จากประชาธิปไตยครึ่งใบสู่การเมือง “ไพร่-อำมาตย์” (2)

แสดงความคิดเห็น

โดย : อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ในพื้นที่ “ชนบท” เป็นส่วนที่แยกไม่ออกจากความเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 2510 อันได้แก่ การเกิดขึ้นของระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ

การสร้างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพราะการต่อสู้ทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2516 จนถึง พ.ศ. 2519 เป็นช่วงการเมืองไทยที่ไร้เสถียรภาพในทัศนะของชนชั้นนำทั้งหลาย

เสถียรภาพทางการเมือง หมายถึง สภาวะที่ “การเมือง” ถูกทำให้เป็นระบบระเบียบ ที่กลุ่มอำนาจในสังคมสามารถหมายรู้ได้ว่ากลุ่มของตนจะดำรงอยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ใด และจะได้หรือเสียอะไรในเงื่อนไขใด ระบบการเมืองที่ถูกสร้างให้มีเสถียรภาพจะทำให้กลุ่มอำนาจทุกกลุ่มยอมรับตำแหน่งแห่งที่และผลได้/ผลเสียต่างๆ ของตน และที่สำคัญจะทำให้สามารถคาดการณ์และมีปฏิบัติการทางสังคมการเมืองไปในอนาคตได้ยาวไกลพอสมควร

เสถียรภาพทางการเมืองจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการต่อสู้เพื่อดำรงอยู่ของสังคมการเมืองหนึ่งๆ เพราะไม่มีสังคมการเมืองใดจะดำเนินกิจกรรมใดๆ ต่อไปได้หากจะต้องสร้าง “ข้อตกลงทางการเมือง” ทีละเรื่องๆ และแต่ละเรื่องก็มี “ข้อที่ตกลงกันได้” แตกต่างกันไปจนหาหลักการหรือกฎเกณฑ์กลางไม่ได้ ดังนั้น ในกระบวนการทางการเมืองทั้งหลายนั้นจึงต้องสร้างเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นมาให้ได้ พร้อมๆ กับการที่ผู้นำทางการเมืองจะต้องพยายามสร้างอำนาจนำเพื่อจะสามารถกำกับกลุ่มอำนาจต่างๆ ในโครงสร้างอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเมืองไทยประสบกับสภาวะไร้เสถียรภาพมาหลายครั้ง โดยที่การปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพแต่ละครั้งก็ต้องใช้เวลาในการต่อรองต่อสู้กันพอสมควร และหลายครั้งก็เป็นเพียงเสถียรภาพชั่วคราว เพราะไม่สามารถรักษาความ “เสถียร” ได้นานนัก มีบางช่วงเวลาเท่านั้นที่สามารถปรับตัวจนสร้างสภาวะที่มีเสถียรภาพได้ยาวนานพอสมควร

สภาวะไร้เสถียรภาพในสังคมไทยที่รุนแรงครั้งหนึ่ง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพราะเสถียรภาพการเมืองแบบเดิมที่เป็นระบบอุปถัมภ์ภาคใต้การนำของเครือข่าย จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้พังทลายลงไปอย่างรวดเร็วเพราะสูญเสียหัวขบวนไปอย่างกะทันหัน จึงเกิดสภาวะการแตกกระจายของกลุ่มภายใต้ระบบอุปถัมภ์เดิม ซึ่งทำให้แต่ละกลุ่ม (Faction) ถูกลดอำนาจลงจนตกอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถจะก้าวขึ้นมาแทนที่ผู้อุปถัมภ์เดิมได้

ในช่วงที่กลุ่มอำนาจทั้งหลายตกอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถมีอำนาจมากพอที่จะนำใครได้นี้ หากกลุ่มใดต้องการที่จะก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือกลุ่มอื่น ก็จำเป็นต้องสร้างการเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มของตนกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะในขณะนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์ได้กลายมาเป็น “ร่มโพธิ์-ร่มไทร” ของกลุ่มการเมืองทุกกลุ่ม กล่าวได้ว่า ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นได้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์แสดงบทบาทในการชี้ขาดทางการเมืองโดยเริ่มต้นจากการพระราชทานนายกรัฐมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์

การที่กลุ่มการเมืองใดที่หวังจะขึ้นมามีอำนาจนำเหนือผู้อื่นจำเป็นต้องแสดงตนแอบอิงอยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ทางอำนาจขึ้น ด้านหนึ่ง ได้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องกลายเป็นสถาบันที่ต้องทำหน้าที่แสวงหาดุลยภาพทางการเมืองเพื่อที่จะทำให้สังคมการเมืองดำเนินต่อไปได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นศูนย์กลางที่ทำให้สังคมมีดุลยภาพในความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป ในอีกด้านหนึ่ง กระบวนการทางการเมืองนี้ได้ทำให้เกิดการประสานกลุ่มการเมืองเข้ากับกลุ่มอำนาจเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพราะกลุ่มเศรษฐกิจทุกกลุ่มต่างก็ได้รับผลกระทบจากสภาวะไร้เสถียรภาพในช่วง พ.ศ. 2516-2519 มาแล้วอย่างหนักหน่วง ดังนั้น หากกลุ่มอำนาจใดสามารถแสดงตนได้ว่าจะนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อยและเสถียรภาพทางการเมืองก็ย่อมจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอำนาจเศรษฐกิจ

ดังจะเห็นว่าในช่วง พ.ศ. 2516-2519 มีการรวมกลุ่มของนักธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนเกือบร้อยคนเพื่อที่จะผลักดันและสนับสนุนผู้ที่สามารถขึ้นมารักษาเสถียรภาพทางการเมือง และในท้ายที่สุดกลุ่มนักธุรกิจเกือบร้อยคนกลุ่มนี้ก็กลายมาเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของผู้ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง อันได้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

การสถาปนาอำนาจนำผ่าน “วิกฤติหลัง พ.ศ. 2516-2519” จึงเป็นการประสานกับของอำนาจหลายฝ่าย ได้แก่ ระบบราชการและกองทัพ โดยการนำของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ได้แบ่งปันอำนาจบางส่วนให้แก่นักธุรกิจ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการตั้ง “คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน” (กรอ.) ซึ่งทำหน้าที่เป็น “ตู้เย็น” แช่แข็งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของกลุ่มนักการเมือง ที่ต้องสร้าง “ตู้เย็น” ของระบบราชการไว้ก็เพราะว่าการเมืองในขณะนั้น ก็จำเป็นต้องแบ่งอำนาจส่วนหนึ่งให้แก่พรรคการเมืองที่อ้างอิงอยู่กับประชาชน ดังจะเห็นได้จากการยอมรับระบบเลือกตั้ง ระบอบของอำนาจที่ต้องประสานกันระหว่างหลายฝ่ายนี้จึงเรียกกันว่า “ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ”

ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้วางน้ำหนักการตัดสินใจทางการเมืองบนระบบราชการเดิมค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างระบบราชการกับกลุ่มพรรค/นักการเมืองบ่อยครั้ง โดยเฉพาะกองทัพกับพรรคการเมือง ซึ่งเห็นได้จากการปรับคณะรัฐมนตรีหลายครั้ง และขณะเดียวกันการสร้างฐานอำนาจในระบบราชการโดยเฉพาะทหาร ก็ก่อให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก มากขึ้น จะเห็นได้ว่านายทหารชั้นผู้ใหญ่พยายามสร้างกลุ่มอุปถัมภ์เพื่อเป็นฐานอำนาจ ขณะที่กลุ่มทหารหนุ่มได้เลือกใช้ “รุ่น” เป็นฐานอำนาจแทนการอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของนายทหารชั้นผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว

จำเป็นต้องกล่าวในที่นี้ก่อนว่า การใช้ “ รุ่น ” เป็นเครื่องมือในการต่อรองทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง พ.ศ. 2516 ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ในช่วงเวลาวิกฤติการณ์ทางการเมืองสั้นๆ ช่วงนี้เท่านั้น เพราะภายในรุ่นเองก็มีความแตกต่างและแตกแยกกันมาตั้งแต่ในช่วงของการศึกษาในโรงเรียนทหารแล้ว สิ่งที่น่าจะศึกษาต่อ ได้แก่ กลุ่มย่อย (Faction) ในแต่ละรุ่นว่าได้ทำให้เกิดการเชื่อมต่อข้ามรุ่นในรูปแบบใดบ้าง เช่น การสังกัดเหล่า และที่สำคัญที่ต้องศึกษา ได้แก่ การเปลี่ยนชนชั้นของผู้ที่เข้าโรงเรียนทหารในช่วงสองทศวรรษหลัง

การสถาปนาเสถียรภาพทางการเมืองที่ต้องแบ่งสรรอำนาจให้แก่หลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจ พรรคการเมืองที่ผ่านมาจากการเลือกตั้ง ตลอดจนการควบคุมกองทัพไม่ให้เคลื่อนไหวท้าท้ายอำนาจ เป็นเรื่องที่ยากลำบากไม่ใช่น้อย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้สร้างและรักษาเสถียรภาพทางการเมืองด้วยการเชื่อมต่อกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำให้มีฐานอำนาจที่มั่นคงและมีความชอบธรรมไปพร้อมกัน ทั้งหมดนี้จึงเป็นการประกอบกันขึ้นมาของระบอบประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ

ขออนุญาตชี้แจงในส่วนท้ายสุดนี้ ว่าความเรียงชุดนี้ นำมาจากงานวิจัยฉบับร่างในโครงการ “โครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม” หัวหน้าโครงการ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ผู้ร่วมโครงการ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พอพันธุ์ อุยยานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พฤกษ์ เถาถวิล และผู้เขียน เสนอต่อ สำนักงานกิจการยุติธรรมในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เมษายน 2555 แต่อย่างไรก็ตาม หัวหน้าโครงการ ผู้ร่วมโครงการ และหน่วยงานที่สนับสนุนไม่มีส่วนรับผิดชอบหากมีความผิดพลาดประการใดในความเรียงชุดนี้

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/attachak/20130315/494881/จากประชาธิปไตยครึ่งใบสู่การเมือง-ไพร่-อำมาตย์-(2).html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 15/03/2556 เวลา 03:25:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย : อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ในพื้นที่ “ชนบท” เป็นส่วนที่แยกไม่ออกจากความเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 2510 อันได้แก่ การเกิดขึ้นของระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ การสร้างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพราะการต่อสู้ทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2516 จนถึง พ.ศ. 2519 เป็นช่วงการเมืองไทยที่ไร้เสถียรภาพในทัศนะของชนชั้นนำทั้งหลาย เสถียรภาพทางการเมือง หมายถึง สภาวะที่ “การเมือง” ถูกทำให้เป็นระบบระเบียบ ที่กลุ่มอำนาจในสังคมสามารถหมายรู้ได้ว่ากลุ่มของตนจะดำรงอยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ใด และจะได้หรือเสียอะไรในเงื่อนไขใด ระบบการเมืองที่ถูกสร้างให้มีเสถียรภาพจะทำให้กลุ่มอำนาจทุกกลุ่มยอมรับตำแหน่งแห่งที่และผลได้/ผลเสียต่างๆ ของตน และที่สำคัญจะทำให้สามารถคาดการณ์และมีปฏิบัติการทางสังคมการเมืองไปในอนาคตได้ยาวไกลพอสมควร เสถียรภาพทางการเมืองจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการต่อสู้เพื่อดำรงอยู่ของสังคมการเมืองหนึ่งๆ เพราะไม่มีสังคมการเมืองใดจะดำเนินกิจกรรมใดๆ ต่อไปได้หากจะต้องสร้าง “ข้อตกลงทางการเมือง” ทีละเรื่องๆ และแต่ละเรื่องก็มี “ข้อที่ตกลงกันได้” แตกต่างกันไปจนหาหลักการหรือกฎเกณฑ์กลางไม่ได้ ดังนั้น ในกระบวนการทางการเมืองทั้งหลายนั้นจึงต้องสร้างเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นมาให้ได้ พร้อมๆ กับการที่ผู้นำทางการเมืองจะต้องพยายามสร้างอำนาจนำเพื่อจะสามารถกำกับกลุ่มอำนาจต่างๆ ในโครงสร้างอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเมืองไทยประสบกับสภาวะไร้เสถียรภาพมาหลายครั้ง โดยที่การปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพแต่ละครั้งก็ต้องใช้เวลาในการต่อรองต่อสู้กันพอสมควร และหลายครั้งก็เป็นเพียงเสถียรภาพชั่วคราว เพราะไม่สามารถรักษาความ “เสถียร” ได้นานนัก มีบางช่วงเวลาเท่านั้นที่สามารถปรับตัวจนสร้างสภาวะที่มีเสถียรภาพได้ยาวนานพอสมควร สภาวะไร้เสถียรภาพในสังคมไทยที่รุนแรงครั้งหนึ่ง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพราะเสถียรภาพการเมืองแบบเดิมที่เป็นระบบอุปถัมภ์ภาคใต้การนำของเครือข่าย จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้พังทลายลงไปอย่างรวดเร็วเพราะสูญเสียหัวขบวนไปอย่างกะทันหัน จึงเกิดสภาวะการแตกกระจายของกลุ่มภายใต้ระบบอุปถัมภ์เดิม ซึ่งทำให้แต่ละกลุ่ม (Faction) ถูกลดอำนาจลงจนตกอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถจะก้าวขึ้นมาแทนที่ผู้อุปถัมภ์เดิมได้ ในช่วงที่กลุ่มอำนาจทั้งหลายตกอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถมีอำนาจมากพอที่จะนำใครได้นี้ หากกลุ่มใดต้องการที่จะก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือกลุ่มอื่น ก็จำเป็นต้องสร้างการเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มของตนกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะในขณะนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์ได้กลายมาเป็น “ร่มโพธิ์-ร่มไทร” ของกลุ่มการเมืองทุกกลุ่ม กล่าวได้ว่า ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นได้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์แสดงบทบาทในการชี้ขาดทางการเมืองโดยเริ่มต้นจากการพระราชทานนายกรัฐมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ การที่กลุ่มการเมืองใดที่หวังจะขึ้นมามีอำนาจนำเหนือผู้อื่นจำเป็นต้องแสดงตนแอบอิงอยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ทางอำนาจขึ้น ด้านหนึ่ง ได้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องกลายเป็นสถาบันที่ต้องทำหน้าที่แสวงหาดุลยภาพทางการเมืองเพื่อที่จะทำให้สังคมการเมืองดำเนินต่อไปได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นศูนย์กลางที่ทำให้สังคมมีดุลยภาพในความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป ในอีกด้านหนึ่ง กระบวนการทางการเมืองนี้ได้ทำให้เกิดการประสานกลุ่มการเมืองเข้ากับกลุ่มอำนาจเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพราะกลุ่มเศรษฐกิจทุกกลุ่มต่างก็ได้รับผลกระทบจากสภาวะไร้เสถียรภาพในช่วง พ.ศ. 2516-2519 มาแล้วอย่างหนักหน่วง ดังนั้น หากกลุ่มอำนาจใดสามารถแสดงตนได้ว่าจะนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อยและเสถียรภาพทางการเมืองก็ย่อมจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอำนาจเศรษฐกิจ ดังจะเห็นว่าในช่วง พ.ศ. 2516-2519 มีการรวมกลุ่มของนักธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนเกือบร้อยคนเพื่อที่จะผลักดันและสนับสนุนผู้ที่สามารถขึ้นมารักษาเสถียรภาพทางการเมือง และในท้ายที่สุดกลุ่มนักธุรกิจเกือบร้อยคนกลุ่มนี้ก็กลายมาเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของผู้ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง อันได้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ การสถาปนาอำนาจนำผ่าน “วิกฤติหลัง พ.ศ. 2516-2519” จึงเป็นการประสานกับของอำนาจหลายฝ่าย ได้แก่ ระบบราชการและกองทัพ โดยการนำของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ได้แบ่งปันอำนาจบางส่วนให้แก่นักธุรกิจ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการตั้ง “คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน” (กรอ.) ซึ่งทำหน้าที่เป็น “ตู้เย็น” แช่แข็งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของกลุ่มนักการเมือง ที่ต้องสร้าง “ตู้เย็น” ของระบบราชการไว้ก็เพราะว่าการเมืองในขณะนั้น ก็จำเป็นต้องแบ่งอำนาจส่วนหนึ่งให้แก่พรรคการเมืองที่อ้างอิงอยู่กับประชาชน ดังจะเห็นได้จากการยอมรับระบบเลือกตั้ง ระบอบของอำนาจที่ต้องประสานกันระหว่างหลายฝ่ายนี้จึงเรียกกันว่า “ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ” ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้วางน้ำหนักการตัดสินใจทางการเมืองบนระบบราชการเดิมค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างระบบราชการกับกลุ่มพรรค/นักการเมืองบ่อยครั้ง โดยเฉพาะกองทัพกับพรรคการเมือง ซึ่งเห็นได้จากการปรับคณะรัฐมนตรีหลายครั้ง และขณะเดียวกันการสร้างฐานอำนาจในระบบราชการโดยเฉพาะทหาร ก็ก่อให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก มากขึ้น จะเห็นได้ว่านายทหารชั้นผู้ใหญ่พยายามสร้างกลุ่มอุปถัมภ์เพื่อเป็นฐานอำนาจ ขณะที่กลุ่มทหารหนุ่มได้เลือกใช้ “รุ่น” เป็นฐานอำนาจแทนการอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของนายทหารชั้นผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องกล่าวในที่นี้ก่อนว่า การใช้ “ รุ่น ” เป็นเครื่องมือในการต่อรองทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง พ.ศ. 2516 ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ในช่วงเวลาวิกฤติการณ์ทางการเมืองสั้นๆ ช่วงนี้เท่านั้น เพราะภายในรุ่นเองก็มีความแตกต่างและแตกแยกกันมาตั้งแต่ในช่วงของการศึกษาในโรงเรียนทหารแล้ว สิ่งที่น่าจะศึกษาต่อ ได้แก่ กลุ่มย่อย (Faction) ในแต่ละรุ่นว่าได้ทำให้เกิดการเชื่อมต่อข้ามรุ่นในรูปแบบใดบ้าง เช่น การสังกัดเหล่า และที่สำคัญที่ต้องศึกษา ได้แก่ การเปลี่ยนชนชั้นของผู้ที่เข้าโรงเรียนทหารในช่วงสองทศวรรษหลัง การสถาปนาเสถียรภาพทางการเมืองที่ต้องแบ่งสรรอำนาจให้แก่หลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจ พรรคการเมืองที่ผ่านมาจากการเลือกตั้ง ตลอดจนการควบคุมกองทัพไม่ให้เคลื่อนไหวท้าท้ายอำนาจ เป็นเรื่องที่ยากลำบากไม่ใช่น้อย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้สร้างและรักษาเสถียรภาพทางการเมืองด้วยการเชื่อมต่อกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำให้มีฐานอำนาจที่มั่นคงและมีความชอบธรรมไปพร้อมกัน ทั้งหมดนี้จึงเป็นการประกอบกันขึ้นมาของระบอบประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ ขออนุญาตชี้แจงในส่วนท้ายสุดนี้ ว่าความเรียงชุดนี้ นำมาจากงานวิจัยฉบับร่างในโครงการ “โครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม” หัวหน้าโครงการ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ผู้ร่วมโครงการ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พอพันธุ์ อุยยานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พฤกษ์ เถาถวิล และผู้เขียน เสนอต่อ สำนักงานกิจการยุติธรรมในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เมษายน 2555 แต่อย่างไรก็ตาม หัวหน้าโครงการ ผู้ร่วมโครงการ และหน่วยงานที่สนับสนุนไม่มีส่วนรับผิดชอบหากมีความผิดพลาดประการใดในความเรียงชุดนี้ ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/attachak/20130315/494881/จากประชาธิปไตยครึ่งใบสู่การเมือง-ไพร่-อำมาตย์-(2).html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง