กรมสุขภาพจิต จัดเวทีเพิ่มทักษะความรู้ดูแลเด็กวัยรุ่นยุคดิจิต

แสดงความคิดเห็น

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต

กรมสุขภาพจิต จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นยุคดิจิตอล

วันที่ (6 ก.พ.2560) น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ครั้งที่ 21เรื่อง“ประเด็นร้อนในจิตเวชเด็กและวัยรุ่น (Hot Issue in Child and Adolescent Psychiatry)” ณ รร.เชียงใหม่ฮิลล์ จ.เชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6–8 ก.พ.2560 โดยความร่วมมือระหว่างชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลสวนปรุง สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดี ซึ่งกลุ่มเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่ง ที่แสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายอย่าง และ จากรายงานของกรมสุขภาพจิต พบว่า เด็กและวัยรุ่นที่มารับบริการในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559 มีความบกพร่องเกี่ยวกับการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมา คือ บกพร่องทางสติปัญญา และออทิสติก ตามลำดับ โดยความผิดปกติของเด็กเหล่านี้มีสาเหตุหลักจากความผิดปกติทางสมอง ซึ่งการบำบัดต้องใช้วิธีการที่หลากหลายร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนี้ ยังพบว่า ปี 2556 เด็กร้อยละ 15 บอกว่า ตนติดเกมส์ออนไลน์ การพูดคุยทาง LINE และ Facebook ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยวัยรุ่นไทยเล่นเกมส์ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน และในกรณีที่รุนแรง จะเล่นต่อเนื่องยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของ Generation Z ที่เติบโตในยุค Digital Technology และมีชีวิตมากับ Social Media ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็กจนถึงวัยรุ่น ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นในยุคปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในระบบ Digital หรือแอพพลิเคชั่น (Application) ที่ช่วยทำให้มีการติดตามการเคลื่อนไหวของข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว และทันเหตุการณ์

การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม 250 คน ประกอบด้วย แพทย์ จิตแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น พยาบาล นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด อาจารย์มหาวิทยาลัย ครู ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นตลอดจนได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยมหิดล , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ , สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี , สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ,โรงพยาบาลสวนปรุง , โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ , สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบรรยายให้ความรู้ เพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการดูแลเด็กและวัยรุ่นในยุคดิจิตอลให้มากยิ่งขึ้นต่อไป

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/259208 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.พ.60
วันที่โพสต์: 8/02/2560 เวลา 10:12:33 ดูภาพสไลด์โชว์ กรมสุขภาพจิต จัดเวทีเพิ่มทักษะความรู้ดูแลเด็กวัยรุ่นยุคดิจิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นยุคดิจิตอล วันที่ (6 ก.พ.2560) น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ครั้งที่ 21เรื่อง“ประเด็นร้อนในจิตเวชเด็กและวัยรุ่น (Hot Issue in Child and Adolescent Psychiatry)” ณ รร.เชียงใหม่ฮิลล์ จ.เชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6–8 ก.พ.2560 โดยความร่วมมือระหว่างชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลสวนปรุง สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดี ซึ่งกลุ่มเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่ง ที่แสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายอย่าง และ จากรายงานของกรมสุขภาพจิต พบว่า เด็กและวัยรุ่นที่มารับบริการในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559 มีความบกพร่องเกี่ยวกับการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมา คือ บกพร่องทางสติปัญญา และออทิสติก ตามลำดับ โดยความผิดปกติของเด็กเหล่านี้มีสาเหตุหลักจากความผิดปกติทางสมอง ซึ่งการบำบัดต้องใช้วิธีการที่หลากหลายร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนี้ ยังพบว่า ปี 2556 เด็กร้อยละ 15 บอกว่า ตนติดเกมส์ออนไลน์ การพูดคุยทาง LINE และ Facebook ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยวัยรุ่นไทยเล่นเกมส์ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน และในกรณีที่รุนแรง จะเล่นต่อเนื่องยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของ Generation Z ที่เติบโตในยุค Digital Technology และมีชีวิตมากับ Social Media ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็กจนถึงวัยรุ่น ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นในยุคปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในระบบ Digital หรือแอพพลิเคชั่น (Application) ที่ช่วยทำให้มีการติดตามการเคลื่อนไหวของข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว และทันเหตุการณ์ การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม 250 คน ประกอบด้วย แพทย์ จิตแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น พยาบาล นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด อาจารย์มหาวิทยาลัย ครู ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นตลอดจนได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยมหิดล , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ , สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี , สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ,โรงพยาบาลสวนปรุง , โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ , สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบรรยายให้ความรู้ เพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการดูแลเด็กและวัยรุ่นในยุคดิจิตอลให้มากยิ่งขึ้นต่อไป ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/259208

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...