ซ่อนปมรื้อรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับติดขัดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จนร่างแก้ไขยังค้างคาอยู่ในสภา และอาจเป็นปมปัญหาขัดแย้งทางการเมืองได้ หากดื้อดึงจะเดินหน้าต่อไป ดังนั้นกลุ่มส.ส.และส.ว.สรรหาบางส่วนได้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา จำนวน 4 มาตรา ประกอบด้วย มาตรา 68, 190, 237 และ มาตรา 117 ที่ว่าด้วยที่มาของส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยส.ว.สรรหาเดิมให้อยู่จนครบวาระ พร้อมทั้งให้เหตุผลว่าประเด็นมาตราเหล่านี้ได้มีการนำเสนอต่อสาธารณชนมาอย่างยาวนานและสังคมให้การยอมรับ อย่างไรก็ตามการแก้ไขนั้นถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมย่อมได้รับการสนับสนุน แต่หากเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบคงเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับไม่ได้

มาตรา 68 บัญญัติว่า เมื่อบุคคลหรือพรรคการเมืองใดที่พบเห็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยสามารถยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้ กรณีนี้นักวิชาการและฝ่ายค้านได้แสดงท่าทีเห็นต่าง หากจะมีการแก้ไขให้เหลือเพียงยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดเป็นฝ่ายพิจารณาเพียงหน่วยงานเดียว เพราะเท่ากับเป็นการปิดช่องทางในการยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน ส่วนมาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองในเรื่องทุจริตการเลือกตั้งน่าจะเป็นความรับผิดของตัวบุคคลมากกว่า ถ้าพรรคถูกยุบง่ายทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ แต่ประเด็นนี้ก็มีข้อโต้แย้งว่าพรรคมีหน้าที่ต้องดูแลตามกรอบที่กฎหมายกำหนดต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

ขณะที่มาตรา 190 การทำสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน และงบประมาณของประเทศต้องรายงานต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ โดยจะแก้ไขมาตรานี้เพราะเห็นว่าบางเรื่องไม่ควรเข้าสู่การพิจารณาของสภาแต่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยให้มีกฎหมายลูกมาประกบ แต่มาตรานี้ก็มีข้อดีในการป้องกันการไปทำผลประโยชน์ทับซ้อนเชิงนโยบายโดยประเทศเสียหาย และมาตรา 117 เรื่องที่มาและวาระการดำรงตำแหน่งของส.ว. ที่จะตัดส.ว.สรรหาออกไปให้เป็นส.ว.จากการเลือกตั้งทั้งหมด ก็เท่ากับอาจย้อนกลับไปสู่ยุคสภาผัว-เมีย ที่ผลัดกันนั่งครองสภาล่างและสภาสูง และเป็นช่องให้พรรคการเมืองกินรวบสองสภา

การแก้ไขครั้งนี้ยังเป็นเรื่องที่เคลือบแคลงสงสัยและมองเจตนารมณ์ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้ถูกตรวจสอบ ทำลายกลไกถ่วงดุลหรือเปล่า และลิดรอนขอบเขตขององค์กรอิสระอย่างศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังขยายอำนาจเข้ายึดกุมสภาสูงที่ตัดตอนส.ว.สรรหาออกไปใช่หรือไม่ ทางออกที่เหมาะสมควรเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ไม่เช่นนั้นจะโดนข้อหาตัดอำนาจของประชาชนและหนีไม่พ้นข้อครหาที่ว่านักการเมืองแก้และฮั้วกันเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนเอง และประการสำคัญมีการจับตาว่า มาตรา 68 ที่แก้ไขนั้น เพื่อเดินหน้าลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างทั้งฉบับ ถ้าเกิดขึ้นจริงก็ได้เห็นธาตุแท้ของฝ่ายการ

http://www.komchadluek.net/detail/20130321/154318/ซ่อนปมรื้อรัฐธรรมนูญ.html#.UUp4rzc7va4 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 21/03/2556 เวลา 03:08:30

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับติดขัดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จนร่างแก้ไขยังค้างคาอยู่ในสภา และอาจเป็นปมปัญหาขัดแย้งทางการเมืองได้ หากดื้อดึงจะเดินหน้าต่อไป ดังนั้นกลุ่มส.ส.และส.ว.สรรหาบางส่วนได้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา จำนวน 4 มาตรา ประกอบด้วย มาตรา 68, 190, 237 และ มาตรา 117 ที่ว่าด้วยที่มาของส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยส.ว.สรรหาเดิมให้อยู่จนครบวาระ พร้อมทั้งให้เหตุผลว่าประเด็นมาตราเหล่านี้ได้มีการนำเสนอต่อสาธารณชนมาอย่างยาวนานและสังคมให้การยอมรับ อย่างไรก็ตามการแก้ไขนั้นถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมย่อมได้รับการสนับสนุน แต่หากเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบคงเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับไม่ได้ มาตรา 68 บัญญัติว่า เมื่อบุคคลหรือพรรคการเมืองใดที่พบเห็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยสามารถยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้ กรณีนี้นักวิชาการและฝ่ายค้านได้แสดงท่าทีเห็นต่าง หากจะมีการแก้ไขให้เหลือเพียงยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดเป็นฝ่ายพิจารณาเพียงหน่วยงานเดียว เพราะเท่ากับเป็นการปิดช่องทางในการยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน ส่วนมาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองในเรื่องทุจริตการเลือกตั้งน่าจะเป็นความรับผิดของตัวบุคคลมากกว่า ถ้าพรรคถูกยุบง่ายทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ แต่ประเด็นนี้ก็มีข้อโต้แย้งว่าพรรคมีหน้าที่ต้องดูแลตามกรอบที่กฎหมายกำหนดต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ขณะที่มาตรา 190 การทำสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน และงบประมาณของประเทศต้องรายงานต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ โดยจะแก้ไขมาตรานี้เพราะเห็นว่าบางเรื่องไม่ควรเข้าสู่การพิจารณาของสภาแต่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยให้มีกฎหมายลูกมาประกบ แต่มาตรานี้ก็มีข้อดีในการป้องกันการไปทำผลประโยชน์ทับซ้อนเชิงนโยบายโดยประเทศเสียหาย และมาตรา 117 เรื่องที่มาและวาระการดำรงตำแหน่งของส.ว. ที่จะตัดส.ว.สรรหาออกไปให้เป็นส.ว.จากการเลือกตั้งทั้งหมด ก็เท่ากับอาจย้อนกลับไปสู่ยุคสภาผัว-เมีย ที่ผลัดกันนั่งครองสภาล่างและสภาสูง และเป็นช่องให้พรรคการเมืองกินรวบสองสภา การแก้ไขครั้งนี้ยังเป็นเรื่องที่เคลือบแคลงสงสัยและมองเจตนารมณ์ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้ถูกตรวจสอบ ทำลายกลไกถ่วงดุลหรือเปล่า และลิดรอนขอบเขตขององค์กรอิสระอย่างศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังขยายอำนาจเข้ายึดกุมสภาสูงที่ตัดตอนส.ว.สรรหาออกไปใช่หรือไม่ ทางออกที่เหมาะสมควรเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ไม่เช่นนั้นจะโดนข้อหาตัดอำนาจของประชาชนและหนีไม่พ้นข้อครหาที่ว่านักการเมืองแก้และฮั้วกันเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนเอง และประการสำคัญมีการจับตาว่า มาตรา 68 ที่แก้ไขนั้น เพื่อเดินหน้าลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างทั้งฉบับ ถ้าเกิดขึ้นจริงก็ได้เห็นธาตุแท้ของฝ่ายการ http://www.komchadluek.net/detail/20130321/154318/ซ่อนปมรื้อรัฐธรรมนูญ.html#.UUp4rzc7va4

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง