เทศกาลคนรักละครใบ้ พบศิลปินระดับโลกพร้อมจัดแสดงในไทย

แสดงความคิดเห็น

เทศกาลคนรักละครใบ้ (KonRak Mime Festival 2016)

เทศกาลคนรักละครใบ้ (KonRak Mime Festival 2016) เกิดจากแนวคิดที่จะสร้างบริใหม่ให้ละครใบ้มีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น ในฐานที่สถาบันคนหน้าขาวสร้างผลงานมาตลอด 35 ปี ทางสถาบันฯ จึงนำเสนอแนวคิดนี้ต่อมูลนิธิเสถียรโกเศศ –นาคะประทีป ข้อสรุปของกรรมการมูลนิธิฯเห็นว่าเหมาะสมที่จะจัดให้เกิดขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปีชาติกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เพื่อส่งเสริมให้โครงการเทศกาลคนรักละครใบ้ประสบความสำเร็จในวงกว้างมากขึ้น จึงได้ขอความร่วมมือไปยังสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนศิลปินจากประเทศเยอรมันนีเข้าร่วมแสดงในเทศกาลฯ อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากเจแปนฟาวเดชั่น โดยสำหรับศิลปินญี่ปุ่นในการเดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้ สำหรับศิลปินไทย นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการแสดงในฐานะตัวแทนจากประเทศเจ้าภาพ

เนื่องจากเป็นเทศกาลระดับนานาชาติ ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้ยื่นมือให้การสนับสนุนให้เปิดแสดง ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ด้วยการร่วมมือของ 7 หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร ผลที่ได้จากการจัดงาน รายได้ส่วนหนึ่งหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้โครงการ นำร่อง สอนละครใบ้เพื่อเด็กหูหนวก รายส่วนที่เหลือจะนำไปต่อยอดสำหรับการจัดงานในปีต่อไปและเปิดการแสดงในภูมิภาคอาเซียน

ศิลปินที่ร่วมแสดงในครั้งนี้

Milan Sladek – ศิลปินละครใบ้อันดับ 1 แห่งประเทศเยอรมันนี

Milan Sladek – ศิลปินละครใบ้อันดับ 1 แห่งประเทศเยอรมันนี

ทำการแสดงมากว่า 40 ปี เป็นผู้เปิดโรงละครสำหรับละครใบ้โดยเฉพาะในเมืองโคโลนญ์ ซึ่งเป็นโรงละครใบ้แห่งเดียวในยุโรป และริเริ่มการจัดเทศกาลละครใบ้นานาชาติเป็นครั้งแรก โดย THEATER KEFKA และเมืองโคโลนญ์ นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์สอนละครใบ้และผู้กำกับในสถาบันศิลปะการแสดงละครใบ้และการอบรมในหลายประเทศ มีการผลิตผลงานละครใบ้มาอย่างต่อเนื่องทั้งเดี่ยวและกลุ่มทั้งละครใบ้ขนาดสั้นและขนาดยาว

มิลาน สลาเด็ก (Milan Sladek) ศิลปินละครใบ้อันดับหนึ่งจากประเทศเยอรมันนี เจ้าของรางวัล 1st Class Order of Merit of the Federal Republic of Germany และรางวัลอื่นๆอีกมากมายจากประเทศในสหภาพยุโรปและทวีปอเมริกา เปิดโรงละครสำหรับละครใบ้โดยเฉพาะในเมืองโคโลนญ์ ซึ่งเป็นโรงละครใบ้แห่งเดียวในยุโรปและเป็นผู้ริเริ่มการจัดเทศกาลละครใบ้นานาชาติเป็นครั้งแรกในเมืองโคโลนญ์ เป็นผู้กำกับและอาจารย์สอนละครใบ้ในสถาบันศิลปะการแสดง และเปิดการอบรมในหลายประเทศ ในส่วนการแสดงจากทวีปเอเชียก็ได้ นักแสดงละครใบ้ชั้นครูจากญี่ปุ่น กีต้า เคียวอิจิ เรียนละครใบ้จาก Etienne Decroux บิดาของศาสตร์ละครใบ้ และเคยได้รับเกียรติแสดงในการเปิดงาน Bonn city UNESCO cosponsorship international dance festival (GERMANY)

Kita Kyoichi – นักแสดงละครใบ้ชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น

Kita Kyoichi – นักแสดงละครใบ้ชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น

kita เรียนละครใบ้จาก Etienne Decroux ปรมาจารย์ศาสตร์ละครใบ้จากประเทศฝรั่งเศส ได้รับเชิญจากเทศกาลเต้นและเทศกาลละครใบ้ในต่างประเทศและร่วมมีบทบาทในวงการการแสดงทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ เป็นผู้เริ่ม “1, Beijing pantomime collection 1” (APOC theater) ได้รับเชิญให้บรรยายและแสดงการเปิดงาน International Dance Festival ซึ่งร่วมสนับสนุนโดย UNESCO ที่เมือง Bonn ประเทศ GERMANY และเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้ง YOKOHAMA Physical Theater Kita Kyoichi มีแนวทางการแสดงละครใบ้ที่เฉพาะตัวมาก สวยงามและแหลมคม หาดูได้ไม่ง่าย

ไพฑูรย์ ไหลสกุล นักแสดงละครใบ้คนแรกของประเทศไทย

ไพฑูรย์ ไหลสกุล นักแสดงละครใบ้คนแรกของประเทศไทย

ในฐานะประเทศเจ้าภาพ ได้รับเกียรติจาก ไพฑูรย์ ไหลสกุล ศิลปินละครใบ้คนแรกของประเทศไทย ผู้มีผลงานการแสดงมามากกว่า 30 ปี โดยร่วมแสดงและกำกับการแสดงละครใบ้ในนามคณะคนหน้าขาว เรื่อง ออกทะเล ร่วมกับนักแสดงรุ่นใหม่ ผนวกด้วยศิลปินชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในไทย ยาโน่ คาซูกิ ที่เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี พร้อมทั้งนักแสดงละครใบ้ไทย เห่า ไมม์ ผู้ฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตัวเองและมีผลงานอย่างต่อเนื่อง

โดยไพฑูรย์ ไหลสกุล เรียนละครใบ้กับ อ. มิลาน สลาเดค นักแสดงละครใบ้ชาวเยอรมันใน (2523) ก่อตั้งกลุ่มคนหน้าขาว(2527) มีการเปิดแสดงตามสถานที่ต่างๆเรื่อยมา จนกระทั่งมีผลงานชิ้นแรกในนามกลุ่มละคร เรื่อง กามา-ละครใบ้ (2530) ซึ่งเป็นละครใบ้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างหญิง-ชาย เป็นเรื่องแรกของเอเชีย ผลจากการจัดแสดงทำให้ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ (Geothe Institute) หรือ สถาบันวัฒนธรรมไทย – เยอรมัน (German Cultural Institute) ให้ไปดูงานการแสดงละครใบ้ที่ประเทศเยอรมันเป็นเวลา 1 เดือน และเป็นศิลปินละครไทยที่ได้รับเชิญจากเทศกาลละครใบ้ในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ให้ไปเปิดการแสดงในเทศกาล ต่อมาก่อตั้งสถาบันละคนใบ้คนหน้าขาว (2547) เปิดทำการสอนการแสดงละครใบ้ให้กับกลุ่มนักศึกษาและบุคคลทั่วไป พร้อมทั้งกำกับและเปิดแสดงงานทุกๆ ปี อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มโครงการสอนละครใบ้เพื่อเด็กหูหนวกซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ตารางการแสดงเปิดแสดง 6 รอบ สำหรับ 3 ชุดการแสดง

20, 21 พ.ค. 59 Milan Sladek (เยอรมัน), Yano Mime (ญี่ปุ่น)

27, 28 พ.ค. 59 Kita Kyoichi (ญี่ปุ่น), Hao Mime (ไทย)

22, 29 พ.ค. 59 ไพฑูรย์ ไหลสกุล, คนหน้าขาว (ไทย)

ราคาบัตร 600 บาท ต่อ 1 รอบ สำหรับผู้ที่สนใจบัตรเช็ตราคาพิเศษ ชม 3 ชุดการแสดงในราคา 1,500 บาท (จาก 1,800 บาท) สำรองที่นั่งได้ที่ Thai Ticket Major หรือ 02-262-3456 และสำหรับผู้ที่ต้องการสนับสนุนเด็กหูหนวกให้ได้เข้าร่วมชมการแสดง สามารถซื้อบัตรเพื่อเด็กๆได้ในราคาบัตรเซ็ต 1,500 บาท หรือบัตรราคา 600 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 062-757-0440 (เพิ่ม)

ขอบคุณ... https://www.beartai.com/lifestyle/entertainment/91763

ที่มา: www.beartai.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 เม.ย.59
วันที่โพสต์: 5/04/2559 เวลา 10:32:54 ดูภาพสไลด์โชว์ เทศกาลคนรักละครใบ้ พบศิลปินระดับโลกพร้อมจัดแสดงในไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เทศกาลคนรักละครใบ้ (KonRak Mime Festival 2016) เทศกาลคนรักละครใบ้ (KonRak Mime Festival 2016) เกิดจากแนวคิดที่จะสร้างบริใหม่ให้ละครใบ้มีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น ในฐานที่สถาบันคนหน้าขาวสร้างผลงานมาตลอด 35 ปี ทางสถาบันฯ จึงนำเสนอแนวคิดนี้ต่อมูลนิธิเสถียรโกเศศ –นาคะประทีป ข้อสรุปของกรรมการมูลนิธิฯเห็นว่าเหมาะสมที่จะจัดให้เกิดขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปีชาติกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เพื่อส่งเสริมให้โครงการเทศกาลคนรักละครใบ้ประสบความสำเร็จในวงกว้างมากขึ้น จึงได้ขอความร่วมมือไปยังสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนศิลปินจากประเทศเยอรมันนีเข้าร่วมแสดงในเทศกาลฯ อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากเจแปนฟาวเดชั่น โดยสำหรับศิลปินญี่ปุ่นในการเดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้ สำหรับศิลปินไทย นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการแสดงในฐานะตัวแทนจากประเทศเจ้าภาพ เนื่องจากเป็นเทศกาลระดับนานาชาติ ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้ยื่นมือให้การสนับสนุนให้เปิดแสดง ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ด้วยการร่วมมือของ 7 หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร ผลที่ได้จากการจัดงาน รายได้ส่วนหนึ่งหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้โครงการ นำร่อง สอนละครใบ้เพื่อเด็กหูหนวก รายส่วนที่เหลือจะนำไปต่อยอดสำหรับการจัดงานในปีต่อไปและเปิดการแสดงในภูมิภาคอาเซียน ศิลปินที่ร่วมแสดงในครั้งนี้ Milan Sladek – ศิลปินละครใบ้อันดับ 1 แห่งประเทศเยอรมันนี Milan Sladek – ศิลปินละครใบ้อันดับ 1 แห่งประเทศเยอรมันนี ทำการแสดงมากว่า 40 ปี เป็นผู้เปิดโรงละครสำหรับละครใบ้โดยเฉพาะในเมืองโคโลนญ์ ซึ่งเป็นโรงละครใบ้แห่งเดียวในยุโรป และริเริ่มการจัดเทศกาลละครใบ้นานาชาติเป็นครั้งแรก โดย THEATER KEFKA และเมืองโคโลนญ์ นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์สอนละครใบ้และผู้กำกับในสถาบันศิลปะการแสดงละครใบ้และการอบรมในหลายประเทศ มีการผลิตผลงานละครใบ้มาอย่างต่อเนื่องทั้งเดี่ยวและกลุ่มทั้งละครใบ้ขนาดสั้นและขนาดยาว มิลาน สลาเด็ก (Milan Sladek) ศิลปินละครใบ้อันดับหนึ่งจากประเทศเยอรมันนี เจ้าของรางวัล 1st Class Order of Merit of the Federal Republic of Germany และรางวัลอื่นๆอีกมากมายจากประเทศในสหภาพยุโรปและทวีปอเมริกา เปิดโรงละครสำหรับละครใบ้โดยเฉพาะในเมืองโคโลนญ์ ซึ่งเป็นโรงละครใบ้แห่งเดียวในยุโรปและเป็นผู้ริเริ่มการจัดเทศกาลละครใบ้นานาชาติเป็นครั้งแรกในเมืองโคโลนญ์ เป็นผู้กำกับและอาจารย์สอนละครใบ้ในสถาบันศิลปะการแสดง และเปิดการอบรมในหลายประเทศ ในส่วนการแสดงจากทวีปเอเชียก็ได้ นักแสดงละครใบ้ชั้นครูจากญี่ปุ่น กีต้า เคียวอิจิ เรียนละครใบ้จาก Etienne Decroux บิดาของศาสตร์ละครใบ้ และเคยได้รับเกียรติแสดงในการเปิดงาน Bonn city UNESCO cosponsorship international dance festival (GERMANY) Kita Kyoichi – นักแสดงละครใบ้ชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น Kita Kyoichi – นักแสดงละครใบ้ชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น kita เรียนละครใบ้จาก Etienne Decroux ปรมาจารย์ศาสตร์ละครใบ้จากประเทศฝรั่งเศส ได้รับเชิญจากเทศกาลเต้นและเทศกาลละครใบ้ในต่างประเทศและร่วมมีบทบาทในวงการการแสดงทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ เป็นผู้เริ่ม “1, Beijing pantomime collection 1” (APOC theater) ได้รับเชิญให้บรรยายและแสดงการเปิดงาน International Dance Festival ซึ่งร่วมสนับสนุนโดย UNESCO ที่เมือง Bonn ประเทศ GERMANY และเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้ง YOKOHAMA Physical Theater Kita Kyoichi มีแนวทางการแสดงละครใบ้ที่เฉพาะตัวมาก สวยงามและแหลมคม หาดูได้ไม่ง่าย ไพฑูรย์ ไหลสกุล นักแสดงละครใบ้คนแรกของประเทศไทย ไพฑูรย์ ไหลสกุล นักแสดงละครใบ้คนแรกของประเทศไทย ในฐานะประเทศเจ้าภาพ ได้รับเกียรติจาก ไพฑูรย์ ไหลสกุล ศิลปินละครใบ้คนแรกของประเทศไทย ผู้มีผลงานการแสดงมามากกว่า 30 ปี โดยร่วมแสดงและกำกับการแสดงละครใบ้ในนามคณะคนหน้าขาว เรื่อง ออกทะเล ร่วมกับนักแสดงรุ่นใหม่ ผนวกด้วยศิลปินชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในไทย ยาโน่ คาซูกิ ที่เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี พร้อมทั้งนักแสดงละครใบ้ไทย เห่า ไมม์ ผู้ฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตัวเองและมีผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยไพฑูรย์ ไหลสกุล เรียนละครใบ้กับ อ. มิลาน สลาเดค นักแสดงละครใบ้ชาวเยอรมันใน (2523) ก่อตั้งกลุ่มคนหน้าขาว(2527) มีการเปิดแสดงตามสถานที่ต่างๆเรื่อยมา จนกระทั่งมีผลงานชิ้นแรกในนามกลุ่มละคร เรื่อง กามา-ละครใบ้ (2530) ซึ่งเป็นละครใบ้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างหญิง-ชาย เป็นเรื่องแรกของเอเชีย ผลจากการจัดแสดงทำให้ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ (Geothe Institute) หรือ สถาบันวัฒนธรรมไทย – เยอรมัน (German Cultural Institute) ให้ไปดูงานการแสดงละครใบ้ที่ประเทศเยอรมันเป็นเวลา 1 เดือน และเป็นศิลปินละครไทยที่ได้รับเชิญจากเทศกาลละครใบ้ในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ให้ไปเปิดการแสดงในเทศกาล ต่อมาก่อตั้งสถาบันละคนใบ้คนหน้าขาว (2547) เปิดทำการสอนการแสดงละครใบ้ให้กับกลุ่มนักศึกษาและบุคคลทั่วไป พร้อมทั้งกำกับและเปิดแสดงงานทุกๆ ปี อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มโครงการสอนละครใบ้เพื่อเด็กหูหนวกซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตารางการแสดงเปิดแสดง 6 รอบ สำหรับ 3 ชุดการแสดง 20, 21 พ.ค. 59 Milan Sladek (เยอรมัน), Yano Mime (ญี่ปุ่น) 27, 28 พ.ค. 59 Kita Kyoichi (ญี่ปุ่น), Hao Mime (ไทย) 22, 29 พ.ค. 59 ไพฑูรย์ ไหลสกุล, คนหน้าขาว (ไทย) ราคาบัตร 600 บาท ต่อ 1 รอบ สำหรับผู้ที่สนใจบัตรเช็ตราคาพิเศษ ชม 3 ชุดการแสดงในราคา 1,500 บาท (จาก 1,800 บาท) สำรองที่นั่งได้ที่ Thai Ticket Major หรือ 02-262-3456 และสำหรับผู้ที่ต้องการสนับสนุนเด็กหูหนวกให้ได้เข้าร่วมชมการแสดง สามารถซื้อบัตรเพื่อเด็กๆได้ในราคาบัตรเซ็ต 1,500 บาท หรือบัตรราคา 600 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 062-757-0440 (เพิ่ม) ขอบคุณ... https://www.beartai.com/lifestyle/entertainment/91763

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...