เชิญสัมมนา เรื่อง "เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตอิสระและการฟื้นฟูสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ"

แสดงความคิดเห็น

โลโก้ NECTEC และ โลโก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ความพิการและความเสื่อมของร่างกายในผู้สูงอายุส่งผลให้มีความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ และควบคุมสิ่งต่างๆ ลดลง อันทำให้การเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีสื่อสารดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาอยู่มาก ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เกี่ยวข้องอย่างมากกับการออกแบบสิ่งแวดล้อม สถานที่ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นสากล (universal design) นั่นคือออกแบบให้ทุกคนที่อยู่ในสังคมสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นได้เต็มที่และเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องมีการออกแบบดัดแปลงพิเศษ เพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีที่เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะในส่วนของการเข้าถึงข้อมูล ยังรวมถึงการออกแบบเว็บไซต์สำหรับทุกคนรวมถึงผู้พิการเพื่อให้สามารถใช้งานและเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ได้ และการออกแบบซอฟท์แวร์ด้านการศึกษาเพื่อช่วยพัฒนาเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เป็นต้น

ท้ายที่สุดแล้วเทคโนโลยีต่างๆ ก็มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและให้โอกาสแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระได้ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระยังกล่าวเฉพาะไปถึงระบบการเฝ้าระวังด้วยการวัดสภาพร่างกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ชีวิตที่บ้าน เช่น การตื่นนอนและเข้านอน การล้มในห้องน้ำ และผลตอบสนองของร่างกายต่อการรักษา เป็นต้น

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและการฟื้นฟู (CART) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้จัดทำโครงการ สัมมนาเรื่อง "เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตอิสระและการฟื้นฟูสำหรับคนพิการ และผู้สูงอายุ" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่นักศึกษา บุคคลที่สนใจ รวมถึงหน่วยงานการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดการสร้างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และเทคโนโลยีภายในประเทศทางด้านวิศวกรรมฟื้นฟูและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการดำรงชีวิตอิสระ ๒) ประสานงานและส่งต่อผลงานวิจัยให้กับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ และเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้ทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุสู่ชุมชน ภาครัฐและอุตสาหกรรม และ ๓) ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการดำรงชีวิตอิสระที่พัฒนาโดยเนคเทคและศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและการฟื้นฟู มหา วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ ในการสัมมนาฯ จะมีการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นต่างๆ เช่น ๑)ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ "เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตอิสระและการฟื้นฟูสำหรับคนพิการ และความต้องการภายใน ประเทศ" ๒) ประวัติและผลงานของศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และการฟื้นฟูมหา วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ๓) ประวัติและผลงานของห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก เนคเทค รวมถึง การเสวนาเรื่องมุมมองของผู้ผลิตอุปกรณ์ฟื้นฟู และประสบการณ์จากผู้ใช้งาน ในประเด็น ความต้องการด้าน AT (devices and services) ภายในประเทศ และตัวอย่างที่มีการใช้งานในปัจจุบัน และโอกาสด้านการวิจัยและการตลาดของสินค้าในกลุ่ม AT ในมุมมองผู้ผลิต

เชิญผู้สนใจ ร่วมสัมมนาฯ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๓.๓๐ น.ห้องแซพไฟร์ 2 ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อ ๑) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในอุปกรณ์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ ๒) เพิ่มพูนทักษะ และมุมมองของการทำธุรกิจเทคโนโลยี และ ๓)สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้พัฒนาธุรกิจเดิม และเสริมสร้างธุรกิจใหม่…สมัครร่วมสัมมนาที่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โทรศัพท์ 0 2564 6900 ต่อ 2382 (คุณปกรณ์) E-mail: pakorn.supanich@nectec.or.th หรือ ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและการฟื้นฟู (CART) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทรศัพท์ 0 2470 9096 (คุณนัฐติยา) E-mail: nuttiya.sri@kmutt.ac.th อ่านกำหนดการ คลิก ดาวน์โหลดเอกสาร กำหนดการ

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๐ พ.ค. ๒๕๕๖
วันที่โพสต์: 28/05/2556 เวลา 02:56:16 ดูภาพสไลด์โชว์ เชิญสัมมนา เรื่อง "เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตอิสระและการฟื้นฟูสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โลโก้ NECTEC และ โลโก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ความพิการและความเสื่อมของร่างกายในผู้สูงอายุส่งผลให้มีความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ และควบคุมสิ่งต่างๆ ลดลง อันทำให้การเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีสื่อสารดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาอยู่มาก ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เกี่ยวข้องอย่างมากกับการออกแบบสิ่งแวดล้อม สถานที่ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นสากล (universal design) นั่นคือออกแบบให้ทุกคนที่อยู่ในสังคมสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นได้เต็มที่และเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องมีการออกแบบดัดแปลงพิเศษ เพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีที่เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะในส่วนของการเข้าถึงข้อมูล ยังรวมถึงการออกแบบเว็บไซต์สำหรับทุกคนรวมถึงผู้พิการเพื่อให้สามารถใช้งานและเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ได้ และการออกแบบซอฟท์แวร์ด้านการศึกษาเพื่อช่วยพัฒนาเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เป็นต้น ท้ายที่สุดแล้วเทคโนโลยีต่างๆ ก็มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและให้โอกาสแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระได้ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระยังกล่าวเฉพาะไปถึงระบบการเฝ้าระวังด้วยการวัดสภาพร่างกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ชีวิตที่บ้าน เช่น การตื่นนอนและเข้านอน การล้มในห้องน้ำ และผลตอบสนองของร่างกายต่อการรักษา เป็นต้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและการฟื้นฟู (CART) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้จัดทำโครงการ สัมมนาเรื่อง "เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตอิสระและการฟื้นฟูสำหรับคนพิการ และผู้สูงอายุ" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่นักศึกษา บุคคลที่สนใจ รวมถึงหน่วยงานการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดการสร้างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และเทคโนโลยีภายในประเทศทางด้านวิศวกรรมฟื้นฟูและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการดำรงชีวิตอิสระ ๒) ประสานงานและส่งต่อผลงานวิจัยให้กับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ และเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้ทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุสู่ชุมชน ภาครัฐและอุตสาหกรรม และ ๓) ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการดำรงชีวิตอิสระที่พัฒนาโดยเนคเทคและศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและการฟื้นฟู มหา วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ในการสัมมนาฯ จะมีการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นต่างๆ เช่น ๑)ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ "เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตอิสระและการฟื้นฟูสำหรับคนพิการ และความต้องการภายใน ประเทศ" ๒) ประวัติและผลงานของศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และการฟื้นฟูมหา วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ๓) ประวัติและผลงานของห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก เนคเทค รวมถึง การเสวนาเรื่องมุมมองของผู้ผลิตอุปกรณ์ฟื้นฟู และประสบการณ์จากผู้ใช้งาน ในประเด็น ความต้องการด้าน AT (devices and services) ภายในประเทศ และตัวอย่างที่มีการใช้งานในปัจจุบัน และโอกาสด้านการวิจัยและการตลาดของสินค้าในกลุ่ม AT ในมุมมองผู้ผลิต เชิญผู้สนใจ ร่วมสัมมนาฯ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๓.๓๐ น.ห้องแซพไฟร์ 2 ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อ ๑) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในอุปกรณ์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ ๒) เพิ่มพูนทักษะ และมุมมองของการทำธุรกิจเทคโนโลยี และ ๓)สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้พัฒนาธุรกิจเดิม และเสริมสร้างธุรกิจใหม่…สมัครร่วมสัมมนาที่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โทรศัพท์ 0 2564 6900 ต่อ 2382 (คุณปกรณ์) E-mail: pakorn.supanich@nectec.or.th หรือ ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและการฟื้นฟู (CART) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทรศัพท์ 0 2470 9096 (คุณนัฐติยา) E-mail: nuttiya.sri@kmutt.ac.th อ่านกำหนดการ คลิก ดาวน์โหลดเอกสาร กำหนดการ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...