นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วัฒนธรรมการเมืองของคนต่างภาค

แสดงความคิดเห็น

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วัฒนธรรมการเมืองของคนต่างภาค

มติชนออนไลน์ 19 ก.พ.56

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1361258575&grpid=03&catid&subcatid

ถ้า วัดกันด้วยป้ายข้างถนน คนภาคใต้น่าจะมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์สูงกว่าคนทุกภาค เพราะริมถนนหลวงในภาคใต้ จะเต็มไปด้วยป้ายแสดงความจงรักภักดีอย่างหนาแน่นกว่าถนนหลวงในทุกภาคของ ประเทศไทย

ผมตั้งข้อสังเกตนี้แก่เพื่อนชาวใต้ที่สงขลา เขาแสดงความเห็นว่า คงมาจากกระทรวงมหาดไทยในสมัยพรรคภูมิใจไทยได้ว่ามหาดไทย อาจสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางหรือแนะนำให้ใช้งบประมาณท้องถิ่นในการจัดทำ ขึ้น และในขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีอิทธิพลเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้อย่างกว้างขวาง

ข้อ นี้เห็นได้ชัด เพราะภาพและคำขวัญใต้ภาพ จากชุมพรยันสงขลา เหมือนๆ กันทั้งนั้น จนแน่ใจได้ว่าต้องมี "ศูนย์" ในการกำกับอยู่ข้างหลังแน่ แม้ทำออกมาในนามขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของแต่ละท้องที่

แต่ที่ น่าสนใจแก่ผมมากกว่าก็คือ คนภาคใต้เองก็ต้องรู้สึกรับได้กับป้ายเหล่านี้ด้วย หรือรับได้ที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นจะเล่น "การเมือง" แบบนี้ อย่างน้อยก็ไม่มีอันตรายอะไรแก่กลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น พรรค ปชป. เป็นต้น

ผม อยากอธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ทำไมในภาคอื่นๆ ซึ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นก็คงได้รับการสนับสนุนจากมหาดไทยของภูมิใจไทย เหมือนกัน จึงไม่ตั้งป้ายอย่างหนาตาเท่าภาคใต้

ผมไม่เชื่อ ว่าคนในภาคอื่นมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์น้อยกว่าคนในภาคใต้ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมมีความหมายไม่เหมือนกัน แก่คนซึ่งมีปูมหลัง มีผลประโยชน์เฉพาะหน้า มีทัศนะทางการเมือง ฯลฯ ต่างกัน

ที่ผมอยาก อธิบายได้ก็คือ คนภาคอื่นกับคนภาคใต้ต่างกันอย่างไรในทัศนะทางการเมือง ซึ่งเป็นผลรวมของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรม

โดยยังไม่ พอใจนัก ผมอยากอธิบายว่า ทั้งหมดนั้นเกิดจากประวัติศาสตร์ หรืออีกนัยยะหนึ่งคือพัฒนาการทางเศรษฐกิจ-สังคมที่ต่างกันระหว่าง คนเหนือ-อีสาน และคนใต้

สังคมภาคใต้นั้นหลุดออกไปจากสังคมชาวนาก่อนใครทั้งหมด เป็นคนกลุ่มแรกที่ยังชีพด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจคือยางพารา

วัฒนธรรม ของยางพารานั้นแตกต่างจากข้าวอย่างมาก เริ่มตั้งแต่กินต่างข้าวไม่ได้ ฉะนั้น จึงต้องขายให้ได้ แม้แต่ปลูกในสวนขนาดเล็กที่พอใช้แรงงานในครอบครัวได้ แต่แรงงานครอบครัวไม่เคยอยู่คงที่ เมื่อแรงงานขาดด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ต้องจ้างวาน คนใต้จึงเคยชินกับงานจ้าง ทั้งจ้างเขาและถูกเขาจ้าง เพราะวิสาหกิจในภาคใต้ (เช่น ทำเหมืองและขนส่ง) ทำให้มีความต้องการแรงงานจ้างสูงมาแต่อดีต

ตลาดยางพาราไม่ได้อยู่ใน ประเทศ แต่อยู่ที่สิงคโปร์ คนใต้จึงถูกดึงเข้าสู่เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ก่อนใคร ศาสตราจารย์อาคม พัฒิยะ เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านเป็นเด็ก คุณพ่อของท่านต้องคอยฟังวิทยุจากสิงคโปร์เพื่อรู้ราคายางประจำวัน จึงสามารถกำหนดราคายางที่จะรับซื้อได้

คนใต้เข้ามาอยู่ในเศรษฐกิจ สมัยใหม่ ซึ่งมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากชาวนา และด้วยเหตุดังนั้นจึงต้องสร้างกลไกป้องกันความเสี่ยงขึ้นใหม่ เพราะกลไกเก่าใช้ไม่ได้แล้ว

ทั้งนี้โดยไม่มีรัฐคอยช่วยเหลือแต่อย่างใด

คน เหนือ-อีสานถูกดึงเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่เมื่อไม่เกิน 30 ปีมานี้เอง ทั้งถูกดึงเข้ามาด้วยเจตนาของรัฐเอง การผลิตข้าวเพื่อยังชีพมีความสำคัญลดลงตามลำดับ การผลิตต้องใช้ทุนสูงขึ้น แรงงานถูกปลดปล่อยออกจากที่นา ไปสู่อาชีพอื่นๆ ที่หลากหลาย ผู้คนจำนวนมากออกรับจ้างแรงงานทั้งในบริเวณใกล้เคียง และไกลออกไปถึงซาอุฯ อาชีพรับจ้างกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญของคนส่วนใหญ่

ที่พอจะมี ทุนอยู่บ้าง ก็หันเข้าสู่การประกอบการในภาคพาณิชย์หรือบริการ การศึกษาของลูกหลานเป็นมรดกสำคัญกว่าที่นา และผู้คนลงทุนกับการศึกษาของลูกหลานเป็นสัดส่วนที่สูงมากในรายได้ของตน

และ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา รัฐค่อยๆ เปลี่ยนบทบาทตนเองเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของเศรษฐกิจชนบท โครงการของรัฐทำให้เกิดงานจ้างกระจายไปยังชาวบ้าน หากมีการก่อสร้างในโครงการนั้นด้วย ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้รับเหมารายย่อยในหมู่บ้าน ซึ่งจ้างงานคนในหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการดึงเอาโครงการของรัฐมาลง

ยิ่งใน ทศวรรษ 2530 เมื่อมีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น งานจ้างของราชการส่วนท้องถิ่นก็มีความสำคัญขึ้น บางหมู่บ้านในภาคเหนือ คนในวัยทำงานครึ่งหนึ่งรับราชการ ทั้งราชการส่วนกลางและราชการท้องถิ่น

ในกระบวนการปรับเปลี่ยนของคนเหนือ-อีสาน เขาต้องการรัฐ หรือต้องการการอุปถัมภ์จากรัฐ โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งทุน

ไม่ ใช่ว่าเขายังเข้าไม่ถึงแหล่งทุนนะครับ เพราะมีแหล่งทุนของเอกชนที่ลงไปถึงชนบทในหลายรูปแบบ นับตั้งแต่เกษตรพันธสัญญา ไปจนถึงการกู้เพื่อการทำนาเชิงพานิชย์ แต่ก็ไม่พอ

ไม่ พอในสองลักษณะคือ ในด้านปริมาณ เนื่องจากยังต้องการทุนมากกว่านี้อีกมาก ที่จะทำให้คนที่ต้องการปรับเปลี่ยนช่องทางทำมาหากินมีโอกาสทำได้ และไม่พอในด้านการประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับการเกษตร (กู้ ธ.ก.ส. ก็ไม่ได้) ไม่มีที่ดินวางประกัน ฯลฯ

ผมรู้จักช่างอ๊อกเหล็กฝีมือดีคน หนึ่ง ซึ่งไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเป็นแรงงานฝีมือของผู้รับเหมารายย่อยในหมู่บ้าน เพราะเขาไม่มีทุนจะซื้อเครื่องอ๊อกเอง และไม่มีเงินจะซื้อปิกอัพไปตระเวนหางานและรับส่งลูกน้องได้ แต่ผู้รับเหมาก็ไม่มีงานให้เขาทำทั้งปี จึงยังจนดักดานอยู่อย่างนั้น

การ ปรับเปลี่ยนเข้าสู่อาชีพที่มั่นคงนอกภาคเกษตรเป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ในชนบท ที่ได้เรียนหนังสือและได้งานรับเงินเดือนก็แล้วไป แต่คนที่ไม่ได้เรียนสูงเท่านั้นยังมีอีกมาก โดยไม่มีนาให้ทำด้วย ความไม่พอของแหล่งทุนในแง่นี้จึงกระทบต่อคนจำนวนมาก

การมองหาการอุปถัมภ์จากรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องแบมือร้องขอเฉยๆ แต่เป็นส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อรับสถานการณ์ใหม่ได้ดีขึ้น

ตรง กันข้ามกับคนใต้ ที่อยากให้รัฐอยู่ห่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐอุปถัมภ์หรือไม่ก็ตาม ส่วนคนเหนือ-อีสานต้องการรัฐอุปถัมภ์ แค่เรียนฟรีก็ช่วยให้การลงทุนมรดกแก่บุตรหลานเป็นภาระน้อยลง จัดแหล่งเงินกู้ที่ยืดหยุ่นได้มากๆ นับตั้งแต่การอนุมัติเงินกู้ไปจนถึงการผัดผ่อน ก็ยิ่งช่วยให้ปรับตัวได้สะดวกขึ้น

ทำไมคนใต้จึงอยากให้รัฐอยู่ห่างๆ ก็เพราะรัฐไม่ได้ทำอะไรนอกจากเก็บค่าหลวงค่าสัมปทานกลับกรุงเทพฯ แล้วเงียบหายไป ที่ดินซึ่งทำสวนยางจำนวนอีกมากไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะรัฐก็แทบไม่ค่อยได้ออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้ใครสักเท่าไร รัฐจะจัดระเบียบที่ดินเมื่อไร ก็มีคนใต้จำนวนมากที่พบว่าตัวเป็นผู้บุกรุก (ทั้งที่ไม่รู้ว่าบุกรุกใคร) ต้องวิ่งเต้นเสียเงินเสียทองกว่าจะได้เอกสารสิทธิ์มาระดับหนึ่ง

คน ใต้ปรับตัวเองเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ แต่ก็ยังทำเกษตรอยู่คือสวนยาง ไม่เหมือนคนเหนือ-อีสานซึ่งทิ้งนาไปเลยแล้วก็เข้าไปอยู่ในภาคการผลิตอื่น เปรียบเทียบกับที่นา สวนยางทำแล้วก็ต้องทำเลย จะโยกย้ายไปหาที่ใหม่เมื่อหมดหน้านาไม่ได้ง่ายๆ ปัญหาความไม่มั่นคงในที่ดินซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคจึงกระทบต่อคนใต้มากกว่า

ในสายตาของคนใต้ รัฐอยู่ห่างๆ ปล่อยให้เขาจัดการกันเองจะดีกว่า ถึงอย่างไรตลาดผลผลิตของเขาก็อยู่นอกประเทศอยู่แล้ว

ผม เดาว่านี่คือเหตุผลที่ทำให้คนใต้รักประชาธิปัตย์ไงครับ เพราะ ปชป. เป็นพรรคการเมืองที่ยึดถือนโยบายเสรีนิยมทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงตลอดมา ตั้งแต่สมัยที่ คุณควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคแล้ว แต่เสรีนิยมของ ปชป. เป็นเสรีนิยมทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่มีอะไรข้องแวะกับเสรีนิยมทางการเมืองเอาเลย จึงอยู่คงทนร่วมกับเผด็จการมาได้ ทั้งเผด็จการเต็มใบและครึ่งใบ

เสรีนิยมทางเศรษฐกิจก็คือรัฐอย่ายุ่ง ปล่อยๆ เขาทำเขาไปเอง เดี๋ยวก็ดีเอง ตรงกับทัศนะทางการเมืองของคนใต้พอดี

สมมติ ว่าคำอธิบายของผมถูก (ซึ่งผมไม่แน่ใจเอาเลย) ทัศนะทางการเมืองของคนเหนือ-อีสานและคนใต้ จึงต่างกันมาก แต่ไม่ใช่เพราะใครฉลาดทางการเมืองกว่าใคร ต่างมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ-สังคมรองรับทัศนะทางการเมืองเช่นนั้น

อย่าง ไรก็ตาม ผมอยากเตือนไว้ด้วยว่า ไม่มีอะไรหยุดนิ่งคงที่ รวมทั้งรัฐไทยและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ-สังคมด้วย เช่น ในระยะหลังมานี้ คนใต้เริ่มเรียกร้องให้รัฐเขยิบเข้ามาใกล้ๆ เพื่อประกันราคาปาล์มบ้าง, ยางบ้าง, และจัดการให้การท่องเที่ยวยิ่งเฟื่องฟูขึ้นไปกว่านี้อีกบ้าง ในขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคมของคนเหนือ-อีสานก็พัฒนาไป อย่างรวดเร็ว จนวันหนึ่งก็อาจไม่อยากได้รัฐอุปถัมภ์อีกแล้ว (เช่น คนที่เรียกร้องจังหวัดจัดการตนเองส่วนใหญ่ก็เป็นคนชั้นกลางในเมืองของภาค เหนือและอีสาน) วันหนึ่งชาวบ้านก็อาจคิดอะไรแบบคนชั้นกลางในเมืองได้เหมือนกัน

ถึงวันนั้นแผนภูมิครองพื้นที่พรรคการเมืองในวันนี้ก็คงเปลี่ยนไป

แต่ ก่อนที่จะเปลี่ยน ผมคิดว่าคนใต้ยังมองสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของรัฐที่ตนต้องการ นั่นคือรัฐมีแต่พระคุณแต่ไม่มีหรือไม่ใช้พระเดช ยิ่งในยามที่เห็นได้อยู่ว่ารัฐซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ คือรัฐที่พร้อมจะแทรกเข้ามาในชีวิตของผู้คนไปทุกเรื่อง ใช้ทั้งพระคุณและพระเดชปะปนกันอย่างแยกไม่ออก

พระบรมฉายาลักษณ์และคำขวัญจึงปลอบประโลมคนใต้ให้อุ่นใจเป็นพิเศษ

ที่มา: มติชนออนไลน์
วันที่โพสต์: 20/02/2556 เวลา 04:02:25

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วัฒนธรรมการเมืองของคนต่างภาค มติชนออนไลน์ 19 ก.พ.56 ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1361258575&grpid=03&catid&subcatid ถ้า วัดกันด้วยป้ายข้างถนน คนภาคใต้น่าจะมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์สูงกว่าคนทุกภาค เพราะริมถนนหลวงในภาคใต้ จะเต็มไปด้วยป้ายแสดงความจงรักภักดีอย่างหนาแน่นกว่าถนนหลวงในทุกภาคของ ประเทศไทย ผมตั้งข้อสังเกตนี้แก่เพื่อนชาวใต้ที่สงขลา เขาแสดงความเห็นว่า คงมาจากกระทรวงมหาดไทยในสมัยพรรคภูมิใจไทยได้ว่ามหาดไทย อาจสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางหรือแนะนำให้ใช้งบประมาณท้องถิ่นในการจัดทำ ขึ้น และในขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีอิทธิพลเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้อย่างกว้างขวาง ข้อ นี้เห็นได้ชัด เพราะภาพและคำขวัญใต้ภาพ จากชุมพรยันสงขลา เหมือนๆ กันทั้งนั้น จนแน่ใจได้ว่าต้องมี "ศูนย์" ในการกำกับอยู่ข้างหลังแน่ แม้ทำออกมาในนามขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของแต่ละท้องที่ แต่ที่ น่าสนใจแก่ผมมากกว่าก็คือ คนภาคใต้เองก็ต้องรู้สึกรับได้กับป้ายเหล่านี้ด้วย หรือรับได้ที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นจะเล่น "การเมือง" แบบนี้ อย่างน้อยก็ไม่มีอันตรายอะไรแก่กลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น พรรค ปชป. เป็นต้น ผม อยากอธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ทำไมในภาคอื่นๆ ซึ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นก็คงได้รับการสนับสนุนจากมหาดไทยของภูมิใจไทย เหมือนกัน จึงไม่ตั้งป้ายอย่างหนาตาเท่าภาคใต้ ผมไม่เชื่อ ว่าคนในภาคอื่นมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์น้อยกว่าคนในภาคใต้ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมมีความหมายไม่เหมือนกัน แก่คนซึ่งมีปูมหลัง มีผลประโยชน์เฉพาะหน้า มีทัศนะทางการเมือง ฯลฯ ต่างกัน ที่ผมอยาก อธิบายได้ก็คือ คนภาคอื่นกับคนภาคใต้ต่างกันอย่างไรในทัศนะทางการเมือง ซึ่งเป็นผลรวมของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรม โดยยังไม่ พอใจนัก ผมอยากอธิบายว่า ทั้งหมดนั้นเกิดจากประวัติศาสตร์ หรืออีกนัยยะหนึ่งคือพัฒนาการทางเศรษฐกิจ-สังคมที่ต่างกันระหว่าง คนเหนือ-อีสาน และคนใต้ สังคมภาคใต้นั้นหลุดออกไปจากสังคมชาวนาก่อนใครทั้งหมด เป็นคนกลุ่มแรกที่ยังชีพด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจคือยางพารา วัฒนธรรม ของยางพารานั้นแตกต่างจากข้าวอย่างมาก เริ่มตั้งแต่กินต่างข้าวไม่ได้ ฉะนั้น จึงต้องขายให้ได้ แม้แต่ปลูกในสวนขนาดเล็กที่พอใช้แรงงานในครอบครัวได้ แต่แรงงานครอบครัวไม่เคยอยู่คงที่ เมื่อแรงงานขาดด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ต้องจ้างวาน คนใต้จึงเคยชินกับงานจ้าง ทั้งจ้างเขาและถูกเขาจ้าง เพราะวิสาหกิจในภาคใต้ (เช่น ทำเหมืองและขนส่ง) ทำให้มีความต้องการแรงงานจ้างสูงมาแต่อดีต ตลาดยางพาราไม่ได้อยู่ใน ประเทศ แต่อยู่ที่สิงคโปร์ คนใต้จึงถูกดึงเข้าสู่เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ก่อนใคร ศาสตราจารย์อาคม พัฒิยะ เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านเป็นเด็ก คุณพ่อของท่านต้องคอยฟังวิทยุจากสิงคโปร์เพื่อรู้ราคายางประจำวัน จึงสามารถกำหนดราคายางที่จะรับซื้อได้ คนใต้เข้ามาอยู่ในเศรษฐกิจ สมัยใหม่ ซึ่งมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากชาวนา และด้วยเหตุดังนั้นจึงต้องสร้างกลไกป้องกันความเสี่ยงขึ้นใหม่ เพราะกลไกเก่าใช้ไม่ได้แล้ว ทั้งนี้โดยไม่มีรัฐคอยช่วยเหลือแต่อย่างใด คน เหนือ-อีสานถูกดึงเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่เมื่อไม่เกิน 30 ปีมานี้เอง ทั้งถูกดึงเข้ามาด้วยเจตนาของรัฐเอง การผลิตข้าวเพื่อยังชีพมีความสำคัญลดลงตามลำดับ การผลิตต้องใช้ทุนสูงขึ้น แรงงานถูกปลดปล่อยออกจากที่นา ไปสู่อาชีพอื่นๆ ที่หลากหลาย ผู้คนจำนวนมากออกรับจ้างแรงงานทั้งในบริเวณใกล้เคียง และไกลออกไปถึงซาอุฯ อาชีพรับจ้างกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญของคนส่วนใหญ่ ที่พอจะมี ทุนอยู่บ้าง ก็หันเข้าสู่การประกอบการในภาคพาณิชย์หรือบริการ การศึกษาของลูกหลานเป็นมรดกสำคัญกว่าที่นา และผู้คนลงทุนกับการศึกษาของลูกหลานเป็นสัดส่วนที่สูงมากในรายได้ของตน และ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา รัฐค่อยๆ เปลี่ยนบทบาทตนเองเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของเศรษฐกิจชนบท โครงการของรัฐทำให้เกิดงานจ้างกระจายไปยังชาวบ้าน หากมีการก่อสร้างในโครงการนั้นด้วย ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้รับเหมารายย่อยในหมู่บ้าน ซึ่งจ้างงานคนในหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการดึงเอาโครงการของรัฐมาลง ยิ่งใน ทศวรรษ 2530 เมื่อมีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น งานจ้างของราชการส่วนท้องถิ่นก็มีความสำคัญขึ้น บางหมู่บ้านในภาคเหนือ คนในวัยทำงานครึ่งหนึ่งรับราชการ ทั้งราชการส่วนกลางและราชการท้องถิ่น ในกระบวนการปรับเปลี่ยนของคนเหนือ-อีสาน เขาต้องการรัฐ หรือต้องการการอุปถัมภ์จากรัฐ โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งทุน ไม่ ใช่ว่าเขายังเข้าไม่ถึงแหล่งทุนนะครับ เพราะมีแหล่งทุนของเอกชนที่ลงไปถึงชนบทในหลายรูปแบบ นับตั้งแต่เกษตรพันธสัญญา ไปจนถึงการกู้เพื่อการทำนาเชิงพานิชย์ แต่ก็ไม่พอ ไม่ พอในสองลักษณะคือ ในด้านปริมาณ เนื่องจากยังต้องการทุนมากกว่านี้อีกมาก ที่จะทำให้คนที่ต้องการปรับเปลี่ยนช่องทางทำมาหากินมีโอกาสทำได้ และไม่พอในด้านการประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับการเกษตร (กู้ ธ.ก.ส. ก็ไม่ได้) ไม่มีที่ดินวางประกัน ฯลฯ ผมรู้จักช่างอ๊อกเหล็กฝีมือดีคน หนึ่ง ซึ่งไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเป็นแรงงานฝีมือของผู้รับเหมารายย่อยในหมู่บ้าน เพราะเขาไม่มีทุนจะซื้อเครื่องอ๊อกเอง และไม่มีเงินจะซื้อปิกอัพไปตระเวนหางานและรับส่งลูกน้องได้ แต่ผู้รับเหมาก็ไม่มีงานให้เขาทำทั้งปี จึงยังจนดักดานอยู่อย่างนั้น การ ปรับเปลี่ยนเข้าสู่อาชีพที่มั่นคงนอกภาคเกษตรเป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ในชนบท ที่ได้เรียนหนังสือและได้งานรับเงินเดือนก็แล้วไป แต่คนที่ไม่ได้เรียนสูงเท่านั้นยังมีอีกมาก โดยไม่มีนาให้ทำด้วย ความไม่พอของแหล่งทุนในแง่นี้จึงกระทบต่อคนจำนวนมาก การมองหาการอุปถัมภ์จากรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องแบมือร้องขอเฉยๆ แต่เป็นส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อรับสถานการณ์ใหม่ได้ดีขึ้น ตรง กันข้ามกับคนใต้ ที่อยากให้รัฐอยู่ห่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐอุปถัมภ์หรือไม่ก็ตาม ส่วนคนเหนือ-อีสานต้องการรัฐอุปถัมภ์ แค่เรียนฟรีก็ช่วยให้การลงทุนมรดกแก่บุตรหลานเป็นภาระน้อยลง จัดแหล่งเงินกู้ที่ยืดหยุ่นได้มากๆ นับตั้งแต่การอนุมัติเงินกู้ไปจนถึงการผัดผ่อน ก็ยิ่งช่วยให้ปรับตัวได้สะดวกขึ้น ทำไมคนใต้จึงอยากให้รัฐอยู่ห่างๆ ก็เพราะรัฐไม่ได้ทำอะไรนอกจากเก็บค่าหลวงค่าสัมปทานกลับกรุงเทพฯ แล้วเงียบหายไป ที่ดินซึ่งทำสวนยางจำนวนอีกมากไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะรัฐก็แทบไม่ค่อยได้ออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้ใครสักเท่าไร รัฐจะจัดระเบียบที่ดินเมื่อไร ก็มีคนใต้จำนวนมากที่พบว่าตัวเป็นผู้บุกรุก (ทั้งที่ไม่รู้ว่าบุกรุกใคร) ต้องวิ่งเต้นเสียเงินเสียทองกว่าจะได้เอกสารสิทธิ์มาระดับหนึ่ง คน ใต้ปรับตัวเองเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ แต่ก็ยังทำเกษตรอยู่คือสวนยาง ไม่เหมือนคนเหนือ-อีสานซึ่งทิ้งนาไปเลยแล้วก็เข้าไปอยู่ในภาคการผลิตอื่น เปรียบเทียบกับที่นา สวนยางทำแล้วก็ต้องทำเลย จะโยกย้ายไปหาที่ใหม่เมื่อหมดหน้านาไม่ได้ง่ายๆ ปัญหาความไม่มั่นคงในที่ดินซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคจึงกระทบต่อคนใต้มากกว่า ในสายตาของคนใต้ รัฐอยู่ห่างๆ ปล่อยให้เขาจัดการกันเองจะดีกว่า ถึงอย่างไรตลาดผลผลิตของเขาก็อยู่นอกประเทศอยู่แล้ว ผม เดาว่านี่คือเหตุผลที่ทำให้คนใต้รักประชาธิปัตย์ไงครับ เพราะ ปชป. เป็นพรรคการเมืองที่ยึดถือนโยบายเสรีนิยมทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงตลอดมา ตั้งแต่สมัยที่ คุณควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคแล้ว แต่เสรีนิยมของ ปชป. เป็นเสรีนิยมทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่มีอะไรข้องแวะกับเสรีนิยมทางการเมืองเอาเลย จึงอยู่คงทนร่วมกับเผด็จการมาได้ ทั้งเผด็จการเต็มใบและครึ่งใบ เสรีนิยมทางเศรษฐกิจก็คือรัฐอย่ายุ่ง ปล่อยๆ เขาทำเขาไปเอง เดี๋ยวก็ดีเอง ตรงกับทัศนะทางการเมืองของคนใต้พอดี สมมติ ว่าคำอธิบายของผมถูก (ซึ่งผมไม่แน่ใจเอาเลย) ทัศนะทางการเมืองของคนเหนือ-อีสานและคนใต้ จึงต่างกันมาก แต่ไม่ใช่เพราะใครฉลาดทางการเมืองกว่าใคร ต่างมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ-สังคมรองรับทัศนะทางการเมืองเช่นนั้น อย่าง ไรก็ตาม ผมอยากเตือนไว้ด้วยว่า ไม่มีอะไรหยุดนิ่งคงที่ รวมทั้งรัฐไทยและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ-สังคมด้วย เช่น ในระยะหลังมานี้ คนใต้เริ่มเรียกร้องให้รัฐเขยิบเข้ามาใกล้ๆ เพื่อประกันราคาปาล์มบ้าง, ยางบ้าง, และจัดการให้การท่องเที่ยวยิ่งเฟื่องฟูขึ้นไปกว่านี้อีกบ้าง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง