอกาสเข้ามาเป็นรัฐบาล เพื่อให้เข้ามาทำหน้าที่ที่คิดว่าเป็นเงื่อนไขที่น้อยที่สุด ต่ำที่สุดแล้ว แน่นอนว่าหากรัฐบาลมีท่วง ทำนองที่ไม่ตอบสนองต่อสิ่งนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่เปราะบางและ อาจทำให้รัฐบาลเสียมวลชนที่สนับสนุนอยู่ รัฐบาลต้องระวังว่าถ้าเสียมวลชนแล้วจะถอนกลับคืนได้ยาก เพราะความรู้สึกมันกลับมายาก ช่วงเวลาที่ควรดำเนินการเรื่องนี้คือระหว่างการประชุมสภาสมัยนี้ เพราะถ้าปิดสมัยประชุมนี้ไปโดยที่รัฐบาลไม่มีความเคลื่อนไหว หรือมีความชัดเจน รัฐบาลก็ต้องออกมาชี้แจงว่าเพราะอะไรถึงยังไม่ดำเนินการ และจะถูกมวลชนถล่มจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นม็อบหรือไม่เป็นม็อบก็แล้วแต่ ประชาชนจะเริ่มต้นวิจารณ์รัฐบาลมากขึ้น แต่ถ้าทำแล้วไม่สำเร็จก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะยังคงได้ใจประชาชนอยู่ แต่ถ้าไม่ทำแล้วถอยรูดไปเรื่อยๆ จะทำให้รัฐบาลลำบาก กฎหมายนิรโทษกรรมและกฎหมายปรองดองต้องค่อยๆ เดินหน้า แต่ต้องรีบทำ โดยทำเฉพาะในส่วนของคนที่ขัดแย้งน้อยที่สุดก่อน เช่น นิรโทษกรรมเฉพาะส่วนของมวล ชนก่อน โดยนำร่างกฎหมายเข้ามาปรึกษาหารือ หาวิธี กระบวนการ หาแนวทางนิรโทษ สำหรับคดีเขาพระวิหารที่กระทรวงการต่างประเทศจะแถลงด้วยวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย. อย่างไรกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็ต้องออกมาอยู่เเล้ว เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน แต่ม็อบพันธมิตรจะทำให้สถาน การณ์ร้อนระอุหรือไม่นั้น ไม่รู้ว่าพันธมิตรจะทำได้เท่ากับม็อบของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ของพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้าย หรือไม่ ต้องดูว่าทำได้เหมือนหรือทำได้มากกว่าม็อบเสธ.อ้าย ต้องประเมิน ถ้าคิดว่าทำได้เท่าหรือทำได้ต่ำกว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่อย่างไรม็อบก็มีอยู่เเล้ว ม็อบที่ไม่พอใจสถานีไทยพีบีเอสที่มีประมาณ 20-30 คน ก็เรียกว่าม็อบ ทางออกของความขัดแย้งคือคุยกันในจุดที่ขัดแย้งน้อยที่สุด ด้วยการเปิดใจคุยกัน ให้คนที่เกี่ยวข้องมาพูดออกทีวีรายการสด 2-3 ชั่วโมง รัฐบาลต้องดำเนินการในเรื่องนี้เลย จำเป็นต้องคุย เพราะมีประเด็นขัดแย้งที่ต้องคุย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผมคิดว่าไม่ควรจะมีอะไรเกิดขึ้นและไม่น่าจะมีปัญหา การพิจารณากฎหมายของสภาเป็นไปตามกลไกของประชาธิปไตย ความเห็นไม่ตรงกันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่เห็นว่าจะวิกฤตตรงไหน แต่ผมกลับคิดว่าหากไม่เดินหน้าเรื่องนิรโทษแล้วจะปล่อยให้พี่น้องอยู่ในคุกต่อไปหรือ คนที่ติดคุกคือผู้บริสุทธิ์ การเมืองจะมาต่อรองกันแล้วปล่อยเขาอยู่ในคุกมันไม่ถูก เรื่องนิรโทษกรรมควรทำเสร็จตั้งนานแล้ว วันนี้ต้องทำเลย รัฐบาลบริหารประเทศมาจะ 20 เดือนแล้ว แต่พี่น้องส่วนหนึ่งที่บริสุทธิ์ยังอยู่ในคุก ที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผลักดันให้เกิดความชัดเจนในสมัยประชุมนี้นั้น ถูกต้องแล้ว ถ้ารัฐบาลไม่ทำก็จะเสื่อมในระยะยาว และจะบอกกับเสื้อแดงและประชาชนที่สนับสนุนอย่างไร กรณีเขาวิหารรัฐบาลก็ไม่ได้เกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ พันธมิตรปั่นกระแสนี้มากี่ปีไม่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์กับใคร มีแต่สร้างความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน รัฐบาลอย่าไปสนใจ แต่ต้องเดินหน้าทำตามระบอบประชาธิปไตย ทำตามกฎหมายที่ถูกต้อง เดินหน้าสู่การเป็นภาคีอาเซียน พัฒนาเศรษฐกิจ สถานการณ์เดือนเม.ย. จะแรงไม่ได้ ตามประวัติศาสตร์ความรุนแรงในอดีตเกิดจากรัฐทั้งสิ้น รวมถึงการกวาดล้างประชาชนครั้งใหญ่ปี 53 ก็เกิดจากรัฐ กรณี 6 ตุลา ที่มีกลุ่มกระทิงแดงต่างๆ รัฐก็สนับสนุน ถ้ารัฐไม่สนับสนุนย่อมทำไม่ได้ อย่างมากก็แค่ช่างกลตีกัน และไม่ต้องกลัวว่าหากมีความรุนแรงจะส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล ตรงกันข้าม เขายิ่งทำรุนแรงรัฐบาลก็ยิ่งชอบธรรม จึงไม่เห็นว่าจะมีอะไรเป็นชนวนที่ทำให้เม.ย.ปะทุ เพราะทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกิดอยู่แล้ว รู้อยู่แล้ว ทำอยู่แล้ว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำหลายอย่างได้ดี แต่กล้าในการดำเนินนโยบายน้อยกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ จึงต้องเอาความกล้าอย่างรัฐบาลก่อนมาใช้ เรื่องที่ถูกต้องชอบธรรมถ้ามัวเงื้อง่าราคาแพง จะทำลายความชอบธรรมของตัวเอง เพราะจะถูกมองว่าอ่อนแอ ชาติวัฒน์ ชาติกรกุล อดีตหน.หลักสูตรผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต ทั้งพ.ร.บ.ปรองดอง พ.ร.บ.นิรโทษ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการเปลี่ยนตัวนายกฯ เป็นเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความรุนแรงทั้งสิ้น ฝั่งตรงข้ามทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตร ก็พร้อมก่อหวอด ยืนกรานว่าฉันไม่เอาและพร้อมนำคนออกมาทะเลาะเบาะแว้งด้วย ขณะที่พรรคเพื่อไทยก็ประเมินสถานการณ์ตลอดเวลาถึงโอกาส แพ้-ชนะ จึงเห็นได้ว่ามีการเลื่อนการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการนิรโทษกรรมมาเรื่อยๆ แต่การเลื่อนก็มีลิมิตว่าไม่อยากให้นานกว่านี้ ดังนั้น การออกมาประเมินสถานการณ์ในความเป็นจริงตอนนี้อาจถูกสั่งให้พูดก็ได้ เพื่อเช็กกระแสว่าสังคมเห็นอย่างไรกับเรื่องที่จะเดินหน้า ส่วนตัวมองว่ากฎหมายปรองดองหรือกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นปัญหาที่ควรจะเดินหน้ามานานแล้วตั้งแต่เกิดเหตุ แต่ก็ต้องอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง เอื้อประโยชน์ของคนกลุ่มใหญ่ แต่ที่ยังไม่สามารถทำอะไรได้ตอนนี้เพราะต่างไม่ไว้ใจกัน เนื่องจากไม่พูดความจริง เล่นเกม ไม่เอาหลักการที่ถูกต้องมาคุยกัน มีเงื่อนไขพิเศษซ่อนอยู่ จึงยังไม่จบ อย่างไรก็ตาม ผมประเมินว่าอย่างไรเดือนเม.ย. รัฐบาลยังเอาอยู่ เพราะถ้า ต้านไม่อยู่เขาก็เลื่อนไปก่อน เนื่องจากรัฐบาลก็ต้องการอยู่ยาว แม้รู้ว่าเลือกตั้งใหม่จะกลับเข้ามาได้แต่ก็ไม่มีใครอยากเลือกตั้งใหม่ เพราะเลือกตั้งแต่ละครั้ง มันเหนื่อย เม.ย.ปีนี้จึงไม่น่าจะรุนแรงเหมือนปีที่ผ่านๆ มา อีกทั้งที่ผ่านมาก็ได้บทเรียนความรุนแรงมาแล้ว http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk16ZzRPVFU0TUE9PQ==§ionid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง