‘ปู'ตั้ง4เป้าหมายส่งเสริมศักยภาพสตรี

แสดงความคิดเห็น

'นายกฯ' ตั้ง 4 เป้าหมายส่งเสริมศักยภาพสตรี พร้อมหนุนมีบทบาททางการเมือง

8 มี.ค.56 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานสตรีไทยพลังสร้างสรรค์ประเทศไทย เนื่องในวันสตรีสากล จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงานคือ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

นายกฯ กล่าวว่า ประชาชนชาวไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทรงให้ความสำคัญกับกิจการพัฒนาสตรีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างอาชีพ รวมทั้งการพัฒนาบทบาทสตรีให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ พระวิริยะอุตสาหะในการทรงงานของพระองค์ท่านเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับทุกภาคส่วนในการผลักดันงานทางด้านสตรี

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า สำหรับสตรีไทยในปัจจุบันได้มีบทบาททั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดดเด่นมากกว่าในอดีต ซึ่งต้องยอมรับว่า ยังมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องของโอกาส และยังมีสตรีอีกจำนวนมากเป็นเหยื่อของความรุนแรงในหลายรูปแบบ รัฐบาลได้กำหนดให้การพัฒนาสตรีเป็นภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาล และพร้อมที่จะผลักดันการพัฒนาสตรีอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้สตรีไทยมีความก้าวหน้าในทุกมิติ โดยในระยะแรกได้ตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนงาน

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป้าหมายที่ 1. พัฒนาสตรีไทยให้มีสุขภาพดี โดยเริ่มจากการสร้างอาสาสมัครตรวจมะเร็งเต้านม 1 ล้านคน ภายในเดือนมิถุนายน 2556 และขยายผลให้สตรีไทย อย่างน้อย 20 ล้านคน มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และการตรวจมะเร็งเต้านมภายใน พ.ศ.2557

2. พัฒนาสตรีไทยให้รอบรู้ ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยภายใน 1 ปี จะมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วย ICT จำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อให้สตรีอย่างน้อย 1 ล้านคนทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ IPTV เพื่อเพิ่มพูนความรู้ผ่านการเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ พร้อมทั้งสนับสนุนให้กลุ่มสมาชิกสตรีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 ราย ได้เรียนรู้การทำร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Thailandmall.net

3. พัฒนาสตรีไทยพร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยเปิดศูนย์เรียนรู้สู่อาเซียน จาก 22 ศูนย์ นำร่อง ในจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศ เพื่อนบ้าน ในปี 2556 และจัดตั้งเพิ่มเติมกว่า 1,000 ศูนย์ ในปี 2557 เพื่อให้สตรี อย่างน้อย 1 ล้าน 2 แสนคน มีความรู้ภาษาอาเซียนอย่างน้อย 1 ภาษา โดยสามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารเพื่อการประกอบอาชีพ ส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มเติมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

4. จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม (One Stop Crisis Center) โดยความร่วมมือของหน่วยงานราชการ 21 หน่วยงาน รวมทั้งมูลนิธิ องค์กรเอกชน รวมกว่า 20,000 จุดทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือสตรี เด็ก คนชรา ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมทั้งรับแจ้งเบาะแส พัฒนาระบบการส่งต่อ และติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรง เหยื่อของการค้ามนุษย์ ให้ได้รับความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด สะดวกที่สุด และมีการติดตามการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งศูนย์นี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก การกระทำความรุนแรง

“รัฐบาลจะเน้นนโยบายในการส่งเสริมศักยภาพของสตรีเพื่อให้มีภาวะผู้นำมากขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยจะมีการสร้างกลไกเพื่อเพิ่มโอกาสให้สตรีแสดงศักยภาพ พร้อมยกระดับภาวะผู้นำ” นายกรัฐมนตรี กล่าว

'นายกฯ' พอใจงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิธีเปิดงานสตรีไทย พลังสร้างสรรค์ประเทศไทย เนื่องในวันสตรีสากล พร้อมประกาศเจตนารมณ์ผลักดันงานพัฒนาสตรีทุกด้าน เตรียมสร้างอาสาสมัครตรวจมะเร็งเตานม 1 ล้านคน สร้างเสริมสุขภาพสตรีไทยให้ห่างไกลโรค

นายกรัฐมนตรี กล่าวในการเป็นประธาน พิธีเปิดงาน สตรีไทย พลังสร้างสรรค์ประเทศไทย เนื่องในวันสตรีสากลว่า ทุกวันนี้โลกมีความเปลี่ยนแปลง ผู้หญิงมีบทบาทการเมือง การปกครองมากขึ้น มีสตรีที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในหลายประเทศ อย่างในประเทศเยอรมัน ซึ่งตนได้มีการประสานความร่วมมือในประเทศเหล่านั้น เพื่อที่จะผนึกกำลังกันในการพัฒนาบทบาทสตรีในระดับนานาประเทศด้วย

“วันนี้สตรีไทยจะเห็นว่ามีโอกาสมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง แต่ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำของโอกาส และยังมีสตรีไทยอีกจำนวนมากที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง ในอีหลายรูปแบบ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และกำหนดให้เป็นนโยบายในการพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะตอบโจทย์ให้กับประชากรครึ่งประเทศของไทยในเรื่องของการพัฒนา ที่จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศในภาพรวมเช่นกัน” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ ตนเชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาบทบาทสตรีมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งในส่วนของการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเห็นความเท่าเทียบกันในสังคม ทั้งเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริทโอกาสให้สตรีมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ความคืบหน้าของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ได้มีการตั้งคณะกรรมการกองทุนในระดับชาติ และในระดับจังหวัด ระดับตำบลเรียบร้อยแล้ว มีความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจ เพราะ มีทั้งหน่อยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายสตรีอยู่ทั่วประเทศเกือบ 100,000 ราย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีผู้ที่ได้เข้าร่วมกองทุนไปแล้วกว่า 50,000 ราย” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า เนื่องในวันสตรีสากล ตนขอประกาศเจตนารมณ์อันแนวแน่น ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อย่างกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงมหาดไทย ที่จะจัดทำแผนงานรวมกัน ให้เป็นของขวัญในวันสตรีสากล โดยจะขับเคลื่อนงานพัฒนาสตรีในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาสตรีให้มีสุขภาพดี ซึ่งจะสร้างอาสาสมัครในการตรวจมะเร็งเตานม 1 ล้านคนภายในเดือนมิถุนายนนี้ และจะขยายผลไปยังสตรีไทยกว่า 16 ล้านคน หรือ ร้อยละ 80 ของสตรีที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในสามารถตรวจมะเร็งเตานมด้วยตนเอง

นอกจากนี้จะพัฒนาสตรีไทยให้รอบรู้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการมีศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีไม่น้องกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ และจะผลักดันให้สตรีใช้ระบบอินเตอร์เน็ต ด้วยการขายของออนไลน์ และตั้งศูนย์พัฒนาสตรีสู่อาเซียนจำนวน 22 ศูนย์ เพื่อให้สตรีได้พัฒนาตัวเองและได้เรียนรู้ภาษาต่างๆในอาเซียน รวมถึงตั้งศูนย์ one stop service ที่จะให้บริการเด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ ที่ให้บริการทุกกลุ่มในจุดด้วย โดยจะเชิญชวนเจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคมมาช่วยกันทำงาน

ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า การถือกำเนิดของวันสตรีสากล เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและยอมรับบทบาทและศักยภาพของสตรีมากขึ้น นับตั้งแต่ปีที่เริ่มมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญสนับสนุนและส่งเสริมสตรีให้ได้รับความเท่าเทียมในสังคม

“สำหรับประเทศไทย แม้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จะมีการพัฒนาโอกาสและบทบาทของสตรีในด้านต่างๆ มากขึ้น แต่ในสภาพความเป็นจริงของสังคม ยังคงพบเห็นความด้อยและความเหลื่อมล้ำในเชิงโอกาสของสตรีปรากฏอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีในระดับท้องถิ่น ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการแสวงหาโอกาสและความก้าวหน้าที่พึงได้รับ จนบางครั้งนำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบ หรือแม้แต่การ ถูกละเมิดสิทธิสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง พม.ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริมโอกาส และความก้าวหน้าของสตรีไทย โดยเชื่อมั่นว่า การรวมพลังของสตรีและบุรุษจะนำไปสู่การขจัดความไม่เท่าเทียมทางเพศให้หมดสิ้นไป” นายสันติ กล่าว

นายสันติ กล่าวอีกว่า เนื่องจากสตรีและบุรุษต่างมีมุมมองของการสะท้อนปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างกัน ของบุรุษและสตรีนี้จะช่วยเพิ่มมุมมองและเติมเต็มในการแก้ไขปัญหา และเอื้อต่อการพัฒนาครอบครัว ชุมชน สังคม ให้เกิดดุลยภาพอย่างยั่งยืน

“การขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความเสมอภาคอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ และต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคมที่จะปรับเปลี่ยนมุมมอง วิธีคิด และเจตคติของคนในสังคมให้มีการดำเนินชีวิต บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของหญิงและชายที่แตกต่างกัน การเสริมสร้างให้หญิงและชาย มีเจตคติด้านความเสมอภาคนับเป็นสิ่งสำคัญ และควรเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ผ่านการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนการปลูกฝังผ่านการเรียนรู้ในระบบการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล โดยพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับบทบาทของหญิงและชาย เพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรู้เรื่องการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ การรู้จักหน้าที่ของตน และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างหญิงและชาย นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญ ซึ่งเชื่อได้ว่าจะเป็นพลังอันเข้มแข็งที่จะร่วมสร้างสรรค์พัฒนาประเทศให้เกิดความเสมอภาคและสันติสุขในสังคมไทย” นายสันติ กล่าว

ทั้งนี้นายสันติ ได้เป็นผู้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่สตรี บุคคล และหน่วยงานองค์กรดีเด่น จำนวน 18 สาขา รวม 32 รางวัล การมอบโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรเครือข่ายสตรีที่มีศักยภาพดีเด่น จำนวน 39 รางวัล และการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น ด้านสตรีและครอบครัว จำนวน 177 รางวัล

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130308/153493/ปูตั้ง4เป้าหมายส่งเสริมศักยภาพสตรี.html#.UTqxPzeWDFE (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 9/03/2556 เวลา 03:55:09

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'นายกฯ' ตั้ง 4 เป้าหมายส่งเสริมศักยภาพสตรี พร้อมหนุนมีบทบาททางการเมือง 8 มี.ค.56 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานสตรีไทยพลังสร้างสรรค์ประเทศไทย เนื่องในวันสตรีสากล จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงานคือ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี นายกฯ กล่าวว่า ประชาชนชาวไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทรงให้ความสำคัญกับกิจการพัฒนาสตรีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างอาชีพ รวมทั้งการพัฒนาบทบาทสตรีให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ พระวิริยะอุตสาหะในการทรงงานของพระองค์ท่านเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับทุกภาคส่วนในการผลักดันงานทางด้านสตรี นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า สำหรับสตรีไทยในปัจจุบันได้มีบทบาททั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดดเด่นมากกว่าในอดีต ซึ่งต้องยอมรับว่า ยังมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องของโอกาส และยังมีสตรีอีกจำนวนมากเป็นเหยื่อของความรุนแรงในหลายรูปแบบ รัฐบาลได้กำหนดให้การพัฒนาสตรีเป็นภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาล และพร้อมที่จะผลักดันการพัฒนาสตรีอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้สตรีไทยมีความก้าวหน้าในทุกมิติ โดยในระยะแรกได้ตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนงาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป้าหมายที่ 1. พัฒนาสตรีไทยให้มีสุขภาพดี โดยเริ่มจากการสร้างอาสาสมัครตรวจมะเร็งเต้านม 1 ล้านคน ภายในเดือนมิถุนายน 2556 และขยายผลให้สตรีไทย อย่างน้อย 20 ล้านคน มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และการตรวจมะเร็งเต้านมภายใน พ.ศ.2557 2. พัฒนาสตรีไทยให้รอบรู้ ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยภายใน 1 ปี จะมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วย ICT จำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อให้สตรีอย่างน้อย 1 ล้านคนทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ IPTV เพื่อเพิ่มพูนความรู้ผ่านการเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ พร้อมทั้งสนับสนุนให้กลุ่มสมาชิกสตรีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 ราย ได้เรียนรู้การทำร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Thailandmall.net 3. พัฒนาสตรีไทยพร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยเปิดศูนย์เรียนรู้สู่อาเซียน จาก 22 ศูนย์ นำร่อง ในจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศ เพื่อนบ้าน ในปี 2556 และจัดตั้งเพิ่มเติมกว่า 1,000 ศูนย์ ในปี 2557 เพื่อให้สตรี อย่างน้อย 1 ล้าน 2 แสนคน มีความรู้ภาษาอาเซียนอย่างน้อย 1 ภาษา โดยสามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารเพื่อการประกอบอาชีพ ส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มเติมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 4. จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม (One Stop Crisis Center) โดยความร่วมมือของหน่วยงานราชการ 21 หน่วยงาน รวมทั้งมูลนิธิ องค์กรเอกชน รวมกว่า 20,000 จุดทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือสตรี เด็ก คนชรา ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมทั้งรับแจ้งเบาะแส พัฒนาระบบการส่งต่อ และติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรง เหยื่อของการค้ามนุษย์ ให้ได้รับความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด สะดวกที่สุด และมีการติดตามการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งศูนย์นี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก การกระทำความรุนแรง “รัฐบาลจะเน้นนโยบายในการส่งเสริมศักยภาพของสตรีเพื่อให้มีภาวะผู้นำมากขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยจะมีการสร้างกลไกเพื่อเพิ่มโอกาสให้สตรีแสดงศักยภาพ พร้อมยกระดับภาวะผู้นำ” นายกรัฐมนตรี กล่าว 'นายกฯ' พอใจงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิธีเปิดงานสตรีไทย พลังสร้างสรรค์ประเทศไทย เนื่องในวันสตรีสากล พร้อมประกาศเจตนารมณ์ผลักดันงานพัฒนาสตรีทุกด้าน เตรียมสร้างอาสาสมัครตรวจมะเร็งเตานม 1 ล้านคน สร้างเสริมสุขภาพสตรีไทยให้ห่างไกลโรค นายกรัฐมนตรี กล่าวในการเป็นประธาน พิธีเปิดงาน สตรีไทย พลังสร้างสรรค์ประเทศไทย เนื่องในวันสตรีสากลว่า ทุกวันนี้โลกมีความเปลี่ยนแปลง ผู้หญิงมีบทบาทการเมือง การปกครองมากขึ้น มีสตรีที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในหลายประเทศ อย่างในประเทศเยอรมัน ซึ่งตนได้มีการประสานความร่วมมือในประเทศเหล่านั้น เพื่อที่จะผนึกกำลังกันในการพัฒนาบทบาทสตรีในระดับนานาประเทศด้วย “วันนี้สตรีไทยจะเห็นว่ามีโอกาสมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง แต่ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำของโอกาส และยังมีสตรีไทยอีกจำนวนมากที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง ในอีหลายรูปแบบ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และกำหนดให้เป็นนโยบายในการพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะตอบโจทย์ให้กับประชากรครึ่งประเทศของไทยในเรื่องของการพัฒนา ที่จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศในภาพรวมเช่นกัน” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ ตนเชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาบทบาทสตรีมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งในส่วนของการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเห็นความเท่าเทียบกันในสังคม ทั้งเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริทโอกาสให้สตรีมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “ความคืบหน้าของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ได้มีการตั้งคณะกรรมการกองทุนในระดับชาติ และในระดับจังหวัด ระดับตำบลเรียบร้อยแล้ว มีความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจ เพราะ มีทั้งหน่อยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายสตรีอยู่ทั่วประเทศเกือบ 100,000 ราย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีผู้ที่ได้เข้าร่วมกองทุนไปแล้วกว่า 50,000 ราย” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า เนื่องในวันสตรีสากล ตนขอประกาศเจตนารมณ์อันแนวแน่น ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อย่างกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงมหาดไทย ที่จะจัดทำแผนงานรวมกัน ให้เป็นของขวัญในวันสตรีสากล โดยจะขับเคลื่อนงานพัฒนาสตรีในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาสตรีให้มีสุขภาพดี ซึ่งจะสร้างอาสาสมัครในการตรวจมะเร็งเตานม 1 ล้านคนภายในเดือนมิถุนายนนี้ และจะขยายผลไปยังสตรีไทยกว่า 16 ล้านคน หรือ ร้อยละ 80 ของสตรีที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในสามารถตรวจมะเร็งเตานมด้วยตนเอง นอกจากนี้จะพัฒนาสตรีไทยให้รอบรู้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการมีศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีไม่น้องกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ และจะผลักดันให้สตรีใช้ระบบอินเตอร์เน็ต ด้วยการขายของออนไลน์ และตั้งศูนย์พัฒนาสตรีสู่อาเซียนจำนวน 22 ศูนย์ เพื่อให้สตรีได้พัฒนาตัวเองและได้เรียนรู้ภาษาต่างๆในอาเซียน รวมถึงตั้งศูนย์ one stop service ที่จะให้บริการเด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ ที่ให้บริการทุกกลุ่มในจุดด้วย โดยจะเชิญชวนเจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคมมาช่วยกันทำงาน ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า การถือกำเนิดของวันสตรีสากล เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและยอมรับบทบาทและศักยภาพของสตรีมากขึ้น นับตั้งแต่ปีที่เริ่มมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญสนับสนุนและส่งเสริมสตรีให้ได้รับความเท่าเทียมในสังคม “สำหรับประเทศไทย แม้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จะมีการพัฒนาโอกาสและบทบาทของสตรีในด้านต่างๆ มากขึ้น แต่ในสภาพความเป็นจริงของสังคม ยังคงพบเห็นความด้อยและความเหลื่อมล้ำในเชิงโอกาสของสตรีปรากฏอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีในระดับท้องถิ่น ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการแสวงหาโอกาสและความก้าวหน้าที่พึงได้รับ จนบางครั้งนำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบ หรือแม้แต่การ ถูกละเมิดสิทธิสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง พม.ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริมโอกาส และความก้าวหน้าของสตรีไทย โดยเชื่อมั่นว่า การรวมพลังของสตรีและบุรุษจะนำไปสู่การขจัดความไม่เท่าเทียมทางเพศให้หมดสิ้นไป” นายสันติ กล่าว นายสันติ กล่าวอีกว่า เนื่องจากสตรีและบุรุษต่างมีมุมมองของการสะท้อนปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างกัน ของบุรุษและสตรีนี้จะช่วยเพิ่มมุมมองและเติมเต็มในการแก้ไขปัญหา

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง