'สมคิด'มองไทยไกลสวยใกล้เลอะเทอะ

แสดงความคิดเห็น

'สมคิด'เตือนเกิดภาวะ'สมรรถนะบกพร่องทั้งประเทศ' เทียบประเทศไทยเหมือนภาพเขียนโมเนต์ สวยเมื่อดูไกล แต่เลอะเทอะเมื่อมองใกล้ แนะปฏิรูปเกษตร-ระบบคลัง

เมื่อเวลา 19.10น. วันที่ 5 ม.ค.2556 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวการคลัง ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ประเทศไทย ณ จุดเปลี่ยน” ในงานวันนักข่าว58ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท ประตูน้ำถึงมุมมองทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ

นายสมคิด กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่จริงแล้วระยะหลังตนใช้ชีวิตกึ่งรีไทร์ไม่ได้รับงานบรรยายที่ไหนถ้าไม่ใช่งานที่รักใคร่กันจริงๆ แต่งานนี้ตนอยากจะมาเพราะไมใช่มาบรรยายแต่จะมาพูดคุยกับสื่อที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับประเทศและสถานการณ์อย่างนี้ ซึ่งวันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาพูดเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะที่เราเผชิญอยู่ เพราะปัญหาที่เกิดล้วนอยู่ในวิสัยที่บริหารจัดการได้หากร่วมแรงร่วมใจมีความสามัคคีกันระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และทุกปัญหาก็ไม่น่าจะเหนือบ่ากว่าแรง เมื่อเทียบกับปี2540 ถือว่าปัญหาที่เราเจออยู่เล็กน้อยมาก

นายสมคิด กล่าวอีกว่า เมื่อเช้านี้ตนมีโอกาสไปรับประทานอาหารเช้ากับอาจารย์ท่านหนึ่งที่เดินทางมาจากสหรัฐอเมริกา เขาเป็นกูรูทางด้านการตลาดคนหนึ่งของโลก เขาถามว่าอยากรู้ว่าประเทศไทยขณะนี้เป็นอย่างไร ตนก็บอกว่าประเทศไทยขณะนี้อยู่ในแผนพัฒนาฉบับที่11 ถ้าใช้มาตรวัดระดับสากลแล้วถือว่าประเทศไทยก้าวมาไกลมาก เรามีจีดีพีประมาณ 10 ล้านล้านบาท เรามีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ยประมาณ 5 พันเหรียญสหรัฐต่อหัวต่อคนต่อปี วันนี้เรามีหนี้สินต่อจีดีพีมากกว่า 40% ระดับเงินเฟ้อไม่เกิน 4% และเราเป็นประเทศนำหน้าของอาเซียน แต่ภาพนั้นมันเป็นคนละภาพกับที่ตนรู้สึกในใจ ซึ่งตนไม่อยากจะบอกกับชาวต่างประเทศ

“ในความรู้สึกของผมประเทศไทยเท่าที่สัมผัสมาจากการทำงานใกล้ชิดในระบบและติดตามข้างนอก ประเทศไทยเหมือนภาพวาดสีน้ำมันของโมเนต์ คือดูไกลๆจะดูดีดูสวย แต่ถ้าดูใกล้ๆมันพล่ามัว บางทีมันก็เลอะ บางทีมันก็เปรอะเปื้อน แต่ภาพสีน้ำมันของโมเน่อย่าดูใกล้ๆก็ไม่มีปัญหา แต่ประเทศมันไม่ใช่ภาพแบบโมเนต์ ความเลอะเทอะ ความเปรอะเปื้อนบางจุดนานเข้ามันสะสม ถ้าไม่แก้ไขมันสามารถบ่มเพราะเป็นเชื้อโรค เชื้อร้ายที่วันข้างหน้าจะนำมาสู่ความเสื่อมถอยในที่สุด”นายสมคิด กล่าว

อดีตรองนายกฯ กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า ลองมาดูใกล้ๆ เรารู้ว่าประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรอย่างน้อย 30-40 ล้านคน แต่เรายังล้าหลังทางเทคโนโลยี การผลิต ชลประทาน การบริหารจัดการ เรื่องอุปสงค์-อุปทาน เรารู้ว่าหมักหมมสะสม และต้องการปฏิรูปเร่งด่วน เพราะคน30-40 ล้านคน สามารถสร้างผลผลิตได้แค่หรือน้อยร้อยละ10 ของมวลรวม ในขณะที่ประเทศมหึมา เรารู้ว่าต้องปฏิรูปมันแต่ก็ไม่เคยทำจริงจังสักที และพบว่าเกษตรกรก็เริ่มยากจนมากขึ้น ต้องเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และหากย้อนไปใน30ปีที่ผ่านมา เราทำให้มีการลงทุนต่างประเทศเพื่อส่งออก แต่ได้กำไรต่ำ เพราะเราอาศัยค่าแรงราคาถูกเพื่อส่งออก ไม่สามารถให้ค่าจ้างแพงได้เพราะมาจิ้นบางมาก แต่เมื่อประกาศขึ้นค่าแรง300 ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่มันต้องควบคู่กับผลิตภาพของการผลิต เพราะถ้าไม่ทำควบคู่กันไปท้ายที่สุด เอกชนก็จะหาทางลดคนงานและค่าใช้จ่าย ผลร้ายก็ตกอยู่กับแรงงาน

“เราถูกจัดอยู่ในลำดับที่12 ของโลก ในประเทศที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน และเป็นที่หนึ่งของเอเชีย ซึ่งไม่ใช่อินเดียและพม่า เพราะเรามีระดับบนคอนโทรลมีความแตกต่างกันระหว่างข้างบนข้างล่าง สะท้อนว่าสิ่งที่ผ่านมา ความมั่งคั่งที่สร้างมากระจุกในฐานแคบไม่กระจายทั่วถึง ถ้าไม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มได้ ก็ต้องสร้างโอกาสให้เท่าเทียมคือการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ แต่ประเทศไทยก็ไม่มีงบเพียงพอที่ทำได้เต็มที่ เพราะถ้าดูงบแต่ละปี รายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปีมากกว่ารายได้ที่เข้ามา ถ้ามองไปข้างหน้าคนแก่คนเฒ่าจะมีมากเป็นทวีคูณ ดังนั้นต้องปฏิรูปการคลังตั้งแต่วันนี้ แต่เราไม่ทำ เราได้แต่พูด”รองนายกฯ กล่าว

นายสมคิด กล่าวอีกว่า การคลังของประเทศไม่ได้มีเรื่องของอัตราดอกเบี้ย แตมันซับซ้อนเป็นระบบไซโล โตใครโตมัน ถ้าไม่ทำวันนี้ และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มทุกปีอะไรจะเกิดขึ้น งบที่ลงให้การศึกษา สวัสดิการกับประชาชนก็จะน้อยลงเรื่อยๆ มันก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน เรารู้ว่าทางหนึ่งที่จะช่วยได้คือการพัฒนาชนบท การกระจายอำนาจสู่ชนบท ดูอย่างประเทศจีนยากจนกว่าเรา แต่ไม่ถึงสามสิบปีเขากระจายอำนาจสร้างการเติบโตในแต่ละภูมิภาค มีระบบการคลัง การท่องเที่ยวของเขาเอง ทำเองโดยส่วนกลางไม่ต้องซัพพอร์ท ประชาชนในท้องถิ่นก็มีรายได้ แต่ประเทศไทยเรารู้ทั้งรู้แต่ไม่ทำเพราะมีแต่การต่อสู้เรื่องโครงสร้างอำนาจและงบประมาณ

“สิ่งที่พูดทั้งหมดจะบอกว่าสิ่งที่เราสามารถทำได้ เราไม่เห็นในวันนี้แต่ในอนาคตคือ มันจะจำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตแน่นอน เพราะเกษตรกรที่ไม่มีการพัฒนา ไม่มีทักษะ ประเทศไทยจะต่ำเตี้ย สองถ้าคนส่วนใหญ่ของประเทศรายได้ต่ำเท่ากับว่าอำนาจซื้อทั้งประเทศต่ำไปด้วย ในยามที่ประเทศต้องพัฒนาภายในเพื่อทดแทนคือการส่งออก แต่อุปสงค์ภายในก็ไม่เพียงพอเลย แต่เป็นการก่อหนี้ กู้ยืม หนี้เครดิต หนี้ผ่อนรถ เป็นต้น ที่เป็นแค่เปลือกของการบริโภค ดังนั้นประเทศจะไม่ยั่งยืนได้ ถ้าอำนาจซื้อน้อยลงมันเสี่ยงมากกับการเกิดประชานิยมแน่นอน แต่ไม่ได้เกิดแค่ในไทย แต่เกิดมาแล้วในลาตินอเมริกา เพราะเมื่อประชาชนคิดว่ามีความไม่เท่าเทียมแต่นักการเมืองก็จะให้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในภายหลัง ความรู้สึกที่ว่าไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ทำให้สังคมปฏิเสธการเมืองในระบบ จึงหาที่พึ่งนอกระบบข้างถนน ถ้าสังเกตดีดีหนังสือที่ขายดีในอเมริกากำลังขายดีคือเรื่องเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกัน” อดีตรมว.คลัง กล่าว

นายสมคิด กล่าวอีกว่า มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนว่าทำไมประเทศถึงล้มเหลว เขาบอกว่าประเทศจะเจริญหรือตกต่ำแม้จะเชื้อชาติเดียวกัน อาทิ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ประเทศหนึ่งเจริญเอาเจริญเอา แต่ประทศหนึ่งลงเหว เพราะประเทศที่พัฒนาเขามีความพยายามการสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมในการวางรากฐานของอนาคต แต่ประเทศที่ล้มเหลวกับตรงกันข้าม จะสร้างการจัดผลประโยชน์เฉพาะหน้าและผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้นโดยไม่มองอนาคต เขาบอกคนเราไม่รู้เชียวหรือว่าทางไหนไปนรกหรือสวรรค์สำหรับประเทศ แต่ประเทศที่ล้มเหลวเขาเลือกเส้นทางที่ต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะหน้า เพราะสิ่งที่สำคัญทำยาก เพราะสังคมถูกกดดันด้วยการดูที่จีดีพี ถ้าต่ำคนก็จะด่า จึงต้องกระตุ้นการบริโภค หรือต้องจ่ายจากเงินของรัฐบาลหรือกู้ ดังนั้น ถ้าเลือกเส้นทางประเทศสู่สวรรค์ไม่รู้จะได้กลับมาหรือไม่ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ดังนั้นประเทศมีทางเลือกคือสร้างรากฐานหรือจะเอาเฉพาะหน้า เพราะจีดีพีเป็นแค่ตัวเลขที่ยั่งยืนยากแล้ว

“ผมไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไหนไม่ดี แต่ความจริงใจจริงจังมันขาดอยู่ในจิตวิญญาณ ฉะนั้นตัวสินค้าส่งออกอนาคตเจอข้างหน้า เพราะไม่มีดีไซส์ไม่มีเทคโนโลยี และมาจิ้นต่ำ แล้วจะได้ให้อัตราค่าจ้าง300ยืนหยัดได้อย่างไรหากไม่แก้ปัญหา ต่อให้ระดมพาณิชย์ทั่วประเทศก็ทำอะไรไม่ได้ เอเอซีกำลังจะเกิด อะไรจะเกิดขึ้น เพราะนี่ไม่ใช่แค่เรื่องตลาดขยายกว้าง เรามีกฎเกณฑ์พร้อมไหม อาเซียนมี12เสา เราชนะมาเลเซียแค่สองเสาคือโครงสร้างพื้นฐานและขนาดตลาด แต่เราแพ้เขาถึง10เสา แรงงานเราก็สู่เวียดนามไม่ได้ ทำอย่างไรจะพัฒนา12เสาขึ้นมา ทั้งที่สวทช.มีรายงานแนะนำแต่ไม่มีใครอ่าน แต่ผมอ่านหมด เรื่องนวัตกรรมก็จบแค่นั้น”นายสมคิด กล่าว

อดีตรองนายยกฯ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือแรงงานราคาถูกจะมาทดแทนแรงงานในประเทศ ทุกวันนี้แรงงานพม่ามาแทนแรงงานไทยแล้ว ฉะนั้นสิ่งนี้จะบอกคุณว่าถ้าไม่แก้ไขการลงทุนของเราจะมีเครื่องหมายคำถาม ถ้าเป็นอย่างนี้ก็มองไปที่เรื่องพลังงาน ซึ่งเราไม่เคยรู้เลย รู้แค่ว่าเขาปิดซ่อมแต่ไม่มีไฟฟ้าใช้เขาเรียกว่าอะไร ภาคใต้10ปีแล้วเราไม่เคยรู้เลยว่าคืออะไร ทุกอย่างเป็นความลับ ต่างประเทศมีอย่างนี้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่ตนจะบอกว่ามันฝังอยู่ใต้ภาพจีดีพี เงินเฟ้อ ซึ่งไม่มีความหมายเลย เพราะทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรการันตีเลยว่าจีดีพีจะ5% และเป็น5% ของจริงหรือไม่

จากนั้นในตอนท้าย นายสมคิด ได้กล่าวถึงมุมมองทางการเมืองตอนหนึ่งว่า การเมืองไทยท่านก็รู้ตนก็รู้ว่ามันเป็นอย่างไร การซื้อเสียงยังคงมีอยู่ เวลาที่เราเลือกตั้ง เราเลือกตั้งเพื่อให้การเมืองนั้นเป็นตัวแทนบริหาร แต่ตอนนี้เลือกตั้งเสร็จหน้าที่เราจบ แล้วเขาก็จะไปนั่งแบ่งสมบัติกัน กระทรวงไหนกระทรวงนั้นประชาชนไม่เกี่ยว จะตั้งใครเป็นรัฐมนตรีไม่ต้องสนใจประชาชน เมื่อมีนอมินีความรับผิดชอบอยู่ตรงไหน ท่านที่เรียกประชุมที่บ้านทั้งที่กระทรวงก็มี อย่างนี้ประชาธิปไตยประเทศไหนเป็นแบบนี้

“สิ่งที่จะเป็นปัญหาคือการฟาดฟันทางการเมือง การแต่งตั้งบุคลากรที่ไม่ได้ดูแค่ว่าดีไม่ดี แต่จะเป็นพวกกันเพื่อไม่ให้ใครสามารถชนะเราได้ จะเกิดสมรรถนะบกพร่องทั้งประเทศ คนเก่งทางนี้จะอยู่ทางนู้น ผลก็คือประเทศ ความเข้มแข็งก็จะด้อยลง บางเรื่องเขาตั้งใจจะทำให้ดีแต่สมรรถนะเขาไม่ถึง การเมืองอย่างนี้ก็อยู่อย่างนี้ แต่จะเกิดความเชื่อมั่น ศักยภาพประเทศมันเลือนราง ความเชื่อถือของประเทศจะน้อยลง ศักยภาพคนในประเทศด้อยลงทั้งที่มีฐานะไม่แพ้ใครเลย ทั้งที่สั่งสมมานานแต่เราไม่ขยับไปไหนเลย เมืองไทยเราเคยเห็นคุณค่าความดีความซื่อสัตย์ทำงานหนัก แต่ตอนนี้เราให้ความสำคัญกับชื่อเสียง รายได้และเงิน”นายสมคิดกล่าว

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130305/153264/สมคิดมองไทยไกลสวยใกล้เลอะเทอะ.ขอบคุณ html#.UTas2aL-HIY

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 6/03/2556 เวลา 04:22:53

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

'สมคิด'เตือนเกิดภาวะ'สมรรถนะบกพร่องทั้งประเทศ' เทียบประเทศไทยเหมือนภาพเขียนโมเนต์ สวยเมื่อดูไกล แต่เลอะเทอะเมื่อมองใกล้ แนะปฏิรูปเกษตร-ระบบคลัง เมื่อเวลา 19.10น. วันที่ 5 ม.ค.2556 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวการคลัง ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ประเทศไทย ณ จุดเปลี่ยน” ในงานวันนักข่าว58ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท ประตูน้ำถึงมุมมองทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ นายสมคิด กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่จริงแล้วระยะหลังตนใช้ชีวิตกึ่งรีไทร์ไม่ได้รับงานบรรยายที่ไหนถ้าไม่ใช่งานที่รักใคร่กันจริงๆ แต่งานนี้ตนอยากจะมาเพราะไมใช่มาบรรยายแต่จะมาพูดคุยกับสื่อที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับประเทศและสถานการณ์อย่างนี้ ซึ่งวันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาพูดเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะที่เราเผชิญอยู่ เพราะปัญหาที่เกิดล้วนอยู่ในวิสัยที่บริหารจัดการได้หากร่วมแรงร่วมใจมีความสามัคคีกันระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และทุกปัญหาก็ไม่น่าจะเหนือบ่ากว่าแรง เมื่อเทียบกับปี2540 ถือว่าปัญหาที่เราเจออยู่เล็กน้อยมาก นายสมคิด กล่าวอีกว่า เมื่อเช้านี้ตนมีโอกาสไปรับประทานอาหารเช้ากับอาจารย์ท่านหนึ่งที่เดินทางมาจากสหรัฐอเมริกา เขาเป็นกูรูทางด้านการตลาดคนหนึ่งของโลก เขาถามว่าอยากรู้ว่าประเทศไทยขณะนี้เป็นอย่างไร ตนก็บอกว่าประเทศไทยขณะนี้อยู่ในแผนพัฒนาฉบับที่11 ถ้าใช้มาตรวัดระดับสากลแล้วถือว่าประเทศไทยก้าวมาไกลมาก เรามีจีดีพีประมาณ 10 ล้านล้านบาท เรามีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ยประมาณ 5 พันเหรียญสหรัฐต่อหัวต่อคนต่อปี วันนี้เรามีหนี้สินต่อจีดีพีมากกว่า 40% ระดับเงินเฟ้อไม่เกิน 4% และเราเป็นประเทศนำหน้าของอาเซียน แต่ภาพนั้นมันเป็นคนละภาพกับที่ตนรู้สึกในใจ ซึ่งตนไม่อยากจะบอกกับชาวต่างประเทศ “ในความรู้สึกของผมประเทศไทยเท่าที่สัมผัสมาจากการทำงานใกล้ชิดในระบบและติดตามข้างนอก ประเทศไทยเหมือนภาพวาดสีน้ำมันของโมเนต์ คือดูไกลๆจะดูดีดูสวย แต่ถ้าดูใกล้ๆมันพล่ามัว บางทีมันก็เลอะ บางทีมันก็เปรอะเปื้อน แต่ภาพสีน้ำมันของโมเน่อย่าดูใกล้ๆก็ไม่มีปัญหา แต่ประเทศมันไม่ใช่ภาพแบบโมเนต์ ความเลอะเทอะ ความเปรอะเปื้อนบางจุดนานเข้ามันสะสม ถ้าไม่แก้ไขมันสามารถบ่มเพราะเป็นเชื้อโรค เชื้อร้ายที่วันข้างหน้าจะนำมาสู่ความเสื่อมถอยในที่สุด”นายสมคิด กล่าว อดีตรองนายกฯ กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า ลองมาดูใกล้ๆ เรารู้ว่าประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรอย่างน้อย 30-40 ล้านคน แต่เรายังล้าหลังทางเทคโนโลยี การผลิต ชลประทาน การบริหารจัดการ เรื่องอุปสงค์-อุปทาน เรารู้ว่าหมักหมมสะสม และต้องการปฏิรูปเร่งด่วน เพราะคน30-40 ล้านคน สามารถสร้างผลผลิตได้แค่หรือน้อยร้อยละ10 ของมวลรวม ในขณะที่ประเทศมหึมา เรารู้ว่าต้องปฏิรูปมันแต่ก็ไม่เคยทำจริงจังสักที และพบว่าเกษตรกรก็เริ่มยากจนมากขึ้น ต้องเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และหากย้อนไปใน30ปีที่ผ่านมา เราทำให้มีการลงทุนต่างประเทศเพื่อส่งออก แต่ได้กำไรต่ำ เพราะเราอาศัยค่าแรงราคาถูกเพื่อส่งออก ไม่สามารถให้ค่าจ้างแพงได้เพราะมาจิ้นบางมาก แต่เมื่อประกาศขึ้นค่าแรง300 ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่มันต้องควบคู่กับผลิตภาพของการผลิต เพราะถ้าไม่ทำควบคู่กันไปท้ายที่สุด เอกชนก็จะหาทางลดคนงานและค่าใช้จ่าย ผลร้ายก็ตกอยู่กับแรงงาน “เราถูกจัดอยู่ในลำดับที่12 ของโลก ในประเทศที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน และเป็นที่หนึ่งของเอเชีย ซึ่งไม่ใช่อินเดียและพม่า เพราะเรามีระดับบนคอนโทรลมีความแตกต่างกันระหว่างข้างบนข้างล่าง สะท้อนว่าสิ่งที่ผ่านมา ความมั่งคั่งที่สร้างมากระจุกในฐานแคบไม่กระจายทั่วถึง ถ้าไม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มได้ ก็ต้องสร้างโอกาสให้เท่าเทียมคือการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ แต่ประเทศไทยก็ไม่มีงบเพียงพอที่ทำได้เต็มที่ เพราะถ้าดูงบแต่ละปี รายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปีมากกว่ารายได้ที่เข้ามา ถ้ามองไปข้างหน้าคนแก่คนเฒ่าจะมีมากเป็นทวีคูณ ดังนั้นต้องปฏิรูปการคลังตั้งแต่วันนี้ แต่เราไม่ทำ เราได้แต่พูด”รองนายกฯ กล่าว นายสมคิด กล่าวอีกว่า การคลังของประเทศไม่ได้มีเรื่องของอัตราดอกเบี้ย แตมันซับซ้อนเป็นระบบไซโล โตใครโตมัน ถ้าไม่ทำวันนี้ และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มทุกปีอะไรจะเกิดขึ้น งบที่ลงให้การศึกษา สวัสดิการกับประชาชนก็จะน้อยลงเรื่อยๆ มันก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน เรารู้ว่าทางหนึ่งที่จะช่วยได้คือการพัฒนาชนบท การกระจายอำนาจสู่ชนบท ดูอย่างประเทศจีนยากจนกว่าเรา แต่ไม่ถึงสามสิบปีเขากระจายอำนาจสร้างการเติบโตในแต่ละภูมิภาค มีระบบการคลัง การท่องเที่ยวของเขาเอง ทำเองโดยส่วนกลางไม่ต้องซัพพอร์ท ประชาชนในท้องถิ่นก็มีรายได้ แต่ประเทศไทยเรารู้ทั้งรู้แต่ไม่ทำเพราะมีแต่การต่อสู้เรื่องโครงสร้างอำนาจและงบประมาณ “สิ่งที่พูดทั้งหมดจะบอกว่าสิ่งที่เราสามารถทำได้ เราไม่เห็นในวันนี้แต่ในอนาคตคือ มันจะจำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตแน่นอน เพราะเกษตรกรที่ไม่มีการพัฒนา ไม่มีทักษะ ประเทศไทยจะต่ำเตี้ย สองถ้าคนส่วนใหญ่ของประเทศรายได้ต่ำเท่ากับว่าอำนาจซื้อทั้งประเทศต่ำไปด้วย ในยามที่ประเทศต้องพัฒนาภายในเพื่อทดแทนคือการส่งออก แต่อุปสงค์ภายในก็ไม่เพียงพอเลย แต่เป็นการก่อหนี้ กู้ยืม หนี้เครดิต หนี้ผ่อนรถ เป็นต้น ที่เป็นแค่เปลือกของการบริโภค ดังนั้นประเทศจะไม่ยั่งยืนได้ ถ้าอำนาจซื้อน้อยลงมันเสี่ยงมากกับการเกิดประชานิยมแน่นอน แต่ไม่ได้เกิดแค่ในไทย แต่เกิดมาแล้วในลาตินอเมริกา เพราะเมื่อประชาชนคิดว่ามีความไม่เท่าเทียมแต่นักการเมืองก็จะให้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในภายหลัง ความรู้สึกที่ว่าไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ทำให้สังคมปฏิเสธการเมืองในระบบ จึงหาที่พึ่งนอกระบบข้างถนน ถ้าสังเกตดีดีหนังสือที่ขายดีในอเมริกากำลังขายดีคือเรื่องเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกัน” อดีตรมว.คลัง กล่าว นายสมคิด กล่าวอีกว่า มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนว่าทำไมประเทศถึงล้มเหลว เขาบอกว่าประเทศจะเจริญหรือตกต่ำแม้จะเชื้อชาติเดียวกัน อาทิ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ประเทศหนึ่งเจริญเอาเจริญเอา แต่ประทศหนึ่งลงเหว เพราะประเทศที่พัฒนาเขามีความพยายามการสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมในการวางรากฐานของอนาคต แต่ประเทศที่ล้มเหลวกับตรงกันข้าม จะสร้างการจัดผลประโยชน์เฉพาะหน้าและผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้นโดยไม่มองอนาคต เขาบอกคนเราไม่รู้เชียวหรือว่าทางไหนไปนรกหรือสวรรค์สำหรับประเทศ แต่ประเทศที่ล้มเหลวเขาเลือกเส้นทางที่ต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะหน้า เพราะสิ่งที่สำคัญทำยาก เพราะสังคมถูกกดดันด้วยการดูที่จีดีพี ถ้าต่ำคนก็จะด่า จึงต้องกระตุ้นการบริโภค หรือต้องจ่ายจากเงินของรัฐบาลหรือกู้ ดังนั้น ถ้าเลือกเส้นทางประเทศสู่สวรรค์ไม่รู้จะได้กลับมาหรือไม่ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ดังนั้นประเทศมีทางเลือกคือสร้างรากฐานหรือจะเอาเฉพาะหน้า เพราะจีดีพีเป็นแค่ตัวเลขที่ยั่งยืนยากแล้ว “ผมไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไหนไม่ดี แต่ความจริงใจจริงจังมันขาดอยู่ในจิตวิญญาณ ฉะนั้นตัวสินค้าส่งออกอนาคตเจอข้างหน้า เพราะไม่มีดีไซส์ไม่มีเทคโนโลยี และมาจิ้นต่ำ แล้วจะได้ให้อัตราค่าจ้าง300ยืนหยัดได้อย่างไรหากไม่แก้ปัญหา ต่อให้ระดมพาณิชย์ทั่วประเทศก็ทำอะไรไม่ได้ เอเอซีกำลังจะเกิด อะไรจะเกิดขึ้น เพราะนี่ไม่ใช่แค่เรื่องตลาดขยายกว้าง เรามีกฎเกณฑ์พร้อมไหม อาเซียนมี12เสา เราชนะมาเลเซียแค่สองเสาคือโครงสร้างพื้นฐานและขนาดตลาด แต่เราแพ้เขาถึง10เสา แรงงานเราก็สู่เวียดนามไม่ได้ ทำอย่างไรจะพัฒนา12เสาขึ้นมา ทั้งที่สวทช.มีรายงานแนะนำแต่ไม่มีใครอ่าน แต่ผมอ่านหมด เรื่องนวัตกรรมก็จบแค่นั้น”นายสมคิด กล่าว อดีตรองนายยกฯ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือแรงงานราคาถูกจะมาทดแทนแรงงานในประเทศ ทุกวันนี้แรงงานพม่ามาแทนแรงงานไทยแล้ว ฉะนั้นสิ่งนี้จะบอกคุณว่าถ้าไม่แก้ไขการลงทุนของเราจะมีเครื่องหมายคำถาม ถ้าเป็นอย่างนี้ก็มองไปที่เรื่องพลังงาน ซึ่งเราไม่เคยรู้เลย รู้แค่ว่าเขาปิดซ่อมแต่ไม่มีไฟฟ้าใช้เขาเรียกว่าอะไร ภาคใต้10ปีแล้วเราไม่เคยรู้เลยว่าคืออะไร ทุกอย่างเป็นความลับ ต่างประเทศมีอย่างนี้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่ตนจะบอกว่ามันฝังอยู่ใต้ภาพจีดีพี เงินเฟ้อ ซึ่งไม่มีความหมายเลย เพราะทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรการันตีเลยว่าจีดีพีจะ5% และเป็น5% ของจริงหรือไม่ จากนั้นในตอนท้าย นายสมคิด

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง