ขอให้ฝันนี้เป็นจริง

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวานนี้ผมเขียนถึงนิทรรศการ Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การแสดงโครงการลงทุนระบบขนส่งไทยในอนาคตของรัฐบาล ภายใต้วงเงินกู้ เพื่อโครงการลงทุนในการสร้างพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท

เมื่อ วันเสาร์ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีคมนาคม ก็เล่าในรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ว่า ไทยแค่อยู่เฉยๆก็ถอยหลังแล้ว เพราะจีนต่อทางรถไฟไปถึงโปแลนด์แล้ว กำลังต่อทางจากคุนหมิงลงมาที่เวียงจันทน์ รถไฟความเร็วสูงสิงคโปร์กับมาเลเซียก็คุยกันแล้ว ไทยจึงต้องเร่งลงทุนระบบรางและรถไฟความเร็วสูง

รัฐมนตรีชัชชาติ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ไทยใช้ถนนในการขนส่งมากถึง 80% ธนาคารโลก จัดให้ระบบโลจิสติกส์ของไทยด้าน ถนน อยู่อันดับ 36 ราง อยู่อันดับ 57 ท่าเรือ อยู่อันดับ 43 ท่าอากาศยาน อยู่อันดับ 28 ด้อยกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย (ทั้งที่ภูมิศาสตร์การบินไทยเหนือกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย)

ถ้า หาก ตีมูลค่า เรื่อง การดูแลรักษารถยนต์ส่วนตัว เรื่องเวลา เรื่องสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร คำนวณออกมาว่า ปีหนึ่งไทยสูญเสียคิดเป็นเงิน 50,000 ล้านบาท สะสมมาแล้ว 10 ปีก็ 500,000 ล้านบาท เรื่องนี้ผมก็เคยเขียนไปในคอลัมน์นี้แล้ว

ท่านรัฐมนตรีชัช ชาติ คุยต่อไปว่า ระบบรางจะทำ 3 อย่างหลักๆคือ รางคู่ ทำเพิ่มอีก 3,000 กว่า กม. และยังเพิ่ม รถไฟความเร็วสูงอีก 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-โคราช, กรุงเทพฯ-ระยอง และ กรุงเทพฯ-หัวหิน นอกจากนี้ ยังมีการทำ รถไฟฟ้าอีก 10 สายในกรุงเทพฯ รวมประมาณ 400 กว่า กม. ทำท่าเรือเพิ่มอีกอย่างน้อย 3-4 แห่ง คือ ชุมพร สงขลา และสตูล

ฟังแล้วก็อดเคลิ้มไปกับท่านไม่ได้ อยากเห็นเมืองไทยมีรถไฟความเร็วสูง แต่ในความจริง โครงการทั้งหมดที่ท่านเล่ามานั้น ล้วนเป็น “โครงการเก่า” ที่เล่ากันมา 10-20 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสเกิดเสียที

ผม ขอส่งกำลังใจไปช่วยลุ้น ความฝันอันยิ่งใหญ่ ของ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีหนุ่มไฟแรง ขอให้มีความตั้งใจจริง ผลักดันงานเหล่านี้ออกมาให้สำเร็จเถิด แล้วจะเป็นพระคุณต่อแผ่นดินไทยอย่างมหาศาล

การผลักดัน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศ เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ต่างจังหวัด ให้เท่าเทียมกัน เป็นเรื่องยากแสนยากในเมืองไทย เพราะ มีนักการเมืองคอยจ้องงาบผลประโยชน์อยู่รอบด้าน เป็นตัวถ่วงความเจริญ

แม้ ผมจะมีความเชื่อมั่นในตัว รัฐมนตรีชัชชาติ ที่เป็นคนหนุ่มไฟแรง แต่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า จะทนต่อแรงกดดันรอบข้างได้หรือไม่ ผมมีตัวอย่างหนึ่งอยากเล่าให้ รัฐมนตรีชัชชาติ ฟัง และนำกลับไปคิดเป็นการบ้าน จะวางแผนรับมือกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร เพื่อผลักดันโครงสร้างพื้นฐานระบบราง 2.2 ล้านล้านบาทให้สำเร็จ ซึ่งจะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยจากหลังมือเป็นหน้ามือเลย

ตัวอย่างคือ มอเตอร์เวย์สระบุรี-โคราช ระยะทาง 196 กม. เชื่อมกรุงเทพฯกับภาคอีสาน ถนนสายนี้ ครม.มีมติให้สร้างเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2540 พร้อมทางหลวงอื่น 13 สาย แต่สร้างเสร็จไปแค่ 2 สายคือ ถนนวงแหวนตะวันออก และ มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี จนวันเวลา ผ่านไป 16 ปี ถนนสายโคราชก็ไม่ยอมเกิดสักที ล่าสุด ครม.ยิ่งลักษณ์ เพิ่งอนุมัติกฎหมายเวนคืนที่ดินเมื่อเดือนที่แล้ว 16 ปีที่เสียไป คงรอให้ นักการเมืองจับจองที่ดินผ่านเขาใหญ่ ให้เสร็จเสียก่อน

ค่าก่อสร้าง จากเริ่มต้นเท่าไรไม่รู้ แต่ผ่านไป 16 ปี ตัวเลขกรมทางหลวงอยู่ที่ 21,800 ล้านบาท แต่ พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยคมนาคม แถลงไม่กี่วันก่อน พุ่งขึ้นไปที่ 68,780 ล้านบาทแล้วจ้า เวลาก่อสร้างจริง ไม่รู้จะเพิ่มอีกเท่าไหร่ จะสร้างเสร็จเมื่อไรก็ยังไม่รู้ ยังต้องทำเรื่องสิ่งแวดล้อมอีก แล้วโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท จะต้องใช้เวลาก่อสร้างนานเท่าไร ผมไม่กล้าคิด แต่ยกตัวอย่าง มอเตอร์เวย์โคราช ให้ ท่านรัฐมนตรีชัชชาติ กลับไปคิดครับ. “ลม เปลี่ยนทิศ”

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/331641

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 12/03/2556 เวลา 03:41:00

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวานนี้ผมเขียนถึงนิทรรศการ Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การแสดงโครงการลงทุนระบบขนส่งไทยในอนาคตของรัฐบาล ภายใต้วงเงินกู้ เพื่อโครงการลงทุนในการสร้างพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท เมื่อ วันเสาร์ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีคมนาคม ก็เล่าในรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ว่า ไทยแค่อยู่เฉยๆก็ถอยหลังแล้ว เพราะจีนต่อทางรถไฟไปถึงโปแลนด์แล้ว กำลังต่อทางจากคุนหมิงลงมาที่เวียงจันทน์ รถไฟความเร็วสูงสิงคโปร์กับมาเลเซียก็คุยกันแล้ว ไทยจึงต้องเร่งลงทุนระบบรางและรถไฟความเร็วสูง รัฐมนตรีชัชชาติ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ไทยใช้ถนนในการขนส่งมากถึง 80% ธนาคารโลก จัดให้ระบบโลจิสติกส์ของไทยด้าน ถนน อยู่อันดับ 36 ราง อยู่อันดับ 57 ท่าเรือ อยู่อันดับ 43 ท่าอากาศยาน อยู่อันดับ 28 ด้อยกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย (ทั้งที่ภูมิศาสตร์การบินไทยเหนือกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย) ถ้า หาก ตีมูลค่า เรื่อง การดูแลรักษารถยนต์ส่วนตัว เรื่องเวลา เรื่องสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร คำนวณออกมาว่า ปีหนึ่งไทยสูญเสียคิดเป็นเงิน 50,000 ล้านบาท สะสมมาแล้ว 10 ปีก็ 500,000 ล้านบาท เรื่องนี้ผมก็เคยเขียนไปในคอลัมน์นี้แล้ว ท่านรัฐมนตรีชัช ชาติ คุยต่อไปว่า ระบบรางจะทำ 3 อย่างหลักๆคือ รางคู่ ทำเพิ่มอีก 3,000 กว่า กม. และยังเพิ่ม รถไฟความเร็วสูงอีก 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-โคราช, กรุงเทพฯ-ระยอง และ กรุงเทพฯ-หัวหิน นอกจากนี้ ยังมีการทำ รถไฟฟ้าอีก 10 สายในกรุงเทพฯ รวมประมาณ 400 กว่า กม. ทำท่าเรือเพิ่มอีกอย่างน้อย 3-4 แห่ง คือ ชุมพร สงขลา และสตูล ฟังแล้วก็อดเคลิ้มไปกับท่านไม่ได้ อยากเห็นเมืองไทยมีรถไฟความเร็วสูง แต่ในความจริง โครงการทั้งหมดที่ท่านเล่ามานั้น ล้วนเป็น “โครงการเก่า” ที่เล่ากันมา 10-20 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสเกิดเสียที ผม ขอส่งกำลังใจไปช่วยลุ้น ความฝันอันยิ่งใหญ่ ของ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีหนุ่มไฟแรง ขอให้มีความตั้งใจจริง ผลักดันงานเหล่านี้ออกมาให้สำเร็จเถิด แล้วจะเป็นพระคุณต่อแผ่นดินไทยอย่างมหาศาล การผลักดัน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศ เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ต่างจังหวัด ให้เท่าเทียมกัน เป็นเรื่องยากแสนยากในเมืองไทย เพราะ มีนักการเมืองคอยจ้องงาบผลประโยชน์อยู่รอบด้าน เป็นตัวถ่วงความเจริญ แม้ ผมจะมีความเชื่อมั่นในตัว รัฐมนตรีชัชชาติ ที่เป็นคนหนุ่มไฟแรง แต่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า จะทนต่อแรงกดดันรอบข้างได้หรือไม่ ผมมีตัวอย่างหนึ่งอยากเล่าให้ รัฐมนตรีชัชชาติ ฟัง และนำกลับไปคิดเป็นการบ้าน จะวางแผนรับมือกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร เพื่อผลักดันโครงสร้างพื้นฐานระบบราง 2.2 ล้านล้านบาทให้สำเร็จ ซึ่งจะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยจากหลังมือเป็นหน้ามือเลย ตัวอย่างคือ มอเตอร์เวย์สระบุรี-โคราช ระยะทาง 196 กม. เชื่อมกรุงเทพฯกับภาคอีสาน ถนนสายนี้ ครม.มีมติให้สร้างเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2540 พร้อมทางหลวงอื่น 13 สาย แต่สร้างเสร็จไปแค่ 2 สายคือ ถนนวงแหวนตะวันออก และ มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี จนวันเวลา ผ่านไป 16 ปี ถนนสายโคราชก็ไม่ยอมเกิดสักที ล่าสุด ครม.ยิ่งลักษณ์ เพิ่งอนุมัติกฎหมายเวนคืนที่ดินเมื่อเดือนที่แล้ว 16 ปีที่เสียไป คงรอให้ นักการเมืองจับจองที่ดินผ่านเขาใหญ่ ให้เสร็จเสียก่อน ค่าก่อสร้าง จากเริ่มต้นเท่าไรไม่รู้ แต่ผ่านไป 16 ปี ตัวเลขกรมทางหลวงอยู่ที่ 21,800 ล้านบาท แต่ พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยคมนาคม แถลงไม่กี่วันก่อน พุ่งขึ้นไปที่ 68,780 ล้านบาทแล้วจ้า เวลาก่อสร้างจริง ไม่รู้จะเพิ่มอีกเท่าไหร่ จะสร้างเสร็จเมื่อไรก็ยังไม่รู้ ยังต้องทำเรื่องสิ่งแวดล้อมอีก แล้วโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท จะต้องใช้เวลาก่อสร้างนานเท่าไร ผมไม่กล้าคิด แต่ยกตัวอย่าง มอเตอร์เวย์โคราช ให้ ท่านรัฐมนตรีชัชชาติ กลับไปคิดครับ. “ลม เปลี่ยนทิศ” ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/331641

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง