การเมืองเปิดหน้าลุย ขึงพืด “ตัวประกัน” ประชาชน
แล้วสถานการณ์หลักทางการเมือง ก็กลับสู่สถานะเดิมอีกครั้ง
โดยเฉพาะเมื่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เสร็จสิ้น
สถานการณ์หลักทางการเมืองของสังคมไทยกลับไปอยู่ในสถานะเดิม ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะมีขึ้น
เป็นสถานะของความอ่อนไหวจากปัจจัยทางการเมือง
ในประเด็นละเอียดอ่อนทางการเมือง
ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ในห้วงเวลาของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สถานการณ์การเมืองไทยดำเนินไปในลักษณะของ “คู่ขนาน”
ด้านหนึ่ง เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมือง ในมิติของ “การเมืองท้องถิ่น”
ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมือง ในมิติของ “การเมืองระดับชาติ”
ทว่า! ทั้ง 2 เวทีที่ว่านั้น
กลับดำเนินไปอย่างแนบสนิท แทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ในสภาวะ “คู่ขนาน”
โดยเฉพาะกับประเด็นอันแหลมคมในทางการเมือง
เป็นความจริงว่า ในห้วงเวลาของการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. เวที “การเมืองระดับชาติ” คล้ายกับจะย้ายมาอยู่ในเวที “การเมืองท้องถิ่น”
ทว่า! ประเด็นในทางการเมือง กลับยังคงเป็นสาระหลักเดียวกัน
ทั้งในเวที “การเมืองท้องถิ่น”
และในเวที “การเมืองระดับชาติ”
นี่เพราะทั้ง “การเมืองท้องถิ่น” และ “การเมืองระดับชาติ”
ต่างก็อาศัย “เงื่อนไข-เงื่อนเวลา” เดียวกัน เพื่อหวังผลต่อการขยายผล เฉกเช่นเดียวกัน
ภาวะเช่นว่านี้ นำมาสู่ความพยายามในการอธิบาย “ปรากฏการณ์ทางการเมือง” ในลักษณะของการ “ถอดรหัส” ในทางการเมือง
เพื่อไปสู่เป้าหมายปลายทาง
อันว่าด้วยการขยายผล ในมิติของ “การเมืองระดับชาติ”
แน่นอนว่า ปรากฏการณ์ “ชัยชนะ” และ “พ่ายแพ้” ของ “คู่กรณี” ในเวที “การเมืองท้องถิ่น” อันปรากฏต่อสาธารณะ
ย่อมมี “ความหมาย” อย่างมี “นัยสำคัญ”
ต่อ “การเมืองระดับชาติ” อย่างไม่อาจปฏิเสธได้
นี่เพราะ “การเมืองท้องถิ่น” ถูกขยายความหมาย ให้มี “มิติซ้อนทับ” กับ “การเมืองระดับชาติ” อย่างแนบสนิท
และเมื่อปรากฏผลหลัง “ชัยชนะ” และ “พ่ายแพ้” ของ “คู่กรณี” แล้ว
ปรากฏการณ์ที่ว่านี้ ก็ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อผลกระทบ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ต่อความหมายของ “การเมืองระดับชาติ” ได้
แน่นอนว่า นี่ย่อมมี “ความหมาย” อย่างมี “นัยสำคัญ”
อย่าลืมว่า ก่อนหน้าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อย่างน้อยที่สุดมี 3 ปัจจัยหลัก
ที่ถือได้ว่า เป็นปัจจัยที่เป็นประเด็นอ่อนไหว และเป็นประเด็นละเอียดอ่อนทางการเมืองอย่างยิ่ง
หนึ่งคือ ประเด็นว่าด้วยการ “แก้ไขรัฐธรรมนูญ”
หนึ่งคือ ประเด็นว่าด้วยการ “ปรองดอง”
หนึ่งคือ ประเด็นว่าด้วย “นิรโทษกรรม”
ทั้ง 3 ประเด็นหลักที่ว่านี้ เป็นประเด็นอ่อนไหว และเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ซึ่งมีความเชื่อมโยงถึงกันอย่างแนบสนิท
โดยไม่อาจแยกออกจากกันแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ที่สำคัญคือ ทั้ง 3 ประเด็นหลักที่ว่านี้ ล้วนมีความพยายามเคลื่อนไหวและผลักดันให้มีการดำเนินการไปสู่เป้าหมายให้ได้อย่างถึงที่สุด
อย่าลืมว่า ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
ทั้ง 3 ประเด็นได้ถูก “จุดกระแส” มาตามลำดับ
และอย่าลืมว่า ในทุกๆ ครั้งที่ถูก “จุดกระแส” ขึ้น “กระแสต้าน” ก็จะก่อตัวขึ้นอย่างฉับพลันทันทีเช่นกัน
นี่ทำให้ทั้ง 3 ประเด็นหลัก ยังคงค้างคาอยู่
แต่ยังไม่ได้หมายความว่า ความพยายามในการดำเนินการดังกล่าว จะถูกยุติลงอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ตรงกันข้าม ทั้ง 3 ประเด็น ยังมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง
ในการผลักดันและเคลื่อนไหว เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ให้ได้อย่างถึงที่สุด
ความจริงก็คือ ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มีความพยายามอย่างยิ่งยวด
ที่จะผลักดันทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าว
และความจริงก็คือ หลังการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ความพยายามดังกล่าวก็ยังไม่มีการลดละเลิก หรือยุติลงแต่อย่างใด
ตรงกันข้าม ทันทีที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เสร็จสิ้น
ความพยายามที่จะผลักดันทั้ง 3 ประเด็นหลักอย่างถึงที่สุด ก็กลับมาอีกครั้ง ผ่านความเคลื่อนไหวในทุกรูปแบบ ดังที่ปรากฏให้เห็นต่อสาธารณะ
นี่เป็นอีกเฮือกของการดิ้น เพื่อ “เดิมพัน” สำหรับ “อนาคตทางการเมือง” อีกครั้ง
และนี่ก็ทำให้ “สถานการณ์หลักทางการเมือง” กลับมาสู่ “สถานะเดิม” อีกครั้ง
พร้อมๆ กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่จะเป็น “ตัวประกัน” อีกครั้งเช่นกัน!!!
ขอบคุณ http://www.banmuang.co.th/2013/03/การเมืองเปิดหน้าลุย/
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แล้วสถานการณ์หลักทางการเมือง ก็กลับสู่สถานะเดิมอีกครั้ง โดยเฉพาะเมื่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เสร็จสิ้น สถานการณ์หลักทางการเมืองของสังคมไทยกลับไปอยู่ในสถานะเดิม ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะมีขึ้น เป็นสถานะของความอ่อนไหวจากปัจจัยทางการเมือง ในประเด็นละเอียดอ่อนทางการเมือง ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ในห้วงเวลาของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สถานการณ์การเมืองไทยดำเนินไปในลักษณะของ “คู่ขนาน” ด้านหนึ่ง เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมือง ในมิติของ “การเมืองท้องถิ่น” ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมือง ในมิติของ “การเมืองระดับชาติ” ทว่า! ทั้ง 2 เวทีที่ว่านั้น กลับดำเนินไปอย่างแนบสนิท แทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ในสภาวะ “คู่ขนาน” โดยเฉพาะกับประเด็นอันแหลมคมในทางการเมือง เป็นความจริงว่า ในห้วงเวลาของการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. เวที “การเมืองระดับชาติ” คล้ายกับจะย้ายมาอยู่ในเวที “การเมืองท้องถิ่น” ทว่า! ประเด็นในทางการเมือง กลับยังคงเป็นสาระหลักเดียวกัน ทั้งในเวที “การเมืองท้องถิ่น” และในเวที “การเมืองระดับชาติ” นี่เพราะทั้ง “การเมืองท้องถิ่น” และ “การเมืองระดับชาติ” ต่างก็อาศัย “เงื่อนไข-เงื่อนเวลา” เดียวกัน เพื่อหวังผลต่อการขยายผล เฉกเช่นเดียวกัน ภาวะเช่นว่านี้ นำมาสู่ความพยายามในการอธิบาย “ปรากฏการณ์ทางการเมือง” ในลักษณะของการ “ถอดรหัส” ในทางการเมือง เพื่อไปสู่เป้าหมายปลายทาง อันว่าด้วยการขยายผล ในมิติของ “การเมืองระดับชาติ” แน่นอนว่า ปรากฏการณ์ “ชัยชนะ” และ “พ่ายแพ้” ของ “คู่กรณี” ในเวที “การเมืองท้องถิ่น” อันปรากฏต่อสาธารณะ ย่อมมี “ความหมาย” อย่างมี “นัยสำคัญ” ต่อ “การเมืองระดับชาติ” อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ นี่เพราะ “การเมืองท้องถิ่น” ถูกขยายความหมาย ให้มี “มิติซ้อนทับ” กับ “การเมืองระดับชาติ” อย่างแนบสนิท และเมื่อปรากฏผลหลัง “ชัยชนะ” และ “พ่ายแพ้” ของ “คู่กรณี” แล้ว ปรากฏการณ์ที่ว่านี้ ก็ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อผลกระทบ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ต่อความหมายของ “การเมืองระดับชาติ” ได้ แน่นอนว่า นี่ย่อมมี “ความหมาย” อย่างมี “นัยสำคัญ” อย่าลืมว่า ก่อนหน้าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อย่างน้อยที่สุดมี 3 ปัจจัยหลัก ที่ถือได้ว่า เป็นปัจจัยที่เป็นประเด็นอ่อนไหว และเป็นประเด็นละเอียดอ่อนทางการเมืองอย่างยิ่ง หนึ่งคือ ประเด็นว่าด้วยการ “แก้ไขรัฐธรรมนูญ” หนึ่งคือ ประเด็นว่าด้วยการ “ปรองดอง” หนึ่งคือ ประเด็นว่าด้วย “นิรโทษกรรม” ทั้ง 3 ประเด็นหลักที่ว่านี้ เป็นประเด็นอ่อนไหว และเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ซึ่งมีความเชื่อมโยงถึงกันอย่างแนบสนิท โดยไม่อาจแยกออกจากกันแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ที่สำคัญคือ ทั้ง 3 ประเด็นหลักที่ว่านี้ ล้วนมีความพยายามเคลื่อนไหวและผลักดันให้มีการดำเนินการไปสู่เป้าหมายให้ได้อย่างถึงที่สุด อย่าลืมว่า ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 3 ประเด็นได้ถูก “จุดกระแส” มาตามลำดับ และอย่าลืมว่า ในทุกๆ ครั้งที่ถูก “จุดกระแส” ขึ้น “กระแสต้าน” ก็จะก่อตัวขึ้นอย่างฉับพลันทันทีเช่นกัน นี่ทำให้ทั้ง 3 ประเด็นหลัก ยังคงค้างคาอยู่ แต่ยังไม่ได้หมายความว่า ความพยายามในการดำเนินการดังกล่าว จะถูกยุติลงอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตรงกันข้าม ทั้ง 3 ประเด็น ยังมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง ในการผลักดันและเคลื่อนไหว เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ให้ได้อย่างถึงที่สุด ความจริงก็คือ ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มีความพยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะผลักดันทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าว และความจริงก็คือ หลังการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ความพยายามดังกล่าวก็ยังไม่มีการลดละเลิก หรือยุติลงแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ทันทีที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เสร็จสิ้น ความพยายามที่จะผลักดันทั้ง 3 ประเด็นหลักอย่างถึงที่สุด ก็กลับมาอีกครั้ง ผ่านความเคลื่อนไหวในทุกรูปแบบ ดังที่ปรากฏให้เห็นต่อสาธารณะ นี่เป็นอีกเฮือกของการดิ้น เพื่อ “เดิมพัน” สำหรับ “อนาคตทางการเมือง” อีกครั้ง และนี่ก็ทำให้ “สถานการณ์หลักทางการเมือง” กลับมาสู่ “สถานะเดิม” อีกครั้ง พร้อมๆ กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่จะเป็น “ตัวประกัน” อีกครั้งเช่นกัน!!! ขอบคุณ http://www.banmuang.co.th/2013/03/การเมืองเปิดหน้าลุย/
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)