สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน : มาตรการการเมือง หลังโจรใต้ตายหมู่

แสดงความคิดเห็น

สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน : มาตรการการเมือง หลังโจรใต้ตายหมู่

ปกติเจ้าหน้าที่รัฐจะตกเป็นฝ่ายสูญเสีย เนื่องจากต้องคอยตั้งรับ ตกเป็นเป้าให้ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้โจมตีมาตลอด แต่เหตุการณ์ที่ฐานนาวิกโยธิน อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งฝ่ายผู้ก่อการร้ายล้มตายจำนวนมากถึง 16 ศพ

ในทางการทหารถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญ เป็นขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

แต่ในฐานะมนุษย์ด้วยกัน ไม่ถือเป็นเรื่องน่ายินดีแต่อย่างใด

อีกทั้งถ้าศึกษาปัญหาไฟใต้ให้ถ่องแท้ จะพบว่าผู้ก่อความไม่สงบก็คือคนในพื้นที่ ซึ่งมีความคิดต่าง และต้องเข้าร่วมขบวนการเพราะได้รับผลกระทบจากนโยบายอันผิดพลาดของรัฐในอดีต

ผู้รับผิดชอบในรัฐบาลและในหน่วยทหาร มีท่าทีต่อเหตุการณ์นี้อย่างชัดเจนและน่านับถือ

แม้จะชื่นชมในประสิทธิภาพของนาวิกโยธินชุดนี้ ยกย่องในด้านการข่าวอันแม่นยำ

แต่พร้อมๆ กัน ล้วนแสดงท่าทีว่า รู้สึกเสียใจที่คนไทยด้วยกันต้องมาล้มตาย

16 ศพนั้น แม้จะเรียกว่าโจรใต้ แต่ไม่ควรไปเหยียบย่ำ

สำคัญสุด หากตระหนักว่าสงครามไม่ใช่ทางแก้ปัญหา จะเข้าใจได้ต่อไปว่า ครอบครัวญาติของผู้ตายเหล่านี้ จะมีอีก

เท่าไรที่ตัดสินใจไปเข้าร่วมขบวนการ ทำให้ขยายตัวต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

เมื่อต้องเข่นฆ่ากัน ต้องมีความสูญเสีย และมีการล้างแค้นไปมาไม่สิ้นสุด

หลังเหตุปะทะจนฝ่ายก่อความไม่สงบล้มตายมากมาย ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐก็ต้องออกมาตรการเตรียมรับมือการล้างแค้นไป

ทั่วภาคใต้ทันทีเช่นกัน

ดังนั้น จึงต้องยกย่องแนวคิดของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯที่ประสานไปยัง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.

ให้มีมาตรการในการดูแลครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้งหมด

เพราะโจรใต้ไม่ใช่อาชญากร เป็นกลุ่มแนวคิด ซึ่งมีคนรักเคารพ มีญาติมิตรพี่น้องที่เชื่อถือ อีกทั้งครอบครัวของผู้เสียชีวิต ไม่ควรผลักให้เขาเป็นโจรใต้ไปด้วย

เมื่อรัฐบาลและ ศอ.บต.ใช้หลักมนุษยธรรม ประกอบเข้ากับมุมมองที่กว้างไกลคือ ไม่อยากให้เกิดความคับแค้นจากญาติมิตรของผู้สูญเสีย

การเข้าช่วยเหลือดูแลครอบครัวคนเหล่านั้นจึงถือว่าถูกต้องและชาญฉลาด

นักการเมืองหรือกลุ่มความคิดตรงข้ามรัฐบาล ไม่ควรหยิบไปบิดเบือนโจมตี ว่านี่จะเยียวยา 7.75 ล้านบาท ให้กับพวกโจรที่รบรากับเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารอีกแล้ว

เพราะนอกจากไม่เป็นความจริงแล้ว เนื่องจากไม่มีการจ่าย 7.75 ล้านบาท แน่นอน

ยังสะท้อนทัศนคติคับแคบ ชาตินิยมขวาจัดของผู้พูด ซึ่งล้าหลังตกยุคอย่างน่าสงสาร

ทั้งที่สังคมไทยสรุปบทเรียนมาตั้งแต่ครั้งสงครามคอมมิวนิสต์ รบกันตั้งแต่ปี 2508 กว่าจะมาสงบในช่วงปี 2524-2525

ด้วยบทสรุปว่า สงครามความคิด อุดมการณ์ ต้องแก้ด้วยการเมือง ไม่ใช่การทหาร

คำสั่งที่ 66/2523 ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นเครื่องมือยุติไฟสงครามได้ผลที่สุด

ยอมรับว่าฝ่ายทหารป่าไม่ใช่อาชญากร ยอมรับในอุดมการณ์ที่แตกต่าง และเปิดกว้างให้กลับคืนเมืองมาต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี

การดูแลช่วยเหลือครอบครัวของ 16 ศพดังกล่าว

เป็นหลักมนุษยธรรมและมาตรการทางการเมืองในทำนองเดียวกัน

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360932897&grpid=&catid=02&subcatid=0200 (ขนาดไฟล์: 167)

โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน

มติชนออนไลน์ / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.พ. 56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.พ. 56
วันที่โพสต์: 17/02/2556 เวลา 04:19:59

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน : มาตรการการเมือง หลังโจรใต้ตายหมู่ ปกติเจ้าหน้าที่รัฐจะตกเป็นฝ่ายสูญเสีย เนื่องจากต้องคอยตั้งรับ ตกเป็นเป้าให้ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้โจมตีมาตลอด แต่เหตุการณ์ที่ฐานนาวิกโยธิน อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งฝ่ายผู้ก่อการร้ายล้มตายจำนวนมากถึง 16 ศพ ในทางการทหารถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญ เป็นขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่ในฐานะมนุษย์ด้วยกัน ไม่ถือเป็นเรื่องน่ายินดีแต่อย่างใด อีกทั้งถ้าศึกษาปัญหาไฟใต้ให้ถ่องแท้ จะพบว่าผู้ก่อความไม่สงบก็คือคนในพื้นที่ ซึ่งมีความคิดต่าง และต้องเข้าร่วมขบวนการเพราะได้รับผลกระทบจากนโยบายอันผิดพลาดของรัฐในอดีต ผู้รับผิดชอบในรัฐบาลและในหน่วยทหาร มีท่าทีต่อเหตุการณ์นี้อย่างชัดเจนและน่านับถือ แม้จะชื่นชมในประสิทธิภาพของนาวิกโยธินชุดนี้ ยกย่องในด้านการข่าวอันแม่นยำ แต่พร้อมๆ กัน ล้วนแสดงท่าทีว่า รู้สึกเสียใจที่คนไทยด้วยกันต้องมาล้มตาย 16 ศพนั้น แม้จะเรียกว่าโจรใต้ แต่ไม่ควรไปเหยียบย่ำ สำคัญสุด หากตระหนักว่าสงครามไม่ใช่ทางแก้ปัญหา จะเข้าใจได้ต่อไปว่า ครอบครัวญาติของผู้ตายเหล่านี้ จะมีอีก เท่าไรที่ตัดสินใจไปเข้าร่วมขบวนการ ทำให้ขยายตัวต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เมื่อต้องเข่นฆ่ากัน ต้องมีความสูญเสีย และมีการล้างแค้นไปมาไม่สิ้นสุด หลังเหตุปะทะจนฝ่ายก่อความไม่สงบล้มตายมากมาย ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐก็ต้องออกมาตรการเตรียมรับมือการล้างแค้นไป ทั่วภาคใต้ทันทีเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องยกย่องแนวคิดของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯที่ประสานไปยัง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ให้มีมาตรการในการดูแลครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้งหมด เพราะโจรใต้ไม่ใช่อาชญากร เป็นกลุ่มแนวคิด ซึ่งมีคนรักเคารพ มีญาติมิตรพี่น้องที่เชื่อถือ อีกทั้งครอบครัวของผู้เสียชีวิต ไม่ควรผลักให้เขาเป็นโจรใต้ไปด้วย เมื่อรัฐบาลและ ศอ.บต.ใช้หลักมนุษยธรรม ประกอบเข้ากับมุมมองที่กว้างไกลคือ ไม่อยากให้เกิดความคับแค้นจากญาติมิตรของผู้สูญเสีย การเข้าช่วยเหลือดูแลครอบครัวคนเหล่านั้นจึงถือว่าถูกต้องและชาญฉลาด นักการเมืองหรือกลุ่มความคิดตรงข้ามรัฐบาล ไม่ควรหยิบไปบิดเบือนโจมตี ว่านี่จะเยียวยา 7.75 ล้านบาท ให้กับพวกโจรที่รบรากับเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารอีกแล้ว เพราะนอกจากไม่เป็นความจริงแล้ว เนื่องจากไม่มีการจ่าย 7.75 ล้านบาท แน่นอน ยังสะท้อนทัศนคติคับแคบ ชาตินิยมขวาจัดของผู้พูด ซึ่งล้าหลังตกยุคอย่างน่าสงสาร ทั้งที่สังคมไทยสรุปบทเรียนมาตั้งแต่ครั้งสงครามคอมมิวนิสต์ รบกันตั้งแต่ปี 2508 กว่าจะมาสงบในช่วงปี 2524-2525 ด้วยบทสรุปว่า สงครามความคิด อุดมการณ์ ต้องแก้ด้วยการเมือง ไม่ใช่การทหาร คำสั่งที่ 66/2523 ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นเครื่องมือยุติไฟสงครามได้ผลที่สุด ยอมรับว่าฝ่ายทหารป่าไม่ใช่อาชญากร ยอมรับในอุดมการณ์ที่แตกต่าง และเปิดกว้างให้กลับคืนเมืองมาต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี การดูแลช่วยเหลือครอบครัวของ 16 ศพดังกล่าว เป็นหลักมนุษยธรรมและมาตรการทางการเมืองในทำนองเดียวกัน ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360932897&grpid=&catid=02&subcatid=0200 โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน มติชนออนไลน์ / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ก.พ. 56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง