ม.ออทิสติกไทยระดมพล...พัฒนาหลักสูตรเพื่อการมีงานทำของบุคคลออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

ภาพ โลโก้สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โลโก้มูลนิธิออทิสติกไทย, และโลโก้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ มูลนิธิออทิสติกไทย จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมบุคคลออทิสติกเข้าสู่การประกอบอาชีพ ณ โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว เพื่อระดมความคิดเห็นและศึกษาวิเคราะห์ ร่วมทั้งการพัฒนาโปรแกรมการฝึกการเตรียมความพร้อมบุคคลออทิสติกเข้าสู่การประกอบอาชีพ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจาก ๑๐ จังหวัด รวมประมาณ ๖๐ คน ประกอบด้วยผู้ปกครองบุคคลออทิสติก ครูและอาสาสมัครเครือข่ายบุคคลออทิสติก

ภาพ นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร กศน.

นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) กล่าวว่า กศน.ขาดบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษ ทำให้ภาครัฐทั้งที่มีบทบาทโดยตรงในการส่งเสริมบุคคลออทิสติก แต่กลับเป็นการริเริ่มจากมูลนิธิออทิสติกไทย และการประชุมในครั้งนี้เป็นการ “พัฒนาหลักสูตรเพื่อการมีงานทำ” ซึ่งเป็นงานท้าท้าย เพราะเป้าหมายเดิมของกศน.นั้นมุ่งสนับสนุนให้บุคคลออทิสติกมีทักษะในการดำรงชีวิตเท่านั้น เพราะคิดว่าการพัฒนาให้สามารถประกอบอาชีพได้นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับบุคคลออทิสติก จึงนับเป็นเรื่องที่ท้าท้ายและสร้างแรงบันดาลใจให้กับ กศน. ซึ่งสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดและนโยบายของกศน.ในปัจจุบัน ที่เน้นคุณภาพของผู้เรียน โดยเมื่อจบหลักสูตรแล้วจะต้องมีงานทำไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้เรียน จึงทำให้มีการปรับทั้งระบบโครงสร้างหลักสูตรและการจัดการศึกษา โดยองค์ประกอบของหลักสูตรอาชีพ จะต้องประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ๑)แนวคิดและช่องทางในอาชีพ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจและช่องทางหรือโอกาสในอาชีพนั้นๆ ๒)การฝึกทักษะอาชีพ เน้นการฝึกจากประสบการณ์จริง เช่น วิทยาการต้องเป็นมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับหรือมีชื่อเสียง ซึ่งค่าตอบแทนวิทยากร จากเดิมให้ชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท เป็น ๑,๒๐๐ บาท เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้รู้จริง เกิดแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพต่อไป ๓) การบริหารจัดการ เช่น ต้องเรียนรู้สินค้านั้นมีต้นทุนอะไรบ้าง แหล่งทรัพยากรนั้นอยู่ที่ไหน และการกำหนดราคาเป็นต้น และ๔)การวางแผนธุรกิจ หมายถึงว่า หลังจบหลักสูตรจะดำเนินธุรกิจได้อย่างไร มีการจัดทำแผนธุรกิจ โดย กศน.จะให้ทุนเริ่มต้นด้วยส่วนหนึ่ง เพื่อให้ผู้จบสามารถประกอบอาชีพนั้นได้จริง ทั้งนี้ ทุกคน รวมทั้งคนพิการก็สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดประเภทและระดับความพิการ หากคนพิการสนใจก็สามารถรวมกลุ่มและเสนอหลักสูตรเฉพาะสำหรับคนพิการได้ โดยให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรและระเบียบของ กศน. และถ้าปรับให้สามารถเทียบโอนหน่วยกิตเป็นหลักสูตรสามัญของกศน.ได้ ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับคนพิการเพราะสามารถไปพัฒนาต่อยอดการศึกษาสายสามัญได้ด้วย

ภาพ นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย

นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิฯ กล่าวว่า มูลนิธิออทิสติกไทย เป็นศูนย์ฝึกอาชีพเฉพาะกลุ่มเป้าหมายบุคคลออทิสติกและคนพิการทางการเรียนรู้แห่งแรกของประเทศไทยซึ่งได้จัดเตรียมความพร้อมทักษะด้านอาชีพ ทักษะการเรียนรู้และทักษะด้านพื้นฐานการทำงาน โดยจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษาทางเลือกนอกระบบ และจัดหลักสูตรระยะสั้นและระยะกลาง โดยได้รับการสนับสนุนจาก กศน.ภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งปัจจุบันได้จัดการศึกษาใน ๕ ลักษณะ ได้แก่ ๑) การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาทักษะชีวิต ๒) การจัดศูนย์การเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ๓) การจัดเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ ๔)การฝึกอาชีพและการประกอบธุรกิจ และ๕) การจัดศูนย์สนับสนุนนักศึกษาออทิสติกในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งได้ขยายสาขาอีก ๒๐ จังหวัด ในรูปแบบ “ศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก”

ภาพ ผู้ปกครองบุคคลออทิสติก ครูและอาสาสมัครเครือข่ายบุคคลออทิสติก

นายชูศักดิ์ ได้กล่าวอีกว่า เป้าหมายของการพัฒนาบุคคลออทิสติกของมูลนิธิฯและเครือข่าย มี ๓ ระดับ ได้แก่ ๑) พึ่งตนเองได้ บุคคลออทิสติกมีทักษะในการช่วยเหลือตนเอง เช่น ทำอาหารง่ายๆ ได้ และปลูกผักกินเองได้ เป็นต้น ๒)จัดการตนเองได้ เช่น รู้คำสั่ง รู้จักหน้าที่และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ เป็นต้น และ๓) เลี้ยงชีพได้ โดยสามารถเลี้ยงชีพได้มีรายได้แบบพอเพียง ซึ่งจากการประชุมฯ ในครั้งนี้ สามารถพัฒนาหลักสูตรการเตรียม ความพร้อมบุคคลออทิสติกเข้าสู่การประกอบอาชีพได้ รวมทั้งหมด ๒๖ หลักสูตร โดยแบ่งเป็นหลักสูตรที่สามารถพัฒนาอาชีพรายบุคคล รายกลุ่ม และการพัฒนาเป็นธุรกิจได้ ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องดำเนินการหลังการประชุมฯนี้ มี ๓ เรื่องหลัก ได้แก่ ๑) พัฒนาให้เป็นหลักสูตรตามระเบียบของ กศน. ๒) รับรองหลักสูตร ให้สามารถเทียบโอนหน่วยกิตการเรียนในหลักสูตรสามัญของกศน.ได้ ๓) พัฒนากลไกการทำงานร่วมกับกศน. โดยจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการดำเนินการ การลงมือปฏิบัติและการกำกับติดตามอย่างเป็นระบบต่อไป(มูลนิธิออทิสติกไทย/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย๑๔ มิ.ย.๕๖)

ที่มา: มูลนิธิออทิสติกไทย/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๔ มิ.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 15/06/2556 เวลา 03:25:47 ดูภาพสไลด์โชว์ ม.ออทิสติกไทยระดมพล...พัฒนาหลักสูตรเพื่อการมีงานทำของบุคคลออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพ โลโก้สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โลโก้มูลนิธิออทิสติกไทย, และโลโก้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ มูลนิธิออทิสติกไทย จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมบุคคลออทิสติกเข้าสู่การประกอบอาชีพ ณ โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว เพื่อระดมความคิดเห็นและศึกษาวิเคราะห์ ร่วมทั้งการพัฒนาโปรแกรมการฝึกการเตรียมความพร้อมบุคคลออทิสติกเข้าสู่การประกอบอาชีพ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจาก ๑๐ จังหวัด รวมประมาณ ๖๐ คน ประกอบด้วยผู้ปกครองบุคคลออทิสติก ครูและอาสาสมัครเครือข่ายบุคคลออทิสติก ภาพ นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร กศน. นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) กล่าวว่า กศน.ขาดบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษ ทำให้ภาครัฐทั้งที่มีบทบาทโดยตรงในการส่งเสริมบุคคลออทิสติก แต่กลับเป็นการริเริ่มจากมูลนิธิออทิสติกไทย และการประชุมในครั้งนี้เป็นการ “พัฒนาหลักสูตรเพื่อการมีงานทำ” ซึ่งเป็นงานท้าท้าย เพราะเป้าหมายเดิมของกศน.นั้นมุ่งสนับสนุนให้บุคคลออทิสติกมีทักษะในการดำรงชีวิตเท่านั้น เพราะคิดว่าการพัฒนาให้สามารถประกอบอาชีพได้นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับบุคคลออทิสติก จึงนับเป็นเรื่องที่ท้าท้ายและสร้างแรงบันดาลใจให้กับ กศน. ซึ่งสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดและนโยบายของกศน.ในปัจจุบัน ที่เน้นคุณภาพของผู้เรียน โดยเมื่อจบหลักสูตรแล้วจะต้องมีงานทำไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้เรียน จึงทำให้มีการปรับทั้งระบบโครงสร้างหลักสูตรและการจัดการศึกษา โดยองค์ประกอบของหลักสูตรอาชีพ จะต้องประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ๑)แนวคิดและช่องทางในอาชีพ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจและช่องทางหรือโอกาสในอาชีพนั้นๆ ๒)การฝึกทักษะอาชีพ เน้นการฝึกจากประสบการณ์จริง เช่น วิทยาการต้องเป็นมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับหรือมีชื่อเสียง ซึ่งค่าตอบแทนวิทยากร จากเดิมให้ชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท เป็น ๑,๒๐๐ บาท เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้รู้จริง เกิดแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพต่อไป ๓) การบริหารจัดการ เช่น ต้องเรียนรู้สินค้านั้นมีต้นทุนอะไรบ้าง แหล่งทรัพยากรนั้นอยู่ที่ไหน และการกำหนดราคาเป็นต้น และ๔)การวางแผนธุรกิจ หมายถึงว่า หลังจบหลักสูตรจะดำเนินธุรกิจได้อย่างไร มีการจัดทำแผนธุรกิจ โดย กศน.จะให้ทุนเริ่มต้นด้วยส่วนหนึ่ง เพื่อให้ผู้จบสามารถประกอบอาชีพนั้นได้จริง ทั้งนี้ ทุกคน รวมทั้งคนพิการก็สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดประเภทและระดับความพิการ หากคนพิการสนใจก็สามารถรวมกลุ่มและเสนอหลักสูตรเฉพาะสำหรับคนพิการได้ โดยให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรและระเบียบของ กศน. และถ้าปรับให้สามารถเทียบโอนหน่วยกิตเป็นหลักสูตรสามัญของกศน.ได้ ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับคนพิการเพราะสามารถไปพัฒนาต่อยอดการศึกษาสายสามัญได้ด้วย ภาพ นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิฯ กล่าวว่า มูลนิธิออทิสติกไทย เป็นศูนย์ฝึกอาชีพเฉพาะกลุ่มเป้าหมายบุคคลออทิสติกและคนพิการทางการเรียนรู้แห่งแรกของประเทศไทยซึ่งได้จัดเตรียมความพร้อมทักษะด้านอาชีพ ทักษะการเรียนรู้และทักษะด้านพื้นฐานการทำงาน โดยจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษาทางเลือกนอกระบบ และจัดหลักสูตรระยะสั้นและระยะกลาง โดยได้รับการสนับสนุนจาก กศน.ภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งปัจจุบันได้จัดการศึกษาใน ๕ ลักษณะ ได้แก่ ๑) การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาทักษะชีวิต ๒) การจัดศูนย์การเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ๓) การจัดเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ ๔)การฝึกอาชีพและการประกอบธุรกิจ และ๕) การจัดศูนย์สนับสนุนนักศึกษาออทิสติกในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งได้ขยายสาขาอีก ๒๐ จังหวัด ในรูปแบบ “ศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก” ภาพ ผู้ปกครองบุคคลออทิสติก ครูและอาสาสมัครเครือข่ายบุคคลออทิสติก นายชูศักดิ์ ได้กล่าวอีกว่า เป้าหมายของการพัฒนาบุคคลออทิสติกของมูลนิธิฯและเครือข่าย มี ๓ ระดับ ได้แก่ ๑) พึ่งตนเองได้ บุคคลออทิสติกมีทักษะในการช่วยเหลือตนเอง เช่น ทำอาหารง่ายๆ ได้ และปลูกผักกินเองได้ เป็นต้น ๒)จัดการตนเองได้ เช่น รู้คำสั่ง รู้จักหน้าที่และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ เป็นต้น และ๓) เลี้ยงชีพได้ โดยสามารถเลี้ยงชีพได้มีรายได้แบบพอเพียง ซึ่งจากการประชุมฯ ในครั้งนี้ สามารถพัฒนาหลักสูตรการเตรียม ความพร้อมบุคคลออทิสติกเข้าสู่การประกอบอาชีพได้ รวมทั้งหมด ๒๖ หลักสูตร โดยแบ่งเป็นหลักสูตรที่สามารถพัฒนาอาชีพรายบุคคล รายกลุ่ม และการพัฒนาเป็นธุรกิจได้ ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องดำเนินการหลังการประชุมฯนี้ มี ๓ เรื่องหลัก ได้แก่ ๑) พัฒนาให้เป็นหลักสูตรตามระเบียบของ กศน. ๒) รับรองหลักสูตร ให้สามารถเทียบโอนหน่วยกิตการเรียนในหลักสูตรสามัญของกศน.ได้ ๓) พัฒนากลไกการทำงานร่วมกับกศน. โดยจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการดำเนินการ การลงมือปฏิบัติและการกำกับติดตามอย่างเป็นระบบต่อไป(มูลนิธิออทิสติกไทย/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย๑๔ มิ.ย.๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...