รัฐหน้าไหว้หลังหลอกกฎหมายพ่ายแพ้

แสดงความคิดเห็น

ไทยรัฐออนไลน์ ประจำวันที่ 9 ก.ย.55

ชี้เหตุปราบคอรัปชัน “ล้มเหลว” ยิ่งปราบยิ่งเพิ่ม

ปรากฏการณ์ที่ภาคประชาชนและภาคเอกชนในนามภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน ๔๒ องค์กร มีมติให้วันที่ ๖ กันยายนของทุกปี

เป็น “วันต่อต้านคอรัปชัน”

การที่ถือเอาวันที่ ๖ กันยายน เป็นวันต่อต้านคอรัปชัน ก็เพื่อเป็นการระลึกถึงนายดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานหอการค้าไทย ผู้ริเริ่มก่อตั้งภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔

ทั้งนี้ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน ได้จัดกิจกรรมวันต่อต้านคอรัปชันไปเมื่อวันที่ ๖ กันยายนที่ผ่านมา

โดยมีการสัมมนาเกี่ยวกับการรวมพลังภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในการต่อต้านการคอรัปชัน

จุด ประกายให้สังคมทุกภาคส่วน ร่วมไม้ร่วมมือกันต่อต้านการทุจริตคอรัปชันอย่างเข้มแข็งและจริงจัง โดยประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน ระบุว่า

ปัญหาคอรัปชันส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน และจะส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขันของประเทศ หากเรายังแก้ปัญหานี้ไม่ได้จะทำให้ประเทศยากจนถาวร ไม่มีความน่าเชื่อถือ และประเทศชาติอาจล่มสลายได้ การแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชันให้สำเร็จ รัฐบาลต้องเอาจริงเอาจัง

ในส่วนของภาคีเครือข่ายฯได้มียุทธศาสตร์หลัก ต่อต้านการทุจริตในระยะสั้นจะรณรงค์ต่อเนื่อง ปลูกฝังเยาวชนให้เห็นการทุจริตไม่ใช่เป็นเรื่องปกติ และจะมุ่งเน้นการป้องกัน

เปิดโปงการทุจริต โดยเฉพาะโครงการใหญ่ของภาครัฐที่มีนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ ร่วมกัน ฉ้อราษฎร์บังหลวง อาทิ โครงการป้องกันน้ำท่วม โครงการจำนำสินค้าเกษตร และโครงการจัดซื้อจัดสร้างขนาดใหญ่

ที่สำคัญพลังที่จะต่อต้านการทุ จริตคอรัปชันได้ คือ ทัศนคติของสังคมที่จะร่วมประณาม และสาปแช่งคนที่ทำผิดจนทำให้การทุจริตเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับไม่ได้ ส่วนในระยะยาวจะผลักดันให้ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม เพื่อปราบปรามคนที่ทุจริตทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย

ปลุกกระแสสังคมให้ลุกขึ้นมาต่อต้านการทุจริตที่เปรียบเสมือนมะเร็งร้ายทำลายประเทศ

“ทีม ข่าวการเมืองไทยรัฐ” ขอชี้ว่า การที่ภาคประชาชนและภาคเอกชนต้องรวมตัวเป็นภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน และกำหนดให้มี “วันต่อต้านคอรัปชัน” ขึ้นมาในครั้งนี้

ก็เพราะประเทศไทยของเรามีปัญหาทุจริตคอรัปชันที่ฝังลึก เรื้อรัง และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

พูด ง่ายๆว่าทุจริตกันทุกระดับ ทั้งระดับชาติยันระดับท้องถิ่น ตั้งแต่หัวขบวนยันท้ายขบวน โดยมีนักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า รวมถึงประชาชนบางส่วนเข้าร่วมอยู่ในขบวนการ

ผลสำรวจโพลหลายสำนักชี้ ชัดออกมาเลยว่า คน ส่วนใหญ่ยอมรับได้กับเรื่องการทุจริตคอรัปชัน ถ้าการคอรัปชันนั้นตัวเองมีส่วนได้ประโยชน์ด้วย

ด้วยพฤติกรรมและทัศนคติอย่างนี้ มันจึงทำให้การทุจริตคอรัปชันกลายเป็นปัญหาที่ทับถมและแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น

จนทำให้ประเทศไทย ไม่เคยหลุดจากอันดับโลกในเรื่องของการทุจริตคอรัปชัน

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ปัญหาทุจริตคอรัปชันโกงกินงบประ-มาณแผ่นดินถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมายาวนาน

โดยเฉพาะเมื่อการเมืองมีการแข่งขันกันสูง เพื่อช่วงชิงเข้าสู่อำนาจรัฐ การทุจริตคอรัปชันก็ยิ่งรุนแรง

ในยุคก่อนสมัยเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีที่แล้ว เมื่อมีการเลือกตั้ง นักการเมืองมักจะใช้ของแจกแลกกับคะแนนเสียง

เริ่มจากการแจกปลาทูเค็ม รองเท้าแตะ จอบ เสียม ให้กับชาวบ้านในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อจูงใจให้ชาวบ้านลงคะแนนเสียงให้

ต่อมาเมื่อนักการเมืองต่างต้องการที่จะชนะการเลือกตั้ง เพื่อเข้าสู่อำนาจ จึงมีการทุ่มทุน แจกเงิน ซื้อเสียง

ช่วง แรกๆก็แจกกันหัวละ ๒๐–๓๐ บาท จากนั้นก็ขยับขึ้นมาเป็นหัวละ ๑๐๐–๕๐๐ บาท จนมาถึงยุคปัจจุบันการเมืองมีการต่อสู้กันอย่างหนัก บางพื้นที่มีการแข่งขันกันสูง ค่าหัวค่าซื้อเสียงก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ว่ากันหัวละพันสองพันจ่ายกันสนั่นเมือง

เมื่อค่าใช้จ่ายในการซื้อคะแนนเสียงเลือกตั้งสูงขึ้น นักการเมืองที่ซื้อเสียงเข้าสู่อำนาจก็ต้องถอนทุนด้วยการทุจริตคอรัปชัน

จน กลายเป็นวงจรอุบาทว์ ซื้อสิทธิ ซื้อเสียง ถอนทุนแถมยังต้องหาทุนตุนเอาไว้ เพื่อเอาไปซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป กลายเป็นวัฏจักรอุบาทว์ทางการเมืองไม่จบสิ้น

เมื่อนักการเมืองโกงกินกันมาก จนเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจตามมา ข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อน

ก็ กลายเป็นเหตุให้อำนาจนอกระบบใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง ส่งผลให้ประชาธิปไตยของประเทศต้องล้มลุกคลุกคลานมาตลอด

ซึ่งถือเป็นผลร้ายปลายทางจากวิกฤติทุจริตคอรัปชัน

จาก ปัญหาการทุจริตคอรัปชันที่เป็นผลมาจากวงจร อุบาทว์ นักการเมืองซื้อสิทธิ ซื้อเสียง ถอนทุน ตุนกำไร ทำให้สังคมทนไม่ไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง และมีการจัดทำรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ออกมาใช้บังคับ

มีการจัดตั้งองค์กร อิสระต่างๆ อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

รวมไปถึงการให้อำนาจ วุฒิสภาในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาสั่งยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ที่รู้เห็นกับการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซื้อสิทธิซื้อเสียง

แต่สุดท้าย ก็ถูกนักการเมืองแทรกแซงครอบงำ รวมทั้งคนในองค์กรอิสระบางคนบางพวกก็มีการใช้อำนาจไปในทางไม่ถูกต้อง รับใช้นักการเมือง พ่วงการหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง

ทำให้กลไกองค์กรอิสระพิกลพิการ เกิดความเสื่อม การทุจริตคอรัปชันก็ไม่ได้ลดลง กลับเพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ต่างก็ประกาศชูนโยบายปราบปรามการทุจริต คอรัปชันกันทั้งนั้น

โดยเฉพาะรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศนโยบายต่อต้านการทุจริตคอรัปชันเป็นวาระแห่งชาติ

รณรงค์กันอย่างเต็มที่ เพื่อลดปัญหาการทุจริตลงให้ได้

มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือประชุมเวิร์กช็อป จัดตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามและป้องกันทุจริตในหน่วยงาน ราชการ

สั่งการให้หน่วยงานของรัฐเสนอแผนในการป้องกันและลดปัญหาการทุจริตคอรัปชันภายในหน่วยงาน เสนอต่อทางรัฐบาล

ดูท่าทางเอาจริงเอาจัง เพราะนายกฯลงมากำกับบทด้วยตัวเอง

แต่ พอเอาเข้าจริง เมื่อเกิดปัญหาฉาวโฉ่เกี่ยวกับการทุจริตงบฯช่วยเหลือฟื้นฟูน้ำท่วม การทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และโครงการแทรกแซงราคาพืชผลการเกษตรทั้งหลายแหล่

ปัญหาทุจริตโกงกินต่างๆเหล่านี้ กลับไม่ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐบาลกลายเป็นการต่อต้านทุจริตคอรัปชันแต่ปาก ส่วนการปฏิบัติในการปราบปรามไม่มีผลงานปรากฏ ที่สำคัญในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่เริ่มดำเนินการกันไปแล้วหลายกระทรวง ก็มีภาพฟ้องออกมาว่ามีการเอาข้าราชการที่มีตำหนิ มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่มีปัญหาการทุจริตคอรัปชัน ขยับขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ใหญ่โตขึ้น

บางคนได้ดิบได้ดี ขึ้นมาเป็นปลัดกระทรวง ทำให้ถูกมองว่าได้ดี เพราะช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมืองพฤติกรรมสวนทางกับนโยบายปราบปรามการทุจริตคอรัปชันโดยสิ้นเชิง

ส่วนข้าราชการที่ทุ่มเทเอาจริงเอาจังในการปราบปรามทุจริตคอรัปชัน อย่าง พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่ดำเนินการตรวจสอบพบการทุจริตงบฯฟื้นฟูน้ำท่วมใน ๖ จังหวัดภาคอีสาน การหลบเลี่ยงภาษีนำเข้ารถยนต์หรู และการบุกรุกพื้นที่ป่าในจังหวัดภูเก็ต กลับถูกเด้งจากเลขาธิการ ป. ป.ท.ไปแขวนเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม

ยิ่ง ไปกว่านั้น คนในพรรคแกนนำรัฐบาลก็ยังมีความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อลดทอนอำนาจขององค์กรอิสระต่างๆที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบนักการเมือง

ปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า เป็นพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอกส่งผลให้หลักกฎหมาย พ่ายแพ้วงจรอุบาทว์ ทุจริตโกงกิน เหนืออื่นใด จากสถานการณ์การทุจริตคอรัปชันที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ผลสำรวจของโพลหลายสำนักออกมาว่า หากมีการทุจริตคอรัปชัน แต่ประชาชนได้ประโยชน์ด้วย ก็สามารถยอมรับได้

นั่นก็หมายความว่า ผู้คนส่วนหนึ่งในประเทศนี้ เริ่มมีทัศนคติว่า ถ้ามีการโกง แล้วตัวเองได้ประโยชน์ด้วย ก็พร้อมที่จะยอมรับได้ ถ้าคนในสังคมมีความคิดเช่นนี้ ยอมรับการทุจริตคอรัปชัน จนกลายเป็นวัฒนธรรมสังคม การทุจริตในประเทศไทยก็คงไม่มีทางที่จะลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น รุนแรงขึ้น และเป็นอันตรายต่อ ประเทศชาติมากขึ้น เพราะคนที่ทุจริตคอรัปชันก็จะยิ่งได้ใจ เพราะมองว่าถึงแม้จะทุจริตโกงกินงบประมาณโครงการต่างๆก็ไม่เป็นไร ขอให้มีเนื้องานออกมาให้เห็นบ้าง ชาวบ้านก็ยอมรับได้ ประเทศชาติเสียหายช่างมัน

ทีม ของเราขอชี้ว่า การที่สังคมมีทัศนคติว่าสามารถรับยอมรับการทุจริตคอรัปชันได้ ถ้าตัวเองได้ประโยชน์ด้วย ถือเป็นวัฒนธรรมสังคมที่เลวร้าย ที่สำคัญการที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมสังคมที่เลวร้าย เป็นเรื่องใหญ่มาก ยากที่ลำพังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในสังคมจะแก้ไขได้ เพราะวัฒนธรรมสังคม เป็นเรื่องของคนทั้งสังคม ทั้งประเทศ

แน่ นอน ทางออกในการแก้ไขปัญหาการทุจริต คอรัปชันในเบื้องต้นเฉพาะหน้า จำเป็นต้องมีการใช้กฎหมายปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น ลงโทษให้หนัก แต่ก็เห็นกันอยู่ว่ารัฐบาลทำจริงจังแค่ไหน

ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมสังคมใหม่ ที่ปฏิเสธการทุจริตคอรัปชันทุกรูปแบบ ตรงนี้ต้องมีการบ่มเพาะ ต้องใช้เวลาปลูกฝัง ต้องสร้างทัศนคติกันใหม ทุจริตคอรัปชัน อย่าไปชาชินกับมัน.

“ทีมการเมือง”

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
วันที่โพสต์: 30/09/2555 เวลา 16:26:19

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ไทยรัฐออนไลน์ ประจำวันที่ 9 ก.ย.55 ชี้เหตุปราบคอรัปชัน “ล้มเหลว” ยิ่งปราบยิ่งเพิ่ม ปรากฏการณ์ที่ภาคประชาชนและภาคเอกชนในนามภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน ๔๒ องค์กร มีมติให้วันที่ ๖ กันยายนของทุกปี เป็น “วันต่อต้านคอรัปชัน” การที่ถือเอาวันที่ ๖ กันยายน เป็นวันต่อต้านคอรัปชัน ก็เพื่อเป็นการระลึกถึงนายดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานหอการค้าไทย ผู้ริเริ่มก่อตั้งภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ทั้งนี้ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน ได้จัดกิจกรรมวันต่อต้านคอรัปชันไปเมื่อวันที่ ๖ กันยายนที่ผ่านมา โดยมีการสัมมนาเกี่ยวกับการรวมพลังภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในการต่อต้านการคอรัปชัน จุด ประกายให้สังคมทุกภาคส่วน ร่วมไม้ร่วมมือกันต่อต้านการทุจริตคอรัปชันอย่างเข้มแข็งและจริงจัง โดยประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน ระบุว่า ปัญหาคอรัปชันส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน และจะส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขันของประเทศ หากเรายังแก้ปัญหานี้ไม่ได้จะทำให้ประเทศยากจนถาวร ไม่มีความน่าเชื่อถือ และประเทศชาติอาจล่มสลายได้ การแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชันให้สำเร็จ รัฐบาลต้องเอาจริงเอาจัง ในส่วนของภาคีเครือข่ายฯได้มียุทธศาสตร์หลัก ต่อต้านการทุจริตในระยะสั้นจะรณรงค์ต่อเนื่อง ปลูกฝังเยาวชนให้เห็นการทุจริตไม่ใช่เป็นเรื่องปกติ และจะมุ่งเน้นการป้องกัน เปิดโปงการทุจริต โดยเฉพาะโครงการใหญ่ของภาครัฐที่มีนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ ร่วมกัน ฉ้อราษฎร์บังหลวง อาทิ โครงการป้องกันน้ำท่วม โครงการจำนำสินค้าเกษตร และโครงการจัดซื้อจัดสร้างขนาดใหญ่ ที่สำคัญพลังที่จะต่อต้านการทุ จริตคอรัปชันได้ คือ ทัศนคติของสังคมที่จะร่วมประณาม และสาปแช่งคนที่ทำผิดจนทำให้การทุจริตเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับไม่ได้ ส่วนในระยะยาวจะผลักดันให้ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม เพื่อปราบปรามคนที่ทุจริตทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย ปลุกกระแสสังคมให้ลุกขึ้นมาต่อต้านการทุจริตที่เปรียบเสมือนมะเร็งร้ายทำลายประเทศ “ทีม ข่าวการเมืองไทยรัฐ” ขอชี้ว่า การที่ภาคประชาชนและภาคเอกชนต้องรวมตัวเป็นภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชัน และกำหนดให้มี “วันต่อต้านคอรัปชัน” ขึ้นมาในครั้งนี้ ก็เพราะประเทศไทยของเรามีปัญหาทุจริตคอรัปชันที่ฝังลึก เรื้อรัง และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พูด ง่ายๆว่าทุจริตกันทุกระดับ ทั้งระดับชาติยันระดับท้องถิ่น ตั้งแต่หัวขบวนยันท้ายขบวน โดยมีนักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า รวมถึงประชาชนบางส่วนเข้าร่วมอยู่ในขบวนการ ผลสำรวจโพลหลายสำนักชี้ ชัดออกมาเลยว่า คน ส่วนใหญ่ยอมรับได้กับเรื่องการทุจริตคอรัปชัน ถ้าการคอรัปชันนั้นตัวเองมีส่วนได้ประโยชน์ด้วย ด้วยพฤติกรรมและทัศนคติอย่างนี้ มันจึงทำให้การทุจริตคอรัปชันกลายเป็นปัญหาที่ทับถมและแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ประเทศไทย ไม่เคยหลุดจากอันดับโลกในเรื่องของการทุจริตคอรัปชัน ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ปัญหาทุจริตคอรัปชันโกงกินงบประ-มาณแผ่นดินถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมายาวนาน โดยเฉพาะเมื่อการเมืองมีการแข่งขันกันสูง เพื่อช่วงชิงเข้าสู่อำนาจรัฐ การทุจริตคอรัปชันก็ยิ่งรุนแรง ในยุคก่อนสมัยเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีที่แล้ว เมื่อมีการเลือกตั้ง นักการเมืองมักจะใช้ของแจกแลกกับคะแนนเสียง เริ่มจากการแจกปลาทูเค็ม รองเท้าแตะ จอบ เสียม ให้กับชาวบ้านในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อจูงใจให้ชาวบ้านลงคะแนนเสียงให้ ต่อมาเมื่อนักการเมืองต่างต้องการที่จะชนะการเลือกตั้ง เพื่อเข้าสู่อำนาจ จึงมีการทุ่มทุน แจกเงิน ซื้อเสียง ช่วง แรกๆก็แจกกันหัวละ ๒๐–๓๐ บาท จากนั้นก็ขยับขึ้นมาเป็นหัวละ ๑๐๐–๕๐๐ บาท จนมาถึงยุคปัจจุบันการเมืองมีการต่อสู้กันอย่างหนัก บางพื้นที่มีการแข่งขันกันสูง ค่าหัวค่าซื้อเสียงก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ว่ากันหัวละพันสองพันจ่ายกันสนั่นเมือง เมื่อค่าใช้จ่ายในการซื้อคะแนนเสียงเลือกตั้งสูงขึ้น นักการเมืองที่ซื้อเสียงเข้าสู่อำนาจก็ต้องถอนทุนด้วยการทุจริตคอรัปชัน จน กลายเป็นวงจรอุบาทว์ ซื้อสิทธิ ซื้อเสียง ถอนทุนแถมยังต้องหาทุนตุนเอาไว้ เพื่อเอาไปซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป กลายเป็นวัฏจักรอุบาทว์ทางการเมืองไม่จบสิ้น เมื่อนักการเมืองโกงกินกันมาก จนเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจตามมา ข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อน ก็ กลายเป็นเหตุให้อำนาจนอกระบบใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง ส่งผลให้ประชาธิปไตยของประเทศต้องล้มลุกคลุกคลานมาตลอด ซึ่งถือเป็นผลร้ายปลายทางจากวิกฤติทุจริตคอรัปชัน จาก ปัญหาการทุจริตคอรัปชันที่เป็นผลมาจากวงจร อุบาทว์ นักการเมืองซื้อสิทธิ ซื้อเสียง ถอนทุน ตุนกำไร ทำให้สังคมทนไม่ไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง และมีการจัดทำรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ออกมาใช้บังคับ มีการจัดตั้งองค์กร อิสระต่างๆ อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) รวมไปถึงการให้อำนาจ วุฒิสภาในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาสั่งยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ที่รู้เห็นกับการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซื้อสิทธิซื้อเสียง แต่สุดท้าย ก็ถูกนักการเมืองแทรกแซงครอบงำ รวมทั้งคนในองค์กรอิสระบางคนบางพวกก็มีการใช้อำนาจไปในทางไม่ถูกต้อง รับใช้นักการเมือง พ่วงการหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง ทำให้กลไกองค์กรอิสระพิกลพิการ เกิดความเสื่อม การทุจริตคอรัปชันก็ไม่ได้ลดลง กลับเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ต่างก็ประกาศชูนโยบายปราบปรามการทุจริต คอรัปชันกันทั้งนั้น โดยเฉพาะรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศนโยบายต่อต้านการทุจริตคอรัปชันเป็นวาระแห่งชาติ รณรงค์กันอย่างเต็มที่ เพื่อลดปัญหาการทุจริตลงให้ได้ มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือประชุมเวิร์กช็อป จัดตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามและป้องกันทุจริตในหน่วยงาน ราชการ สั่งการให้หน่วยงานของรัฐเสนอแผนในการป้องกันและลดปัญหาการทุจริตคอรัปชันภายในหน่วยงาน เสนอต่อทางรัฐบาล ดูท่าทางเอาจริงเอาจัง เพราะนายกฯลงมากำกับบทด้วยตัวเอง แต่ พอเอาเข้าจริง เมื่อเกิดปัญหาฉาวโฉ่เกี่ยวกับการทุจริตงบฯช่วยเหลือฟื้นฟูน้ำท่วม การทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และโครงการแทรกแซงราคาพืชผลการเกษตรทั้งหลายแหล่ ปัญหาทุจริตโกงกินต่างๆเหล่านี้ กลับไม่ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐบาลกลายเป็นการต่อต้านทุจริตคอรัปชันแต่ปาก ส่วนการปฏิบัติในการปราบปรามไม่มีผลงานปรากฏ ที่สำคัญในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่เริ่มดำเนินการกันไปแล้วหลายกระทรวง ก็มีภาพฟ้องออกมาว่ามีการเอาข้าราชการที่มีตำหนิ มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่มีปัญหาการทุจริตคอรัปชัน ขยับขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ใหญ่โตขึ้น บางคนได้ดิบได้ดี ขึ้นมาเป็นปลัดกระทรวง ทำให้ถูกมองว่าได้ดี เพราะช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมืองพฤติกรรมสวนทางกับนโยบายปราบปรามการทุจริตคอรัปชันโดยสิ้นเชิง ส่วนข้าราชการที่ทุ่มเทเอาจริงเอาจังในการปราบปรามทุจริตคอรัปชัน อย่าง พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่ดำเนินการตรวจสอบพบการทุจริตงบฯฟื้นฟูน้ำท่วมใน ๖ จังหวัดภาคอีสาน การหลบเลี่ยงภาษีนำเข้ารถยนต์หรู และการบุกรุกพื้นที่ป่าในจังหวัดภูเก็ต กลับถูกเด้งจากเลขาธิการ ป. ป.ท.ไปแขวนเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ยิ่ง ไปกว่านั้น คนในพรรคแกนนำรัฐบาลก็ยังมีความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อลดทอนอำนาจขององค์กรอิสระต่างๆที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบนักการเมือง ปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า เป็นพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอกส่งผลให้หลักกฎหมาย พ่ายแพ้วงจรอุบาทว์ ทุจริตโกงกิน เหนืออื่นใด จากสถานการณ์การทุจริตคอรัปชันที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ผลสำรวจของโพลหลายสำนักออกมาว่า หากมีการทุจริตคอรัปชัน แต่ประชาชนได้ประโยชน์ด้วย ก็สามารถยอมรับได้ นั่นก็หมายความว่า ผู้คนส่วนหนึ่งในประเทศนี้ เริ่มมีทัศนคติว่า ถ้ามีการโกง แล้วตัวเองได้ประโยชน์ด้วย ก็พร้อมที่จะยอมรับได้ ถ้าคนในสังคมมีความคิดเช่นนี้ ยอมรับการทุจริตคอรัปชัน จนกลายเป็นวัฒนธรรมสังคม การทุจริตในประเทศไทยก็คงไม่มีทางที่จะลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น รุนแรงขึ้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง