บอร์ด สปสช.จัดงบ 49 ล้านบาท ดูแล “ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน” ลดขาดยา ลดตีตรา

แสดงความคิดเห็น

นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

บอร์ด สปสช. จัดสรรงบ 49.8 ล้านบาท ดูแล “ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน” ในปี 60 ติดตามดูแลแบบถึงบ้านและชุมชน ลดการขาดนัด ขาดยา ประเมินความเสี่ยงอาการกำเริบ ปรับทัศนคติคนในชุมชน ลดการตีตรายกคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง

นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า โรคทางจิตเวชเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาดอาจมีอาการกำเริบซ้ำได้บ่อย จึงต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังส่วนหนึ่งที่เมื่อมีภาวะอาการคงที่ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องดูแลไม่ให้ขาดยาเป็นอันขาด โดยมีครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นคนรอบข้างต้องช่วยกันดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตปกติได้ ทั้งนี้ บอร์ด สปสช. ได้อนุมัติสิทธิประโยชน์เพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในหน่วยบริการและการดูแลต่อเนื่องถึงที่บ้านและในชุมชน ผ่านการพัฒนาเครือข่ายบริการจิตเวชระหว่างหน่วยบริการรับส่งต่อ และหน่วยบริการประจำ ตลอดจนเครือข่ายปฐมภูมิ เพื่อลดอาการกำเริบ หรือการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วย ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังจะได้รับการเฝ้าระวังติดตามอาการ ดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม

นพ.ชูชัย กล่าวว่า สำหรับในปี 2560 บอร์ด สปสช. ยังคงให้การสนับสนุนการบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง โดยได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 49.8 ล้านบาท มีเป้าหมายให้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนจำนวน 8,300 ราย (เฉลี่ย 6,000 บาทต่อราย) เพื่อเป็นค่าบริการในการติดตามเยี่ยมดูแลอาการผู้ป่วย ให้รับยาต่อเนื่องถึงที่บ้านและในชุมชน มีการให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติตามอาการให้จัดการปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ช่วยปรับทัศนคติการใช้ชีวิตประจำวัน และการอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้อย่างปกติสุข โดยงบประมาณนี้ไม่รวมค่ายา และค่าบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิต ซึ่งหน่วยบริการสามารถเบิกได้จากงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัวอยู่แล้ว

“การดำเนินงานยังคงเน้นสร้างความร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลจิตเวชราชนครินทร์ หน่วยบริการประจำ/หน่วยบริการปฐมภูมิ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันดูแลผู้ป่วย พร้อมให้บริการส่งต่อเมื่อจำเป็น หรือขอรับคำปรึกษาตามระบบของเครือข่ายบริการ พร้อมกันนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานในรูปเครือข่ายหน่วยบริการ ผ่านแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาสุขภาพจิต จิตเวชและยาเสพติด และแผนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและสุขภาพระดับอำเภอ ของกระทรวงสาธารณสุขด้วย” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า สิ่งสำคัญ ของการจัดบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน

นอกจากดูแลที่บ้านให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ต่อเนื่อง ลดการขาดนัด ขาดยาแล้ว ยังกำหนดให้ทำการประเมินความรุนแรงของอาการผู้ป่วย (แบบติดตาม 9 ด้าน) นำไปสู่การทำแผนการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล การวางแผนช่วยเหลือ เข้าเยี่ยมที่บ้าน รวมถึงการประเมินความพิการทางจิต อาการแทรกซ้อน สิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงต่ออาการกำเริบ เป็นกิจกรรมติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสนับสนุนผู้ป่วย/ครอบครัวไปยื่นจดทะเบียนคนพิการให้ผู้ป่วยจิตเวช ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อให้ผู้ป่วยทางจิตได้รับสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองดูแลเพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ ยังมีการปรับทัศนคติคนในชุมชน ให้เข้าใจเกี่ยวกับภาวะอาการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ลดความกังวลและความหวาดกลัว ลดการตีตรา ทำให้ผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในที่สุด

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9600000009703 (ขนาดไฟล์: 166)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ม.ค.60
วันที่โพสต์: 23/02/2560 เวลา 09:58:28 ดูภาพสไลด์โชว์ บอร์ด สปสช.จัดงบ 49 ล้านบาท ดูแล “ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน” ลดขาดยา ลดตีตรา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บอร์ด สปสช. จัดสรรงบ 49.8 ล้านบาท ดูแล “ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน” ในปี 60 ติดตามดูแลแบบถึงบ้านและชุมชน ลดการขาดนัด ขาดยา ประเมินความเสี่ยงอาการกำเริบ ปรับทัศนคติคนในชุมชน ลดการตีตรายกคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า โรคทางจิตเวชเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาดอาจมีอาการกำเริบซ้ำได้บ่อย จึงต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังส่วนหนึ่งที่เมื่อมีภาวะอาการคงที่ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องดูแลไม่ให้ขาดยาเป็นอันขาด โดยมีครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นคนรอบข้างต้องช่วยกันดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตปกติได้ ทั้งนี้ บอร์ด สปสช. ได้อนุมัติสิทธิประโยชน์เพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในหน่วยบริการและการดูแลต่อเนื่องถึงที่บ้านและในชุมชน ผ่านการพัฒนาเครือข่ายบริการจิตเวชระหว่างหน่วยบริการรับส่งต่อ และหน่วยบริการประจำ ตลอดจนเครือข่ายปฐมภูมิ เพื่อลดอาการกำเริบ หรือการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วย ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังจะได้รับการเฝ้าระวังติดตามอาการ ดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม นพ.ชูชัย กล่าวว่า สำหรับในปี 2560 บอร์ด สปสช. ยังคงให้การสนับสนุนการบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง โดยได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 49.8 ล้านบาท มีเป้าหมายให้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนจำนวน 8,300 ราย (เฉลี่ย 6,000 บาทต่อราย) เพื่อเป็นค่าบริการในการติดตามเยี่ยมดูแลอาการผู้ป่วย ให้รับยาต่อเนื่องถึงที่บ้านและในชุมชน มีการให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติตามอาการให้จัดการปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ช่วยปรับทัศนคติการใช้ชีวิตประจำวัน และการอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้อย่างปกติสุข โดยงบประมาณนี้ไม่รวมค่ายา และค่าบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิต ซึ่งหน่วยบริการสามารถเบิกได้จากงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัวอยู่แล้ว “การดำเนินงานยังคงเน้นสร้างความร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลจิตเวชราชนครินทร์ หน่วยบริการประจำ/หน่วยบริการปฐมภูมิ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันดูแลผู้ป่วย พร้อมให้บริการส่งต่อเมื่อจำเป็น หรือขอรับคำปรึกษาตามระบบของเครือข่ายบริการ พร้อมกันนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานในรูปเครือข่ายหน่วยบริการ ผ่านแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาสุขภาพจิต จิตเวชและยาเสพติด และแผนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและสุขภาพระดับอำเภอ ของกระทรวงสาธารณสุขด้วย” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า สิ่งสำคัญ ของการจัดบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน นอกจากดูแลที่บ้านให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ต่อเนื่อง ลดการขาดนัด ขาดยาแล้ว ยังกำหนดให้ทำการประเมินความรุนแรงของอาการผู้ป่วย (แบบติดตาม 9 ด้าน) นำไปสู่การทำแผนการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล การวางแผนช่วยเหลือ เข้าเยี่ยมที่บ้าน รวมถึงการประเมินความพิการทางจิต อาการแทรกซ้อน สิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงต่ออาการกำเริบ เป็นกิจกรรมติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสนับสนุนผู้ป่วย/ครอบครัวไปยื่นจดทะเบียนคนพิการให้ผู้ป่วยจิตเวช ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อให้ผู้ป่วยทางจิตได้รับสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองดูแลเพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ ยังมีการปรับทัศนคติคนในชุมชน ให้เข้าใจเกี่ยวกับภาวะอาการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ลดความกังวลและความหวาดกลัว ลดการตีตรา ทำให้ผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในที่สุด ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9600000009703

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...