กลยุทธ์ กลเกม การเมืองในศึกเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. 56

กลยุทธ์ กลเกม การเมืองในศึกเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. 56

ไทยรัฐออนไลน์ 7 ก.พ.56

ผ่าน มาแล้วกว่าครึ่งทาง สำหรับบรรดาผู้สมัครทั้ง 25 ราย กับการหาเสียงในสนามเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ครั้งนี้มีปรากฏการณ์แปลกใหม่ให้ต้องครุ่นคิด อันเนื่องมากจากว่าการแข่งขันครั้งนี้ หลายฝ่ายตั้งเป้าจับตาไปที่ 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่ส่งตัวแทนลงชิงชัย แม้ผู้สมัครอิสระบางรายจะดูขยันขันแข็ง และพยายามเสนอตัวเสมือนเป็นทางเลือกใหม่ที่ดูน่าจับตาก็ตาม แต่ในภาคการเมือง อย่างไรแล้วก็หนีไม่พ้นการต้องเฝ้ามองดูความเคลื่อนไหวของ 2 พรรคใหญ่ที่ต่อสู้กันในทุกช่องทาง

ที่ผ่านมาในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2539 ให้หลังประเทศผ่านพ้นวิกฤติพฤษภาทมิฬ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในปีนั้นมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 29 ราย มาปีนี้การเลือกตั้งครั้งนี้หลังประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤติพฤษภาเลือดปี53 มีผู้สมัครทั้งสิ้น 25 ราย มากเป็นอันดับที่สอง ตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมา

มันเกิดอะไรขึ้น ???

ก็ อย่างที่บอกไว้แต่ต้นแล้วว่าการเลือกตั้งสนามนี้ ภาคการเมืองยังไงเสีย ก็ต้องจับตาการแข่งขันของ 2 พรรคใหญ่ เพราะฝ่ายหนึ่งก็ถือว่าหากช่วงชิงได้ก็เท่ากับกุมอำนาจได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด "ไร้รอยต่อ" ส่วนอีกซีกหนึ่งก็หลังพิงฝา รัฐบาลก็ไม่ได้เป็น หากยังต้องมาเสียพื้นเมืองหลวงไปอีก ก็ถือว่างานเข้า ยากที่จะพลิกฟื้นกลับคืนมายิ่งใหญ่ได้ในเร็ววัน ดังนั้น การคว้าเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ จึงเป็นเหมือนตัวแปรทางการเมืองอีกปัจจัยหนึ่งที่ให้คุณให้โทษกับฝ่ายที่ได้ ชัยชนะและฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำมากพอสมควร

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับปริมาณผู้สมัครที่มากมายเช่นนี้

ทีม ข่าวการเมืองไทยรัฐออนไลน์มองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความฉงนสงสัยอยู่ใน ใจ เพราะหากว่าผู้สมัครทั้งหลาย ยังไม่มีทีท่าว่าจะรุกคืบทำกิจกรรมหาเสียง ขายนโยบาย ขายไอเดีย โดยยังคงเคลื่อนไหวอยู่แต่ในพื้นที่ของตนเอง ในวงแคบๆ อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งในรายละเอียด ณ วันนี้ บางรายออกตัวชัด ขอเดินเครื่องแค่ 2 อาทิตย์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้งเท่านั้นพอ และขอปักหลักพื้นที่เดียวอีกต่างหาก โดยพุ่งเป้าถึงการแบ่งสีทางการเมือง ส่วนผู้สมัครบางราย ก็ไม่ค่อยให้สัมภาษณ์ แต่กลับมีตัวแทนมาตอบคำถามแทน

หนัก ไปกว่านั้น ผู้สมัครบางส่วนรวมตัวกันสู้ ! โดยหวังจัดเวทีปราศรัยทั่วกรุง รณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ์ ประกาศจับตาดูความเคลื่อนไหวในการหาเสียงของผู้สมัครจากพรรคใหญ่ทั้ง 2 พรรคอย่างใกล้ชิด โดยพร้อมที่จะร้องเรียนศาลปกครอง หากเกิดความไม่ปกติขึ้น

เอาล่ะซิ นี่มันสนามเลือกตั้งหรือสนามอะไรกันนี่ !!!

เมื่อ ความสงสัยเกิดจึงต้องคิดกันต่อว่า แล้วจำนวนผู้สมัครที่มากมายเช่นนี้ จะส่งผลอะไรบ้าง กับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่กำลังจะเกิด ??? ไตร่ตรองดูอย่างถ้วนถี่แล้ว ในภาพใหญ่ กทม.ทั่วทั้งหมด อาจไม่เห็นผลกระทบชัดเจนมากสักเท่าไหร่ แต่คงไม่ผิดหาจะคิดถึงในพื้นที่ที่แคบลงมาชนิด เขต ต่อ เขต ซึ่งก็ให้พบว่าจำนวนผู้สมัครที่มีคือตัวหารของทุกคะแนนเสียงในทุกเขตของ กทม. ตัวหารมาก คะแนนที่ได้ก็จะน้อย เขตที่เกือบชนะ อาจจะชนะใสไปเลยก็ได้ โดยไม่ต้องมีใครมาลงคะแนนเพิ่มให้มากไปกว่าที่เคยได้

และในทางกลับ กันตัวหารน้อยคะแนนมากเขตที่เคยเกือบจะแพ้อาจพลิกมาชนะได้แม้ไม่มีคนมาเลือก เพิ่มเช่นกัน เมื่อเป็นดังนี้ หากเอาแต้มโดยรวมจากทุกเขตพื้นมาประกอบกัน อาจจะเห็นภาพชัดขึ้นได้ว่าจะส่งผลอะไรกับผู้สมัครที่กำลังช่วงชิงกันอย่าง สุดฤทธิ์บ้าง โดยเฉพาะการชิงเสียงจากกลุ่ม "พลังเงียบ" อีกกว่า 50% ที่แม้ครั้งนี้จะออกมาใช้สิทธิ์

แต่ก็เกิดมีตัวหาร ตัวแชร์ แยกย่อยให้เลือกจนอาจทำให้คะแนนที่หลายฝ่ายคาดหวังว่าจะได้ ต้องมลาย สูญสลายไปอีก .....หรือกลยุทธ์ทางการเมืองมันจะสลับซับซ้อนกันมากเพียงนั้นจริง

ทีม ข่าวการเมืองไทยรัฐออนไลน์ คิดต่อไปว่าข้อพึงปฏิบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.กำหนดไว้นั้น จะมีไหมที่ถือว่าเป็นความผิด หากผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมัครแล้ว คุณสมบัติผ่านครบถ้วน แต่ไม่หาเสียง หรือหาเสียงเพียงในบางพื้นที่ ไม่ครอบคลุม ทั่วถึง เพื่อให้ชัดเจน และถูกต้องที่สุด ก็ต้องสอบถามไปยังท่านสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งก็ได้รับทางสว่างว่า ไม่มีกติกาว่า ถ้าผู้สมัครหาเสียงน้อย หรือไม่หาเสียงแล้วจะมีความผิด กกต.เพียงแต่กำหนดงบประมาณให้ใช้ว่าไม่เกิน 49 ล้านบาท ส่วนจะใช้เท่าไหร่ หรือใช้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิ์อันพึงกระทำได้ของผู้สมัครแต่ละราย

ซึ่งหมายความว่า แม้ไม่ออกหาเสียงเลย หรือหาเสียงแต่ในเขต ในที่ตั้งบางแห่ง ก็ไม่ผิดอะไร...เมื่อมีการตั้งข้อสังเกตเช่นนี้เกิดขึ้น ด้วยเหตุผล และปรากฏการณ์หลายอย่างมาประกอบ ทีมข่าวการเมืองไทยรัฐออนไลน์ จึงยังเฝ้ามองดูความเคลื่อนไหวการหาเสียงเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ต่อไปอย่างใกล้ชิด

แต่ปรากฏการณ์นี้จะมีนัยอะไรหรือไม่นั้น ณ เวลานี้ อาจยังไม่ถึงเวลาที่จะหาคำตอบ แต่สิ่งสำคัญที่ชาว กทม.ต้องนำมาคิดประกอบการตัดสินใจ ที่จะเลือกใครสักคนหนึ่งให้เข้ามาทำหน้าที่บริหารเมืองหลวงของประเทศ คือนโยบายที่ต่างฝ่ายต่างพรั่งพรู นำออกมาขาย ฟังเขาพูดกันแล้วหลายคนอาจสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือ และทำได้อย่างไร

ทีม ข่าวการเมืองไทยรัฐออนไลน์จึงนำข้อมูลพื้นฐานบางอย่างมานำเสนอประกอบการ ตัดสินใจ ให้เห็นภาพกันง่ายยิ่งขึ้นว่าสิ่งที่ผู้สมัครทั้งหลายคุยไว้นั้นมีแนวโน้มทำ ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้ "ขอบเขตอำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" โดยอ้างถึง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 49 ที่ระบุไว้ว่า

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย 


(2) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร

(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรง คุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการ เพื่อปฏิบัติราชการใดๆ

(4) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย

(5) วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย

(6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

(7) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น

ดู ภาพรวมแล้วอำนาจหน้าที่ที่ผู้ว่าฯ กทม.มีในมือ ไม่อาจทำให้การแก้ไขปัญหาที่สะสมในพื้นที่เป็นไปได้โดยง่ายเสียทีเดียว ก็เนื่องมากจากว่า หลายปัญหาที่กระจุกตัวอยู่นั้น เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นที่มิใช่ กทม. ซึ่งผู้สมัครหลายรายก็เห็นจุดอ่อนตรงนี้ ทิศทางการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ของผู้สมัครหลายรายนอกเหนือจากการเสนอขาย ไอเดียเรื่องโครงการสิ่งก่อสร้างทั้งหลายแล้ว

ผู้สมัครหลายรายจึง พยายามขายจุดเด่นของตนเองเรื่องการประสานงาน บางรายนอกจากขายทักษะการประสานงานแล้วยังเพิ่มเรื่อง "จิตสำนึก" ในการรับผิดชอบร่วมกันของคนกรุงเทพฯ ที่ต้องเร่งสร้างเข้าไปด้วยอีก อันนี้ก็สุดแล้วแต่ไอเดียใครจะบรรเจิด และเกิดผลได้มากกว่ากัน

แต่ ไม่ว่าใครจะเสนอความคิดเช่นไรออกมา คนกรุงเทพฯ จำเป็นต้องรู้ให้เท่าทันถึงสิ่งที่มีโอกาสเป็นไปได้มาก หรือเป็นไปได้น้อย เพื่อใช้เป็นข้อมูลกลั่นกรอง เลือกคนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ จังๆ ในกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทยกันเสียที ซึ่งถ้าเกิดผลดีตามมา

นั่นก็เพราะเรา "เลือก" ร่วมกัน ถ้าเกิดผลเสีย ก็ร่วมกันรับกรรมกันต่อไป ......

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
วันที่โพสต์: 7/02/2556 เวลา 04:08:21

ห้องการเมือง