พงศพัศ เริ่มระทึกเกมพลิก เอแบคโพลชี้เริ่มสูสี

แสดงความคิดเห็น

ศึกเลือกตั้งชักสนุก เอแบคโพลชี้ผลการเลือกตั้งอาจมีพลิก คนกรุงอาจเปลี่ยนใจเลือกผู้ว่าฯ สูง หลัง “พงศพัศ” นำ “สุขุมพันธุ์” ห่างกันไม่ถึง 1 จุด ขณะที่ “เสรีพิศุทธ์” ก็มีลุ้น ขณะที่การหาเสียง “พงศพัศ” ชูนโยบาย แก้หนี้ใน-นอกระบบ เน้นเลื่อนวิทยฐานะ ครู กทม. ลั่นหาเสียงจนวินาทีสุดท้าย ส่วน “สุขุมพันธุ์” เปิดนโนบายด้านการศึกษา ใช้คอนเซ็ปต์ เรียนดี เรียนฟรี อิ่มท้อง สมองดี มีวินัย สานต่อนโยบายเรียนฟรีของพรรค ปชป. ทางด้าน กกต.กทม.เผยบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ พิมพ์เสร็จแล้ว ทยอยส่งมอบทั้ง 50 เขต พร้อมเปิดเขต “ทำบัตรประชาชน” ทุกวัน จนถึงวันเลือกตั้ง

เอแบคโพลชี้เลือกผู้ว่าฯ มีพลิก

เมื่อวันที่ 21 ก.พ.56 ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องสำรวจลักษณะเด่นหรือโปรไฟลิงก์ (Profiling) ของกลุ่มคนที่ยังเปลี่ยนใจเลือกคนอื่นได้ แต่ถ้าเลือกจะเลือกใคร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,498 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 15-20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นเลือกเขต แขวง ชุมชน และลงสัมภาษณ์แบบเคาะประตูบ้านในระดับครัวเรือน ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ว่าผลสำรวจกับผลการเลือกตั้งจริงไม่ตรงกันอาจพลิกผันได้ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพิ่มเติมในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้ โดยพบว่า ในกลุ่มตัวอย่างที่อาจเปลี่ยนใจได้ร้อยละ 25.6 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ แต่ร้อยละ 24.8 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายความว่าห่างกันเพียงไม่ถึง 1 จุดเท่านั้น โอกาสที่จะพลิกจึงยังคงมีอยู่ถ้าประชาชน ผู้อาจเปลี่ยนใจได้มีเพิ่มมากขึ้น และไปใช้สิทธิเลือกตั้งกันมากกว่ากลุ่มคนที่บอกว่าไม่เปลี่ยนใจแล้วในผลโพล แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ยิ่งไปกว่านั้นในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้อีกสูงถึงร้อยละ 21.3 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นั่นก็หมายความว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็มีลุ้นเช่นกัน เพราะคะแนนที่ทิ้งห่างกันไม่เกิน 7 จุด ในการสำรวจครั้งนี้ และยังมีเวลาอีกประมาณ 10 วันก่อนถึงวันเลือกตั้งอะไรก็อาจเกิดขึ้นได้

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อดึงข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่อาจเปลี่ยนใจได้อีกมาวิเคราะห์ลักษณะเด่น หรือทำโปรไฟลิงก์ (Profiling) พบว่า ในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้ร้อยละ 55.6 เป็นหญิง ร้อยละ 49.6 อายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 48.0 รายได้เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 80.4 ของกลุ่มคนที่อาจเปลี่ยนใจได้นี้มีสิทธิเลือกตั้งและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของกรุงเทพมหานครมากกว่า 15 ปี และเป็นกลุ่มที่อยู่กรุงเทพมหานครมาตั้งแต่เกิด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 48.5 ของคนกลุ่มนี้ “ไม่แน่ใจ” ว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 มีนาคมที่จะถึงนี้หรือไม่โพลบ้านสมเด็จฯ ชี้คะแนนสูสี

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล โดยนายสิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล เผยผลสำรวจพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานคร ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (ก่อนการเลือกตั้ง 2 สัปดาห์) โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,099 กลุ่มตัวอย่าง ทั่วกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างเตรียมตัวไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ถึงร้อยละ 80.9 ส่วนผู้ว่าฯ กทม.ที่ตั้งใจเลือก ร้อยละ 29.5 พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ตามด้วยร้อยละ 29.1 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และร้อยละ 08.8 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

“พงศพัศ” ชูแก้หนี้-เลื่อนวิทยฐานะ

สำหรับบรรยากาศหาเสียง เมื่อเวลา 08.30 น. พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางร่วมเวทีแสดงวิสัยทัศน์และนโยบาย การประชุมโครงการ “ปฏิรูประบบการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร” ร่วมกับผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.อีกกว่า 10 คน โดยมีตัวแทนครูและบุคลากรครูภายใต้สังกัด กทม. สพฐ.กศน.ทั้ง 50 เขตร่วมรับฟังจำนวนมาก ซึ่งตัวแทนครู เสนอให้มีการสร้างโรงพยาบาลในการดูแลครู การพิจารณาวิทยฐานะต่างๆ ของครูให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด โดย พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ตนมารับฟังปัญหาของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะได้รับการร้องเรียนจากครูเรื่องปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบ จึงเห็นว่าเรื่องหนี้ครูเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไข โดยมีแนวคิดปรับหลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะของครูและบุคลากร ประมาณ 1,000 คน ให้ตรงกับหลักเกณฑ์และหลักสูตรในการสอน เพื่อปรับเงินวิทยฐานะให้ถึงขั้นสูงสุด ซึ่งขณะนี้มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เพราะเห็นว่าเงินเพิ่ม 3,000-9,000 บาทนั้น ที่จะเพิ่มขึ้นตามวิทยฐานะนั้นแม้จะไม่มากแต่จะช่วยแบ่งเบาภาระให้ครูได้ นอกจากนั้นยังมีแนวคิดจัดให้มีรถโรงเรียนรับ-ส่งครูเพื่อให้ความสะดวกสบายมากขึ้น รวมทั้งกองทุนครูเป็นทุนสำรองเพื่อให้ครูใช้จ่ายใกล้เกษียณและเพื่อจัดการหนี้ทั้งในและนอกระบบของครูอีกด้วย

ขอลุยหาเสียงจนวินาทีสุดท้าย

พล.ต.อ.พงศพัศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พหลโยธิน จับกุมชาย ซึ่งนำสติ๊กเกอร์ มีข้อความ “เผาบ้านเผาเมือง” มาติดที่ป้ายหาเสียงนั้น พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ทางพรรคได้แจ้งให้ตนทราบเมื่อช่วงเช้าวันที่ 21 ก.พ. ว่า สน.พหลโยธิน พบตัวผู้กระทำการแล้ว ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้นเป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมายและผู้บริหารพรรค แต่ส่วนตัวให้อภัยจากใจจริง และไม่คิดจะดำเนินคดี เพราะคิดว่าน้องคนดังกล่าวทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้อยากขอความร่วมมือให้ทุกฝ่ายหาเสียงอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้ร้ายกันและให้ต่อสู้กันที่นโยบาย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร ตนไม่คิดร้าย ไม่ดำเนินคดีใดๆ และพูดจากใจจริงว่าไม่เอาเรื่อง อย่างไรก็ตาม ช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียง ตนจะลงพื้นที่ทุกวันไปจนถึงนาทีสุดท้าย เวลา 18.00 น. วันที่ 2 มี.ค. เพื่อพบปะประชาชนและสอบถามปัญหาต่างๆ ที่ต้องการให้เราแก้ไข เพื่อนำมาประมวลและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป

พล.ต.อ.พงศพัศ ยังกล่าวถึงกรณีโพลสำนักต่างๆ ที่มีคะแนนนำผู้สมัครคนอื่นว่า ตนไม่ยึดติดโพล เนื่องจากการทำโพลถือเป็นการดำเนินการตามหลักสากลที่ทุกประเทศดำเนินการ แต่ต้องเคารพสถาบันที่ดำเนินการ ตลอดจนความเห็นของประชาชนที่สะท้อนผ่านโพลออกมา หากส่วนใดที่ขาดอยู่ก็ต้องเสริมเข้าไป เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ว่าโค้งสุดท้ายจะมีวิธีการใส่ร้ายแบบใหม่ๆ เพื่อตัดคะแนน พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ไม่คิดว่าจะมี หากผู้สมัครไม่ทำคงไม่มีใครกล้าทำ สำหรับตนหากใครจะทำหรือใส่ร้ายก็ให้อภัย เพื่อให้เห็นถึงการเล่นการเมืองมิติใหม่ที่สู้กันที่นโยบายมากกว่า และเรื่องการฟ้องร้องหากตนในฐานะผู้สมัครไม่ฟ้องร้องทางพรรคก็คงไม่มีการฟ้องร้องเช่นกัน เมื่อถามถึงกรณีภาพตัดต่อบุคคลที่มีชื่อเสียงสนับสนุนผู้สมัครหมายเลข 9 พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ตนคงไม่ไปชี้แจง กกต.หรือหน่วยงานใด เพราะมั่นใจว่าไม่ได้ทำ และเชื่อว่าหน่วยงานนั้นคงตรวจสอบได้

“สุขุมพันธุ์” เปิดนโนบายการศึกษา

ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 16 พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา มารดา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงนโยบายด้านการศึกษา โดยกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ก่อตั้งระบบเรียนฟรีของรัฐ และตนได้ต่อยอดระบบเรียนดี เรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ ให้เป็น อิ่มท้อง สมองดี มีวินัย โดยได้เริ่มโครงการอาหารเช้าให้กับเด็กนักเรียน กทม.เมื่อ ส.ค.55 สานต่อหลักสูตรโตไปไม่โกง รวมถึงพัฒนาครูโดยให้อบรมหลักสูตรโตไปไม่โกง หลักสูตรภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมทักษะการสอน ทำโครงการกวดวิชาระดับชาติให้เรียนฟรีในระดับ ม.3 และ ม.6 เพิ่มโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ 50 แห่ง ภาษาจีน 20 แห่ง และเพิ่มการสอนภาษามลายูในโรงเรียน กทม. โครงการห้องสมุดเพื่อการศึกษา 144 แห่ง จะให้ครบทุกโรงเรียน กทม.ใน 4 ปี เพิ่มจำนวนบ้านหนังสือ การติดตั้ง wifi เพิ่มอีก 5,000 จุดความเร็ว 4 MB โครงการเมืองหนังสือโลก รณรงค์การอ่านหนังสือจาก 2-5 เล่มต่อปีให้เป็น 10-15 เล่มต่อปี โครงการห้องเรียนอัจฉริยะ ในการศึกษาอุปกรณ์การเรียนอย่างแท็บแล็ตว่าเหมาะสมกับนักเรียนในระดับใด จัดทำห้องเรียนเด็กพิเศษเพิ่มขึ้น จากที่มี 23 โรงให้เป็น 100 โรงเรียน สร้างห้องสมุดการ์ตูนแห่งแรก จัดทำรถโรงเรียน กทม.ฟรีในบางพื้นที่ ส่งเสริมศักยภาพมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งแรกในประเทศไทย คือมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร และสิ่งสำคัญการร่วมมือของผู้ปกครองในการดูแลนักเรียนเพื่อให้เด็กเป็นเด็กดี มีวินัย

ปัดไม่รู้เห็นใส่ร้ายผู้สมัครอื่น

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมผู้ที่นำสติ๊กเกอร์ที่มีข้อความว่า “เราไม่เลือกผู้ว่าฯ เผาบ้านเผาเมือง” มาติดรถหาเสียงของหมายเลข 9 กังวลว่าจะมีการเข้าใจผิดว่าพรรค ปชป.เป็นคนทำหรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าตนและพรรค ปชป.ไม่ได้กระทำเรื่องดังกล่าว และเป็นเรื่องที่พรรคต้องอธิบาย อย่างไรก็ตามเรื่องอะไรที่ผิดกฎหมายก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา อยากให้ดำเนินการทุกเรื่องให้การเลือกตั้งนี้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ส่วนการปราศรัยที่มีการนำเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองมาปราศรัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ไม่อยากพูดและไม่เคยพูดเรื่องดังกล่าว แต่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง มีการเผาจริง บ้านเมืองนี้มีสิทธิและเสรีภาพที่สูงมาก มีหลายกลุ่มก็ออกมาแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เฉพาะการเผาบ้านเผาเมืองเท่านั้น มีการพูดทำลายคนโน้นคนนี้ก็มี มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี ในขณะเดียวกันก็เป็นความจริง ผมก็เคยถูกกล่าวหา เพราะสังคมนี้เป็นสังคมกล่าวหา แต่สิ่งที่กล่าวหาตนก็ไม่เคยเป็นความจริง

สำหรับการสำรวจของสำนักโพลต่างๆ และผลที่ออกมาทำให้ต้องตั้งคำถามว่าวิธีวิจัยเป็นอย่างไร คณะกรรมการการเลือกตั้ง กทม.ต้องออกมามีบทบาทได้แล้วว่า สำนักโพลทำโพลอย่างถูกต้องหรือไม่ ทำโพลทำได้แต่ต้องถูกหลักวิชาการ ทั้งจำนวนประชากรที่สอบถาม ตัวคำถาม ที่ตั้ง ตนควรจะเป็นคนสุดท้ายที่สื่อถาม ควรไปถามกับคนที่เกี่ยวข้อง เพราะตนไม่มีคำตอบในเรื่องนี้ ส่วนโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้งมีการโจมตีกันรุนแรงมากขึ้นนั้น ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ทุกคนได้มีการให้คำมั่นสัญญาและปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วว่าจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ ซึ่งผู้สมัครก็ไม่มีปัญหาจึงขอวิงวอนผู้สนับสนุนผู้สมัครทุกคนให้ยึดแนวทางการสมานฉันท์ให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้ผู้สนับสนุนทำตัวเหมือนผู้สมัคร

“บิ๊กตู่” ขอโอกาสผู้สมัครอิสระทำงาน

ทางด้าน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระหมายเลข 11 เปิดเผยว่า ตนมีความพร้อมที่มาทำงานเพื่อคนกรุงเทพฯ โดยเป็นคนประกาศพร้อมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นคนแรก ตั้งแต่เดือน ส.ค.ปีที่ผ่านมา และยืนยันนโยบายทุกอย่างที่นำเสนอสามารถทำได้จริง และที่สำคัญตนเป็นผู้สมัครไม่สังกัดพรรค จัดหนักได้ทุกเรื่องคือจะดำเนินการเรื่องอะไร ไม่ต้องฟังมติพรรค ไม่มีปลอกคอ จึงสามารถรับฟังประชาชนแล้วดำเนินการได้ทันที ไม่เหมือนกับผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง ที่ทางพรรคเป็นผู้สนับสนุนทุนในการหาเสียง จึงไม่มีอิสระ แต่น่าเสียดายที่สื่อให้โอกาสในการนำเสนอเรื่องราวของผู้สมัครอิสระน้อย ไม่เพียงแต่ตนคนอื่นที่ไม่ได้สังกัดพรรคก็แทบจะไม่เป็นข่าว อย่างสื่อหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้ขึ้นหน้า 1 เลย มีแต่การนำเสนอผู้สมัครที่สังกัดพรรคฯ ต้องขอโอกาสให้ผู้สมัครอิสระได้นำเสนอนโยบายและสิ่งที่จะทำให้คนกรุงเทพฯ บ้าง ควรต้องให้ความเป็นธรรมด้วย หากไม่นำเสนอประชาชนก็จะรับรู้น้อยแต่ก็ไม่ท้อ หลังจากนี้จะเดินหน้าหาเสียงอย่างเต็มที่และตนมีทีมงานที่มีความพร้อมซึ่งได้เปิดตัวรองผู้ว่าฯ กทม.ไปแล้ว 2 คน ส่วนอีก 2 คนอยู่ระหว่างพิจารณาเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมรายการเฉาะข่าวการเมือง ทางสถานีโทรทัศน์เดลินิวส์ทีวี ว่า จากที่ก่อนหน้านี้ตน นายโฆสิต สุวินิจจิต ผู้สมัครหมายเลข 10 และนายสุหฤท สยามวาลา ผู้สมัครหมายเลข 17 ได้มีการประสานกันไว้เบื้องต้นที่จะเชิญชวนประชาชนคนกรุงเทพฯ ออกมาใช้สิทธิ์และเลือกผู้สมัครอิสระนั้น ตนมีความพร้อมเสมอ ขณะนี้รอเพียงการตัดสินใจของผู้สมัครทั้ง 2 ท่าน

“จูดี้” เบี้ยว-จับ “เฟอร์บี้” นั่งแทน

วันเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้มีโครงการแสดงวิสัยทัศน์และตอบคำถามผู้ว่าฯ กทม.2556 ซึ่งมีผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นายโฆสิต สุวินิจจิต ส่วน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จากพรรคเพื่อไทย ไม่ได้มาร่วมงานในการเเสดงวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ โดยทีมงานได้เอาตุ๊กตาเฟอร์บี้มาวางบนโต๊ะเเทน โดยมีประชาชนผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ พิมพ์เสร็จ

น.ส.นภาภรณ์ สวัสดิมงคล ผู้อำนวยการสำนักปกครองและทะเบียน สำนักปลัด กทม. เปิดเผยว่า ได้รับการประสานจากทางคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) ว่าขณะนี้การสั่งพิมพ์บัตรเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้แจ้งให้ทาง กทม.โดยสำนักงานเขตทั้ง 50 เขตไปรับบัตรเลือกตั้งที่โรงพิมพ์คลอง 7 ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ ซึ่งแต่ละเขตจะนำบัตรเลือกตั้งไปประทับตราและจัดเก็บไว้อย่างดี โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยทั้งจัดกล้องซีซีทีวีและเจ้าหน้าที่ดูแล และหลังจากนี้จะมีการเตรียมความพร้อมในส่วนของอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป คาดว่าบัตรเลือกตั้งจะไปถึงสำนักงานเขตทั้ง 50 เขตเรียบร้อยภายในเย็นวันที่ 22 ก.พ.นี้ ทั้งนี้สำหรับรายละเอียดของบัตรตัวอย่างที่ทาง กกต.กทม.ได้จัดพิมพ์ครั้งนี้ จะมีรายชื่อพร้อมหมายเลขผู้สมัครรวม 25 คน ตามจำนวนผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ ที่ผ่านมาตรวจสอบคุณสมบัติถูกต้องและไม่มีใครถูกตัดสิทธิ์ จำนวน 25 คน 25 หมายเลข โดยมีช่องให้กากบาท อยู่ด้านหน้าหมายเลขและชื่อของผู้สมัคร โดยในแถวแรกจะเป็นรายชื่อพร้อมหมายเลขประจำตัวของผู้สมัครเบอร์ 1-13 และแถวที่ 2 จะเป็นหมายเลขและชื่อผู้สมัครเบอร์ 14-25 และด้านล่างสุดถัดไปจะเป็นช่อง ไม่ประสงค์ลงคะแนน นอกจากนี้ ยังมีการสั่งทำบัตรทาบสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งจะจัดส่งไว้ประจำหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วย ทั้ง 6,548 หน่วย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตาที่จะมาใช้สิทธิ์ด้วย

เปิด 50 เขตทำบัตร ปชช.ทุกวัน

นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยสำนักงานเขตฝั่งธนบุรี ได้แก่ เขตคลองสาน จอมทอง ธนบุรี ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด และทวีวัฒนา ร่วมกิจกรรม “เพื่อประชาธิปไตย คน กทม.พร้อมใจไปเลือกตั้ง” รณรงค์เชิญชวนคนกรุงเทพฯ ตื่นตัวร่วมแสดงพลังประชาธิปไตยออกไปเลือกตั้ง โดยลั่นกลองสะบัดชัยปลุกผู้มีสิทธิ์ฝั่งธนบุรีออกไปเลือกตั้ง พร้อมย้ำเตือนนำหลักฐานแสดงตัวยื่นใช้สิทธิ์ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (วงเวียนใหญ่) เขตธนบุรี

ทั้งนี้ นอกจาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร จะให้บริการทำบัตรประชาชนในช่วงการจัดการเลือกตั้ง ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ ตั้งแต่บัดนี้-2 มี.ค.56 ในเวลา 08.00-16.00 น. และในวันเลือกตั้ง 3 มี.ค.เวลา 08.00-15.00 น. กรุงเทพมหานครยังมีจุดด่วนมหานคร (Bangkok Express Service) จำนวน 4 แห่ง ให้บริการทำบัตรประชาชน ยกเว้นกรณีบัตรหาย ซึ่งต้องไปติดต่อที่สำนักงานเขต โดยจุดด่วนมหานคร 4 แห่ง ได้แก่ บริเวณสถานีรถไฟฟ้า 3 แห่ง ณ สถานีรถไฟฟ้าสยาม สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์ และสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เปิดบริการทุกวัน โดยวันจันทร์-ศุกร์ เปิดให้บริการเวลา 09.00-20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น. และบริเวณชั้น 1 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ซึ่งเปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ คือ จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ได้จัดรถบริการงานทะเบียนเคลื่อนที่ (Bangkok Mobile Service) ให้บริการทำบัตรประชาชน ยกเว้นกรณีบัตรหาย โดยตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 22 ก.พ.56 ตั้งจุดให้บริการ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จากนั้นวันที่ 26 ก.พ.– 3 มี.ค.56 ตั้งจุดให้บริการ ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พระราม 2

ขอบคุณ... http://goo.gl/Wh2O6 (ขนาดไฟล์: 0 )

ThaiPR.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56

ที่มา: ThaiPR.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 22/02/2556 เวลา 04:42:55

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศึกเลือกตั้งชักสนุก เอแบคโพลชี้ผลการเลือกตั้งอาจมีพลิก คนกรุงอาจเปลี่ยนใจเลือกผู้ว่าฯ สูง หลัง “พงศพัศ” นำ “สุขุมพันธุ์” ห่างกันไม่ถึง 1 จุด ขณะที่ “เสรีพิศุทธ์” ก็มีลุ้น ขณะที่การหาเสียง “พงศพัศ” ชูนโยบาย แก้หนี้ใน-นอกระบบ เน้นเลื่อนวิทยฐานะ ครู กทม. ลั่นหาเสียงจนวินาทีสุดท้าย ส่วน “สุขุมพันธุ์” เปิดนโนบายด้านการศึกษา ใช้คอนเซ็ปต์ เรียนดี เรียนฟรี อิ่มท้อง สมองดี มีวินัย สานต่อนโยบายเรียนฟรีของพรรค ปชป. ทางด้าน กกต.กทม.เผยบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ พิมพ์เสร็จแล้ว ทยอยส่งมอบทั้ง 50 เขต พร้อมเปิดเขต “ทำบัตรประชาชน” ทุกวัน จนถึงวันเลือกตั้ง เอแบคโพลชี้เลือกผู้ว่าฯ มีพลิก เมื่อวันที่ 21 ก.พ.56 ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องสำรวจลักษณะเด่นหรือโปรไฟลิงก์ (Profiling) ของกลุ่มคนที่ยังเปลี่ยนใจเลือกคนอื่นได้ แต่ถ้าเลือกจะเลือกใคร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,498 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 15-20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นเลือกเขต แขวง ชุมชน และลงสัมภาษณ์แบบเคาะประตูบ้านในระดับครัวเรือน ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ว่าผลสำรวจกับผลการเลือกตั้งจริงไม่ตรงกันอาจพลิกผันได้ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพิ่มเติมในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้ โดยพบว่า ในกลุ่มตัวอย่างที่อาจเปลี่ยนใจได้ร้อยละ 25.6 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ แต่ร้อยละ 24.8 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายความว่าห่างกันเพียงไม่ถึง 1 จุดเท่านั้น โอกาสที่จะพลิกจึงยังคงมีอยู่ถ้าประชาชน ผู้อาจเปลี่ยนใจได้มีเพิ่มมากขึ้น และไปใช้สิทธิเลือกตั้งกันมากกว่ากลุ่มคนที่บอกว่าไม่เปลี่ยนใจแล้วในผลโพล แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ยิ่งไปกว่านั้นในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้อีกสูงถึงร้อยละ 21.3 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นั่นก็หมายความว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็มีลุ้นเช่นกัน เพราะคะแนนที่ทิ้งห่างกันไม่เกิน 7 จุด ในการสำรวจครั้งนี้ และยังมีเวลาอีกประมาณ 10 วันก่อนถึงวันเลือกตั้งอะไรก็อาจเกิดขึ้นได้ ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อดึงข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่อาจเปลี่ยนใจได้อีกมาวิเคราะห์ลักษณะเด่น หรือทำโปรไฟลิงก์ (Profiling) พบว่า ในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้ร้อยละ 55.6 เป็นหญิง ร้อยละ 49.6 อายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 48.0 รายได้เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 80.4 ของกลุ่มคนที่อาจเปลี่ยนใจได้นี้มีสิทธิเลือกตั้งและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของกรุงเทพมหานครมากกว่า 15 ปี และเป็นกลุ่มที่อยู่กรุงเทพมหานครมาตั้งแต่เกิด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 48.5 ของคนกลุ่มนี้ “ไม่แน่ใจ” ว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 มีนาคมที่จะถึงนี้หรือไม่โพลบ้านสมเด็จฯ ชี้คะแนนสูสี ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล โดยนายสิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล เผยผลสำรวจพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานคร ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (ก่อนการเลือกตั้ง 2 สัปดาห์) โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,099 กลุ่มตัวอย่าง ทั่วกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างเตรียมตัวไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ถึงร้อยละ 80.9 ส่วนผู้ว่าฯ กทม.ที่ตั้งใจเลือก ร้อยละ 29.5 พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ตามด้วยร้อยละ 29.1 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และร้อยละ 08.8 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส “พงศพัศ” ชูแก้หนี้-เลื่อนวิทยฐานะ สำหรับบรรยากาศหาเสียง เมื่อเวลา 08.30 น. พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางร่วมเวทีแสดงวิสัยทัศน์และนโยบาย การประชุมโครงการ “ปฏิรูประบบการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร” ร่วมกับผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.อีกกว่า 10 คน โดยมีตัวแทนครูและบุคลากรครูภายใต้สังกัด กทม. สพฐ.กศน.ทั้ง 50 เขตร่วมรับฟังจำนวนมาก ซึ่งตัวแทนครู เสนอให้มีการสร้างโรงพยาบาลในการดูแลครู การพิจารณาวิทยฐานะต่างๆ ของครูให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด โดย พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ตนมารับฟังปัญหาของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะได้รับการร้องเรียนจากครูเรื่องปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบ จึงเห็นว่าเรื่องหนี้ครูเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไข โดยมีแนวคิดปรับหลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะของครูและบุคลากร ประมาณ 1,000 คน ให้ตรงกับหลักเกณฑ์และหลักสูตรในการสอน เพื่อปรับเงินวิทยฐานะให้ถึงขั้นสูงสุด ซึ่งขณะนี้มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เพราะเห็นว่าเงินเพิ่ม 3,000-9,000 บาทนั้น ที่จะเพิ่มขึ้นตามวิทยฐานะนั้นแม้จะไม่มากแต่จะช่วยแบ่งเบาภาระให้ครูได้ นอกจากนั้นยังมีแนวคิดจัดให้มีรถโรงเรียนรับ-ส่งครูเพื่อให้ความสะดวกสบายมากขึ้น รวมทั้งกองทุนครูเป็นทุนสำรองเพื่อให้ครูใช้จ่ายใกล้เกษียณและเพื่อจัดการหนี้ทั้งในและนอกระบบของครูอีกด้วย ขอลุยหาเสียงจนวินาทีสุดท้าย พล.ต.อ.พงศพัศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พหลโยธิน จับกุมชาย ซึ่งนำสติ๊กเกอร์ มีข้อความ “เผาบ้านเผาเมือง” มาติดที่ป้ายหาเสียงนั้น พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ทางพรรคได้แจ้งให้ตนทราบเมื่อช่วงเช้าวันที่ 21 ก.พ. ว่า สน.พหลโยธิน พบตัวผู้กระทำการแล้ว ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้นเป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมายและผู้บริหารพรรค แต่ส่วนตัวให้อภัยจากใจจริง และไม่คิดจะดำเนินคดี เพราะคิดว่าน้องคนดังกล่าวทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้อยากขอความร่วมมือให้ทุกฝ่ายหาเสียงอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้ร้ายกันและให้ต่อสู้กันที่นโยบาย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร ตนไม่คิดร้าย ไม่ดำเนินคดีใดๆ และพูดจากใจจริงว่าไม่เอาเรื่อง อย่างไรก็ตาม ช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียง ตนจะลงพื้นที่ทุกวันไปจนถึงนาทีสุดท้าย เวลา 18.00 น. วันที่ 2 มี.ค. เพื่อพบปะประชาชนและสอบถามปัญหาต่างๆ ที่ต้องการให้เราแก้ไข เพื่อนำมาประมวลและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป พล.ต.อ.พงศพัศ ยังกล่าวถึงกรณีโพลสำนักต่างๆ ที่มีคะแนนนำผู้สมัครคนอื่นว่า ตนไม่ยึดติดโพล เนื่องจากการทำโพลถือเป็นการดำเนินการตามหลักสากลที่ทุกประเทศดำเนินการ แต่ต้องเคารพสถาบันที่ดำเนินการ ตลอดจนความเห็นของประชาชนที่สะท้อนผ่านโพลออกมา หากส่วนใดที่ขาดอยู่ก็ต้องเสริมเข้าไป เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ว่าโค้งสุดท้ายจะมีวิธีการใส่ร้ายแบบใหม่ๆ เพื่อตัดคะแนน พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ไม่คิดว่าจะมี หากผู้สมัครไม่ทำคงไม่มีใครกล้าทำ สำหรับตนหากใครจะทำหรือใส่ร้ายก็ให้อภัย เพื่อให้เห็นถึงการเล่นการเมืองมิติใหม่ที่สู้กันที่นโยบายมากกว่า และเรื่องการฟ้องร้องหากตนในฐานะผู้สมัครไม่ฟ้องร้องทางพรรคก็คงไม่มีการฟ้องร้องเช่นกัน เมื่อถามถึงกรณีภาพตัดต่อบุคคลที่มีชื่อเสียงสนับสนุนผู้สมัครหมายเลข 9 พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ตนคงไม่ไปชี้แจง กกต.หรือหน่วยงานใด เพราะมั่นใจว่าไม่ได้ทำ และเชื่อว่าหน่วยงานนั้นคงตรวจสอบได้ “สุขุมพันธุ์” เปิดนโนบายการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 16 พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา มารดา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงนโยบายด้านการศึกษา โดยกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ก่อตั้งระบบเรียนฟรีของรัฐ และตนได้ต่อยอดระบบเรียนดี เรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ ให้เป็น อิ่มท้อง สมองดี มีวินัย โดยได้เริ่มโครงการอาหารเช้าให้กับเด็กนักเรียน กทม.เมื่อ ส.ค.55 สานต่อหลักสูตรโตไปไม่โกง รวมถึงพัฒนาครูโดยให้อบรมหลักสูตรโตไปไม่โกง หลักสูตรภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมทักษะการสอน ทำโครงการกวดวิชาระดับชาติให้เรียนฟรีในระดับ ม.3 และ ม.6 เพิ่มโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ 50 แห่ง ภาษาจีน 20 แห่ง และเพิ่มการสอนภาษามลายูในโรงเรียน กทม. โครงการห้องสมุดเพื่อการศึกษา 144 แห่ง จะให้ครบทุกโรงเรียน กทม.ใน 4 ปี เพิ่มจำนวนบ้านหนังสือ การติดตั้ง wifi เพิ่มอีก 5,000 จุดความเร็ว 4 MB โครงการเมืองหนังสือโลก รณรงค์การอ่านหนังสือจาก 2-5 เล่มต่อปีให้เป็น 10-15 เล่มต่อปี โครงการห้องเรียนอัจฉริยะ ในการศึกษาอุปกรณ์การเรียนอย่างแท็บแล็ตว่าเหมาะสมกับนักเรียนในระดับใด จัดทำห้องเรียนเด็กพิเศษเพิ่มขึ้น จากที่มี 23 โรงให้เป็น 100 โรงเรียน สร้างห้องสมุดการ์ตูนแห่งแรก จัดทำรถโรงเรียน กทม.ฟรีในบางพื้นที่ ส่งเสริมศักยภาพมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งแรกในประเทศไทย คือมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง